การศึกษาเวลาและกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสุโขทัย


The Study of Time Motion and Nursing Activities for In-Patient, Sukhothai hospital

ศิริลักษณ์ อุปวาณิช
โรงพยาบาลสุโขทัย

ผลการศึกษา
– พบว่า ปริมาณเวลาที่ผู้ป่วยในประเภทที่ 1,2,3, และ 4 ได้รับการพยาบาลทางตรงจากบุคลากรทางพยาบาล เฉลี่ย 7.77, 4.68, 2.93 และ 1.68 ชั่วโมงต่อวันตามลำดับ ผู้ป่วยหลักประเภทที่ 1,2,3, และ 4 ได้รับการพยาบาลทางตรงจากบุคลากรทางพยาบาล เฉลี่ย 21.64, 12.48, 8.18 และ 5.33 ชั่วโมงต่อวัน ตามลำดับ ปริมาณเวลาที่บุคลากรทางพยาบาลทุกประเภท ปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลทางอ้อม ในช่วงเวรเช้า เวรบ่าย และเวรดึก เฉลี่ย 4.87, 4.29 และ 3.65 ชั่วโมงต่อเวร ตามลำดับ ผลการคำนวณชั่วโมงความต้องการการพยาบาล เฉลี่ยต่อวันนอนของผู้ป่วยใน ประเภทที่ 1,2,3, และ 4 เท่ากับ 10.62 , 7.70, 5.78 และ 4.53 ตามลำดับ และเฉลี่ยวันนอนของผู้ป่วยหนัก ประเภทที่ 1,2,3 และ 4 เท่ากับ 24.44, 15.24, 11.02 และ 8.17 ตามลำดับ

- ข้อมูลจากผลการศึกษาครั้งนี้ นับว่าเป็นดัชนีปริมาณงาน (Workload Index) ที่ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงมากที่สุด ซึ่งผู้บริหารสามารถนำไปประกอบการกำหนดนโยบาย ด้านการบริหาร-จัดการอัตรากำลังของบุคลากรทางการพยาบาล ให้ตอบสนองต่อภารกิจของโรงพยาบาล ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

จากการนำเสนอผลงานทางวิชาการ
การประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ประจำปี 2548


หมายเลขบันทึก: 62725เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 13:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท