การจัดการความรู้กลุ่มงานศัลยกรรม


การจัดการความรู้ภายในประเทศ

การจัดการความรู้ในหน่วยงาน
เป้าหมายของหน่วยงานไม่ใช่การจัดการความรู้ เป้าหมายคือ วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) และกลยุทธ์ (Strategy) เราใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือนำเราไปสู่เป้าหมายนั้น ปัจจุบันทุกหน่วยงาน ทุกองค์กรที่ต้องการพัฒนาคุณภาพ จำเป็นต้องปรับองค์กรของตนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ความรู้ที่องค์กรจะได้มาจาก 2 ทางคือ

  • จากภายนอก ซึ่งเป็นความรู้ในตัวบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ (Tacit knowledge) และความรู้ที่อยู่ในรูปแบบของสื่อต่างๆ เช่น Internet (Explicit knowledge)
  • จากภายใน ซึ่งเป็นความรู้ในบุคลากรของหน่วยงาน (Tacit knowledge) และความรู้ที่จะได้มาจากข้อมูลของหน่วยงาน (Potential knowledge)


ทุกหน่วยงานจะมีการสำรวจ Training Need ประจำทุกปี และจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้ เป็นผู้เชิญวิทยากรภายนอกที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญมาบรรยาย แสดง จัด Workshop ตาม Training need ที่กำหนดไว้ แต่การค้นคว้าจากสื่อต่างๆยังไม่มีหน่วยงานเฉพาะทำหน้าที่นี้ การถ่ายทอดความรู้จากบุคลากรภายในหน่วยงาน อาจทำได้ง่ายกว่า สะดวกกว่า ได้ผลมากกว่า และประหยัดกว่า
ที่กล่าวมาเป็นความรู้ที่มีอยู่แล้วและนำมาเผยแพร่ถ่ายทอดกัน แต่ยังมีความรู้ที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล (Data) ของหน่วยงาน เมื่อเราเข้าในความสัมพันธ์ของข้อมูลได้ และจะเปลี่ยนเป็นความรู้ (Knowledge) เมื่อเราเข้าใจถึงรูปแบบที่เกิดขึ้น และมีการเปรียบเทียบแล้ว
ขอให้กลับมาดูแผนผัง Concept of Knowledge อีกครั้ง จะเห็นว่าการสร้างความรู้ใหม่จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราแก้ไขปัญหา 2 จุดได้คือ ใครจะเป็นผู้บริหารจัดการข้อมูล และใครจะเป็นผู้วิเคราะห์ เปรียบเทียบสารสนเทศ เพื่อให้เปลี่ยนเป็นความรู้ใหม่ คำตอบถือเราต้องอบรมให้ความรู้แก่ทุกคน ในด้านการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งจำเป็นต้องเรียนรู้คอมพิวเตอร์พื้นฐานด้วย และความรู้ด้านการวิจัย ซึ่งจะทำให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ทั้งข้อมูลและสารสนเทศได้ หากบุคลากรทุกคนในหน่วยงานมีความรู้ทั้ง 2 ด้านนี้จะทำให้การพัฒนาคุณภาพเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว 

จะจัดการอย่างไร
ในทางปฏิบัติเราดำเนินการได้เป็น 2 ฐานะคือ ผู้ปฏิบัติงานธรรมดา และผู้บริหาร
ในฐานะผู้ปฏิบัติงาน
จากประสบการณ์ที่ดำเนินการมามีขั้นตอนคือ

  1. สร้างความรู้ โดยการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองให้มากที่สุด
  2. สร้างแนวร่วมโดยการ
    • ถ่ายทอดความรู้ให้บุคลากรในโรงพยาบาล ระยะแรกเลือกกลุ่มที่มีศักยภาพที่จะมาช่วยงานได้
    • สร้างทีม ทีจะมาช่วยถ่ายทอดความรู้ร่วมกัน โดยใช้หลักการสร้างทีม ‘สหวิชาชีพ’
    • สร้างผลงาน เพื่อเป็นตัวอย่าง และแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จ
  1. เสนอฝ่ายบริหาร เพื่อขยายการดำเนินการโดยกำหนดเป็นนโยบาย

ปรากฏว่าการดำเนินการดังกล่าว สอดคล้องกับแนวทางสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของอาจารย์ประเวศ วะสี โดยบังเอิญ

 ในฐานะผู้บริหารระดับหัวหน้ากลุ่มงาน
ได้ดำเนินการดังนี้

  1. กำหนดนโยบายสนับสนุน 2 ด้าน คือ ด้าน Information Technology ด้านกระบวนการวิจัย
  2. ทำความเข้าใจกับบุคลากรในกลุ่มงานให้เข้าใจ กระบวนการการจัดการความรู้ เท่าที่จะสามารถทำได้ บางส่วนอาจไม่เข้าใจ แต่ไม่เป็นไร เพราะเมื่อไรที่เราสามารถถ่ายทอดความรู้ทั้ง 2 ชนิด ให้แล้วเมื่อบุคลากรเหล่านี้นำไปใช้ในงานที่รับผิดชอบ จะมีเกิดความเข้าในเอง
  3. สร้างผลงานเพื่อเป็นต้นแบบให้กลุ่มงานอื่น ในงาน 2 ด้านนี้
    • จัดตั้งศูนย์บริหารข้อมูลทางศัลยกรรม เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางด้านศัลยกรรม และวิเคราะห์ข้อมูล
    • สร้างระบบเก็บข้อมูลงานห้องผ่าตัด
  1. เสนอแนวทางให้ฝ่ายบริหาร

ถอดประสบการณ์การดำเนินงาน ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
ด้าน Information Technology

  • ฝึกฝนเรียนรู้ Program ด้าน Computer และ การเขียน Program ด้านฐานข้อมูล สร้างทีมโดยตั้งเป็นชมรมคอมพิวเตอร์
  • สร้างทีม สร้างผลงานและหาแนวร่วมโดย
  • สอน dBASE III plus (2528)
  • เขียน Program งานวิสัญญี ตั้งแต่ปี 2531 ยังใช้อยู่ถึงปัจจุบัน
  • สอน Computer พื้นฐานแก่บุคลากรห้องผ่าตัดทุกคน(2544)
  • สอน Program MS ACCESS แก่กลุ่มที่รับผิดชอบข้อมูลของห้องผ่าตัด
  • เสนอให้มีห้องสอน Computer โดยใช้บุคลากรของโรงพยาบาลที่มีความรู้ด้านนี้เป็นผู้สอนเอง

ปัจจุบัน :-

  • มีห้องสอน Computer จำนวน 40 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ Wireless LAN และ Internet
  • มีการอบรม  Program Computer พื้นฐาน คือ MS Word, MS Power point, MS Excel, Internet, Intranet  ฯลฯ เดือนละ 1 รุ่น สอนมาแล้ว 24 รุ่น
  • มีการอบรมเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่ดูแลจัดการฐานข้อมูลของหน่วยงาน เช่น ทีม Risk Management
  • มีการสร้างสื่อช่วยการอบรม คือ คู่มือการสอน และ CD สอน
  • ศูนย์บริหารข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มงานศัลยกรรม
    • Program ผู้ป่วยมะเร็ง
    • Program การใช้ห้องผ่าตัด
    • ข้อมูลทางคลินิก
    • ข้อมูลการสอนนักศึกษาแพทย์
    • ต้นแบบการจัดการข้อมูล สารสนเทศ

ด้าน การวิจัย

  • เข้ารับการอบรมด้านระบาดวิทยาที่ หน่วยระบาดวิทยาคลินิก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ชักชวนบุคลากรทีมสุขภาพหลายสาขาวิชาชีพที่สนใจเข้ารับการอบรมด้านระบาดวิทยา
  • สร้างทีมวิจัยแบบสหวิชาชีพ
  • สร้างงานวิจัย
  • สนับสนุนการสร้างงานวิจัยของบุคลากรของโรงพยาบาล เน้นการแก้ปัญหางานประจำของหน่วยงาน
  • อบรมด้านการวิจัยแก่บุคลากรของโรงพยาบาล(ตั้งแต่ปี 2540)

การอบรมการวิจัยจะเน้นการนำปัญหางานประจำมาทำเป็นงานวิจัย บางเรื่องที่ทำเป็น CQI ดีแล้ว หากต้องการเผยแพร่ก็ปรับให้เป็นงานวิจัย

  • การอบรมแบ่งเป็น 4-5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 1 เดือน เพื่อให้เจ้าของโครงการมีเวลาไปดำเนินการแต่ละขั้นตามหัวข้อที่อบรม แต่ละครั้งที่อบรมจะให้เจ้าของเรื่องนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการที่ทำ และกรรมการศูนย์วิจัยจะช่วยให้คำแนะนำ เปิดโอกาสให้ทุกคนในห้องประชุมช่วยแสดงความเห็นได้
    • คำถามงานวิจัย
    • การทบทวนวรรณกรรม
    • รูปแบบงานวิจัย, ขนาดตัวอย่าง
    • สถิติที่ใช้,การวิเคราะห์ข้อมูล
    • การเขียนรายงาน, การนำเสนอ
  • จัดที่ปรึกษาให้ทุกโครงการ(กรรมการศูนย์ที่ผ่านการอบรมระบาดวิทยามาแล้ว)
  • จัดหาทุนสนับสนุน ช่วยประสานของจากแหล่งทุนต่างๆ

ปัจจุบัน

  • จัดตั้งเป็นศูนย์วิจัยของโรงพยาบาล ตั้งแต่ปี 2547 มีคณะกรรมการศูนย์วิจัยที่เป็นทีมสหวิชาชีพ โดยทุกคนผ่านการอบรมทางด้านระบาดวิทยา หรือ ชีวสถิติ แล้ว
  • ได้การตกลงเป็นเครือข่ายด้านการวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • รับผิดชอบงานวิจัยของโรงพยาบาลแบบครบวงจร
  • ได้รับทุนสนับสนุนกิจกรรมด้านงานวิจัยจากโรงพยาบาล

Routine to Research
การแก้ปัญหาของการทำงานประจำ (Routine work) ไม่จำเป็นต้องแก้ไขโดยใช้กระบวนการวิจัยทุกครั้ง การแก้ไขปัญหาอาจใช้วิธีการหลายอย่างดังนี้

  • แก้ไขด้วยการบริหารสั่งการ เช่นทีมผ่าตัดผู้ป่วยฉุกเฉินมีน้อยไป ทำให้มีผู้ป่วยฉุกเฉินที่จำเป็นต้องทำผ่าตัดด่วนค้างมาก ก็สั่งการให้เพิ่มทีมผ่าตัดได้เลย ไม่ต้องมาทำวิจัยก่อนว่า เพิ่มทีมผ่าตัดดีหรือไม่?
  • แก้ไขด้วยบางส่วนของกระบวนการวิจัย เช่นการสืบค้น (Literature review) เพื่อหาวิธีการหรือแนวทางที่ดีมาพัฒนางานประจำของหน่วยงาน
  • แก้ไขด้วยการวิจัยเต็มรูปแบบ ใช้ในกรณี
    • ยังไม่มีหลักฐานยืนยันความปลอดภัยของบริการชนิดนั้น
    • ต้องการเผยแพร่งานประจำที่ดี ซึ่งพัฒนาโดย CQI


การจัดการเพื่อรองรับ Routine to research

  • สร้างทีมที่มีความรู้ด้านการวิจัย
  • จัดการอบรมการวิจัยโดยใช้ปัญหาจากงานประจำ
  • จัดหาที่ปรึกษา
  • จัดหาทุนสนับสนุน
  • จัดหาเวทีแสดงผลงาน
  • จัดการให้สามารถเผยแพร่ผลงาน

ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ

  • ความรักองค์กร
  • การทำงานเป็นทีม
  • การจัดการความรู้ โดยอาศัย
    • ความรู้ด้าน Information Technology
    • ปรับวิธีคิดโดยกระบวนการวิจัย
    • ความรู้ด้าน Management of Information System
  • แรงกระตุ้นจากหน่วยงานภายนอก

ที่มา:นพ.วิศิษฎ์ สงวนวงศ์วาน กลุ่มงานศัลยกรรม
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ (Tags): #kmclass
หมายเลขบันทึก: 62992เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2006 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท