​ถิ่นทอง 11



ความเป็นมาอาณาจักรสยามของชนชาติไทยในถิ่นทองนี้ มีหลายตำนาน หนึ่งในตำนานนั้นคือตำนานโยนกว่า พระเจ้าพรหมมีอำนาจปกครองดินแดนพายัพที่ขอมเคยปกครองอยู่เมื่อ พ.ศ. 1400 ปีและสร้างเมืองฝางให้ชนชาติไทยได้อยู่อาศัย ต่อมาฝ่ายพม่ารุกไล่ขอมมาถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อพม่าเสื่อมอำนาจลงฝ่ายไทยมีอำนาจปกครองดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำอิรวดี ส่วนไทยอีกกลุ่มหนึ่งนั้นตั้งตัวเป็นอิสระที่เมืองเชียงแสน เมื่อ พ.ศ. 1600 ปีโดยมี ลาวจกเป็นต้นราชวงศ์เชียงแสนต่อมาผู้นำในราชวงศ์นี้คนหนึ่งชื่อขุนเจืองแผ่อำนาจไปหลวงพระบางและได้เมืองญวน

สำหรับนามอาณาจักรสยามนั้นเมื่อชนชาติไทยตั้งกรุงสุโขทัยได้และจีนเรียกว่า เสียมก๊ก อาณาจักรกรุงศรีอยุธยานั้นจีนเรียกว่า เสียมหลอก๊ก ด้วยชนชาติไทยมีปรากฏชื่อในภาพสลักที่ระเบียงผนังทิศใต้ของปราสาทนครวัดว่าเป็นกลุ่มนักรบมีแม่ทัพนั่งบนหลังช้างมีคำจาริกสั้น ๆ ว่า สยฺม กุก แปลว่านักรบแห่งสยาม แต่ตอนนี้คำจารึกนี้ถูกปิดทับไว้เพราะเหตุใด..?

ด้วยถิ่นทองนี้เดิมเป็นถิ่นหลายชนชาติอาศัยอยู่เช่นชาวไทยละว้า มีอาณาจักรเป็นของตนเองคืออาณาจักรน่านเจ้า อาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรโยนกเชียงแสน ถือว่าเป็นต้นอาณาจักรก่อนมาเป็นอาณาจักรสยามมีสุโขทัยและอยุธยาเป็นอันว่ากลุ่มชนชาติไทยปรากฏตัวขึ้นครั้งแรกมีหลักฐานที่เมืองเชียงแสนและเมืองพะเยา ( น. 419 )โดยมีชั้นยศที่ยกย่องผู้นำในตำนานฝ่ายไทย-ลาวเรียกผู้นำว่า ท้าว ขุน เช่น ท้าวฮุ่ง ขุนศรีนาวนำถม ผู้ครองเมืองเชลียง ( ศรีสัชนาลัย ) ( น. 423 ) สำหรับขุนศรีนาวนำถมผู้นำชนชาติไทยนั้นมีลูกชายชื่อขุนผาเมือง แต่งงานกับลูกสาวพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของขอมและได้รับดาบอาญาสิทธิ์ด้วยพร้อมตั้งนามว่า ศรีอินทราบดินทราทิตย์ คือขอมวางตัวเป็นผู้นำในถิ่นทองแล้ว

น้องสาวขุนผาเมืองชื่อนางเสืองแต่งงานกับขุนบางกลางหาว ซึ่งเป็นเพื่อนกับขุนผาเมืองและด้วยเหตุผลกลใดไม่ทราบเมื่อขุนผาเมืองมีอำนาจในเมืองสุโขทัยจากขอมแล้วได้ยกให้ขุนบางกลางหาวผู้เป็นเพื่อนนั้นให้เป็นผู้นำชนชาติไทยแทนตนพร้อมมอบดาบอาญาสิทธิ์และนามเป็นพ่อขุนศรีอินทราบดินทราทิตย์ให้ด้วยนั้นแล.

...........................

บรรณานุกรม

พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ . ( 2547 ). ประวัติศาสตร์ไทย . กรุงเทพ ฯ : สุขภาพใจ.

หมายเลขบันทึก: 628473เขียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2017 20:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2017 20:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท