ความขัดแย้งคือแนวทางสู่สันติ


การต่อสู้ทางสติปัญญาจะเพิ่มพูนปัญญา แต่ต้องอยู่ภายใต้ของสัจธรรมที่เป็นจุดร่วมเป็นสำคัญ..“No Peace Without conflict”

      ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ความขัดแย้งระหว่างบุคคล กลุ่มชน สังคมหรือแม้จะทั้งระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครปรารถนา แต่ก็เป็นสิ่งที่ยากจะหลีกเลี่ยงพ้น ตราบใดที่มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่และและใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม อันนำไปสู่การปรับแนวคิดให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขถึงแม้ว่าจะมีความขัดแย้งกัน

      ความขัดแย้ง (Conflict) คือ ความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำที่ขัดกัน ไม่ตรงกัน ไม่ลงรอยกัน หรือข้านกัน ทั้งภายในตนเอง ระหว่างบุคคล และระหว่างกลุ่ม ซึ่งอาจก่อให้เกิดโทษ หรือประโยชน์ได้ สุดแล้วแต่ความต้องการของผู้ที่มีความขัดแย้ง ว่าจะให้เกิดโทษหรือเกิดประโยชน์ เนื่องจากความขัดแย้งคือปัญหา หากจะแก้ปัญหา ก็จะเกิดประโยชน์ และหากละเลยก็จะเกิดโทษ

      บางคนถือว่าความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น และเป็นผลร้ายทั้งในส่วนบุคคลและสังคม ทำให้คนส่วนมากจึงหลีกเลี่ยงและกลัวการมีความขัดแย้ง หรือหากมีก็ต้องกำจัดให้หมดไปโดยไม่ได้คิดว่าความขัดแย้งนั้นมีความสำคัญมากในการอยู่กันในสังคม 

     โดยทั่วไปแล้วความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งจะนำไปสู่คุณและโทษ ความขัดแย้งจึงมิใช่สิ่งที่ต้องกลัวและปลีกหนีแต่เป็นสิ่งที่ควรจะนำมาศึกษาให้เข้าใจจนสามารถใช้ประโยชน์จากความขัดแย้งได้ โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบัน ต้องอาศัยความขัดแย้งเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง เพราะจากการขัดแย้งนั้นจะเกิดมติอันถูกต้อง เป็นประโยชน์การใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม ทำเกิดการกระตุ้นให้ทุกฝ่ายมีจุดประตุ้นให้มีการปรับเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น หากแต่ความขัดแย้งนั้นจะต้องอยู่ในระดับที่พอเหมาะไม่สูงหรือต่ำเกินไป

            ประโยชน์และโทษของความขัดแย้งอาจเปรียบเทียบความขัดแย้งของสัตว์ที่ดุร้าย ซึ่งบางคนอาจพยายามหลีกหนี หรือฆ่าเพราะกลัวอันตราย แต่คนปัจจุบันพยายามศึกษาให้เข้าใจธรรมชาติของสัตว์ดุร้าย แล้วนำมาใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการได้ เช่น เสือนำมาแสดงโชว์ เป็นต้น

           ฉนั้นการที่ต่างฝ่ายเกิดความขัดแย้งกันในปัจจุบัน ควรนำมาแปรให้เกิดประโยชน์ให้มาก  ต้องพยายามศึกษาให้เข้าใจถึงความต้องการของแต่ละฝ่าย แล้วยอมรับจุดร่วม ที่เป็นสัจธรรม เพราะโลกนี้ให้ถูกสร้างมาเพื่อหาจุดร่วมที่ให้ใช้ขีวิตอยู่อย่างสันติ หากทุกฝ่ายมีความจริงใจที่จะยอมรับความสันติ จะต้องเปิดใจศึกษาและแลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนคิด และเชื่อถือของกันและกัน ซึ่งเป็นแนวทางในการเข้าใจซึ่งกันและกัน ตามหลักที่ว่า "เข้าถึง เข้าใจ และพัฒนา" หากทุกฝ่ายมีการพบปะกัน พูดคุยมากเท่าไหร ความคิด ความเชื่อใดที่อ่อนกว่าก็จะฉงนในในความคิดความเชื่อไปเอง  และจะนำพาไปสู่การค้นคว้าในสัจธรรมที่เรียกกว่า จุดร่วม เพื่อการการร่วมอยู่ในสังคมและการร่วมพัฒนาที่ยั่งยืน เพราะการต่อสู้ทางสติปัญญาจะเพิ่มพูนปัญญา แต่ต้องอยู่ภายใต้ของสัจธรรมเป็นสำคัญ..และเชื่อว่าสักวันหนึ่งสันติสุขจะเกิดขึ้น หากทุกคนเข้าใจกันมาขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #สันติภาพ
หมายเลขบันทึก: 63046เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2006 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ปลวกหัวสั่นรตัวที่ 1

เป็นคำแนะนำที่ดีมากเลยทีเดียว

อยากให้ทุกคนได้อ่านจ้งเลย

จะได้เข้าใจกันสักที

ประเทศของเราจะได้สงบสุข

และกลับมารักกันเหมือนเดิม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท