ชาวนา...Farmer...T&V System....06/06/60


เพราะว่าฉันก็เป็น"ลูกชาวนา" ดังนั้นฉันจึงรัก"ชาวนา"และรักการเป็นอยู่แบบ"ชาวนา" วันนี้ขอเก็บเอาเรื่องราวของ"ชาวนา"มาบันทึกเอาไว้ ในวันดี ดี เช่นนี้ 06/06/60 ขอขอบคุณ G2K ที่เป็นสื่อกลางในการส่งต่อเรื่องราวจากชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ "อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร".....

-เมื่อย่างเข้าฤดูฝนแล้ว วิถีแห่งการเพาะปลูกก็เริ่มขึ้น การดำรงชีพแบบพึ่งพาอาศัยธรรมชาติของผู้คนกลุ่มหนึ่ง ที่่เรียกตัวเองว่า"เกษตรกร"ถูกกำหนดด้วยสภาพแห่งฤดูกาลต่างๆ และในเวลานี้่สิ่งเดียวที่จะต้องเร่งรีบและไม่ต้องรอคำสั่งการจากใครๆ นั่นก็คือ"การลงมือทำนา/ทำสวน/ทำไร่"เพื่อนำผลผลิตเหล่านั้นมาหล่อเลี้ยงชีพให้คงอยู่ได้ด้วยความสามารถของตนเอง..และวันนี้ตัวผมเองในฐานะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับตำบล หรือเรียกมีชื่อเรียกขานกันจนติดปากและรู้จักกันในนาม"เกษตรตำบล"ได้ออกไปเยี่ยมเยียนพี่น้องเกษตรกรและให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ ตามบทบาทและภารกิจที่ได้รับมอบหมาย และเมื่อมีโอกาสได้ออกไปเยือนถึงถิ่นที่อยู่ของพี่น้องเกษตรกรแล้ว จึงขอเก็บภาพและเรื่องราวมาฝากให้ผู้อ่านได้ร่วมติดตามกัน ว่าแต่วันนี้ผมจะไปทำอะไร ที่ไหน อย่างไรบ้างนั้น....ตามผมไปชมพร้อมๆ กันได้แล้วคร้าบ.....

1.กับเช้าวันนี้ (06/06/60)เป็นวันดี ดี ที่ใครหลายๆ คนในโลกออนไลน์ต่างก็ส่งความปราถนาดีมาให้กันและกันผ่านเครื่องมือสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เนื่องด้วยเหตุผลต่างๆ นาๆ ที่สนับสนุนวันดี ดี เช่นนี้ครับ...แต่สำหรับผมแล้ว วันนี้ผมได้มีโอกาสออกไปเยี่ยมครอบครัวของ"ป้าแป้น"ที่ัวันนี้กำลัง"ลงแขก"หว่านข้าวในนา ที่มีอยู่หลายสิบไร่ ในวันนี้มี"พี่พร/พี่เหมียว/ทิดแจว และเพื่อนบ้าน อีกหลายคนมาช่วยกัน และสิ่งที่ยังสัมผัสได้จากชุมชนแห่งนี้ก็คือ"การแบ่งปัน"และความ"มีน้ำใจ"ที่มาช่วยเหลือกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการ"ลดต้นทุนการผลิต"ด้วยการ"ลงแขก"ครับ เพราะหากต้องจ้างเป็นราคาต่อวันแล้ว ผมว่าก็ต้องใช้เงินมากทีเดียวเชียวล่ะครับ...สำหรับข้าวที่กำลังหว่านในแปลงนาแห่งนี้ครอบครัวของ"ป้าแป้น"หว่านข้าวพันธุ์"ขาวดอกมะลิ 105"ครับ ทั้งนี้ก็เพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนและหากเหลือมากก็จะแบ่งขายเป็นรายได้อีกทางหนึ่งด้วยล่ะครับ นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นแห่งฤดูกาล ต่อจากนี้ต้องมีการดูแลและจัดการแปลงนาต่อไปอีกประมาณ 5 เดือนเศษ หากไม่มีภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากนัก นาแปลงนี้ก็จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อย่างเต็มที่ครับ.....

2.หลังจากได้พูดคุยกับ"ทีมงานชาวนา"เรียบร้อยแล้ว "ลุง"แฟนของ"ป้าแป้น"ก็พาผมไปชมกิจกรรมการเกษตรกันต่อครับ ถือเป็นวิถีแห่งการดำรงชีพของคนในสังคมชนบท ที่นอกจากจะทำนาเพื่อผลิตข้าวไว้บริโภคเองแล้ว ยังแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้สำหรับปลูกพืชผักสวนครัวต่างๆ เพื่อเก็บไว้เป็นอาหารในช่วงนี้ครับ สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติได้สอนให้ผู้คนได้เรียนรู้ในการเอาตัวรอดมาตลอด เพียงแต่จะมีใครบ้างที่จะได้นำเอาบทเรียนนั้นๆ มาปฏิบัติตาม แต่สำหรับครอบครัวของ"ป้าแป้น"แล้ว การดำรงชีพแบบนี้ได้ถือปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องและถือเป็นตัวอย่างที่ดีมากๆ เลยล่ะครับ...

3.นอกจากพืชผักสวนครัวที่ได้ปลูกเอาไว้ สิ่งหนึ่งที่ครอบครัวนี้ได้เก็บรักษาเอาไว้นั่นก็คือ"พืชอาหารจากป่า"ที่มีชื่อว่า"ต้นเป้ง"ที่ขณะนี้กำลังมีจำนวนน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ก็สืบเนื่องมาจากการแผ้วถางพื้นที่ป่าเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดต่างๆ นั่นเองครับ สำหรับเรื่องราวของ"หัวเป้ง"นั้น ผมได้เคยนำมาบันทึกเอาไว้หลายครั้งแล้ว หากผู้อ่านท่านใดมีความสนใจก็สามารถตามไปอ่านได้จากบันทึกนี้ครับ รวมบันทึกเรื่อง"หัวเป้ง" และที่ท่านกำลังเห็นอยู่นี้นั่นก็คือ"ผลเป้ง"ครับ ผลเป้งจะมีลักษณะเป็นพวง เมื่อสุกจะมีสีแดง นำมากินก็จะออกรสชาติหวานๆ ครับ และตัวผมเองได้ขอ"ผลเป้ง"พวงนี้เอาไว้ หากผลเป้งสุกเมื่อไหร่ผมจะได้นำเอาไปเพาะเพื่อขยายพันธุ์ต่อไปครับ....

4.และนี่ก็คือความเป็นอยู่และวิถีของผู้คนเหล่านี้ ผู้คนที่ได้ชื่อว่าเป็น"กระดูกสันหลังของชาติ"ผู้คนที่อยู่เบื้องหลังระบบเศรษฐกิจมวลรวมต่างๆ ที่ตัวผมเองก็ไม่ค่อยจะถนัดคิดคำนวณนัก แต่สำหรับตัวผมและผู้คนเหล่านี้ คิดว่าเรามิได้มีผลกระทบอะไรมากนัก แต่สิ่งที่ได้รับมากกว่านั่นก็คือ"ความสุข"ที่เราได้รับและการที่เราได้อยู่ในชุมชนแห่งนี้เราก็พอใจแล้วล่ะครับ....

5.เมื่อได้เรียนรู้และสัมผัสกับวิถีการยังชีพของพี่น้องเกษตรกรกันแล้ว ต่อไปผมก็จะขอนำเอาหลักการต่างๆ ที่ได้เรียนรู้มาปฏิบัติเองบ้าง ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเพิ่มพลังกาย พลังใจ ให้กับ"ครอบครัวเล็กๆ"ของเราครับ..บ่อยครั้งที่ผมมักจะนำเอาเรื่องราวที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่มาบันทึกเอาไว้ รวมทั้งมักจะแฝงไปด้วยเรื่องราวของกิจกรรมที่เกิดขึ้น ณ บ้านไร่ ของผมมาบันทึกเอาไว้ด้วย ทั้งนี้มิได้มุ่งหวังในธุรกิจอันใด แต่สิ่งที่มุ่งหวังเอาไว้ในใจนั่นก็คือ"การได้สืบสานและเรียนรู้วิถีแห่งการเกษตรแบบพอเพียง"เอาไว้เท่านั้นครับ เพราะหากเราได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตัวเราเองแล้ว ผมเชื่อว่าเราจะได้ทักษะและประสบการณ์ชีวิตที่มากมายเลยล่ะครับ และวันนี้ผมก็ได้เรียนรู้เรื่องการ"ปลูกบอนงู หรือ พันงู"ที่ตัวผมได้รับเมล็ดพันธุ์มาจาก"พี่เพ็ญ"เกษตรกรหมู่ที่ 12 ตำบลพรานกระต่าย เมื่อได้มาแล้วก็เร่ิมลงมือ"สร้างป่า" ณ บ้านไร่ Hi Hug House ของผมทันทีครับ...

6.และนี่ก็คือ"ความสุข"ของผมที่ได้อยู่ที่นี่ ขอบคุณโอกาสต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของผม ที่ทำให้ผมได้มาอยู่ ณ จุดนี้ สิ่งที่หวังเอาไว้ในขั้นต้นของชีวิต อาจจะไม่ใช่แบบนีี้ แต่เป็นเพราะโชคชะตาหรืออะไรก็แล้วแต่ ที่ทำให้ตัวผมเองได้มาสัมผัสและเรียนรู้วิถีการเป็นอยู่แบบนี้ จึงต้องขอขอบคุณสิ่งเหล่านั้นที่ชักนำผมมา เพราะผมเชื่อว่า"สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดีเสมอ"ครับ.....

สำหรับวันนี้...

สวัสดี...กับวัน(ตัวเลข)ดี ดี เช่นนี้

เพชรน้ำหนึ่ง

06/06/60

คำสำคัญ (Tags): #ชาวนา#บุญส่ง จอมดวง#เจ้าพนักงานเคหกิจเกษตร#เกษตรตำบล#การทำนา#ิวิถีพอเพียง#เศรษฐกิจพอเพียง#เกษตรกรรม#เกษตรกร#นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร#กรมส่งเสริมการเกษตร#กระทรวงเกษตรและสหกรณ์#อำเภอพรานกระต่าย#ป้าแป้น#T&V System#Change to the Best#MRCF#g2k#T&V#ระบบส่งเสริมการเกษตร#เยี่ยมเยียนเกษตรกร#การปลูกบอนงู#การปลูกพันงู#บอนงู#พันงู#การเพาะพันงู#ไร่เกษตร#บ้านไร่#Hi Hug House#ปรียารัตน์ จอมดวง#ข้าราชการพลเรือน#กพ#จังหวัดกำแพงเพชร#ท่องเที่ยวเชิงเกษตร#เคหกิจเกษตร#เกษตรตำบลดีเด่น#สขข.9#สขข.6#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่#ความสุข#ปลูกผักกินได้#เกษตรกรรมบำบัด#แรงบันดาลใจ#หัวเป้ง#ผลเป้ง#มันอ้อน#การลงแขก#ลงแขก#การลดต้นทุนการผลิต#ข้าวนาปี#ฤดูกาล#ฤดูฝน#พืชอาหาร#ความมั่นคงทางอาหาร#farmer#thailand
หมายเลขบันทึก: 629397เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2017 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2017 13:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

การลงแขกเป็นการลดต้นทุนการผลิตชนิดหนึ่งจริงๆครับ

สวัสดีค่ะ น้องเพชรน้ำหนึ่ง

มาติดตามงานของเกษตรตำบลคนขยันแห่งอ.พรานกระต่ายอีกครั้งหลังจากหายไปนาน

อ่านแล้วมีความสุขอยู่กับการปลูกจริงๆค่ะ

ลงแขก ทางใต้เรียกว่า "ซอมือ"(คือช่วยกัน )

เห็นสีสรรค์ชนบท ในวิถีชาวนา

Hi Hug House มีโอกาสจะนอนฝันหวานสักคืนสองคืน

ชาวนาเหนือและลำบากนะครับ

ชอบใจบอนที่บ้านมีมีบอนหางไก่และบอนหางเสือ

แต่ไม่เคยกินเป้งเลยครับ

อร่อยไหมทีแรกคิดว่าอินทผาลัมครับ

5555

เป็นชีวิตที่น่ารื่นรมย์ค่ะ

ความสุข ... วัดยาก แต่บอกได้ว่า ... มี ยินดี ๆ กับชีวิตที่เลือกได้ว่ารื่นรมย์นะคะ .... ดีงามเสมอ

บ่อยครั้ง ผมก็เชื่อว่าเราล้วนถูกลิขิตมายังที่ใดที่หนึ่ง รากอันแท้จริงของเรา อาจไม่ได้หมายถึงเฉพาะรกรากบ้านเกิดที่เราลืมตาขึ้นมาเสมอไป .....

ชื่นชม ครับ

-สวัสดีครับอาจารย์ต้น

-ถือเป็นการลดต้นทุนการผลิตแบบหนึ่งแต่สิ่งที่ได้มากกว่านั่นก็คือวิถีแห่งความพอเพียงครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจชาวนาด้วยนะครับ

-สวัสดีครับครูดาหลา

-ด้วยความระลึกถึงแม่ครูครับ

-ติดตามแม่ครูผ่านเฟสบุ๊ค

-มีกิจกรรมดีๆ มากมายเลยนะครับ

-ขอบคุณที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจบันทึกนี้ครับ

-สวัสดีครับท่านวอญ่า..

-ขอบคุณสำหรับศัพท์คำใต้นะครับ

-ผมเฝ้ารอต้อนรับท่านครับ

-รอๆ ๆ ๆ ๆท่านว่างขอรับ

-อยากให้มาพักผ่อนสัก 1 อาทิตย์ 55

-ขอบคุณคุณที่มาร่วมส่งพลังใจครับ

-สวัสดีครับอาจารย์ขจิต

-ชาวนาคือกระดูสันหลังของชาติ เขาบอกเอาไว้เช่นนั้น

-แต่ตอนนี้สันหลังของชาติกำลังลำบาก

-คงต้องช่วยกันดูแลครับ

-ขอบคุณอาจารย์ที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจบันทึกนี้ครับ

-สวัสดีครับคุณณัฐรดา

-ถือเป็นความสุขที่ได้พบเจอและสัมผัสได้จากอำเภอเล็กๆ แห่งนี้ครับ

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับพี่หมอธิ

-มาๆ มาพักผ่อนด้วยกันครับพี่หมอ 55

-ขอบคุณที่มาแวะทักทายกันนะครับ

-สวัสดีครับครูแป๊ว

-เป็นอาหารพื้นบ้าน ณ บ้านไร่ของผมครับ

-ความสุขอยู่ก็ตรงนี้ มีอาหารอร่อยๆ ทานครับ 555

-ขอบคุณครับ

-สวัสดีครับอาจารย์แผ่นดิน

-เพราะโชคชะตาจึงพาผมมาอยู่ ณ ที่แห่งนี้ครับ

-จังหวะของชีวิตก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง

-ขอบคุณอาจารย์ที่มาให้กำลังใจบันทึกนี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท