ศาสตร์และศิลป์ของการสอน : ๓๔. สร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจให้แก่นักเรียน


บันทึกชุด ศาสตร์และศิลป์ว่าด้วยการสอน นี้ตีความจากหนังสือ The New Art and Science of Teaching เขียนโดย Robert J. Marzano   ซึ่งเพิ่งออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้เอง


ตอนที่ ๓๔ สร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจให้แก่นักเรียน ตีความจาก Element 32 : Motivating and Inspiring Students และเป็นตอนสุดท้ายของภาค ๗ ใช้ยุทธศาสตร์สร้างพันธกิจสัมพันธ์ของนักเรียนต่อการเรียน


การสร้างแรงจูงใจสู่แรงบันดาลใจมีเป้าหมายเพื่อปูทางให้นักเรียนเข้าสู่การบรรลุเป้าหมายสูงส่งของตนเอง (self-actualization) ซึ่งหมายถึงสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่สูงส่งกว่าตัวเอง    หรือรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่มีคุณค่าสูงส่ง    ที่ตนเองต้องการพัฒนาไปสู่


คำถามเชิงยุทธศาสตร์ของครู ในการสร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจให้แก่นักเรียน คือ    “ครูจะจัดสร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจให้นักเรียนได้อย่างไร”


ยุทธศาสตร์และวิธีการที่ครูสร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจให้แก่นักเรียน  มีดังต่อไปนี้




เป้าหมายสำคัญที่สุดในตอนนี้คือการเข้าสู่เป้าหมายสูงส่งของตนเอง    เป็นเรื่องของการสั่งสมความมีเป้าหมายชีวิต  ความมุ่งมั่น  มีปัญญาด้านใน  ซึ่งในมุมมองของผม เป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิต     

เมื่อยุทธศาสตร์นี้ได้ผล    จะสังเกตเห็นพฤติกรรมของนักเรียนดังต่อไปนี้

  • นักเรียนมีเป้าหมายระยะยาว  และรู้ขั้นตอนดำเนินการทีละขั้นสู่เป้าหมายนั้น
  • นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ และคนรอบข้างอย่างมีความหมาย
  • นักเรียนทำโครงการที่ตนคิดขึ้น และมีความหมายต่อตนเอง
  • นักเรียนบอกว่าชั้นเรียนสร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจ


ยุทธศาสตร์สร้างพันธกิจสัมพันธ์ของนักเรียนต่อการเรียนทั้ง ๑๐ ประการตามในภาค ๗ นี้    ที่ใช้บ่อยในเกือบทุกคาบเรียนคือ

  • ตรวจสอบและแก้ไขเมื่อนักเรียนไม่สนใจ
  • เพิ่มอัตราตอบสนอง
  • ใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย
  • ดำรงอัตราเร็วของการสอนที่มีชีวิตชีวา
  • มีความจริงจังและกระตือรือร้น

ส่วนยุทธศาสตร์อื่นๆ มีการใช้เป็นช่วงๆ ตามความเหมาะสม เช่น ตอนต้นปีการศึกษาครูมอบโครงการระยะยาว ๑ ปีการศึกษาให้นักเรียนทำ    ครูอาจใช้กิจกรรม “ฝันถึงอนาคตตนเอง” ในช่วงต้นของภาคการศึกษาแรก  เพื่อสร้างแรงจูงใจและแรงบันดาลใจไปตลอดปีการศึกษา     และผมมีความเห็นส่วนตัวว่า กิจกรรม “ฝันถึงอนาคตตนเอง” นี้ น่าจะจัดซ้ำได้อีกในโอกาสที่เหมาะสม   


ระดับความเข้มข้นของพันธกิจสัมพันธ์ของนักเรียนต่อการเรียนทั้ง ๑๐ เทคนิคนี้ ไม่เท่ากัน    ระดับที่ธรรมดาที่สุดคือ นักเรียนแสดงความสนใจ    ขั้นถัดไปคือ มีพลัง,  ฉงนสนเท่,  และมีแรงจูงใจและแรงบันดาลใจ ตามลำดับ    ย้ำว่าระดับสูงสุดคือมีแรงจูงใจและแรงบันดาลใจ    ซึ่งจะเห็นว่า การที่นักเรียนตั้งใจเรียน เป็นขั้นต่ำที่สุด   ครูที่เก่ง จะต้องจัดกระบวนการสอนในระดับที่สร้างแรงบันดาลใจแก่ศิษย์  



วิจารณ์ พานิช

๑๑ เม.ย. ๖๐

 


หมายเลขบันทึก: 631153เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2017 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2017 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท