การเรียนรู้ไร้พรมแดน


Internet & E-Learning

               ในโลกแห่งการศึกษาทุกวันนี้ที่พยายามเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็น ข้อจำกัดเรื่อง สื่อการสอน ความสามารถในการรับรู้ เวลา สถานที่ งบประมาณ ตลอดจนเครื่องมืออำนวย ความสะดวกต่าง ๆ เพื่อเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียนให้เกิดความน่าสนใจ และเกิด ประสิทธิภาพแห่งการเรียนรู้ อีกทั้งในปัจจุบัน ได้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ ขึ้นมามากมาย เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ของผู้เรียนคงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ในชั้นเรียนเท่านั้น ซึ่งเขาต้องเสาะแสวงหาสิ่งที่เขาต้องการและมีความจำเป็นในการดำรงค์ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

               การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Learning ที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน หรือเลือกเรื่องที่จะศึกษาตามที่เขาถนัดและสนใจ เป็นทั้งสื่อหลักและสื่อเสริมทางการศึกษา

                     ความหมายของคำว่า e-Learning คือ " เป็นการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท ที่สามารถนำเสนอในรูปแบบของข้อความ ภาพ เสียง ภาพยนตร์ อาจจะมีการโต้ตอบ และตอบสนองระหว่างผู้เรียนกับสื่อตามที่ผู้สอนได้กำหนดไว้  เช่น  การเรียนรู้ผ่านสื่อวีดิทัศน์ (วีดีโอเทป) หรือโทรทัศน์เพื่อการศึกษา วิทยุเพื่อการศึกษา การถ่ายทอดผ่านสัญญาณดาวเทียม (Satellite) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( Computer Assisted Instruction) หรือ CAI การเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ อินเตอร์เน็ต หรือการเรียนรู้ผ่านระบบวีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video On-Demand) " ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ เพียงแต่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกันได้ทั่วโลก

              อินเตอร์เน็ต (Internet) คงจะเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าสื่อที่มาแรงและเป็นที่นิยมมากที่สุดในการสร้างและการใช้ e-Learning ที่มีศักยภาพในการนำเสนอที่มีข้อได้เปรียบสื่อชนิดอื่น ๆ อยู่มาก แต่ในทางกลับกัน  อินเตอร์เน็ต  ก็มีผลเสียต่อผู้ศึกษาเหมือนกัน  เพราะอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่เล่นได้ตลอดแล้วแต่ความพึงพอใจของผู้เล่น  บางครั้งทำให้ขาดความรับผิดชอบ   ในอินเตอร์เน็ต จะมีทั้งสาระและสิ่งที่ไม่พึงประสงค์  เช่นภาพ  โป๊   เปลือย   ภาพลามก  คลิปวีดีโอฉาว   เกม เป็นต้น   หากผู้เล่นไม่มีกรอบในการเล่นแล้วจะทำให้เสียคนได้   และอีกอย่าง  การเรียนรู้ทางอินเตอร์เน็ตจะไม่มีคนคอยชี้แนะสิ่งที่ถูกผิด ไม่เหมือนการเรียนในห้องที่มีครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทางที่ดีแก่นักเรียนก็จะส่งผลต่อตัวผู้เรียนและค่อย ๆ  ซึมซับเข้าไป

           จากที่กล่าวมานะครับ คงทำให้หลายท่านมองเห็นว่า การเรียนการสอนในโลกไร้พรหมแดนได้เปิดทางเลือกอย่างมากมายให้กับผู้ใฝ่รู้ แต่ที่สำคัญเราควรช่วยกันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นอันดับแรกเพื่อก้าวสู่ยุคสารสนเทศอย่างมีความสุข ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจจะเกิดความไม่ทัดเทียมกันในสังคม อยากให้ทุกคนมีโอกาสในการเรียนรู้ทัดเทียมกัน และช่วยกันปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้กับสังคมไทย ให้หลีกไกลจากสิ่งที่เลวร้ายที่อาศัยช่องทางแห่งสารสนเทศมาทำร้ายสังคมไทย จนยากจะแก้ไข……!    น่าคิดไหมหล่ะครับ

 

กลับหน้าแรก

หมายเลขบันทึก: 63127เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2006 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

การจะพัฒนาคนเราให้ทัดเทียมกันนั้นดูแล้วเป็นเรื่องยาก เพราะคนเรานั้นมีข้อแตกต่างกันในหลายอย่าง

ไม่ว่าจะเป็น สติปัญญา อารมณ์ สังคม และวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้ยังเป็นตัวปิดกั้นความเท่าเทียมกันของบุคคลอยู่ แต่เราในฐานะครูต้องพยายามลดช่องว่างในส่วนนี้แล้วส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ที่เท่าเทียมกัน

,มีความหมายที่ดีแต่ยังขาดประโยกอีกหรายอย่าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท