ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก: กรณีศึกษาแนวทางการศึกษาเกษตรอินทรีย์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(ครั้งที่7)



วันนี้เรามาลงชุมชนเป็นครั้งที่ 7 ซึ่งวันนี้มีการทำน้ำตาลจากอ้อยค่ะ โดยการคั้นน้ำอ้อยมาเคี่ยวจนงวดแล้วก็นำไปกวนจนเหนียวได้ที่แล้วก็นำไปใส่กระปุกรอจนแข็งจึงได้เป็นน้ำตาลจากอ้อยค่ะ เราไปดูกรรมวิธีการผลิตน้ำตาลกันเลยค่ะ


น้ำตาลที่บรรจุแล้ว : ภาพโดยรภัทภร

เริ่มจากนำอ้อยมาล้างน้ำใช้ฟองน้ำเช็ดให้สะอาดแล้วก็มาผ่าครึ่งเป็นสองซีก เพื่อที่จะนำไปเข้าเครื่องหนีบได้สะดวก


ป้าๆกำลังช่วยกันล้างต้นอ้อย : ภาพโดยปราโมทย์


ต้นอ้อยที่ล้างเสร็จแล้ว : ภาพโดยปราโมทย์

ในภาพคือเครื่องหนีบอ้อยค่ะ โดยใช้ลำอ้อยดันเข้าเครื่องหนีบต้องคอยระวังมือเพราะมันอันตรายมากเครื่อง

หนีบจะทำการรีดน้ำจนอ้อยนั้นแห้งสนิทเหลือแต่กากและนำไปทิ้ง

เครื่องหนีบอ้อย : ภาพโดยปราโมทย์


คณะผู้วิจัยกำลังหนีบอ้อย : ภาพโดยรภัทภร


อ้อยขณะถูกใส่ในเครื่อง : ภาพโดยรภัทภร


พอเรารีดไปเรื่อยๆเราต้องคอยดูว่าถาดที่กรองน้ำอ้อยนั้นเต็มรึเปล่า ถ้าเต็มก็จะเทใส่หม้อไปแล้วเริ่มต้นรีดน้ำใหม่ค่ะ


กรองกากของอ้อยและน้ำอ้อยที่เต็มถาด : ภาพโดยรภัทภร


ป้าสุนีย์สาธิตการนำอ้อยใส่เครื่องหนีบอ้อย : ภาพโดยรภัทภร



น้ำอ้อยที่ผ่านการหนีบแล้ว : ภาพโดยรภัทภร


เมื่อเราได้น้ำอ้อยแล้วเราก็นำไปชั่งกิโลว่าหม้อหนึ่งจะได้ปริมาณเท่าไหร่ในหนึ่งกระทะอีกฝั่งหนึ่งก็จะเป็นการติดเตาไฟตั้งกระทะรอให้ร้อน

เพื่อที่จะได้นำน้ำอ้อยมาตั้งไฟรอให้เดือด ก่อนที่เราจะตั้งเราต้องมากรองก่อนค่ะเพื่อให้ได้น้ำอ้อยที่สะอาด


นำอ้อยไปชั่งกิโล : ภาพโดยรภัทภร


คณะผ้วิจัยทุกคนขมักเขม้นร่วมกันทำงาน : ภาพโดยฐาปนีย์



ติดไฟในเตาไฟรอน้ำอ้อย: ภาพโดยรภัทภร


กระทะที่ตั้งไฟแล้ว:ภาพโดย รภัทภร

พอเดือดจนฟองขึ้นแล้วคอยตักฟองออกไปทิ้ง หลังจากที่น้ำอ้อยเดือดและเริ่มงวดเราจะดูลักษณะของการเดือดนะคะ คือ พอเดือดจะเป็นลักษณะรังต่อ ยังใช้ไม่ได้ค่ะต้องรอไปอีกจนเดือดเป็นลักษณะของรังผึ้งคือเดือดมีฟองแบบยิบๆ


กรองน้ำอ้อยเอากากออกให้เหลือแต่น้ำอ้อยที่สะอาด : ภาพโดยรภัทภร


น้ำอ้อยที่ตั้งไฟรอเดือด:ภาพโดยรภัทภร


ป้าสุนีย์ช้อนเอาฟองออก : ภาพโดยรภัทภร


น้ำอ้อยที่กำลังเดือด:ภาพโดยรภัทภร


น้ำอ้อยที่เดือดเป็นลักษณะของรังผึ้ง:ภาพโดยรภัทภร

พอเดือดได้ที่จนเริ่มเหนียวแล้วจึงยกกระทะออก ไปวางในหลุมดินที่เราได้ขุดเตรียมไว้การที่เรามากวนในพื้นดิน ในเนื้อดินมีความเย็นจึงทำให้น้ำตาลตาลค่อยๆแข็งตัวค่ะ เมื่อเราเอามาวางที่หลุมแล้วเราก็จะมากวนต่อโดยใช้พายกวนจนเริ่มเหนียว กวนไปเรื่อยๆจนเหนียวได้ที่จึงนำไปบรรจุลงกระปุกค่ะ

ป้าสุนีย์ขุดหลุมเพื่อวางกระทะ : ภาพโดยฐาปนีย์


การกวนน้ำตาลจากน้ำอ้อยใบนหลุมที่ขุด : ภาพโดยรภัทภร


บรรจุน้ำตาลใส่กระปุก : ภาพโดยรภัทภร


บรรจุน้ำตาลในกระปุก : ภาพโดย รภัทภร

อีกสวนจะเป็นการทำน้ำเชื่อม คือปล่อยน้ำตาลจนเดือดแล้วให้เดือดในลักษณะของรังผึ้งแล้วจึงยกมาเทใส่หม้อ

แบบนี้จะเป็นน้ำซึ่งเอามาเป็นน้ำเชื่อมได้ค่ะ


การทำน้ำเชื่อม:ภาพโดยรภัทภร


เทน้ำตาลที่เคี่ยวแล้วลงหม้ทำน้ำเชื่อม:ภาพโดยรภัทภร

ในการลงพื้นที่ในครั้งนี้มีอาจารย์พีรพัฒน์ ตามไปด้วยพร้อมทั้งอาจารย์ต่างคณะอีกจำนวนหนึ่งค่ะไปศึกษาดูงานการทำเกษตรอินทรีย์ของป้าสุนีย์ พร้อมทั้งยังดูวิธีการทำน้ำตาลจากอ้อยอีกด้วยค่ะ


คณะผู้วิจัยและอาจารย์พีรพัฒน์ พันศิริ: พี่ปุ้ม ลูกสาวป้าสุนีย์


คณะอาจารย์ที่มาดูกิจกรรม:ภาพโดยรภัทภร


คณะอาจารย์ที่มาดูกิจกรรม : ภาพโดยฐาปนีย์

คณะอาจารย์ที่มาดูกิจกรรม : ภาพโดยรภัทภร

การลงพื้นที่ในครั้งนี้ทำให้เราได้รับความรู้มากมายจากการทำน้ำอ้อย,น้ำตาลจากอ้อย ทราบถึงขั้นตอนกรรมวิธีในการผลิตต่างๆ บางคนอาจจะมองว่าสกปรก แต่จริงๆแล้วนี้คือวิธีธรรมชาติค่ะ การใช้ชีวิตแบบบ้านในสมัยนี้หาดูได้ยากมากเลยนะคะ ส่วนใหญ่แล้วการผลิตต่างๆก็จะทำในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซึ่งเข้าไปศึกษาได้ยาก การผลิตในแบบชาวบ้านนี้เกิดผลดีคือปลอดสารเคมีทุกชนิดค่ะ

ครั้งต่อไปเราจะไปทำอะไรติดตามกันนะคะ


หมายเลขบันทึก: 627629เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2017 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2017 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นบันทึกที่ดีมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท