เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้


เครื่องมือในการจัดการความรู้ (Tools)

เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

ถ้าเป็นการจัดการความรู้ประเภทชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) มักจะใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT)  ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ประเภทฝังลึก (Tacit Knowledge) มักจะเป็นกระบวนการที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแบ่งปันได้ เช่น

   3.1 ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการร่วมกัน

   3.2 สอนงาน (Coaching)

   3.3 เรียนรู้โดยการปฏิบัติ (Action Learning)

   3.4 จัดชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice)
(แหล่งที่มา : http://www.nfe.go.th/0419/download/1.doc)

CoP(Community of Practice)

    ชุมชนนักปฏิบัติ คือ อะไร คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีลักษณะดังนี้

  • ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน
  • มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน
  •  มีเป้าหมายร่วมกัน มีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ดีขึ้น
  • วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือ และภาษาเดียวกัน
  • มีความเชื่อ และยึดถือคุณค่าเดียวกัน
  • มีบทบาทในการสร้าง และใช้ความรู้
  • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน อาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี
  • มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย
  • มีความร่วมมือช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง
  • มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคม

      ทำให้เพิ่มพูนความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ ในระดับที่ง่ายที่สุด ชุมชนนักปฏิบัติ คือ คนกลุ่มเล็กๆ ซึ่งทำงานด้วยกันมาระยะหนึ่ง มีเป้าหมายร่วมกัน และต้องการที่จะแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์จากการทำงาน กลุ่มดังกล่าวมักจะไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งโดยองค์การ เป็นกลุ่มที่เกิดจากความต้องการทางสังคม และความพยายามที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จ เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจ ไม่มีการกำหนดไว้ในแผนภูมิโครงสร้างองค์กร และอาจจะมีเป้าหมายที่ขัดแย้งกับผู้นำองค์กร ในหนึ่งองค์กรอาจจะมีชุมชนนักปฏิบัติจำนวนมาก และคนคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกในหลายชุมชน ชุมชนนักปฏิบัติมีความสำคัญอย่างไร เครือข่ายความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการ เกิดจากความใกล้ชิด ความพอใจ และพื้นฐานที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะที่ไม่เป็นทางการจะเอื้อต่อการเรียนรู้ และการสร้างความรู้ใหม่ๆ มากกว่าโครงสร้างที่เป็นทางการ คำว่า ปฏิบัติ หรือ practice ใน CoP ชี้จุดเน้นที่ การเรียนรู้ซึ่งได้รับจากการทำงาน เป็นหลัก เป็นแง่มุมเชิงปฏิบัติ ปัญหาประจำวัน เครื่องมือใหม่ๆ พัฒนาการในเรื่องงาน วิธีการทำงานที่ได้ผล และไม่ได้ผล การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก สร้างความรู้ และความเข้าใจได้มากกว่าการเรียนรู้ จากหนังสือ หรือการฝึกอบรมตามปกติ เครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งมีสมาชิกจากต่างหน่วยงาน ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ดีกว่า การสื่อสารตามโครงสร้างที่เป็นทางการ ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนนักปฏิบัติ

แนวคิด
  • CoP เป็นกลไกของการไขว่คว้าหาความรู้เข้าหาตัว มากกว่าการรวบรวมความรู้ เพื่อส่งมอบให้ผู้อื่น
  • CoP เป็นเรื่องของการเรียนรู้ เพื่อเป็นคนทำงานที่เก่งขึ้น มิใช่แค่เรียนรู้ว่า จะทำงานอย่างไร หรือเรียนรู้แต่เรื่องที่เป็นนามธรรม
  • การเป็นสมาชิกของ CoP คือ มีส่วนร่วมในชุมชนนั้น อย่างมีความหมาย
  •  CoP ควรเชื่อมโยงกับเป้าหมายหลักขององค์กร

แนวคิดของการปฏิบัติในชุมชนนักปฏิบัติ หรือ P ใน CoP หมายถึง การกระทำในบริบทเฉพาะ

สิ่งที่มีผลต่อการปฏิบัติ และเป็นผลจากการเรียนรู้ ได้แก่ • สิ่งที่ปรากฎชัดแจ้ง: เครื่องมือ เอกสาร ภาพลักษณ์ สัญลักษณ์ บทบาที่ชัดเจน เกณฑ์ที่กำหนดไว้ กฎข้อบังคับ สัญญา • สิ่งที่ไม่ปรากฎชัดแจ้ง: ความสัมพันธ์ กฎเกณฑ์ในใจ ความหยั่งรู้ การรับรู้ ความอ่อนไหว ความเข้าใจ สมมติฐาน มุมมองซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไป

การปฏิบัติมิใช่สิ่งตายตัว ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ขณะเดียวกันก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายๆ ด้วยคำสั่ง หรือกฎระเบียบ

มีคนอื่นในองค์กร ซึ่งมีประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์กับเรา พวกเขาเต็มใจที่จะแบ่งปันประสบการณ์นั้น ให้ผู้อื่น และเราเต็มใจที่จะช่วยพวก เขา เราสามารถค้นหาพวกเขาได้พบ แม้จะไม่รู้จักพวกเขา ธรรมชาติของ CoP

องค์กรประกอบไปด้วย CoP จำนวนมากทับซ้อนกันอยู่ คู่ขนานไปกับโครงสร้างที่เป็นทางการขององค์กร

รอบชีวิตของ CoP ไม่มีความชัดเจนว่า เริ่มต้นเมื่อไร สิ้นสุดเมื่อไร ขึ้นกับความพร้อม และโอกาสเหมาะ สำหรับการเรียนรู้

ประเด็นที่ CoP ให้ความสนใจจะเปลี่ยนไปตามความต้องการ และความสนใจของสมาชิก การสนับสนุน CoP

ปฏิบัติต่อ CoP เสมือนทรัพย์สินขององค์กร ให้การสนับสนุนทรัพยากร และข้อมูลข่าวสาร ดูแลเป้าหมายให้สอดคล้องกับองค์กร

ส่งเสริมการสร้าง CoP ด้วยการยอมรับผลงานที่เกิดขึ้น จากกลุ่มที่ไม่เป็นทางการ และดึงชุมชนเข้ามาร่วมกันทำงาน ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นอีก

มองว่า องค์กรเป็นที่รวมของชุมชน ที่เชื่อมต่อกัน ส่งเสริมให้มีจุดยืนที่เหมาะสม และมีส่วนต่อความสำเร็จขององค์กร

ส่งเสริมให้ CoP เรียนรู้จากภายในกลุ่ม และจากกลุ่มอื่นๆ

ดูแลว่า กลไกขององค์กรมีส่วนในการสนับสนุน CoP

ส่งเสริมการเรียนรู้ทุกรูปแบบ และเชื่อมต่อทั่วทั้งองค์กร มุมมองต่อการเรียนรู้

การเรียนรู้ เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ แต่เรามักจะมองไม่เห็นว่า เกิดการเรียนรู้ดีขึ้น

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่ได้เกิดจากการดูเอกสาร ของคนอื่น แต่เกิดจากการทำความเข้าใจ ในตรรกะ หรือวิธีคิดของคนอื่น

เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้เราแลกเปลี่ยนความเข้าใจ และความคิดกันได้กว้างขวางขึ้น แต่หัวใจของการแลกเปลี่ยน คือ ความสนใจร่วมกัน ใส่ใจความคิดของกันและกัน และสร้างชุมชนซึ่งเชื่อใจกัน การหาโอกาสเรียนรู้

ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ ให้มองหาแบบแผน / สาเหตุของการมีส่วนร่วม และการแยกตัวของสมาชิก

เมื่อมีการนำความรู้ไปใช้ในบริบทอื่น หรือมีการส่งผ่านข้อมูลข่าวสารไปยังอีกหน้วยงานหนึ่ง ให้ติดตามเรียนรู้การปรับเปลี่ยน ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และการแผลความหมายใหม่

รับรู้การเกิดขึ้นของวิธีปฏิบัติใหม่ๆ ในที่ไกลหูไกลตา

การเรียนรู้ที่ชายขอบของ CoP ก็มีความสำคัญ ได้แก่ การดึงดูดสมาชิกใหม่ การตอบสนองสิ่งกระตุ้นจากภายนอก การมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนอื่นๆ ข้อควรระวัง

ความพยายามที่จะเปลี่ยนความรู้ที่ฝังลึก มาเข้าไว้ในลักษณะของเอกสาร อาจจะก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เกิดเป็นขยะของข้อมูลข่าวสาร ที่ไม่คนใช้ สุดท้ายคนก็ยังต้องการความช่วยเหลือ ในเรื่องประสบการณ์ จากเพื่อนร่วมงาน

ให้มีการเรียนรู้ใกล้ชิดกับการปฏิบัติให้มากที่สุด อย่าด่วนหลวมตัวที่จะสกัดความรู้ความรู้จาก CoP หรือเปลี่ยนความรู้จาก CoP ไปเป็นหลักสูตรเพื่อการฝึกอบรม 

แนวคิดปัจจุบัน เปลี่ยนจากการเก็บเกี่ยวความรู้ ไปสู่การเชื่อมต่อระหว่างบุคคล อย่าสร้างห้องสมุดที่เต็มไปด้วยเอกสาร ให้สร้างบัตรรายชื่อบุคคล (card catalog) เพื่อช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างบุคคลต่อบุคคล ปัจจัยสู่ความสำเร็จ กลุ่มที่ไม่เป็นทางการเป็นสิ่งที่เกิดโดยธรรมชาติอยู่แล้วในองค์กร มีลักษณะของสิ่งมีชีวิต เติบโตขึ้นเมื่อเป็นที่ประสงค์ของสมาชิก การที่จะให้มีคุณค่าต่อองค์กร จะต้องได้รับการเพาะบ่ม ดูแลด้วยความระมัดระวัง การสนับสนุนมาเกินไป อาจจะทำให้ไม่เป็นที่สนใจจากสมาชิก การปล่อยปละละเลย ก็อาจจะทำให้แคระแกร็นเหี่ยวเฉา ความท้าทายนี้แตกต่างจากปัจจัยต่างๆ ที่ผู้นำองค์กรเคยประสบ ความท้าทายสำหรับ CoP ปัญหาสำคัญของชุมชนที่กำลังเติบโต คือ การที่สมาชิกสูญเสียความสนใจ และปล่อยให้ผู้ประสานงานรับผิดชอบไปคนเเดียว เมื่อผู้ประสานงานหันไปทำงานอื่น ชุมชนก็ล่มสลาย ปัญหาสำคัญของชุมชนที่ประสบความสำเร็จ คือ การที่สนใจอยู่แต่ความสำเร็จของตนเอง ข้อเสนอแนะต่อไปนี้ จะช่วยรักษาพลังของชุมชน ให้เกิดความต่อเนื่อง นำสมาชิกใหม่เข้ามาร่วม และมุ่งไปที่ประเด็นที่แหลมคม

เชิญผู้นำทางความคิด ซึ่งเป็นที่ยอมรับเข้ามาร่วมแต่เริ่มแรก เพื่อสร้างพลังให้แก่ชุมชน

จัดให้มีเวทีพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิด เพื่อสร้างความตื่นตัว ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความรู้สึกร่วม

ส่งเสริมการติดต่อระหว่างสมาชิกของชุมชน

จัดตั้งกลุ่มแกนที่แข็งขัน ไม่จำเป็นว่าสมาชิกทุกคนจะมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน สนับสนุนกลุ่มแกนด้วยการให้เป็นที่รับรู้ของชุมชน และไม่รบกวนเวลาเพิ่มมากเป็นพิเศษ ความท้าทายด้านเทคนิค

ทำให้การติดต่อ การให้ข้อมูล และการเข้าถึงชุมชนเป็นเรื่องง่าย เช่น การใช้ Software computer ที่ใช้ง่าย และคุ้นเคย ความท้าทายสำหรับสมาชิก สิ่งที่มีคุณค่ามากของชุมชน คือ การร่วมกันแก้ปัญหา แต่การอภิปรายปัญหาอย่างเปิดอก ในขณะที่ความคิดยังไม่สุกงอมดี หรือคิดดังๆ ในที่ประชุมเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมชาติของเรา ความท้าทายของสมาชิกที่สำคัญ คือ การพูดถึงปัญหาของตนเอง ต่อหน้าผู้คนจำนวนมากที่เราไม่รู้จัก

สร้างเวทีเสวนาในประเด็นที่เฉียบคม ให้สมาชิกอาวุโสซึ่งคนยอมรับ เป็นผู้ขอความช่วยเหลือ และหาผู้ที่มีกึ๋นไปร่วมอยู่ในเวที ผู้ประสานงานช่วยกระตุ้นให้อธิบายหลักคิดของข้อเสนอ เพื่อให้สมาชิกอภิปรายไปที่สมมติฐาน ที่ใช้และเลือก การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในกลุ่มขนาดเล็ก 2-3 คน อาจใช้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการสร้างชุมชนได้

    ตามนิยามของ DOPA KM Team ได้กล่าวไว้ว่า CoP เป็นกลุ่มคนที่มารวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการ มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิผลที่ดีขึ้นส่วนใหญ่การรวมตัวกันในลักษณะนี้มักจะมาจากคนที่อยู่ในกลุ่มงานเดียวกันหรือมีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน ซึ่งความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันจะเป็นสิ่งที่สำคัญ

    Cop จะมีความแตกต่างจากการที่บุคคลมารวมกลุ่มกันเป็นทีมปฏิบัติงานปกติทั่วไปตรงที่ Cop เป็นการรวมตัวกันอย่างสมัครใจ เป็นการเชื่อมโยงสมาชิกเข้าด้วยกัน โดยกิจกรรมทางสังคม ไม่ได้มีการมอบหมายสั่งการเป็นการเฉพาะและจะเลือกทำในหัวข้อหรือเรื่องที่สนใจร่วมกันเท่านั้น

    ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนในกลุ่ม CoP จะพัฒนาเป็นองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการทำงานของบุคคลและองค์กรต่อไป และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการในท่ามกลางบรรยากาศแบบสบาย ๆ ประกอบกับการใช้เทคนิคที่เรียกว่าสุนทรีสนทนา (Dialogue) ซึ่งเป็นการสนทนาที่เคารพความคิดเห็นของผู้พูด ให้เกียรติกัน ให้โอกาสกัน และไม่พยายามขัดขวางความคิดใคร กับรับฟังผู้อื่นพูดอย่างตั้งอกตั้งใจ (Deep Listening)

กรมการปกครองเริ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Cop) นำร่องที่ วปค.

    จากการที่กรมการปกครองได้รับความไว้วางใจจากกระทรวงมหาดไทยและรัฐบาลมอบหมายให้เป็น ภาคส่วนหลักในการปฏิบัติภารกิจที่สำคัญระดับชาติต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การรักษาความมั่นคงภายใน การแก้ไขปัญหายาเสพติด การบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นต้น แสดงถึงการมีบุคลากรที่เป็น “ทุนทางสังคม” อยู่เป็นพื้นฐานในองค์กร กรมการปกครองจึงได้ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลในรูปของการจัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้น โดยนำร่องที่วิทยาลัยการปกครองก่อน เรียกว่า

   “โครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ ( CoP ) วิทยาลัยการปกครอง” โดยมีวัตถุประสงค์ใหญ่ ๆ 3 ประการ คือ

(1) นำทฤษฏีการจัดการองค์ความรู้ ( KM ) มาสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่การปฏิบัติงานจริง

(2) เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารทั่วองค์กร ( Communication ) ด้านการจัดการองค์ความรู้

(3) เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ การใช้เครื่องมือ CoP ในกระบวนการ KM สำหรับแนวทางดำเนินการกำหนดไว้ ดังนี้

   3.1 การประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร
   3.2 ทำหนังสือเวียน เชิญชวน ข้าราชการ ลูกจ้าง ร่วมเป็นสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้
   3.3 เชิญสมาชิกประชุมปรึกษาหารือ ร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ตามหัวข้อที่อยู่ในความสนใจของสมาชิก
   3.4 ประสานงานเรื่องสถานที่ประสานงานบุคคลและงานธุรการอื่น
   3.5 จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ
   3.6 จัดทำสรุปการเสวนาของ CoP เพื่อเผยแพร่ จัดกิจกรรม กระตุ้น ส่งเสริม เป็นระยะ ๆ
   3.7 ติดตามประเมินผลการดำเนินการและรายงาน

   โครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ดังกล่าว จะต้องมีความอดทนและใช้เวลารวมถึงการกระตุ้นส่งเสริมและให้กำลังใจจากผู้บังคับบัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรก ๆ ก็คงจะต้องให้มีการดำเนินการในระยะเวลาหนึ่งแล้วติดตามประเมินผลเพื่อทำการศึกษาผลที่เกิดขึ้นต่อไป

บทสรุป

    ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (CoP) เป็นกิจกรรมเริ่มต้นอีกกิจกรรมหนึ่งในกระบวนการ KM ที่มีกิจกรรมหลายประการที่จะต้องดำเนินการทั้งในส่วนที่อาจเรียกว่าเป็นมิติของการบังคับและในส่วนที่เป็นมิติของการส่งเสริม ส่วนที่เป็นมิติการบังคับ คือ การที่จะต้องดำเนินการ KM ในฐานะตัวชี้วัดที่เป็นพันธะสัญญาที่กรมการปกครองได้จัดทำไว้ในคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2549 กับ สำนักงาน ก.พ.ร. ให้สำเร็จ คือ การดำเนินการในส่วนกลางของทุกสำนัก/กอง ตามแผนปฏิบัติการการจัดการความรู้ (KM Action Plan) กับการดำเนินการในส่วนภูมิภาคของอำเภอ/กิ่งอำเภอ ในการทำให้อำเภอ/กิ่งอำเภอ เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยอำเภอ/กิ่งอำเภอ จะต้องจัดทำผลสำเร็จการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการในพื้นที่ จำนวน 1 เรื่อง เพื่อเผยแพร่ติดไว้ที่ ศตจ.อำเภอ/กิ่งอำเภอ และบันทึกไว้ที่เว็บไซต์ของจังหวัดและกรมการปกครอง ในส่วนที่เป็นมิติของการส่งเสริมคือ การดำเนินการ KM ในฐานะที่เป็นตัวขับเคลื่อน องค์กรสู่ความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและทำให้มีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด บุคลากรของกรมการปกครองที่ถือได้ว่าเป็น “ทุนทางสังคม” มีความสำคัญยิ่งต่อการเดินทางไปสู่เป้าหมาย KM ดังกล่าว การศึกษาเรียนรู้เรื่อง KM และการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกิจกรรม KM ต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะทำให้เกิดสัมฤทธิ์ผล กับงานด้านการจัดการความรู้ที่กรมปกครองรับผิดชอบเช่นเดียวกับงานอื่น ๆ ที่ผ่านเข้ามาและสำเร็จผลลงด้วยดี กับทั้งเกิดคุณค่าประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนและชาติบ้านเมืองไปพร้อมกัน เป็นที่ยอมรับและได้เกิดความไว้วางใจจากรัฐบาลทุกรัฐบาลเสมอมา

แหล่งที่มา : http://www.dopa.go.th/iad/km/km_des.html#km6

 ตัวอย่างบันทึกของคนทำ CoP

 จาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 2 CoP ของศูนย์สาระการเรียนรู้

1.เขียนโดย นายเอก กลันตรานนท์ Saturday, 05 August 2006 พาเที่ยวเกาะเกร็ด เกาะเกร็ดเป็นเกาะขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ในเขตอำเภอปากเกร็ด เกาะเกร็ดเป็นแหล่งชาวมอญ มีอาชีพเก่าแก่คือการทำเครื่องปั้นดินเผา มีวัดเก่าแก่ที่สำคัญตั้งอยู่คือ วัดปรมัยยิกาวาส วัดฉิมพลี วัดไผ่ล้อม ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้สืบทอดศิลปวัฒนธรรมทั้งด้านวิจิตรศิลป์ และด้านเทคโนโลยี่อันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นถิ่นที่ผู้มาเยือนครั้งหนึ่งแล้วตอ้งกลับมาอีก หากท่านยังไม่เคยไป ขอเชิญให้ท่านไปสัมผัสความอบอุ่นจากลูกหลานไทยเชื่อสายมอญ ท่านจะรู้ว่าเกาะเกร็ดมีสิ่งดีดีมากมายที่รอท่านมาพิสูจน์

2.เขียนโดย นายธงชัย วงศ์ษา Monday, 07 August 2006 ผู้กำเนิดลูกเสือโลก ท่านผู้นี้คือ ลอร์ด เบเดน โพเอลล์ ประมุขแห่งลูกเสือโลก ซึ่งบรรดาลูกเสือพากันเรียกชื่อท่านว่า B.P. บี.พี ได้พัฒนาความคิดเห็นในการลูกเสืออย่างช้าๆ และด้วยความระมัดระวัง ท่านต้องการให้เราเข้าใจว่า ความคิดของท่านอาจนำไปใช้ได้ในทางปฏิบัติ ดังนั้นในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1970 ท่านจึงรวมเด็ก 20 คน ให้ไปอยู่กับท่านท่เกาะบราวน์ซี ในช่องแคบอังกฤษ ซึ่งนับว่าเป็นการออกค่ายพักแรมของลูกเสือครั้งแรก โลกได้เห็นการอยู่ค่ายครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม

แหล่งที่มา: http://www.km.neo-2.net/index.php?option=com_content&task=category§ionid=16&id=93&Itemid=59

Best Practice กับการจัดการความรู้อย่างง่าย

วิจารณ์ พานิช (อ้างถึงใน วันทนา เมืองจันทร์ และเต็มจิต จันทคา 2548 : 12)

กล่าวว่า วิธีการจัดการความรู้อย่างง่าย คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิธีการทำงานแบบ Best Practice องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของการจัดการความรู้ คือ การมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของหน่วยงานต่างๆ ที่มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับในด้านต่างๆ (เช่น ด้านแนวคิด กระบวนการวางแผน การดำเนินงานตามแผน การประเมินผล และการมีส่วนร่วมของชุมชน) โดยมีการเผยแพร่วิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ เพื่อให้หน่วยงานอื่นได้นำไปปรับใช้ ซึ่งเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ในมาตรา 11 ระบุว่า “ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ”

Best Practice คือ อะไร

   Best Practice คือ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ ซึ่งเป็นผลมาจากการนำความรู้ไปปฏิบัติจริง แล้วสรุปความรู้และประสบการณ์นั้น เป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดของตนเอง (บูรชัย ศิริมหาสาคร,2548)

   Best Practice จึงเป็นบทสรุปของวิธีการปฏิบัติที่เป็น Tacit Knowledge (ความรู้ในตัวคน) ซึ่งเผยแพร่เป็น Explicit Knowledge (ความรู้ที่ปรากฏให้เห็นชัดแจ้งในรูปแบบต่างๆ) เพื่อให้ผู้อื่นได้นำไปทดลองปฏิบัติ

Best Practice กับทฤษฎีการเรียนรู้ของ Thorndike

   Edward Lee Thorndike (พ.ศ. 2417-2492) เป็นนักจิตวิทยาชาวอเมริกันผู้ค้นพบทฤษฎีความต่อเนื่อง (Connectionism) ทฤษฎีนี้ มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการลองผิดลองถูก เช่น เมื่อให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอะไรอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นมาก่อน ผู้เรียนจะทำแบบลองผิดลองถูก เพื่อเลือกที่จริง ทิ้งที่เท็จ จนกระทั่งจับได้ว่า ควรทำอย่างไร จึงจะถูกต้องและรวดเร็ว ก็จะเลือกทำด้วยวิธีนั้นในครั้งต่อไป

  นั่นคือ ผู้เรียนได้สร้าง Best Practice ในการทำงานของตนเอง ซึ่ง Best Practice ของผู้เรียนแต่ละคน อาจจะเหมือนหรือไม่เหมือนกันก็ได้ เพราะเป็นข้อสรุปวิธีการทำงานที่ต่างคนต่างค้นพบตามแนวทางของตนเอง เมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จึงจะรู้ว่า วิธีการของใครดีที่สุด

Best Practice กับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

   พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาที่แตกต่างจากศาสดาของศาสนาอื่น กล่าวคือ มิได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าด้วยเทวโองการ ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากสวรรค์ที่ดลบันดาลประทานให้ แต่ทรงตรัสรู้ด้วยวิธีการจัดการความรู้ (Knowledge Management) แล้วสรุปผลการปฏิบัติ เป็น Best Practice (วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ) อันได้แก่ ทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา ในพระพุทธศาสนา ทรงใช้เวลานาน 6 ปี ในการจัดการความรู้ ก่อนที่จะสรุปเป็น Best Practice โดยมีวิธีการต่างๆ ดังนี้

1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น (Share & Learn) โดยสมัครเข้าศึกษาธรรมในสำนักของอาฬารดาบส และอุทกดาบส จนสำเร็จสมาบัติ 7-8 ซึ่งเป็นสมาธิขั้นสูงสุด ทรงมีวิจารณญาณว่า วิธีการดังกล่าว ยังมิใช่หนทางดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง (ไม่ใช่ Best Practice)

2. การปฏิบัติแบบลองผิดลองถูกด้วยตนเองตามความเชื่อของคนในยุคนั้น คือ การบำเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยการทรมานตนเอง ให้ได้รับความลำบากมากที่สุด เพื่อเป็นการชดใช้กรรมให้หมดและขอให้เทพยดาประทานพรให้ ทรงทรมานตนเองถึงขั้นอุกฤษฎ์ ด้วยการอดอาหารจนเกือบสิ้นพระชนม์ แต่ก็ไม่พบหนทางแห่งการดับทุกข์

3. การสรุปบทเรียน (Lesson Learned) ทบทวนสิ่งที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว เป็น Best Practice โดยปรียบเทียบกับพิณ 3 สาย คือ สายหย่อน สายตึง และสายกลาง ดังนี้

   3.1 สายหย่อน (กามสุขัลลิกานุโยค) คือ การแสวงหาความสุขด้วยการบริโภคกาม ลุ่มหลงในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ตามแบบคนทั่วไป ทรงพบว่า ไม่ใช่หนทางแห่งการดับทุกข์ เพราะทรงใช้ชีวิตตามแนวทางนี้มาแล้ว เมื่อครั้งเป็นเจ้าชาย 

   3.2 สายตึง (อัตตกิลมถานุโยค) คือ การทรมานตนให้ได้รับความลำบาก ก็ทรงทำมาแล้วแต่ก็ไม่พ้นทุกข์

3.3 สายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ การปฏิบัติตามมรรคมีองค์ 8 ไม่ตึงหรือหย่อนจนเกินไป

   ภายหลังที่พระองค์ได้จัดการความรู้แล้ว ทรงยินดีในทางสายกลาง และทรงเลือกปฏิบัติตามวิธีการนี้ ทำให้ตรัสรู้ (อริยสัจ 4 ) เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทรงประกาศพระศาสนาให้มัชฌิมาปฏิปทาหรือ ทางสายกลาง เป็น Best Practice ที่พุทธศาสนิกชน ควรนำไปปฏิบัติ ดังปรากฎในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรปฐมเทศนาที่ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์

   ด้วยพระปัญญาธิคุณอันเป็นผลมาจากการจัดการความรู้ในครั้งนั้น ทำให้คนรุ่นหลังในกาลต่อมาได้ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เป็น เอกายโน มค.โค (ทางสายเอก) โดยไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกเหมือนกับพระองค์

Best Practice มีความสำคัญอย่างไร

   จากหลักการที่ว่า “ถ้าได้นำความรู้ไปใช้ ความรู้นั้น ก็ยิ่งเพิ่มคุณค่า เพราะทำให้เกิดการต่อยอดความรู้ให้แตกแขนงออกไปอย่างกว้างขวาง” ดังนั้น เป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของการจัดการความรู้ในองค์กร คือ เพื่อให้คนในองค์กร มี Best Practice ในการทำงาน ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ ดังคำกล่าวของ Peter Senge ที่ว่า ความรู้ คือ ความสามารถในการทำอะไรก็ตาม อย่างมีประสิทธิผล (Knowledge is the capacity for effective actions)

Best Practice กับองค์กรแห่งการเรียนรู้

   David Garvin (อ้างถึงในบุญดี บุญญากิจ และคณะ 2547 : 26) กล่าวว่า การจัดการความรู้เป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ และประยุกต์ใช้ความรู้ รวมทั้งแปลงความรู้ของคนไปเป็นความรู้ขององค์กร การจะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้นั้น จะต้องมีทักษะใน 5 ด้าน ได้แก่

   1. การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

   2. การทดลองศึกษาหาแนวทางใหม่ๆ

   3. การเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต

   4. การเรียนรู้จากวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศของคนอื่น

   5. การถ่ายทอดความรู้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กร

   จะเห็นว่า Best Practice เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะเป็น 1 ใน 5 ของทักษะในองค์กรแห่งการเรียนรู้

Best Practice กับการฝึกอบรมผู้บริหารสถานศึกษา

   ตามหลักสูตรการฝึกอบรมพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ของสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษากำหนดให้ผู้เข้ารับการอบรมต้องฝึกปฏิบัติงานในสถานศึกษาต้นแบบ เพื่อศึกษา Best Practice ของสถานศึกษานั้น ว่ามีวิธีการบริหารงานอย่างไร จึงประสบความสำเร็จ แล้วจัดทำเป็นเอกสารการสัมมนา เพื่อนำเสนอในห้องอบรม เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ทำให้ได้แนวทางปฏิบัติที่จะนำไปใช้บริหารโรงเรียนของตน ไม่ต้องบริหารแบบลองผิดลองถูก

   ผู้เขียนได้มีโอกาสไปศึกษาดูงาน เรื่อง National Leadership ที่ประเทศนิวซีแลนด์ จากการพูดคุยกับผู้บริหารสถานศึกษาที่มีชื่อแห่งหนึ่ง คือ Rutherford College พบว่า ในการคัดเลือกบุคคล เพื่อแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารสถานศึกษาของนิวซีแลนด์ จะให้บุคคลนั้น นำเสนอ Best Practice ด้านการบริหารของตนเอง ให้คณะกรรมการใช้ประกอบการพิจารณาว่า มีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ Best Practice เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ควรจะเริ่มต้นจากการค้นหา รวบรวม Best Practice ด้านการสอนในกลุ่มสาระต่างๆ จากครูที่มีความเชี่ยวชาญ เช่น ครูแห่งชาติ ครูต้นแบบ ครูแกนนำหรือครูดีเด่นในวิชาต่างๆ เพื่อให้ครูเหล่านั้น ได้ถ่ายทอดความเชี่ยวชาญไปสู่ครูอื่นๆ เพื่อเป็นเครือข่ายแตกสาขาออกไปคล้ายดาวกระจาย โดยใช้ฐานความรู้และประสบการณ์ของครูที่ประสบความสำเร็จด้านการสอน เป็นแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาครูให้ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น การศึกษา เรื่อง Best Practice ของครู สังคม ทองมี ซึ่งเป็นครูศิลปศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการสอนวิชาศิลปศึกษา สามารถพัฒนาเด็กให้มีผลงานด้านศิลปะ ได้รับรางวัลการประกวดผลงานด้านศิลปะของเด็กในระดับนานาชาติ มากกว่า 3,000 รางวัล

ตัวอย่างหัวข้อเรื่องที่ควรทำ Best Practice

   ในทัศนะของผู้เขียน หัวข้อเรื่องที่ควรทำ Best Practice เพื่อพัฒนาการศึกษา น่าจะเป็น ดังนี้

   1. 10 วิธีการเรียนรู้ที่หนูชอบ

   2. สอนอย่างไร ให้เด็กเก่ง

   3. 108 วิธี ที่ไม่ต้องตีเด็ก

       ……….ฯลฯ……….

การเรียนรู้วิธีการทำงานแบบ Best Practice ในสถานศึกษา

   การทำงานแบบ Best Practice คือ วิธีการทำงานที่เกิดผลงานในลักษณะที่มีผลสัมฤทธิ์ทั้งในเชิงคุณภาพ และปริมาณ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ สถานศึกษาต้องหา Best Practice ด้านการเรียนการสอนของครูต้นแบบ แล้วนำมากำหนดเป็นมาตรฐานในการทำงานของครูในโรงเรียน จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูต้นแบบที่เป็น Best Practice กับครูผู้สอนคนอื่นๆ เพื่อพัฒนาให้ครูเหล่านั้น สามารถจัดการเรียนการสอนได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้

Best Practice กับการพัฒนาแบบก้าวกระโดด

   วิธีการที่ใช้พัฒนาองค์กรเพื่อเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่องมีหลายวิธี แต่วิธีที่สามารถทำให้องค์กรพัฒนาแบบก้าวกระโดด (Leap Frog) สามารถย่นระยะเวลาในการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร มีอยู่ไม่กี่วิธี และวิธีการหนึ่งที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง คือ การศึกษาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ หรือ Best Practice ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้ที่ประสบความสำเร็จหรือทำได้ดีกว่าเรา แล้วนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาให้ดีกว่าเดิม

   เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่นหลังพ่ายแพ้สงครางโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นใช้นโยบายฟื้นฟูประเทศแบบก้าวกระโดด คือ เลียนแบบ เพื่อการเรียนรู้ และเรียนรู้เพื่อพัฒนาให้ดีกว่า หรือ ต้องก้าวให้ทัน แล้วแซง ญี่ปุ่นจึงเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้อย่างรวดเร็วทัดเทียมกับยุโรป และอเมริกา ทั้งที่เป็นประเทศแพ้สงคราม เพราะได้ศึกษา Best Practice ด้านอุตสาหกรรมของประเทศที่เจริญแล้วในยุโรป และอเมริกา ทำให้สินค้าอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเป็นที่ยอมรับของทั่วโลก

Best Practice กับการจัดการความรู้ที่เป็น Tacit Knowledge

   การจัดการความรู้จะบรรลุเป้าหมายได้ ต้องทำให้ Best Practice ที่เป็น Tacit Knowledge ซึ่งอยู่ในตัวคน ให้กลายเป็น Explicit Knowledge หรือความรู้ที่ปรากฏให้เห็นชัดแจ้ง เช่น เอกสารรายงาน คู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อให้ผู้อื่นได้นำไปใช้พัฒนางานแบบต่อยอดความรู้ และสามารถจัดเก็บ Best Practice นั้น ไว้ในคลังความรู้ขององค์กร ไม่ให้ความรู้นั้นหายไปกับบุคคล เมื่อบุคคลนั้น ออกจากหน่วยงานแล้ว

   ประพนธ์ ผาสุขยืด (2547 : 48) ได้กล่าวว่า จากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา มีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นมากมายภายในองค์กรของเรา มีสิ่งที่เรียกว่า Best Practice เกิดขึ้นในองค์กร แต่คนในองค์กรเองกับไม่รู้ผล ก็คือ เวลาจะทำอะไร ก็ต้องเริ่มต้นกันใหม่หมดทั้งๆ ที่หลายเรื่องไม่จำเป็นต้องเริ่มจากศูนย์เสมอไป เพราะสามารถเรียนรู้ได้จากสิ่งที่มีอยู่แล้วภายในองค์กรของเรา ซึ่งอาจจะหมายถึงจากหน่วยงานข้างเคียงก็ได้

   ผู้บริหารต้องส่งเสริมให้มีการพัฒนา Best Practice ด้านการจัดการเรียนการสอน ให้ได้วิธีการที่ดีกว่าเดิมยิ่งๆ ขึ้นไป เป็นวงจรที่ก้าวหน้าอย่างไม่สิ้นสุด และนำ Best Practice นั้น เขียนเป็นเอกสาร หรือเผยแพร่ใน Intranet หรือ Website ของสถานศึกษา เพื่ออำนวยความสะดวกให้ครูได้ศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดเป็น CoP (Community of Practice) หรือชุมชนนักปฏิบัติ เพื่อให้การนำเสนอเรื่อง Best Practice ในบทนี้ไม่ยาวเกินไป จึงขอยุติไว้เพียงเท่านี้ก่อน และโปรดติดตามในบทต่อไป

 --------------------------------

บรรณานุกรม บุญดี บุญญากิจ และคณะ. การจัดการความรู้…จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กซ์เพรส จำกัด.2547. ประพนธ์ ผาสุขยืด. การจัดการความรู้ฉบับมือใหม่หัดขับ.กรุงเทพฯ : ใยไหม. 2547 วนิช บรรจง และคณะ.จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์,2515 วันทนา เมืองจันทร์ และเต็มจิต จันทคา. บทความเรื่อง การจัดการความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน. วารสารสถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา ปีที่ 22 ฉบับที่ 4 เมษายน, พฤษภาคม 2548 ที่มา บูรชัย ศิริมหาสาคร สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา จดหมายข่าว KM ปีท

หมายเลขบันทึก: 62760เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท