การศึกษาความสุขของนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตที่เข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน


ทุติรัตน์ รื่นเริง
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี

ผลการวิจัย
- โปรแกรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย แผนพัฒนาผู้นำกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการรวบรวม ข้อมูลจาก เอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยกิจกรรมจำนวน 10 ครั้ง และแผนปฏิบัติการการทำกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน สร้างโดย ผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนโดยให้สอดคล้องกับระยะของ สัมพันธภาพทั้ง 3 ระยะ คือ ระยะเริ่มต้นสัมพันธภาพ ระยะดำเนินสัมพันธภาพ และระยะสิ้นสุดสัมพันธภาพ เมื่อนำโปรแกรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนไปใช้ให้นักศึกษาพยาบาลเกิดความสุข พบว่า นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนความสุขเพิ่มขึ้นภายหลังเข้าโปรแกรมกลุ่มเพื่อนช่วย เพื่อนโดยสรุปว่ามีความสุขด้านสภาพจิตใจ ด้านสมรรถภาพของจิตใจ และด้านปัจจัยสนับสนุนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านคุณภาพของจิตใจไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

จากการนำเสนอผลงานทางวิชาการ
การประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ประจำปี 2548


หมายเลขบันทึก: 63075เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2006 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 21:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท