การจัดการความรู้ โดยนพ.วิศิษฎ์ สงวนวงศ์วาน (ตอนที่2)


การจัดการความรู้

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) (ตอนที่2)


นพ.วิศิษฎ์ สงวนวงศ์วาน
กลุ่มงานศัลยกรรม
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

การจัดการความรู้ในหน่วยงาน
เป้าหมายของหน่วยงานไม่ใช่การจัดการความรู้ เป้าหมายคือ วิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) และกลยุทธ์ (Strategy) เราใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือนำเราไปสู่เป้าหมายนั้น ปัจจุบันทุกหน่วยงาน ทุกองค์กรที่ต้องการพัฒนาคุณภาพ จำเป็นต้องปรับองค์กรของตนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ความรู้ที่องค์กรจะได้มาจาก 2 ทางคือ
จากภายนอก ซึ่งเป็นความรู้ในตัวบุคคล ผู้เชี่ยวชาญ (Tacit knowledge) และความรู้ที่อยู่ในรูปแบบของสื่อต่างๆ เช่น Internet (Explicit knowledge)
จากภายใน ซึ่งเป็นความรู้ในบุคลากรของหน่วยงาน (Tacit knowledge) และความรู้ที่จะได้มาจากข้อมูลของหน่วยงาน (Potential knowledge)

     ทุกหน่วยงานจะมีการสำรวจ Training Need ประจำทุกปี และจะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้ เป็นผู้เชิญวิทยากรภายนอกที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญมาบรรยาย แสดง จัด Workshop ตาม Training need ที่กำหนดไว้ แต่การค้นคว้าจากสื่อต่างๆยังไม่มีหน่วยงานเฉพาะทำหน้าที่นี้ การถ่ายทอดความรู้จากบุคลากรภายในหน่วยงาน อาจทำได้ง่ายกว่า สะดวกกว่า ได้ผลมากกว่า และประหยัดกว่า ที่กล่าวมาเป็นความรู้ที่มีอยู่แล้วและนำมาเผยแพร่ถ่ายทอดกัน แต่ยังมีความรู้ที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล (Data) ของหน่วยงาน เมื่อเราเข้าในความสัมพันธ์ของข้อมูลได้ และจะเปลี่ยนเป็นความรู้ (Knowledge) เมื่อเราเข้าใจถึงรูปแบบที่เกิดขึ้น และมีการเปรียบเทียบแล้ว
ขอให้กลับมาดูแผนผัง Concept of Knowledge อีกครั้ง จะเห็นว่าการสร้างความรู้ใหม่จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราแก้ไขปัญหา 2 จุดได้คือ ใครจะเป็นผู้บริหารจัดการข้อมูล และใครจะเป็นผู้วิเคราะห์ เปรียบเทียบสารสนเทศ เพื่อให้เปลี่ยนเป็นความรู้ใหม่ คำตอบถือเราต้องอบรมให้ความรู้แก่ทุกคน ในด้านการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งจำเป็นต้องเรียนรู้คอมพิวเตอร์พื้นฐานด้วย และความรู้ด้านการวิจัย ซึ่งจะทำให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ทั้งข้อมูลและสารสนเทศได้ หากบุคลากรทุกคนในหน่วยงานมีความรู้ทั้ง 2 ด้านนี้จะทำให้การพัฒนาคุณภาพเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

จะจัดการอย่างไร
ในทางปฏิบัติเราดำเนินการได้เป็น 2 ฐานะคือ ผู้ปฏิบัติงานธรรมดา และผู้บริหาร
      ในฐานะผู้ปฏิบัติงาน
จากประสบการณ์ที่ดำเนินการมามีขั้นตอนคือ
1.
สร้างความรู้ โดยการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองให้มากที่สุด
2 .สร้างแนวร่วมโดยการ
       
 ถ่ายทอดความรู้ให้บุคลากรในโรงพยาบาล ระยะแรกเลือกกลุ่มที่มีศักยภาพที่จะมาช่วยงานได้
       
 สร้างทีม ทีจะมาช่วยถ่ายทอดความรู้ร่วมกัน โดยใช้หลักการสร้างทีม ‘สหวิชาชีพ’
       
 สร้างผลงาน เพื่อเป็นตัวอย่าง และแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จ
3. เสนอฝ่ายบริหาร เพื่อขยายการดำเนินการโดยกำหนดเป็นนโยบาย
ปรากฏว่าการดำเนินการดังกล่าว สอดคล้องกับแนวทางสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ของอาจารย์ประเวศ วะสี โดยบังเอิญ

 

      ในฐานะผู้บริหารระดับหัวหน้ากลุ่มงาน
ได้ดำเนินการดังนี้
1.
กำหนดนโยบายสนับสนุน 2 ด้าน คือ ด้าน Information Technology ด้านกระบวนการวิจัย
2. ทำความเข้าใจกับบุคลากรในกลุ่มงานให้เข้าใจ กระบวนการการจัดการความรู้ เท่าที่จะสามารถทำได้ บางส่วนอาจไม่เข้าใจ แต่ไม่เป็นไร เพราะเมื่อไรที่เราสามารถถ่ายทอดความรู้ทั้ง 2 ชนิด ให้แล้วเมื่อบุคลากรเหล่านี้นำไปใช้ในงานที่รับผิดชอบ จะมีเกิดความเข้าในเอง
3. สร้างผลงานเพื่อเป็นต้นแบบให้กลุ่มงานอื่น ในงาน 2 ด้านนี้
       
 จัดตั้งศูนย์บริหารข้อมูลทางศัลยกรรม เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางด้านศัลยกรรม และวิเคราะห์ข้อมูล
       
 สร้างระบบเก็บข้อมูลงานห้องผ่าตัด
4. เสนอแนวทางให้ฝ่ายบริหาร


ถอดประสบการณ์การดำเนินงาน ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

ด้าน Information Technology
      ฝึกฝนเรียนรู้ Program ด้าน Computer และ การเขียน Program ด้านฐานข้อมูล สร้างทีมโดยตั้งเป็นชมรมคอมพิวเตอร์
      สร้างทีม สร้างผลงานและหาแนวร่วมโดย
      สอน dBASE III plus (2528)
      เขียน Program งานวิสัญญี ตั้งแต่ปี 2531 ยังใช้อยู่ถึงปัจจุบัน
      สอน Computer พื้นฐานแก่บุคลากรห้องผ่าตัดทุกคน(2544)
      สอน Program MS ACCESS แก่กลุ่มที่รับผิดชอบข้อมูลของห้องผ่าตัด
      เสนอให้มีห้องสอน Computer โดยใช้บุคลากรของโรงพยาบาลที่มีความรู้ด้านนี้เป็นผู้สอนเอง

ปัจจุบัน
      มีห้องสอน Computer จำนวน 40 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ Wireless LAN และ Internet
      มีการอบรม Program Computer พื้นฐาน คือ MS Word, MS Power point, MS Excel, Internet, Intranet ฯลฯ เดือนละ 1 รุ่น สอนมาแล้ว 24 รุ่น
      มีการอบรมเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่ดูแลจัดการฐานข้อมูลของหน่วยงาน เช่น ทีม Risk Management
      มีการสร้างสื่อช่วยการอบรม คือ คู่มือการสอน และ CD สอน
      ศูนย์บริหารข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มงานศัลยกรรม
      Program ผู้ป่วยมะเร็ง
      Program การใช้ห้องผ่าตัด
      ข้อมูลทางคลินิก
      ข้อมูลการสอนนักศึกษาแพทย์
      ต้นแบบการจัดการข้อมูล สารสนเทศ

ด้าน การวิจัย
      เข้ารับการอบรมด้านระบาดวิทยาที่ หน่วยระบาดวิทยาคลินิก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
      ชักชวนบุคลากรทีมสุขภาพหลายสาขาวิชาชีพที่สนใจเข้ารับการอบรมด้านระบาดวิทยา
      สร้างทีมวิจัยแบบสหวิชาชีพ
      สร้างงานวิจัย
      สนับสนุนการสร้างงานวิจัยของบุคลากรของโรงพยาบาล เน้นการแก้ปัญหางานประจำของหน่วยงาน
      อบรมด้านการวิจัยแก่บุคลากรของโรงพยาบาล(ตั้งแต่ปี 2540)

การอบรมการวิจัยจะเน้นการนำปัญหางานประจำมาทำเป็นงานวิจัย บางเรื่องที่ทำเป็น CQI ดีแล้ว หากต้องการเผยแพร่ก็ปรับให้เป็นงานวิจัย

      การอบรมแบ่งเป็น 4-5 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 1 เดือน เพื่อให้เจ้าของโครงการมีเวลาไปดำเนินการแต่ละขั้นตามหัวข้อที่อบรม แต่ละครั้งที่อบรมจะให้เจ้าของเรื่องนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการที่ทำ และกรรมการศูนย์วิจัยจะช่วยให้คำแนะนำ เปิดโอกาสให้ทุกคนในห้องประชุมช่วยแสดงความเห็นได้
              
 คำถามงานวิจัย
              
 การทบทวนวรรณกรรม
              
 รูปแบบงานวิจัย, ขนาดตัวอย่าง
              
 สถิติที่ใช้,การวิเคราะห์ข้อมูล
              
 การเขียนรายงาน, การนำเสนอ
      จัดที่ปรึกษาให้ทุกโครงการ(กรรมการศูนย์ที่ผ่านการอบรมระบาดวิทยามาแล้ว)
      จัดหาทุนสนับสนุน ช่วยประสานของจากแหล่งทุนต่างๆ


ปัจจุบัน
      จัดตั้งเป็นศูนย์วิจัยของโรงพยาบาล ตั้งแต่ปี 2547 มีคณะกรรมการศูนย์วิจัยที่เป็นทีมสหวิชาชีพ โดยทุกคนผ่านการอบรมทางด้านระบาดวิทยา หรือ ชีวสถิติ แล้ว
      ได้การตกลงเป็นเครือข่ายด้านการวิจัยร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      รับผิดชอบงานวิจัยของโรงพยาบาลแบบครบวงจร
      ได้รับทุนสนับสนุนกิจกรรมด้านงานวิจัยจากโรงพยาบาล


Routine to Research
การแก้ปัญหาของการทำงานประจำ (Routine work) ไม่จำเป็นต้องแก้ไขโดยใช้กระบวนการวิจัยทุกครั้ง การแก้ไขปัญหาอาจใช้วิธีการหลายอย่างดังนี้
      แก้ไขด้วยการบริหารสั่งการ เช่นทีมผ่าตัดผู้ป่วยฉุกเฉินมีน้อยไป ทำให้มีผู้ป่วยฉุกเฉินที่จำเป็นต้องทำผ่าตัดด่วนค้างมาก ก็สั่งการให้เพิ่มทีมผ่าตัดได้เลย ไม่ต้องมาทำวิจัยก่อนว่า เพิ่มทีมผ่าตัดดีหรือไม่?
      แก้ไขด้วยบางส่วนของกระบวนการวิจัย เช่นการสืบค้น (Literature review) เพื่อหาวิธีการหรือแนวทางที่ดีมาพัฒนางานประจำของหน่วยงาน
      แก้ไขด้วยการวิจัยเต็มรูปแบบ ใช้ในกรณี
              
 ยังไม่มีหลักฐานยืนยันความปลอดภัยของบริการชนิดนั้น
              
 ต้องการเผยแพร่งานประจำที่ดี ซึ่งพัฒนาโดย CQI

การจัดการเพื่อรองรับ Routine to research
      สร้างทีมที่มีความรู้ด้านการวิจัย
      จัดการอบรมการวิจัยโดยใช้ปัญหาจากงานประจำ
      จัดหาที่ปรึกษา
      จัดหาทุนสนับสนุน
      จัดหาเวทีแสดงผลงาน
      จัดการให้สามารถเผยแพร่ผลงาน

ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ
      ความรักองค์กร
      การทำงานเป็นทีม
      การจัดการความรู้ โดยอาศัย
              
 ความรู้ด้าน Information Technology
              
 ปรับวิธีคิดโดยกระบวนการวิจัย
              
 ความรู้ด้าน Management of Information System
      แรงกระตุ้นจากหน่วยงานภายนอก


บรรณานุกรม

www.kmi.or.th
www.systems-thing.org/kmgmt/kmgmt.htm#bel97a
www.hkm.nu.ac.th
www.nectec.or.th/courseware/pdf-documents/knowledge.pdf


ที่มาของบทความ http://www.sappasit.net/KM/KMWisit.htm

หมายเลขบันทึก: 62710เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2006 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากเชิญคุณหมอมาเป็นวิทยากร R2R ด้านการศึกษาให้มหาวิทยาลัย จะได้ไหมค่ะ ตอนนี้กำลังหาวิทยากร R2R พอดีเลยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท