ชิวิตจริงของอินเทอร์น :ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้


วันนี้ได้อ่านพบความคิดเกี่ยวกับเรื่องของการเป็น learning mode จาก /thaikm ทำให้ย้อนคิดไปถึงเหตุการณ์การ ลปรร.ที่คณะครูและผู้บริหารของโรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม จากจังหวัดตราด มาเยี่ยมเยือนโรงเรียนเพลินพัฒนาเมื่อ ๓ เดือนก่อน

ดิฉันได้ออกแบบให้การพบปะกันในครั้งนั้นตั้งอยู่บนฐานของการ"ให้และรับ" โดยเน้นการเรียนรู้จากกันและกันเป็นหลักสำคัญ

โรงเรียนบ่อไร่วิทยาคม มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นโรงเรียนสมบูรณ์แบบของชุมชน ของสังคม และเป็นความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายในการดำเนินงานเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในบังเกิดจริงในสังคมของเรา

ในขณะที่โรงเรียนเพลินพัฒนาเองก็มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และสร้างสังคมที่ดีงามโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ดังนั้น ทั้งสองโรงเรียนจึงเป็นเพื่อนที่มีความปรารถนาเดียวกัน นั่นคือการก้าวสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

โรงเรียนบ่อไร่ เป็นโรงเรียนรัฐ จึงมีงบประมาณอุดหนุนปีละมากมาย ประกอบกับเป็นโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าอยู่ในโครงการ ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน จึงได้โอกาสในการเรียนรู้เรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาบุคลากรสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ โดยมี ปตท.คอยสนับสนุนทั้งทางด้านงบประมาณและบุคลากร รวมถึงการได้ไปซึมซับวัฒนธรรมองค์กรของปตท.ที่มีการบริหารจัดการโดยใช้ความรู้เป็นฐาน เพื่อให้โรงเรียนสามารถสร้างระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

โรงเรียนเพลินพัฒนา เป็นโรงเรียนเอกชนที่มีรายได้จากค่าเล่าเรียนเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถเข้าร่วมในโครงการดีๆที่อีกมากมายที่รัฐจัดขึ้นได้ เพราะอยู่นอกสังกัด แต่โรงเรียนก็มีทุนทางสังคมอื่นๆ เช่นกลุ่มผู้ถือหุ้น กลุ่มพันธมิตร และกลุ่มผู้ปกครองที่พร้อมให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะเป็นไปได้

การที่โรงเรียนเพลินพัฒนาต้องเติบโตขึ้นจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายนี่เอง ทำให้องค์กรต้องค่อยๆพัฒนาทักษะในการทำงานแบบมีส่วนร่วม ทั้งร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ และร่วมทุน ทั้งที่เป็นทุนทางปัญญา และทุนทรัพย์ ซึ่งก็เป็นจุดที่โรงเรียนบ่อไร่ใฝ่รู้

ในขณะที่ทางโรงเรียนเพลินพัฒนาก็ใฝ่รู้เรื่องการพัฒนาบุคลากร สู่การเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ และการใช้ ICT มาขับเคลื่อนการเรียนการสอน ที่ทางโรงเรียนบ่อไร่ได้ทดลองทำไปแล้ว ว่าเริ่มต้น ตลอดจนดำเนินไปอย่างไร และก่อให้เกิดผลอย่างไร

ขั้นตอนและกระบวนการที่เกิดขึ้นในวันนั้น เริ่มจากการแนะนำโรงเรียน บริบทของทั้งสองโรงเรียน และแนะนำบุคลากรที่มาร่วม ลปรร.รวมถึงหน้างานที่แต่ละคนรับผิดชอบอยู่

จากนั้นก็จะเริ่มเข้าสู่วิธีการบริหารจัดการ และแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนเลินพัฒนา แล้วจึงมาถึงหลักคิดที่อยู่เบื้องหลังการทำงาน และช่วงเวลาของการ ลปรร.ในประเด็น "ปัจจัยของความสำเร็จในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้" ในบริบทของตน โดยยกตัวอย่างจากเรื่องที่ทุกคนสัมผัสได้ในหน้างาน และวิธีการทำงานของตน ซึ่งหากใครมีคำถามอะไรก็สามารถซักถามเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความกระจ่าง และสามารถนำไปทดลองปรับใช้ในงานของตนได้

การ ลปรร.ในวันนั้น จบลงด้วยการ AAR ที่ต่างฝ่ายต่างก็รู้ว่าจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกันและกันไปสร้างสรรค์งานต่อ ก่องานใหม่ ภายใต้อุดมการณ์ของการสร้างบุคคลเรียนรู้ ด้วยการเรียนรู้ในระบบโรงเรียนให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้อย่างไร นั่นเอง
หมายเลขบันทึก: 62778เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 13:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอต้อนรับการกลับมาอีกครั้งคะ  คิดถึงครูใหม่จังไม่ค่อยได้เจอกันเท่าไหร่เลย 
  • จากบทความข้างต้น ถือเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างพื้นที่ ต่างเขต แต่ใจเดียวกันที่มุ่งมั่นเพื่อการพัฒนาโรงเรียน และผลที่สำคัญที่สุดคือ เพื่อเด็กไทยของเรานั่นเอง ดีใจจังที่มีเวทีนี้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการส้รางความสัมพันธ์แบบหลวมแต่คล่องตัวดีคะ ถ้ามีเรื่องดีๆ อย่างนี้เล่าให้ฟังบ่อยๆ นะคะ จะรออ่านต่อคะ
  • รบกวนครูใหม่ช่วยติดป้าย goodnews ด้วยคะ
-คิดถึงเหมือนกันค่ะ... อาทิตย์หน้าได้เจอกันที่งานมหกรรมแน่นอนค่ะ -ได้ซีคะ -ติดป้ายให้แล้วนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท