ร่างรายงาน[ผู้ต้องหา]04-บทที่3


หน้าที่ของหนังสือพิมพ์ในฐานะสื่อมวลชนนั้นถือได้ว่ามีหน้าที่และความรับผิดชอบที่กว้างขวางและดูจะปราศจากของเขต เรื่องต่างๆที่หนังสือพิมพ์เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือจะเป็นภัยต่อส่วนรวมแล้ว หนังสือพิมพ์จะถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องและรายงานเหตุการณ์นั้นๆให้ประชาชนทราบในทันที

บทที่ 3

การปฏิบัติงานของหนังสือพิมพ์อันมีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ต้องหาคดีอาญา

3.1 พัฒนาการของการสื่อสารผ่านตัวอักษรของมนุษย์

มนุษย์นั้นจัดได้ว่าเป็นสัตว์สังคม  มีการพึ่งพาอาศัยระหว่างกันมาช้านาน  การเป็นอยู่ของมนุษย์จึงจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันทั้งภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม  รูปแบบของการติดต่อสื่อสารนั้นก็มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆตามอารยธรรมของมนุษย์  การติดต่อสื่อสารระหว่างกันเริ่มต้นจากการใช้เสียงส่งสัญญาณ  แต่การส่งเสียงหากันนั้นยังไม่สามารถสนองความต้องการในการสื่อสารชองมนุษย์ได้อย่างเพียงพอ  เนื่องจากเสียงนั้นเมื่อเปล่งออกไปแล้วก็จะได้ยินอยู่เพียงชั่วระยะเวลาไม่นาน  อีกทั้งเสียงก็จำกัดอยู่ภายในวงสนทนาเท่านั้น  หากต้องการให้ข่าวสารที่ต้องการแจ้งขยายวงกว้างออกไปก็จำเป็นที่ผู้ฟังต้องจำแล้วนำไปบอกต่อเป็นทอดๆ  และการบอกต่อไปเป็นทอดๆด้วยเสียงนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความผิดเพี้ยนในตัวข้อมูลได้
จนกระทั่งมนุษย์มีอารยธรรมที่เจริญงอกงามขึ้น  ภูมิปัญญาของมนุษย์สามารถนำสิ่งที่มีอยู่รอบตัวมาดัดแปลงปรับแต่งสนองความต้องการในด้านต่างๆของมนุษย์ได้  และหนึ่งในความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ก็คือการคิดค้นเอารูปภาพ (pictograph)  หรือการประดิษฐ์ตัวอักษรมาใช้เป็นสื่อในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน  ในช่วงแรกเริ่มอารยธรรมการสื่อสารลักษณะนี้จะใช้แรงงานคนในการแกะสลักหรือวาดรูปภาพหรือตัวอักษรลงบนวัตถุต่างๆ  เช่น กระดูกสัตว์  กระดานหิน  แผ่นไม้  จนกระทั่งอารยธรรมดังกล่าวเริ่มประสบปัญหา  กล่าวคือบรรดาวัตถุที่มนุษย์นำมาใช้ขีดเขียนนั้นไม่เหมาะสมต่อการนำออกเผยแพร่  ด้วยเหตุที่มีน้ำหนักมากหรือรูปร่างที่ไม่เหมาะต่อการขนส่งเคลื่อนย้าย  มนุษย์จึงได้สร้างสรรค์สิ่งที่เรียกว่ากระดาษ  กระดาษที่ประดิษฐ์ขึ้นมานั้นเมื่อเปรียบเทียบกับกระดูกสัตว์  กระดานหิน  หรือแผ่นไม่แล้วจะเห็นได้ถึงความแตกต่าง  กล่าวคือ  กระดาษมีน้ำหนักเบา  มีพื้นผิวที่เอื้อต่อการวาดภาพหรือเขียนตัวอักษร  และที่สำคัญคือสามารถเก็บรวบรวมและส่งต่อไปยังกลุ่มผู้รับสารได้ง่าย  แต่การสื่อสารของมนุษย์ก็ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร  เนื่องจากกระดาษยังจัดเป็นสินค้าชั้นสูงที่มีราคาแพง  อีกทั้งการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารก็ต้องอาศัยแรงงานคนในการคัดลอกด้วยลายมือ  จึงค่อนข้างเปลืองเวลาและมีค่าใช้จ่ายสูง  และประการสุดท้ายประการสำคัญก็คือคนรู้หนังสือยังมีน้อย
พัฒนาการของการสื่อสารผ่านตัวอักษรของมนุษย์ที่จะถือว่าประสบความสำเร็จนั้น  แท้จริงเพิ่มเริ่มต้นขึ้นเมื่อมนุษย์รู้จักระบบการพิมพ์  การค้นพบระบบการพิมพ์ทำให้มนุษย์เรามีโอกาสในการอ่านออกเขียนได้มากขึ้น  การบอกเล่าเรื่องราวสามารถทำได้โดยง่าย  ข่าวสารจากชุมชนหนึ่งสามารถส่งต่อไปยังชุมชนอื่นๆได้โดยไม่ถูกจำกัดโดยระยะทางหรือช่วงเวลาอีกต่อไป  ดังนั้นช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จในการติดต่อสื่อสารของมนุษย์อย่างแท้จริง

3.2 ความหมายของหนังสือพิมพ์

ในการติดต่อสื่อสารของมนุษย์เรานั้น  ถือได้ว่าสื่อมวลชนเป็นผู้ที่มีบทบาทอย่างยิ่งที่ช่วยให้การติตดต่อสื่อสารสามารถประสบความสำเร็จได้โดยง่าย  และในบรรดาสื่อมวลชนต่างๆหนังสือพิมพ์เป็นอุปกรณ์สำคัญอันหนึ่งในการเสนอข่าวความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในสังคมประจำวัน  ดังนั้น  หนังสือพิมพ์ย่อมเป็นกระจกเงาสะท้อนให้เห็นว่าสังคมนั้นมีแนวความคิดเป็นอย่างไร  มีพฤติกรรมโดยรวมเป็นอย่างไร
เมื่อกล่าวถึงการให้คำจำกัดความของคำว่า “หนังสือพิมพ์” ย่อมเป็นการยากที่จะคิดหาคำจำกัดความที่ครอบคลุมเนื้อหาสาระของหนังสือพิมพ์  คำจำกัดความที่มีนักวิชาการพยายามกำหนดให้นั้นจึงแตกต่างออกไปตามแต่ละมุมมองของแต่ละท่าน  เช่น
Mr. Eric Hodgin  แห่งหนังสือพิมพ์ Time Magazine ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “หนังสือพิมพ์นั้น  ถือว่าเป็นเครื่องมือการสำรวจ  และการให้ความเข้าใจจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยการแจ้งข่าวที่แน่นอนและเป็นจริงให้ประชาชนทราบ  บางครั้งความจริงอาจต้องใช้เวลาในการเปิดเผย  แต่เมื่อใดที่เปิดเผยไปแล้วก็จะเป็นความจริงอย่างแน่นอน”
หนังสือพิมพ์  เราหมายรวมถึงสิ่งพิมพ์ที่รวบรวมและบรรจุไว้ด้วยข่าว  บทวิจารณ์  ภาพข่าว  ภาพล้อเลียน  และสารคดีต่างๆ  รวมทั้งสารคดีที่เกี่ยวกับข่าวด้วย
หนังสือพิมพ์  คือหนังสือบอกข่าว  หมายรวมตั้งแต่หนังสือข่าวฉบับย่อยๆ  ทำด้วยฝีมือของคนเพียง 2 - 3 คน  ไปถึงหนังสือพิมพ์ระดับชาติที่ออกในเมืองใหญ่ๆ  มีคนงานเป็นร้อยเป็นพันคน  หนังสือพิมพ์อาจจะออกเป็นรายวัน  รายสัปดาห์  รายปักษ์  หรือรายเดือนก็ได้  หนังสือพิมพ์ประกอบขึ้นด้วยตัวพิมพ์  หมึกพิมพ์  และกระดาษพิมพ์
จากตัวอย่างคำนิยามที่ได้ยกมานั้นจะพบว่าการให้คำนิยามแก่หนังสือพิมพ์นั้นล้วนแตกต่างกันไปตามทัศนะความเห็นของผู้นั้น  แต่ถึงอย่างไรก็พอให้คำจำกัดความโดยสรุปได้ดังนี้ “หนังสือพิมพ์  คือสิ่งตีพิมพ์ที่ออกตามระยะเวลาที่กำหนดติดต่อกันไปเป็นลำดับ  รวบรวมและบรรจุไว้ด้วยข่าว  บทวิจารณ์  ภาพข่าว  ภาพล้อและสารคดีต่างๆ  รวมทั้งสารคดีที่เกี่ยวกับข่าว  หนังสือพิมพ์อาจจะออกเป็นรายวัน  รายสัปดาห์  รายปักษ์  หรือรายเดือนก็ได้”

3.3 ความเป็นมาของหนังสือพิมพ์

จากที่ได้กล่าวถึงพัฒนาการของการสื่อสารผ่านตัวอักษรของมนุษย์มาแล้วในตอนต้น  พัฒนาการดังกล่าวแม้จะก้าวหน้าไปมากตลอดระยะเวลาปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 และครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16  แต่การใช้ประโยชน์จากการพิมพ์ยังอย่าในวงจำกัด  ส่วนใหญ่อยู่ในมือของกลุ่มคนที่มีอำนาจไม่ว่าอำนาจที่มีนั้นเป็นอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมายด้วยหรือไม่ก็ตาม  ในช่วงแรกเริ่มหนังสือพิมพ์มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อแจ้งข่าวสาร  แต่ถึงอย่างไรก็ยังไม่อาจถือว่าเป็นหนังสือพิมพ์อย่างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน  แต่บรรพบุรุษของหนังสือพิมพ์แยกได้ 3 ประเภท   คือ
1. หนังสือแจ้งข่าวสารของทางราชการ (Official Gazette) หนังสือประเภทนี้ทางการหรือรัฐบาลจะใช้เป็นหนังสือบอกข่าวจากเมืองหลวงไปยังหัวเมืองหรือเมืองขึ้น เป็นทำนอง      “ใบบอกข่าว” ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่าหนังสือประเภทนี้ใช้ครั้งแรกในอาณาจักรจีนและอาณาจักรโรมัน
2. จดหมายเหตุการค้า  เกิดจากระบบการค้าแบบเครือญาติพบได้ในชนชาติจีนและชนชาติยิว  เนื่องจากในสมัยก่อนการค้าขายจะกระจายตัวกันอยู่ตามหัวเมือง  มิได้กระจุกตัวอยู่เฉพาะเมืองหลวงเท่านั้น  ด้วยเหตุนี้หากคนที่อยู่ในเครือญาติของตนไปประกอบธุรกิจอยู่ ณ หัวเมืองใด  ญาติพี่น้องก็มักเขียนหนังสือบอกเล่าเรื่องราวและความเป็นไปของตนให้อีกฝ่ายที่อยู่ต่างเมืองทราบ  เพื่อจะได้หาลู่ทางในการประกอบธุรกิจการค้าที่เจริญรุ่งเรืองแก่หมู่เครือญาติของตนได้  ข่าวสารที่ส่งหากันนี้  เรียกว่า “News Letter”
3. Pamphlet เกิดขึ้นในช่วงที่ศาสนจักรกำลังประสบปัญหา    โดยปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่เจ้าครองนครหรือกษัตริย์บังคับให้ประชาชนหันมานับถือศาสนาคริสต์นิกายใดนิกายหนึ่งตามที่ผู้ใช้อำนาจปกครองต้องการ  เมื่อประชาชนถูกกดขี่มากๆจึงมีผู้หาวิธีการระบายออกมาโดยผ่านทางตัวอักษร  เพื่อบอกเล่าความทุกยากที่ตนได้เจอ  พร้อมกับส่งต่อไปในชุมชนของตนเพื่อร่วมวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นและอาจรวมถึงขั้นเขียนโจมตีผู้ใช้อำนาจปกครอง  กล่าวได้ว่า Pamphlet เป็นต้นแบบของการเขียนบทความ  หรือบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน
นอกจากนี้แล้วยังมีสื่อที่มีลักษณะเป็นใบปลิวข่าวที่เรียกว่า “News Sheets” มีลักษณะเป็นใบบอกข่าวที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของท้องถิ่นหรือชาวบ้านทั่วไป ใครต้องการที่จะบอกข่าวให้คนทั่วไปรู้ในสิ่งที่ตนเห็นว่าเป็นประโยชน์ก็จะไปจ้างพิมพ์จากนั้นจึงนำไปแจกจ่าย  ใบปลิวข่าวนี้มีลักษณะเป็นบรรพบุรุษของการโฆษณามากกว่าเป็นบรรพบุรุษของหนังสือพิมพ์
ส่วนประกอบของเนื้อหาหนังสือพิมพ์ได้เกิดขึ้นแล้วในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16  และสามารถแยกได้ 4 ประการ  คือ  ข่าวราชการ - การเมือง  ข้าวเศรษฐกิจ - การค้า  บทความบรรณาธิการ  และการโฆษณาสินค้าซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนารูปแบบมาเป็นเนื้อหาหลักอย่างที่ปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน

3.4 การดำเนินการของหนังสือพิมพ์

วัตถุประสงค์ของหนังสือพิมพ์

การดำเนินการของหนังสือพิมพ์นั้นมีวัตถุประสงค์มากมายหลายประการ  และแต่ละสำนักพิมพ์ก็จะให้ความสำคัญกับเนื้อหาสาระที่เข้มข้นต่างกันไป  โดยการเลือกเนื้อหามานำเสนอนั้นหนังสือพิมพ์เองจะต้องมีฐานข้อมูลว่าประชาชนกลุ่มเป้าหมายของตนต้องการรับทราบเนื้อหาหรือข่าวสารประเภทใดเพื่อที่จะจะได้นำเสนอได้ตรงตามความต้องการดังกล่าว  โดยหากประชาชนสนใจในเนื้อหาประเภทใดมากหนังสือพิมพ์ก็จะลงเนื้อหาประเภทนั้นมากเป็นพิเศษ  และในทางกลับกัน  เนื้อหาใดที่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายไม่ต้องการรับทราบ  หนังสือพิมพ์ก็อาจตัดทอนเนื้อหาส่วนนั้นตามความเหมาะสม  ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการดำเนินกิจการหนังสือพิมพ์จึงสามารถจำแนกเป็นข้อๆได้  ดังนี้
1. หนังสือพิมพ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการแจ้งข่าว  เป็นหน้าที่ของหนังสือพิมพ์ที่จะต้องแสวงหาและติดตามสถานการณ์ต่างๆซึ่งเกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดขึ้นในหรือนอกประเทศ  เพื่อนำมาเขียนข่าวบอกเลาเรื่องราวนั้นๆให้ผู้อ่านได้ทราบ  การหาข่าวจึงเป็นหัวใจสำคัญของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ
2. หนังสือพิมพ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจ  ซึ่งนอกจากจะมีหน้าที่รายงานข่าวสารแล้ว  หนังสือพิมพ์ยังต้องติดตามผลการนำเสนอข่าวของตนว่าเนื้อหาเรื่องตนนำมาเสนอแก่ประชาชนนั้น  ประชาชนมีความต้องการรับทราบเนื้อหาของข่าวเพิ่มเติมอีกหรือไม่  หากมีความประสงค์ดังกล่าว  หนังสือพิมพ์ก็ต้องรับหน้าที่ค้นคว้าหารายละเอียดของข่าวดังกล่าวมานำเสนอเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจอันดีของประชาชนผู้ติดตามข่าวของตน
3. หนังสือพิมพ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความบันเทิงเพลิดเพลินใจ  คือการลงเรื่องที่จะให้ความสนุกสนานแก่ผู้อ่าน  เช่น นวนิยาย  บันเทิงคดี  เกร็ดความรู้  หรือกีฬา  เป็นต้น  ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของนักหนังสือพิมพ์ที่จะคาดถึงความต้องการของผู้อ่าน

หน้าที่ของหนังสือพิมพ์

หน้าที่ของหนังสือพิมพ์ในฐานะสื่อมวลชนนั้นถือได้ว่ามีหน้าที่และความรับผิดชอบที่กว้างขวางและดูจะปราศจากของเขต  เรื่องต่างๆที่หนังสือพิมพ์เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือจะเป็นภัยต่อส่วนรวมแล้ว  หนังสือพิมพ์จะถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องและรายงานเหตุการณ์นั้นๆให้ประชาชนทราบในทันที  ในที่นี้จะกล่าวถึงลักษณะหน้าที่ของหนังสือพิมพ์เป็นข้อๆ  ดังนี้
1.หน้าที่ในการนำเสนอขาวสารข้อเท็จจริงให้ประชาชนทราบ  เนื้อหาของข่าวจะเป็นเนื้อหาที่กำลังเป็นที่สนใจอยู่ในขณะนั้น  การนำเสนอจะต้องคำนึงถึงสาระที่จะช่วยส่งเสริมความรู้สึกนึกคิดทั้งทางด้านเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม  และเรื่องอื่นๆที่จะเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม  ในการนำเสนอข่าวสารนี้  หนังสือพิมพ์ยังต้องเสนอไปตามความเป็นจริงไม่บิดเบือนเนื้อหาของข่าว  ซึ่งหลักประการนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของความเป็นหนังสือพิมพ์  ดังนั้นแม้ว่าหนังสือพิมพ์ต้องนำเสนอข่าวโดยแข่งกับทั้งเวลาและกับคู่แข่งทางเศรษฐกิจ  แต่เมื่อหนังสือพิมพ์ได้ทราบเนื้อหาข่าวใดแล้ว  หนังสือพิมพ์ก็มีหน้าที่ที่จะต้องสืบหามูลความจริงเพื่อสร้างน้ำหนักให้แก่ข่าวของตนก่อนว่ามีความน่าเชื่อถือก่อนที่จะนำข่าวนั้นออกสู่สายตาประชาชน
2. หน้าที่ในการนำเสนอความคิดเห็นและหน้าที่ในการเป็นตลาดเสรีแห่งความคิด  นอกจากการนำเสนอข่าวตามปกติแล้ว  ในบางครั้งหนังสือพิมพ์เองก็จำเป็นต้องทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนต่อมวลชนบ้าง  โดยจะเป็นผู้ชี้นำ  ชี้แนะ  กระตุ้นความคิด  ทัศนคติ  ค่านิยม  หรือความต้องการใหม่ๆ  ตลอดชี้นำในบางเรื่องที่เห็นว่าเรื่องดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมแต่เรื่องนั้นกลับถูกมองข้ามไป  เป็นต้น  ส่วนการเป็นตลาดเสรีแห่งความคิดนั้น  หมายความว่า  หนังสือพิมพ์จะต้องเปิดโอกาสให้มีการแสดงทัศนคติความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ  แม้ว่าความคิดเห็นนั้นๆจะเป็นความคิดเห็นในมุมแย้งก็ตาม  เนื่องจากการเป็นตลาดเสรีแห่งความคิดนี้ถือเป็นการยอมรับว่าประชาชนเป็นผู้ที่มีสติปัญญา  สามารถที่จะเห็นว่าเรื่องใดเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหา  มิใช่เห็นคล้อยไปกับการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ไปเสียทุกเรื่อง  และการแสดงความคิดเห็นของประชาชนนี้ยังอาจถึงขั้นกลายเป็นกระจกสะท้อนมติมหาชนไปในตัวด้วย
3. หน้าที่ในการให้ความบันเทิง  ถือเป็นการลดความตึงเครียดในการรับรู้ข่าวสาร  ทำให้ประชาชนได้ผ่อนคลายไปกับความบันเทิงและสาระอื่นๆที่มิได้เป็นเนื้อหาข่าวอย่างแท้จริง
4. หน้าที่ในการเป็นสื่อกลางในทางธุรกิจ  คือการเป็นผู้เปิดให้ลงโฆษณาสินค้าและบริการ  ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้มาพบกัน
5. หน้าที่ในการประเมินข่าวสารและสาระที่หนังสือพิมพ์จะนำมาเสนอแก่ประชาชน  เนื่องจากต้องคำนึงถึงความเหมาะสมทุกด้าน  เพราะการที่หนังสือเป็นเป็นสื่อที่มีอิทธิพลกว้างขวางคนทุกคนเข้าถึงหนังสือพิมพ์ได้โดยง่าย  ดังนั้นเนื้อข่าว  ภาษที่ใช้  และรูปภาพ  ล้วนต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและผลที่จะเกิดต่อส่วนรวมด้วยกันทั้งสิ้น
6. หน้าที่ในการให้ความรับผิดชอบ  เนื่องจากหนังสือพิมพ์มีอิทธิพลต่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน  หน้าที่อีกประการหนึ่งที่สำคัญยิ่งของการเป็นหนังสือพิมพ์ก็คือการรับผิดชอบต่อข่าวที่ตนนำเสนออกไป  การแสดงความรับผิดชอบดังกล่าวถือเป็นมารยาทที่ดีที่หนังสือพิมพ์พึงกระทำโดยต้องคำนึงประโยชน์ของประชาชนก่อนประโยชน์ของหนังสือพิมพ์เอง  หากปรากฏว่าการนำเสนอข่าวของตนผิดพลาดถือเป็นความรับผิดชอบที่หนังสือพิมพ์ต้องไม่นำความผิดพลาดนั้นโยนต่อไปยังที่อื่นหรือโทษว่าความผิดนั้นมีสาเหตุมาจากแหล่งข่าว
7. หน้าที่ในการดำรงตนให้เป็นอิสระ  หมายความว่าหนังสือพิมพ์ต้องอยู่ได้ด้วยลำแข้งของตนเอง  ดำเนินกิจการเอง  ไม่ต้องพึ่งพาเงินทุนหรือรับการอุดหนุนใดๆจากภายนอก  เพราะถ้าหนังสือพิมพ์ต้องตกอยู่ภายใต้อาณัติหรือข้อผูกพันกับภายนอกอย่างใดๆแล้ว  ก็เป็นการยากที่หนังสือพิมพ์จะสามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อสังคมได้อย่างเต็มที่

ความรับผิดชอบของหนังสือพิมพ์

แนวคิดเรื่องความรับผิดชอบของหนังสือพิมพ์เริ่มปรากฏครั้งแรกเมื่อราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20  ซึ่งหลักดังกล่าวจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพและสิทธิของประชาชนผู้อ่านในการที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสาร  หลักดังกล่าว  พอสรุปได้  ดังนี้
1. หนังสือพิมพ์ต้องมีความตระหนักว่าตนมีหน้าที่ในการนำเสนอข่าวสารต่อประชาชนอย่างเที่ยงตรงครบถ้วนเท่าที่ความสามารถจะอำนวยให้ได้
2. หนังสือพิมพ์ต้องให้โอกาสแก่ผู้อ่านในการที่จะรับรู้  เข้าใจ  และประเมินค่าของข่าวสารที่สำคัญๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวสารที่เกี่ยวกับข้อขัดแย้งที่มีผลกระทบกระเทือนอย่างมากต่อส่วนได้เสียของสังคม
3. หนังสือพิมพ์ต้องรับผิดชอบต่อความเที่ยงตรงของการนำเสนอข่าว  ไม่นำเสนอข่าวไปในทางเอื้อผลประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  ดังนั้นหนังสือพิมพ์ต้องสร้างรากฐานของตนให้มั่นคงเพื่อที่ว่าหนังสือพิมพ์จะได้ไม่ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มผลประโยชน์ใดๆ
4. หนังสือพิมพ์ต้องเคารพต่อตัวบทกฎหมาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องหมิ่นประมาทและการตีพิมพ์ภาพที่ไม่เหมาะสม

3.5 อิทธิพลและบทบาทของหนังสือพิมพ์

จุดกำเนิดอิทธิพลของหนังสือพิมพ์

ในประวัติศาสตร์ว่าด้วยอิทธิพลของหนังสือพิมพ์นั้นปรากฏว่าอิทธิพลดังกล่าวมีขึ้นและเห็นเด่นชัดเป็นครั้งแรกในทวีปอเมริกาในช่วงเวลาซึ่งมีการโจมตีต่อต้านการมีทาสกันอย่างรุนแรงก่อนหน้าภาวะสงครามกลางเมืองเพื่อการเลิกทาสจะเกิดขึ้น  และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  หนังสือพิมพ์ก็ได้กลายมาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างการพัฒนาสาธารณมติของชุมชนที่เด่นที่สุด  และดูจะเป็นเพียงเครื่องมือเพียงประเภทเดียวในช่วงระยะเวลาดังกล่าว  ทั้งนี้เพราะสื่อมวลชนประเภทอื่นๆส่วนใหญ่ยังมิได้มีขึ้น  หรือหากมีแล้วแต่ก็ยังไม่เข้มแข็งพอที่จะทำหน้าที่สะท้อนสาธรณมติได้  ด้วยสถานะอันเข้มแข็งของหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงทำให้หนังสือพิมพ์เป็นกิจการที่ทรงอิทธิพลใหญ่หลวงยิ่ง
การเกิดขึ้นและการดำรงอยู่ของหนังสือพิมพ์ในแต่ละประเทศมักมีความคล้ายคลึงกัน  กล่าวคือในช่วงแรกหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นมาและอยู่ได้โดยพลังของนักหนังสือพิมพ์  ซึ่งได้พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะอุทิศตัวเพื่อประโยชน์ของสาธารณชน  สิ่งนี้ทำให้หนังสือพิมพ์มีอิทธิพลสำคัญและแผ่ขยายอิ?พลออกไปเป็นวงกว้าง  ในช่วงเวลานี้เจ้าของและบรรณาธิการได้ดำเนินกิจการการพิมพ์ตามอุดมการณ์ที่เขาเหล่านั้นเชื่อว่าประเสริฐที่สุด  ด้วยเหตุนี้ประชาชนคนอ่านจึงเกิดความศรัทธาในสิ่งซึ่งหนังสือพิมพ์เลือกสรรลงตีพิมพ์  อาจจะกล่าวได้ว่าที่หนังสือพิมพ์ยิ่งใหญ่รุ่งเรืองขึ้นมาได้ก็เพราะบุคลิกภาพของบุคคลผู้สร้างขึ้นมานั่นเอง  หนังสือพิมพ์จึงได้รับคำนิยามเกี่ยวกับเนื้อหาในโครงสร้างชนิดที่มองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้ของหนังสือพิมพ์ไว้ 4 ประการ  คือ
1. หนังสือพิมพ์เป็นองค์กรที่ทรงสมรรถวิสัยทางสังคม  และเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการสร้างสรรค์ความสำนึกของชุมชน
2. หนังสือพิมพ์เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีต่อข้อเท็จจริงต่างๆ  ซึ่งโดยบทบาทอันนี้หนังสือพิมพ์จึงทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องจักกลในการสร้างสรรค์ความคิดและทำลายความคิดไปในตัว  ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเลือกเสนอขาวและการดำเนินกิจการต่อข่าวนั่นเอง
3. หนังสือพิมพ์เป็นเครื่องสร้างสมอย่างหนึ่งของความประพฤติ  กล่าวอย่างง่ายก็คือการที่บุคคลจะได้ “มีชื่ออยู่ในข่าว” นั้น แต่ละบุคคลต่างก็คาดหวังที่จะได้มีชื่อเสียงไปในทางที่ดี  แต่ในขณะเดียวกันบุคคลต่างๆก็ต้องละเว้นการกระทำผิดเพื่อมิให้หนังสือพิมพ์นำชื่อของตนไปลงประจานความผิดนั่นเอง

อิทธิพลของหนังสือพิมพ์

เมื่อเปรียบเทียบสื่อมวลชนที่มีอยู่ในปัจจุบันจะพบว่าหนังสือพิมพ์เป็นสื่อมวลชนที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด  สำหรับสังคมไทยนั้น  หนังสือพิมพ์ยังเป็นสื่อมวลชนที่ยังพอมีความเป็นอิสระอยู่บ้าง  เพราะรัฐบาลเพียงวางข้อกำหนดและกฎเกณฑ์ไว้อย่างหลวมๆ  ไม่ถึงกับเข้ายึดถือเป็นเจ้าของเสียเองอย่างสื่อวิทยุหรือสื่อโทรทัศน์  ความอิสระของหนังสือพิมพ์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการนำเสนอข่าวและการเสนอความคิดเห็นต่อประชาชนอย่างมาก  ดังเช่นหน้าที่ประการหนึ่งทีหนังสือพิมพ์พึงกระทำนั้นก็คือการเป็นตลาดกลางแห่งความคิดนั่นเอง (Free market of all ideas)
ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันมากว่าหนังสือพิมพ์เป็นสิ่งที่เข้ามามีบทบาทและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก  และนอกจากนั้นยังเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชนซึ่งเป็นผู้อ่านทั่วไปด้วย  สาเหตุที่ทำให้หนังสือพิมพ์มีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้อานนั้น  น่าจะมาจากเหตุ 2 ประการ  ประการแรกคือหน้าที่ของหนังสือพิมพ์  และประการที่สองลักษณะของหนังสือพิมพ์
หน้าที่ของหนังสือพิมพ์โดยทั่วไปก็คล้ายคลึงกับสื่อมวลชนประเภทอื่นๆ  แต่การที่จะเข้าใจว่าหนังสือพิมพ์มีอิทธิพลต่อผู้อ่านก็จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องทราบว่าโดยแท้จริงแล้วหนังสือพิมพ์นั้นมีหน้าที่อะไร  หน้าที่สำคัญของหนังสือพิมพ์โดยหลักแล้วมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ  คือ
1. หน้าที่ในการเสนอข่าวสาร
2. หน้าที่ในการเสนอความคิดเห็น
3. หน้าที่ให้ความบันเทิง
จากหน้าที่หลัก 3 ประการนั้น  จะพบว่าหน้าที่เสนอข่าวสารและหน้าที่เสนอความคิดเห็นนั้นเป็นหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดของประชาชนโดยตรง  ซึ่งตามหลักแล้วหน้าที่ 2 ประการนี้ไม่สามารถถูกนำเสนอควบคู่ไปได้  ต้องแยกส่วนออกจากกัน  เพราะการนำเสนอขาวสารในส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงปะปนไปกับการแสดงความคิดเห็นนั้นจะทำให้ข้อเท็จจริงที่ต้องการนำเสนอถูกบิดเบือนไป  แต่ถึงอย่างไรการแบ่งแยกความคิดเห็นกับเนื้อข่าวก็ยังเป็นเรื่องยากในทางปฏิบัติ  การนำความคิดเห็นที่แอบแฝงหรือปะปนมากับการเสนอข่าวนี้เองที่เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อผู้อ่านเป็นอย่างมาก  เพราะว่าผู้อ่านไม่ได้เฉลียวใจเลยว่าข่าวนั้นมีความคิดเห็นปนมาด้วยหรือไม่
ลักษณะของหนังสือพิมพ์ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หนังสือพิมพ์มีอิทธิพลในยุคปัจจุบัน  ทั้งนี้เพราะหนังสือพิมพ์มีลักษณะในตัวเองที่แอบแฝงไว้ซึ่งความพิเศษอยู่หลายประการ  ดังจะกล่าวต่อไปนี้
1. หนังสือพิมพ์เป็นสิ่งที่มีราคาถูก  ทำให้หนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่แพร่หลายทั่วไป  เนื่องจากหาซื้อได้ง่าย
2. หนังสือพิมพ์เมื่อซื้อมาแล้วจะอ่านเมื่อใดก็ได้ตามแต่อารมณ์  เรื่องที่ลงในหนังสือพิมพ์ก็มีอยู่หลากหลายสามารถเลือกอ่านเรื่องต่างๆได้ตามใจชอบ  ต่างจากสื่อประเภทวิทยุและโทรทัศน์ที่จะต้องรับฟังตามช่วงเวลา  ตอนไหนไม่ชอบไม่อยากฟังก็ไม่สามารถเลือกได้  และแม้จะชอบหรือสนใจตอนไหนหากพลาดไม่ได้ดูตามเวลาก็ไม่สามารถย้อนเวลาไปดูได้  จึงทำให้รู้สึกเหมือนกับถูกบังคับให้รับฟังมากกว่า
3. หนังสือพิมพ์ที่ลงรูปข่าวหรือเรื่องราวที่ผู้อ่านสนใจนั้น  ผู้อ่านสามารถเลือกเก็บไว้อ่านเมื่อใดอีกก็ได้  การเก็บนี้สามารถทำให้เป็นหลักฐานคงทนนำมาอ้างอิงเมื่อใดก็ได้  ต่างจากสื่อประเภทวิทยุและโทรทัศน์ที่การนำเสนอจะผ่านเลยไปไม่สามารถเก็บเสียงหรือภาพไว้  เว้นแต่จะตั้งใจอันเก็บไว้เอง  ซึ่งก็มีวิธีการที่ค่อนข้างยุ่งยากมากกว่ากรณีของหนังสือพิมพ์
4. หนังสือพิมพ์สามารถให้ข่าวสารและรายละเอียดที่ลึกซึ้งมากกว่าวิทยุและโทรทัศน์  เพราะสื่อมวลชน 2 ประเภทหลังจำเป็นต้องคัดเฉพาะเนื้อหาข่าวที่มีความจำเป็นและสำคัญจริงๆมานำเสนอเนื่องจากมีเวลาในการนำเสนอค่อนข้างจำกัด

องค์กรที่รับรองว่าหนังสือพิมพ์มีอิทธิพล

อิทธิพลของหนังสือพิมพ์ได้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง  ทั้งๆที่อาจจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือการพิสูจน์เพื่อแสดงให้เห็นได้น้อยกว่าก็ตาม  แต่ก็ดูออกจะเป็นสิ่งที่พอจะเชื่อถือได้ 
จากประวัติศาสตร์เมื่อองค์กรหนังสือพิมพ์ได้กำเนิดขึ้นนั้น  ผู้ปกครองบ้านเมืองยังไม่ได้ให้ความใส่ใจหรือสำนึกในความสำคัญแห่งอิทธิพลของหนังสือพิมพ์มากนัก  หนังสือพิมพ์ของทุกๆประเทศจึงดำเนินกิจการด้วยเสรีภาพที่มีอย่างสมบูรณ์  แต่ในเวลาต่อมา  ผู้ปกครองบ้านเมืองเริ่มตระหนักถึงอิทธิพลของหนังสือพิมพ์ที่สามารถจะสั่นคลอนเสถียรภาพของอำนาจผู้ปกครองได้  โดยเฉพาะในยุคที่ผู้ปกครองใช้อำนาจปกครองที่ไม่ชอบหนังสือพิมพ์ก็มักเสนอข่าวโจมตี  ชี้นำให้ประชาชนเห็นความไม่ชอบมาพากลที่เกิดขึ้น  ผู้ปกครองก็จะมองว่าหนังสือพิมพ์เป็นศัตรูตัวสำคัญที่ต้องกำราบ  นอกจากนี้ก็ยังมีหนังสือพิมพ์บางประเภทที่มองว่าผลประโยชน์ของตนมีความสำคัญกว่าผลประโยชน์ของประชาชน  หนังสือพิมพ์ประเภทดังกล่าวจึงมักเสนอข่าวที่เห็นว่าจะนำผลพลอยได้ทางเศรษฐกิจมาสู่ตนได้  ด้วยเหตุทั่ง 2 ประการนี้จึงทำให้ฝ่ายปกครองสร้างกฎหมายและระเบียบวิธีปฏิบัติต่างๆขึ้นมาควบคุม  ฉะนั้นกฎหมายการพิมพ์  กฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาท  ฐานขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนก็ได้เกิดมีขึ้นและเข้าครอบคลุมการดำเนินงานของหนังสือพิมพ์  กฎหมายเหล่านี้เองที่เป็นเครื่องรับรองอิทธิพลของหนังสือพิมพ์ที่มีอยู่ในสังคม

หนังสือพิมพ์จะมีอิทธิพลต่อประชาชนมากหรือน้อยเพียงใด  ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้  ประการแรกจำนวนและลักษณะของการที่ประชาชนได้รับข่าวสารหรืออ่านโดยตรง  ประการที่สองอิทธิพลของหนังสือพิมพ์จะมีมากยิ่งขึ้นถ้าเรื่องราวที่นำเสนอนั้นสอดคล้องกับความคิดเห็นเดิมของประชาชน

 

 

3.6 การนำเสนอข่าวอาชญากรรมของหนังสือพิมพ์ในลักษณะที่ผลกระทบต่อสิทธิ
และศักดิ์ศรีความเป็นคนของผู้ต้องหาในคดีอาญา

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วถึงอิทธิพลของหนังสือพิมพ์ที่มีต่อความรู้สึกนึกคิดของประชาชนผู้อ่านค่อนข้างมาก  ดังนั้นการนำเสนอข่าวแต่ละครั้งหากหนังสือพิมพ์นำเสนอด้วยความประมาทโดยกล่าวพาดพิงไปถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งในทางที่เสื่อมเสีย  บุคคลนั้นก็ย่อมได้รับผลกระทบจากการนำเสนอเช่นว่า  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่กำลังตกเป็นผู้ต้องหาว่าได้กระทำความผิดทางอาญาด้วยแล้ว  ประชาชนผู้อ่านข่าวมักมีความเห็นคล้อยตามไปกับการนำเสนอของหนังสือพิมพ์  ทั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดจากการพาดหัวข่าวที่น่าตื่นเต้นเร้าใจ  ภาพประกอบที่ถ่ายทอดได้ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องจินตนาการ  หรือแม้การเขียนข่าวบรรยายถึงชื่อ นามสกุล ที่อยู่ของผู้ต้องหา  ประหนึ่งว่าบุคคลในข่าวนั้นเป็นผู้กระทำความผิดอย่างแน่แท้  ทั้งที่ความจริงกระบวนการยุติธรรมยังไม่ได้เข้ามาตรวจสอบแต่อย่างใด
การนำเสนอข่าวในลักษณะดังกล่าวหนังสือพิมพ์นิยมลงเนื้อหาที่ค่อนข้างละเอียด  โดยเฉพาะเนื้อหาในส่วนที่เป็นการระบุตัวบุคคล  เช่น  การนำเสนอในลักษณะดังกล่าวอาจแลดูคาบเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้ต้องหาที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญกับสิทธิในการรับรู้ของมูลข่าวสารของประชาชน  แต่หากพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้วผู้ทำการศึกษาเห็นว่าในการอ้างหรือการใช้สิทธิของบุคคลแต่ละคนนั้น  บุคคลย่อมสามารถอ้างและใช้สิทธิของตนได้อย่างเต็มที่บริบูรณ์  ภายใต้กฎหมายและตราบเท่าที่ไม่เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น  ดังนั้นแม้ประชาชนจะมีสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและหนังสือพิมพ์จะมีสิทธิ์ในการนำเสนอข่าว  แต่สิทธิดังกล่าวย่อมต้องมีอยู่อย่างจำกัดเท่าที่กฎหมายอนุญาตและไม่เป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น  ในส่วนของการนำเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์นั้นจะได้รับข้อยกเว้นกรณีที่การเสนอข่าวอันมีลักษณะกระทบสิทธิเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของสาธรณชน
ประโยชน์ของสาธรณชนที่หนังสือพิมพ์ยกขึ้นอ้างนั้น  ผู้ทำการศึกษาคะเนว่าหนังสือพิมพ์คงต้องการบอกเล่าเรื่องราวในสังคมว่าขณะนี้เกิดเรื่องราวอะไรขึ้น  มีการกระทำผิดหรือการกระทำอื่นใดที่กำลังเป็นภัยคุกคามต่อสังคม  การลงรายละเอียดที่เป็นการระบุตัวผู้ต้องหาอย่างชัดแจ้งทั้งรูปภาพและชื่อที่อยู่นั้นก็เพื่อที่ผู้เสียหายจะสามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ต้องหาดังกล่าวได้กระทำความผิดไปจริงหรือไม่  อีกทั้งการลงรายละเอียดทั้งหลายทั้งปวงก็ยังเป็นการช่วยตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของเจ้าหน้าที่ตำรวจไปในตัวด้วยว่ามีความโปร่งใสหรือไม่เพียงใด  เหตุผลทั้งหลายทั้งปวงนี้ผู้ทำการศึกษาเห็นว่าหนังสือพิมพ์คงนำมาใช้เป็นข้ออ้างคุ้มครองการกระทำของตนตลอดมา  โดยได้นำเสนอข่าวลักษณะดังกล่าวต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านาน  สร้างความคุ้นเคยในหมู่ผู้ที่อ่านหนังสือพิมพ์ว่าถ้าเป็นข่าวอาชญากรรมแล้ว  ผู้อ่านจะได้เห็นหน้าตาคนร้ายว่ามีความละม้ายคล้ายคนที่ตนเคยรู้จักหรือไม่  เห็นชื่อ นามสกุล  หรือแม้จะเป็นนามแฝงเพียงเล็กน้อยก็ยังดีเพราะจะได้นำไปเปรียบเทียบว่าเป็นบุคคลที่เคยรู้จักหรือไม่  และเห็นการให้รายละเอียดที่อยู่อย่างชัดเจน  จนกลายเป็นว่าผู้อ่านหนังสือพิมพ์เห็นดีเห็นงามกับการนำเสนอข่าวในลักษณะดังกล่าว  ซึ่งโดยส่วนต

หมายเลขบันทึก: 62854เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอคุณมากนะค่ะ

จะเอาไปทำราบงานจ๊

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท