ร่างรายงาน[ผู้ต้องหา]01-คำนำ


หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลจากการศึกษาครั้งนี้จะขยายผลไปถึงการใช้สิทธิประเภทอื่นๆ ที่ผู้ใช้สิทธิพึงใช้ด้วยความระมัดระวัง ไม่ใช้สิทธิของตนเกินเลยไปกระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่น เพื่อที่คนในสังคมจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีสุขภายใต้สังคมที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน

คำนำ

นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540มีผลใช้บังคับ  ปวงชนชาวไทยก็ได้รู้จักกับคำว่า “สิทธิ” ทั้งในด้านความหมายและขอบเขตการในไปใช้มากขึ้น  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้มีการระบุคุ้มครองสิทธิในด้านต่างๆไว้เป็นจำนวนมาก  ถึงกับสามารถกล่าวได้ว่านับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองมา  ยังไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใดจะสามารถบัญญัติรับรองหลักการพื้นฐานของการคุ้มครองสิทธิได้ครอบคลุมและมากเท่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
สิทธิที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ต่างถูกปัจเจกชนหยิบยกมาใช้คุ้มครองสิทธิของตนแตกต่างกันไปในหลายลักษณะตามความต้องการของแต่ละบุคคล  ซึ่งก็ปรากฏว่ามีหลายครั้งที่การอ้างสิทธิของปัจเจกชนคนหนึ่งจะมีผลกระทบไปถึงปัจเจกชนอีกคนหนึ่ง  ซึ่งประเด็นที่จะนำมาศึกษากันในครั้งนี้จะมุ่งไปที่ผลกระทบต่อสิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญาอันเกิดจากการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์  เนื่องจากในปัจจุบันการนำเสนอข่าวอาชญากรรมของหนังสือพิมพ์หลายฉบับมักจะลงรูปและเนื้อหาที่เป็นการระบุตัวบุคคลอย่างชัดแจ้งไว้เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอข่าวด้วย  โดยที่คนในสังคมเองก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป  ประเด็นนี้สร้างความสงสัยว่าการนำเสนอข่าวในลักษณะดังกล่าวจะถือเป็นการละเมิดสิทธิและศักดิ์ศรีของผู้ต้องหาหรือไม่  ประการใด  เพราะในขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540  ได้บัญญัติหลักพื้นฐานในการประกันสิทธิของผู้ต้องหาไว้ว่า “ในคดีอาญา  ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด  ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด  จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้”  แต่ในทางปฏิบัติแล้วผู้ต้องหาในคดีอาญากลับถูกล่วงละเมิดสิทธิดังกล่าวโดยหนังสือพิมพ์  หลักการในรัฐธรรมนูญถูกละเลยคล้ายกับว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้ถูกทำลายลงเพียงเพราะบุคคลตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา
ท้ายที่สุด  ผู้ทำการศึกษาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลจากการศึกษาครั้งนี้จะขยายผลไปถึงการใช้สิทธิประเภทอื่นๆ  ที่ผู้ใช้สิทธิพึงใช้ด้วยความระมัดระวัง  ไม่ใช้สิทธิของตนเกินเลยไปกระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่น  เพื่อที่คนในสังคมจะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีสุขภายใต้สังคมที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน

นรุตม์  เจียมสมบูรณ์
25 มีนาคม 2547

 

หมายเลขบันทึก: 62846เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เงื่อนไขของ พรบ.ว่าด้วยเรื่องการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของหนังสือพิมพ์ ความน่าจะเป็นต้องมีบรรทัดฐานของคำว่า จรรยาบรรณในการนำเสนอช่องทางการสื่อสาร อาจารย์ต้องประสานงานไปยัง สมาคมนักข่าวและวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยครับ เขามีระเบียบข้อบังคับกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ครับ หากว่าไม่เหมาะสมก็สามารถยกร่างใหม่ได้ เพราะช่วงนี้ก็กำลังยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ครับ ก็น่าจะมีผลต่อการดำเนินงานในช่วงนี้

โห . . .

เข้ามาอ่านเร็วเกินคาด

ต้องออกตัวก่อนว่า file ที่ผมเอามาลงเป็น file ที่ยังไม่สมบูรณ์นะครับ  บางส่วนยังขาดหายไม่ครบถ้วน

คือ file mผมส่งเป็นรายงานฉบับเต็มยังหาไม่พบครับ

นอต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท