จังหวัดควรเร่งรัดจัดหาติดตั้งแนวกั้นไหล่ทางวิ่งเพื่อป้องกันรถชนต้นไม้


ความเสี่ยงไม่ใช่เรื่องกล้าหรือขลาด แต่เป็นเรื่องฉลาดหรือโง่

ที่จังหวัดเพชรบุรีสามารถเลี่ยงความเสี่ยง รถชนต้นไม้ได้ 100% ขาออกเพราะได้จัดทำ แท่งปูน Barricade ตลอดแนวถนนและแนวร่องน้ำแนวต้นไม้แล้วเสร็จ

รูปแนวเหล็กกั้นรถชนต้นไม้

รูปแนวกั้นแบบมีการลดแรงกระแทก คานแนวนอนเป็นซี่ๆจะช่วยดูดซับแรงจากการชนปะทะได้

ถนน รถ ความเร็ว ต้นไม้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิด 15 ซม. (จากงานวิจัย) ทำให้เกิดความรุนแรงมากในการชน 

ทั้งโอกาสการเกิดก็สูงมากตาม ผลการประเมินความเสี่ยงจึงสูงมาก

โอกาสเกิดสูงมาก สำหรับถนนที่ยังไม่ได้มีการจัดการทำแผงเหล็กกั้นแนวถนนกับแนวร่องน้ำ Guard Rail 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เครื่องย้ายต้นไม้

เลี่ยงโอกาสเกิดภาวะอันตราย โดยย้ายต้นไม้ แก้ปัญหาการณี ชาวบ้านไม่ต้องการให้ตัดไม้  และผลกระทบสิ่งแวดล้อม


- ขณะนี้ ปี 2560 รัฐได้จัดหาติดตั้งแท่งปูนบาริเออร์ กั้นระหว่างไหล่ถนน และร่องน้ำต้นไม้ เรียบร้อยแล้ว แต่จะทำช่วงสะพาน ช่วงโค้ง แล้วเสร็จในหลายจังหวัด ส่วนระยะอื่นๆได้แก่ ถนนแนวตรง ก็ควรประเมินความเสี่ยง จำเป็นต้องแก้ไขอื่นๆเพื่อลด โอกาสเกิดภาวะอันตราย และ ลดความรุนแรง จากการปะทะต้นไม้ โดยจัดให้มีแท่งกั้น (Barricade) หรือ รางเหล็กกั้น (Guard Rail) ขอบทาง เพิ่มเติม  เหมือนที่ จังหวัดเพชรบุรี ดำเนินการแล้วเสร็จ ในเส้นทางขาออกลงภาคใต้ตลอดแนว ต่อไปก็เป็นปราณบุรี  ยาวตลอดจนถึงภาคใต้ ต้องมีแผนการระยะยาวกำหนดเวลาแล้วเสร็จ 

เพราะ ภาคใต้เป็นถนนทางตรงยาว ความเสี่ยงจึงเกิด ในลักษณะภาวะอันตรายจากความล้า ความเหนื่อย  เมื่อย และโอกาสในการวูบ หรือ หลับใน แบบนี้ก็ควรป้องกันระยะสั้น ทำได้ทันที ไม่ใช้งบประมาณมากโดยลดโอกาสการหลับใน

1.จัดหาติดตั้ง ทาสีทำเครื่องหมาย แถบสีเนื้อสีหนาบนผิวพื้น Surface Paint Rubber Stick เพื่อให้พวงมาลัยเกิดการสั่น เพื่อเตือนสติผู้ขับขี่ 

2.แถบหมุดเตือน เพื่อให้พวงมาลัยสั่นล้อกระแทก เตือนสติเมื่อรถเริ่มออกนอกเลน

ระยะกลางโดย จัดทำ

3. แนวแท่งกั้น Barricade ปูน (ไม่ลดแรงกระแทก)หรือ 

3.1 แนวแท่งกั้น Barricade ไฟเบอร์กลาสใส่น้ำ (ลดแรงกระแทก) หรือ

3.1 แนวรางกั้นกันตก Guard Rail (ไม่ลดแรงกระแทก) หรือ

3.2 แนวราวลดแรงกระแทก(Rail Crash cusion) คล้ายแนวรางกันตก แต่ออกแบบให้ยุบตัวได้ง่าย

จะบริหาร งปม. อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทุกคนหวังจากภาครัฐ ที่จะเยียวยา ความรู้สึกการสูญเสีย บุคคลอันเป็นที่รักในที่สาธารณะได้นั้น ก็ต่อเมื่อ  

1. ทางรัฐได้ดำเนินการโดยมีแผนจัดการ เรื่องความเสี่ยงจากรถชนต้นไม้ ได้ครอบคลุม ความเสี่ยงให้ครบทุกด้าน (ทาแถบสีหนาเตือนหลับใน แนวแถบหมุดบนพื้นเตือนเมื่อออกนอกช่องจราจร แผงกั้นก่อนตกร่องน้ำ) 

2. จัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ที่ดีที่ีสุด มาป้องกันด้วยวิธีการติดตั้งที่ดีที่สุด มีการประเมินความเสี่ยงต่อเนื่อง 

3. มีการประเมินซ้ำ ตรวจสอบว่ามาตรการที่เพิ่มไปนั้น ทำให้ผลการประเมินลดลงจริงหรือไม่ พอหรือไม่ ไม่พอรีบประชุมหน่วยเกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อกำกัดและวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด นำมาใช้แลประเมินซ้ำ จนระดับความเสี่ยงลดลง ถึงระดับที่ยอมรับได้ (ถึงแม้โอกาสเกิดจะต่ำสุดแต่หากเกิดแล้วนั้นระดับความรุนแรงสูงสุด แบบนี้ยอมรับไม่ได้ แต่ถ้าหากโอกาสเกิดมากสุดแต่เกิดแล้วระดับความรุนแรงน้อยสุดแบบนี้ ยอมรับได้) 

4. มีการเตือน จากผลการประเมินซ้ำ ก่อนที่ระดับความปลอดภัยจะถึงระดับที่ยอมรับไม่ได้ อย่างน้อย 2-3 ครั้งก่อนที่ระดับความปลอดภัยจะเกิน โดยประเมินอย่างต่อเนื่อง

5. มีแผนกำหนดเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จ ถนนใดจะได้งบประมาณจัดทำแท่งกั้น ราวกั้นปีไหน (แผนระยะยาว ความเสี่ยงเหลือ 0%)

6. ก่อนถึงปีงบประมาณที่จะได้นั้น ได้ตั้งงบเพื่อแก้ไขระยะสั้นระยะกลาง อย่างไร มาตรการระยะสั้นอย่างไร  เช่น การทาแถบสีที่มีความหนา บนผิวพื้น เพื่อเตือนคนขับกันเข้าสู่สภาวะอันตราย วูบหลับ มีครบถ้วน ถี่พอไหมกับระยะความยาวถนน (มาตรการการป้องกันก่อนเกิด)  การแก้ไขระยะกลางเตรียมทำอะไร จัดซื้อเครื่องมือ ย้ายต้นไม้ คาดว่าเริ่มดำเนินการได้เมื่อไหร่ ดำเนินการ 50% ประมาณปีไห ดำเนินการ 100% ได้ในปีไหน 

7. รัฐออกตรวจผลการประเมินความเสี่ยง ติดตามการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนระยะยาว คืบหน้าไหม ช้ากว่าแผนไหม นั้นรัฐต้องตอบผู้บริโภคให้ได้ในทุกๆมาตรการ ต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำ

แบบนี้ ผู้สูญเสียยอมรับความเสี่ยง ที่รัฐได้พยายามอย่างหนักเท่าที่ดำเนินการได้ แต่ยังเหลือโอกาส ที่อาจเกิดขึ้นได้แบบนี้ ประชาชนก็ควรยอมรับได้ในจุดหนึ่ง ก็ต้องกำหนดแผนและติดตามให้สามารถบริหารแผนการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

หมายเลขบันทึก: 630986เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2017 06:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2017 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท