หลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT Assistant Director Development Program: EADP 2017) - EADP 13 (ช่วงที่ 2: ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2560)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ EADP รุ่น 13 ทุกท่าน

ขอต้อนรับเข้าสู่หลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT Assistant Director Development Program: EADP 2017) - EADP 13 (ช่วงที่ 2: ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2560)

แม้ว่าจะเป็นการทำงานต่อเนื่องเรื่องคนให้กับ กฟผ. มาปีนี้เป็นปีที่ 13 แต่ผมก็ยังรู้สึกตื่นเต้น และพยายามจะแสวงหาความรู้ที่สด และทันสมัยมาแบ่งปันกับลูกศิษย์ของผมเสมอ

จากการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของ กฟผ. ในระดับผู้อำนวยการ 3 รุ่น และในระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอีก 9 รุ่นที่ผ่านมา ผมมีความภาคภูมิใจในลูกศิษย์ของผมที่วันนี้หลายคนเติบโต และเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคม

"ทุนมนุษย์" ใน กฟผ. นั้นเข้มแข็งและมีศักยภาพอยู่แล้ว ผมเป็นเพียงผู้ที่จะช่วยทำหน้าที่จุดประกาย สร้าง Inspiration ให้พวกเขามีพลัง มี Ideas ใหม่ ๆ มีความเข้าใจสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกและพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งการทิ้งผลงานหรือสิ่งที่มีคุณค่าไว้สำหรับสังคมไทยของเรา

สำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 13 ในปีนี้ ผมก็หวังว่าจะมีสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการทำงานของ กฟผ. และเป็นการสร้างที่สร้างความสุขให้แก่คนไทยต่อไป และผมขอให้ทุกท่านใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของพวกเรา และแบ่งปันความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมของเราครับ

ติดตามและส่งความคิดเห็นได้ที่ Blog นี้ครับ

#EADP2017

#EADP13


โครงการหลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย

ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

13 มีนาคม – 9 มิถุนายน2560

วันที่ 28 มีนาคม 2560

(สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

เยี่ยมชมสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน กฟผ. จังหวัดน่าน

ความเป็นมา

สถานีไฟฟ้าแรงสูงจังหวัดน่านก่อสร้างบนพื้นที่ 16 ไร่ มีประชากรโดยรอบประมาณ 400,000 คน

สถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน กฟผ. เป็นสถานีปลายทางที่จังหวัดน่าน รับสายส่งจากจังหวัดแพร่ด้วยระยะทาง 108 กม.ได้ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน เพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสาลิกไนต์ สปป.ลาว จำนวน 1,878 เมกะวัตต์ สัญญาดังกล่าวเป็นโครงการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าในเขตประเทศไทย เชื่อมโยงสายส่ง 500 kV ชายแดนไทย/ลาว – น่าน พร้อมทั้งปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้า 500 kV น่าน – แม่เมาะ 3 ซึ่งจะสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าในบริเวณภาคเหนือที่เพิ่มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากการขยายตัวของธุรกิจ อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว พร้อมทั้งเพิ่มความมั่นคงในระบบไฟฟ้าไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับ อันจะส่งผลต่อระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับประเทศ ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสาลิกไนต์ เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง มีกำลังการผลิตรวม 1,878 เมกะวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง เครื่องละ 626 เมกะวัตต์ ซึ่งมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเพื่อทดสอบอุปกรณ์ในเดือนธันวาคม 2557 และมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในเดือนมิถุนายน 2558 การลงนามสัญญาเพื่อรองรับการรับซื้อไฟฟ้าในครั้งนี้ นอกจากจะสร้างความมั่นคงไฟฟ้าในภาคเหนือแล้ว ยังส่งผ่านพลังงานไฟฟ้าที่รับซื้อเข้าสู่ภาคกลาง พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นศูนย์กลางความต้องการไฟฟ้าอีกด้วย

การนำระบบสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 500 กิโลโวลต์ เข้าใช้งาน กฟผ. ได้มีการตรวจวัดและติดตามข้อมูลสถิติการเกิดฟ้าผ่าทั่วประเทศ พบว่าปริมาณการเกิดฟ้าผ่า ไม่ได้มีความสัมพันธ์อันใดกับการเพิ่มของจำนวนสายส่งไฟฟ้าแรงสูง และเพื่อความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ กฟผ. จึงได้มีโครงการเดินสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ขนาดแรงดัน 500 กิโลโวลต์ เพื่อรับไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหงสาลิกไนต์ สปป.ลาว เข้าสู่ประเทศไทย โดยผ่าน 3 อำเภอของจังหวัดน่าน คือ อำเภอสองแคว อำเภอท่าวังผา และอำเภอเมืองมีระยะทาง 101 กิโลเมตร ถึงสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน ซึ่งทำให้จังหวัดน่านและประเทศไทยมีความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นและจากสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน ยังมีสายส่งไฟฟ้าแรงสูงขนาดแรงดันเดียวกัน ส่งไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูง แม่เมาะ3 อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีระยะทาง 147 กิโลเมตร โดยนำเข้าระบบจ่ายไฟครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2558 และมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนหงสาลิกไนต์เข้าสู่ระบบในเชิงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2558

การเสด็จทรงงานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เวลาที่ทรงเสด็จมาทรงงานในพื้นที่จังหวัดน่านและจังหวัดใกล้เคียงโดยพระองค์จะเสด็จมาประทับอยู่ที่พระตำหนักธงน้อย ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำน่าน ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ท่านจะเสด็จทำงานที่ ศูนย์ภูฟ้าพัฒนาซึ่งเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ ให้แก่เด็ก เยาวชน เกษตร และประชาชนทั่วไปที่มาของภาพ และข้อมูลเยี่ยมชม อาทิ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ห้องสมุด อาคารแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร อาคารแปรรูปชาอูหลงพร้อมทั้งให้ทดลองชิม การปลูกพืชไร้ดินแบบไฮโดรโปนิกส์ การศึกษาเส้นทางธรรมชาติให้เดินเที่ยว เช่น สวนธรรมภูฟ้า ศูนย์วัฒนธรรมภูฟ้า เป็นต้น มีร้านค้าสวัสดิการที่นำสินค้าของทางโครงการที่เป็นฝีมือชาวบ้านนำมาจัดจำหน่ายให้เลือกซื้อ มีบริการห้องประชุม ห้องสัมมนา และที่พักให้เลือกหลายรูปแบบ พร้อมอาหารพื้นเมืองเลิศรสบริการ และมีพระตำหนักภูฟ้าที่สวยงามซึ่งเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเทพฯ ขณะเสด็จมาทรงงานที่ศูนย์ภูฟ้า

กฟผ. สืบสานปณิธานของพ่อ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

1. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม

2. การผลิตนวัตกรรม กล้าคิด กล้าทำ ตามรอยพ่อ

3. การดูแลป่าและน้ำ

- ให้ช่วยรักษาป่าที่ปลูกไว้

- โครงการ“ปลูกที่ท้อง ปลูกที่ใจ และปลูกในป่า”

4. รักพ่อให้พอเพียง

5. การดูแลชุมชน อาทิ

- การจัดการเรียนรู้ มีศูนย์การเรียนรู้ของ กฟผ. มี 7- 8 แห่ง และคาดว่าจะมีทั่วประเทศ

- เรื่องความพอเพียง และการปลูกป่า อาทิ โครงการ “ปลูกวันแม่เกี่ยววันพ่อ”

- ปณิธานความประหยัด (เป็นเสือเบอร์ 5)

- พระราชปณิธานส่งเสริมคนดี

การแสดงความคิดเห็น

1. ปัญหาในการสร้างระบบไฟฟ้าแรงสูงที่พบมีอะไรบ้าง

ตอบ 1. เป็นเรื่องความละเอียดอ่อนในการเจรจากับต่างประเทศ เรื่องการตกลงซื้อขาย และการยื่นสรรพากรที่ดิน ที่จะต้องคิดตามจำนวนที่แท้จริงและต้องใช้ความละเอียดในการคิดซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 15- 20 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานในการใช้คำนวณความถูกต้องโดยจะมีข้อตกลงในสัญญาเรื่องการจ่ายค่าปรับถ้าไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด

2. การสร้างโรงไฟฟ้าต้องดูในเรื่อง ลิกไนต์สนามแม่เหล็ก และฟ้าผ่า ประกอบด้วย และการสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงนั้น ไม่ได้มองเพียงแค่ว่าจะต่อต้านตรงไหน จะต้องมีการประชุมร่วมกันเพื่อหาทางแก้ไข

3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ อยู่ที่ความร่วมมือของหลายฝ่าย ทั้ง กฟผ. นักธุรกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่ ซึ่งทางกฟผ.ได้ลงพื้นที่ด้วยความจริงใจ และเน้นการพูดความจริง

4. การสร้างกำแพงกั้นสูง จะมี Shunt Reactor อยู่ และได้มีการเชิญผู้ที่ได้รับผลกระทบเข้ามาพูดคุยเบื้องต้นว่าจะแก้ไขอย่างไร

5. เมื่อมีการร้องเรียนผ่าน Call Center ก็ต้องแสดงความจริงใจ และความรับผิดชอบในการดำเนินการทั้งหมด

2. ยกตัวอย่างปัญหาด้านงาน CSR

ตอบ 1. ในกรณีที่มีการประท้วงเกิดขึ้น จะต้องมีการพูดคุยโดยใช้ใจคุย มีการพูดภาษาเมืองใช้ใจและภาษาเดียวกันคุย แล้วจะทำให้ปัญหาดูเล็กลง

2. การเชิญ NGOs เข้ามามีส่วนร่วมในงานที่เป็นหัวใจของการปลูกป่า อาทิโครงการ “กล้าดี” ได้เชิญ NGOs เข้ามาเป็นกรรมการ

3. ส่งเสริมงานด้านการท่องเที่ยว เชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ อาทิ เส้นทางชมดอกนางพญาเสือโคร่ง ดอยภูคา และขุนสถาน จังหวัดน่าน เป็นหนึ่งแห่งการสร้างเสน่ห์ที่น่าประทับใจ

4. การสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนในพื้นที่ให้เข้มแข็ง แม้บางครั้งไม่มีงบประมาณ แต่สิ่งที่ต้องทำคือการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี การร่วมรับฟังความคิดเห็น การรับเรื่อง การสร้างความเป็นมิตร และการสร้างพลังบวกให้เกิดขึ้นตลอดเวลา

3. โครงการของ กฟผ.ที่จังหวัดน่าน มีโครงการอะไร

ในด้านการดำเนินงานด้านการไฟฟ้าจังหวัดน่านที่ผ่านมา เนื่องจากในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเปลี่ยนบ่อย จึงต้องมารายงานความคืบหน้าในการทำงานใหม่เกือบทุกครั้งว่าทำอะไรบ้าง อาทิ

1. โครงการปลูกป่า กฟผ. พลิกฟื้นคืนพื้นที่สีเขียวให้จังหวัดน่านกว่า 82,800 ไร่ ลุยเดินหน้าปลูกป่าน่านต่อเนื่อง 17,000 ไร่ คู่ปลุกจิตสำนึกชาวน่านเห็นคุณค่า และร่วมอนุรักษ์ป่าไม้ ตามแนวทาง “ปลูกที่ท้อง ปลูกที่ใจ และปลูกในป่า” สู่ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน โดยมี คุณโจอี้ บอย แกนนำหลักกลุ่ม “ปลูกเลย” ปลุกกระแสคนไทยตื่นตัวร่วมพลิกฟื้นคืนความสมบูรณ์ให้ป่าจังหวัดน่าน

“ปลูกที่ท้อง” กฟผ. เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้วยการจ้างงานชุมชนในพื้นที่ให้ปลูกป่า และบำรุงรักษาป่าให้ โดยใช้งบประมาณการจ้างไม่ต่ำกว่าปีละ 80 ล้านบาท ทำให้ชุมชนในท้องถิ่นมีรายได้ ส่งผลให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากนั้น ได้นำโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผสมผสานกับกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน ให้ชาวบ้านได้ปฏิบัติเป็นต้นแบบ เพื่อให้ชุมชนที่ดูแลป่ามีกินมีใช้ พึ่งพาตัวเองได้

“ปลูกที่ใจ” กฟผ. ได้รณรงค์ปลุกจิตสำนึกชาวน่าน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ด้วยการจัดทำโครงการกล้าดี ซึ่งเป็นโครงการเด็กคิด เด็กทำ เด็กพูด เพื่อรักษาป่าไม้ของ จ.น่าน เพื่อให้เด็กเห็นคุณค่า และพร้อมดูแล ปกป้องผืนป่าให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์

“ปลูกในป่า” นอกจาก กฟผ.จะปลูกป่าตามเป้าหมายร่วมกับชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้ประสานการขอพื้นที่อย่างถูกต้องตามกฎหมายจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมุ่งเน้นแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชการที 9 ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมในการดูแลปกป้องผืนป่า ซึ่งหากมีการดูแลรักษาที่ดี ป่าจะยังคงอยู่ โดยไม่ต้องปลูกป่าซ้ำไปมาทุกปี

2. โครงการ“กล้าดี” ในงานวันเยาวชนแห่งชาติประจำปี 2559 ของจังหวัดน่าน เพื่อให้เยาวชนในจังหวัดน่านได้มีส่วนร่วม ในการช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำ โดยการคิดและนำเสนอโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดน่าน โดยมีสถาบันการศึกษาได้รับการคัดเลือกรอบแรก 20 โครงการ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ โดยจะคัดเลือก จากเกณฑ์ที่กำหนดคือ มีคุณประโยชน์ต่อชุมชน โดยเฉพาะในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว การอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าไม้ สามารถสร้างการมีส่วนร่วมทั้งในโรงเรียน และในชุมชน เป็นโครงการที่ยั่งยืน มีความคิดสร้างสรรค์ และเป็นโครงการที่มีการสื่อสาร สร้างการรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งต้องมีศักยภาพสามารถก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ของจังหวัดน่าน จำนวน 5 โครงการ ซึ่ง กฟผ. จะสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการโครงการละ 20,000 บาท ส่วนโครงการที่เหลือ กฟผ. ได้เชิญ บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง โรงไฟฟ้าหงสา กลุ่มปิดทองหลังพระ และหอการค้าจังหวัดน่าน มาร่วมสนับสนุน

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ได้ฝากเรื่องการคิดร่วมกัน การสร้าง Social Trustโดยเป็นตัวอย่างที่ดี ให้สังคมรับทราบถึงประโยชน์และสิ่งที่จะทำในอนาคตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป


เยี่ยม “บ้านดงป่าสัก” พื้นที่โครงการหมู่บ้าน กฟผ. วิถีพอเพียง

กล่าวต้อนรับและบรรยายพิเศษ เรื่องสถานการณ์ปัจจุบันของ จ.น่าน

โดยนายไพศาล วิมลรัตน์

ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน


จังหวัดน่าน

จังหวัดน่าน แต่ก่อนเป็นจังหวัดที่ห่างไกลผู้คน มีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าดงดิบทำให้การเดินทางลำบากเต็มไปด้วยพื้นที่ป่า และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็นพื้นที่กบดานของกลุ่มคอมมิวนิสต์ และผู้ก่อการร้าย

ปัจจุบันสภาพป่า หรือสภาพภูมิประเทศจากเดิมที่เป็นป่าดงดิบ และมีต้นน้ำลำธาร ในพื้นที่ของน่านลดลงเนื่องจากมีการทำลายป่า ทำลายเขาเป็นพื้นที่ทำกิน ทำให้น่านมีพื้นที่ป่าลดลงเหลือไม่ถึง 20%

การแก้ปัญหาเรื่องผู้ก่อการร้าย ได้เคยเสนอว่าให้คนหรือชาวบ้านช่วยรบ ถ้ารบชนะก็ได้สิทธิ แต่ปัญหาคือการออกพื้นที่กรรมสิทธิ์ไม่สามารถทำได้ ชาวบ้านอยู่ในพื้นที่ป่ามาก่อน แต่ไม่มีเอกสารมาสำแดง จึงเกิดปัญหาเรื่องการยื้อแย่งกลายมาเป็นปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ตามมา

ในพื้นที่ป่า ในส่วนที่เป็นพื้นที่ต้นน้ำ เราต้องสงวนพื้นที่เหล่านี้ไว้ให้เป็นต้นน้ำคงอยู่ เพราะมีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ป่า

การดูแลคนในพื้นที่ ต้องพยายามยกว่าคนเหล่านั้นเป็นคนน่านหรือไม่ โดยสิทธิขั้นพื้นฐานคือการมีที่อยู่อาศัย ต้องทำให้เขามีที่อยู่ที่ทำกินที่ถูกต้อง สามารถเลี้ยงตัวเองได้ จะได้ไม่ประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมาย และสร้างความเดือดร้อน เช่นการทำลายป่า ค้ายาเสพติด หรือค้าประเวณี

ดังนั้น ต้องระลึกเสมอว่าเขาเป็นคนน่าน ต้องมีที่อยู่อาศัย มนุษย์ต้องกินต้องใช้ เจ็บไข้ต้องรักษา ลูกต้องเข้าโรงเรียน จะเอาเงินที่ไหน จึงได้มีแนวทางการตัดสินใจในเรื่องการส่งเสริมเกษตรกรรม โดยให้ชาวบ้านเลือกพื้นที่ที่ทำอาชีพ ดีกว่าพื้นที่ที่จะเป็นปัญหาในอนาคต ไม่ใช่ให้เขาเลือกอาชีพที่ทำผิดกฎหมายแล้วเรามาคอยปราบปราม จะลำบากมากกว่านี้

ต้องระลึกไว้เสมอว่า คนเลือกเกิดไม่ได้ ดังนั้นเราต้องช่วยกัน และเนื่องจากเขาไม่มีโอกาสในการทำมาหากินจึงเป็นเหตุผลที่ชาวบ้านลุกล้ำบนภูเขา

การแก้ไขปัญหา

ให้ไปดูที่ป่า การทำอะไรในป่า มีกลุ่มที่เขาต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว ต้องมีอาชีพให้เขาแทน การพัฒนาทำได้ยากเนื่องจากไม่มีโอกาสให้ประชาชนบนดอยมีทางเลือกอื่น เนื่องจากราชการก็ไม่สามารถเข้าไปได้

การร่วมแสดงความคิดเห็น

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

กล่าวถึงชุมชนว่าอยากให้เข้าใจความจำเป็นของการมีโรงไฟฟ้าและการมีส่วนร่วม และการเข้าไปร่วมกับโรงไฟฟ้าหงสา ที่ สปป.ลาว

ผู้ว่าฯ กล่าวว่าให้ศึกษาว่าทำไมโรงไฟฟ้าบางปะกงสามารถอยู่ได้ และทุกคนยินดีที่จะอยู่ร่วมกันหมด มีความสุขกันทั่วหน้า แม้ตอนแรกต่อต้าน แต่พื้นที่รอบโรงไฟฟ้าบางปะกงไม่มีครัวเรือนไหนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้เลย แต่ที่น่านยังมีครัวเรือนที่ไม่มีโรงไฟฟ้าใช้จำนวนมาก

ความคิดเห็นที่ 1นอกจากชุมชนที่บุกรุกพื้นที่บนเขา ยังมีนายทุนที่ส่งเสริมการปลูกข้าวโพดด้วยใช่หรือไม่

ผู้ว่าฯ ตอบว่ามีส่วนเป็นเช่นนั้นจริง เพราะนายทุนมีข้อเสนอแบบครบวงจรที่ดีให้กับชาวบ้าน และชาวบ้านรับข้อเสนอ

ความคิดเห็นที่ 2 พบว่าคนภาคใต้นิยมปลูกยางพาราจำนวนมาก อยากทราบเรื่องสภาพภูมิศาสตร์การปลูกยางพาราในจังหวัดน่านเรื่องความชื้นกับความแห้งแล้งเป็นอย่างไรบ้าง

ผู้ว่าฯ กล่าวว่า สิ่งที่น่าสนใจคือถูกกฎหมายหรือไม่ ถ้าไม่ได้รับอนุญาต ก็จะฟ้อง ในที่น่าน มีการปลูกยางแต่ไม่มาก แต่พื้นที่น่านแปลกกว่าที่อื่น จึงมีความเหมาะสมที่จะทำเป็นกรณีศึกษา

ความคิดเห็นที่ 3 เรื่องการปลูกป่าที่จังหวัดน่านเป็นอย่างไร

การปลูกป่าที่น่านมีหลากหลายมิติที่เกี่ยวข้อง คือ คือการปลูกป่าเพื่อเรื่องธุรกิจ เพื่อชื่อเสียง เพื่อเศรษฐกิจ และเพื่อการส่งออก เป็นต้น

ความคิดเห็นที่ 4 การเริ่มต้นพูดเรื่องความขัดแย้งในอดีตมีการเจรจา จากฝ่ายทหาร และรัฐบาล ให้ปลดอาวุธ สวมเครื่องแบบปกป้องประชาธิปไตย มีคนเล่าว่าประเทศไทยรักษามาได้ด้วยบรรพบุรุษ สิ่งที่สงสัยคือรบกับใคร และอีกประเด็นคือการทำหน้าที่ด้านการพัฒนาพลังงาน และทำเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย โยงไปเรื่องการปลูกป่าถ้า กฟผ. ทำผิดกฎหมายขอมอบตัว

ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอยากให้ผู้ว่าฯ แนะนำ ในมุมมองของนักรัฐศาสตร์ อะไรที่ทำไม่ถูกก็ทำให้ถูก อะไรที่ควรต่อเติม หรือสานต่อ จะนำสิ่งที่ท่านผู้ว่าฯ ไปแนะนำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ

ผู้ว่าฯ กล่าวว่า ในเรื่องที่เกี่ยวข้องจริง ๆ ในพื้นที่น่าน ได้ฝากให้ทุก กฟผ. ดูเรื่อง CSR ในพื้นที่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าในรัศมี 5 กม. ให้มีการขายไฟ และให้ดูแลพื้นที่ใต้สถานีไฟฟ้าสายแรงสูง ควรมีการตอบแทนชุมชนที่อยู่ใต้เสาไฟฟ้าแรงสูงได้หรือไม่ เน้นชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้โรงไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้าแรงสูง ได้รับอานิสงค์จากการไปสร้างโรงไฟฟ้าด้วย

ความคิดเห็นที่ 5 การปลูกป่าของ กฟผ. ในทุกปีจะมีหนังสือไปที่กระทรวง ฯ แจ้งว่าอยากดูแลที่น่านเป็นพิเศษเนื่องจากมีสายส่งไฟฟ้าแรงสูง และโรงไฟฟ้า

โรงไฟฟ้าทำให้ชุมชนมีไฟฟ้าใช้ฟรีได้ถ้ามีชุมชนไหนมีความเดือดร้อนเรื่องนี้ จะมีพระเอกขี่ม้าขาว มีเครือข่ายจากพลังงานจังหวัดน่านมาร่วมด้วย

ในนามผู้แทนกระทรวงพลังงาน ของจังหวัดน่าน เป็นจังหวัดที่ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม และไม่มีโรงไฟฟ้า ที่น่าสนใจคือได้สายส่งแล้วไปแบ่งสายที่น่าน

พลังงานจากชุมชน มีเรื่องพลังงานหมุนเวียน ควรมีการทำความเข้าใจในเรื่องการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เรื่องการทำโซล่าเซลล์ และโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่ทำอยู่ ถ้าในอนาคตรัฐบาลมีนโยบายทำโรงไฟฟ้าร่วมกับชุมชนก็จะร่วมมือกัน

ความคิดเห็นที่ 6 กฟผ.จำหน่ายให้ กฟน. และ กฟภ. โดยจำหน่วยให้ กฟภ.ถูกกว่า กฟน. เนื่องจากให้ กฟภ.มีต้นทุนมากขึ้นในการลากสายไฟฟ้าไปสู่ประชาชน

มีหน่วยงานใหม่ด้านพลังงานทดแทนซึ่งสอดคล้องอยู่ เป็นสิ่งที่แนะนำในการเริ่มต้นคือการขายไฟที่ กฟภ. ในราคาที่ต่ำกว่า

ความคิดเห็นที่ 6 งบการก่อสร้างโรงไฟฟ้ามี 2 ก้อน มีบางจุดที่เราน่าจะผลักดันให้กับชุมชนรอบโรงไฟฟ้าได้ เช่น มอบอำนาจให้ผอ.ดูแลโรงไฟฟ้าไปสอบถามประชาชนที่ไม่ได้รับประโยชน์ตรงนั้นโดยตรง สามารถใช้เงินจากงบประมาณ 200 ล้านบาทในการช่วยเหลือกลุ่มที่ยังไม่มีโรงไฟฟ้าตรงนี้เช่น โซล่าเซลล์ ฯลฯ

ผู้ว่าฯ กล่าวว่า กลุ่มที่ยังไม่มีโรงไฟฟ้ามีประมาณ 5% ของจังหวัดน่าน ซึ่งเป็นจำนวนมากและกลัวว่างบประมาณจะไม่พอ จึงอยากให้ไปคำนวณ และคิดโครงการให้ดี

ความคิดเห็นที่ 7 สามารถให้ กฟภ. ร่วมมือกับ กฟผ.ได้

ผู้ว่าฯ กล่าวว่า ป่าถ้าไม่มีใครไปทำอะไร ก็ขึ้นมาเองได้ แต่อยากให้ กฟผ.มีโครงการฯ ร่วมทำกับประชาชนบนดอยให้ลงจากดอยลงมาเพื่อลดพื้นที่การทำลายบนภูเขา เช่นสร้างอาชีพให้เขา แล้วพื้นที่ข้างบนบนภูเขา ก็สามารถปลูกป่าได้ สิ่งที่พบคือคนปลูกป่ามีมาก แต่คนช่วยประชาชนให้ลงมาจากเขามีน้อย

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ยกตัวอย่างที่พะโต๊ะ อาจเอาจังหวัดน่านเป็นตัวอย่าง และถ้ามีปัจจัยบางเรื่อง น่าจะมีบทบาท เช่นมีสายส่งมาจากหงสา สปป.ลาว แต่ชาวบ้านยังไม่ได้ประโยชน์แน่นอน

อยากให้ EAPD รุ่นที่ 13 นี้ทิ้งมรดกที่เป็นรูปธรรม เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม ใช้ทฤษฎี 2 R’s คือพูดความจริง และตรงประเด็น

เรื่อง CSR ถ้าเปอร์เซ็นต์คนในน่านยังไม่มีไฟฟ้าใช้ และโครงสร้างกฟภ.ทำไม่ได้ จึงเชื่อว่า กฟผ. ที่มีสถานีไฟฟ้าแรงสูง สามารถทำได้ จึงอยากจะถามคนในห้องนี้ว่ามีโครงการฯอะไรที่เป็นรูปธรรมอยากให้ลูกศิษย์เสนอแนะโครงการฯ ที่จะทำร่วมกับจังหวัดน่าน ที่จะสามารถทำร่วมกันได้

สร้างความร่วมมือกันระหว่าง กฟผ. และ กฟภ. และหาโอกาสใหม่ ๆ ร่วมกัน มีประเด็นมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แล้วไปคิดต่อเนื่อง อยากให้เป็นบทบาทที่เปลี่ยนแปลงสถานการณ์ต่าง ๆ ในอนาคตข้างหน้า Concept คือ Team of Arrival ที่เรานึกว่าเป็นคู่แข่ง แต่จริง ๆ แล้วเราสามารถจับมือกับเขาได้ เราต้องเปิดกว้างและสร้าง Diversity การยอมรับความคิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่ท่านผู้ว่าฯ พูดมาช่วยทำให้มองเห็นจิ๊กซอว์ การพูดในวันนี้จึงเสมือนการเติมเต็ม ถ้า กฟผ.ช่วยเติมเต็ม ก็ไม่ใช่เรื่องยากนัก การเจอผู้ว่าฯ ก็จะทำให้ กฟผ.มีกำลังที่เข้มแข็งขึ้น

สรุปโดย ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน

ในการทำงานของโรงไฟฟ้าหลังจากปรับยุทธศาสตร์การใช้งานถือว่าเป็นประโยชน์มาก สิ่งที่กฟผ.ถนัดคือ การดูแลชุมชน กฟผ.ได้มีการดูแลชุมชนอย่างไรบ้าง ถึงสำเร็จเหมือนที่ผ่านมา

กฟผ. เป็นส่วนหนึ่งที่ดูแลประชาชนได้แม้ไม่มีโรงไฟฟ้าในน่านก็ตาม การปักเสาไฟฟ้าแรงสูง ก็ได้มีการดูแลประชาชนโดยรอบจึงขอเอาใจช่วยและยินดีต้อนรับทุกท่าน

ผู้นำชุมชนบ้านดงป่าสัก

นายเกตุศรรบศึก ผู้ใหญ่บ้าน

ประวัติบ้านดงป่าสัก

บ้านดงป่าสักเริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ 107 ปี โดยการนำของนายแก้วและนายคื้น บุญมี ราษฎรบ้านฝายแก้วมาปักหลักทำไร่ข้าวที่ไร่น้ำแหด ห่างจากหมู่บ้านปัจจุบัน 7 กิโลเมตรหลังจากนั้นได้ย้ายมาปักหลักทำกินที่ห้วยน้ำเกี๋ยน(บริเวณห้วยตาดน้อย) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าฮ่องบ้านห่างหลังจากนั้นได้พากันอพยพมาก่อตั้งที่อยู่ปัจจุบันมีประชากร 24 คน 8 ครัวเรือน ขึ้นอยู่ในเขตปกครองของผู้ใหญ่บ้านฝายแก้ว โดยแต่งตั้งให้นายแก้วทาปัน เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ดูแลแทนผู้ใหญ่บ้านฝายแก้ว หลังจากนั้นมาประชากรเพิ่มขึ้นตามลำดับ ทางการจึงแต่งตั้งให้เป็นหมู่บ้านขึ้นครั้งแรก ในปีพ.ศ.2488ชื่อบ้านดงป่าสัก สาเหตุที่ตั้งชื่อบ้านดงป่าสักเนื่องจากเดิมหมู่บ้านมีต้นสักอยู่เป็นจำนวนมาก พอมีการสัมปทานป่าจากภาครัฐต้นสักก็ถูกตัดโค่นจนหมด

บ้านดงป่าสัก มี 146 ครัวเรือน มีหมู่บ้านสาขา อาทิห้วยปูน 46 ครัวเรือน มีคน 579 คน

บ้านดงป่าสัก พื้นที่ 80% อยู่ในภูเขาสูง พื้นที่ราบ 20% มีการทำไร่ข้าวโพด สวนยางพารา เลี้ยงสัตว์ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน เลี้ยงสัตว์

กิจกรรมที่ทำ มี

1. เรื่องน้ำ เรื่องฝาย

2. เรื่องป่า แนวดับไฟ สำรวจป่า

3. เรื่องอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ทำไร่ข้าวโพด มีอุปสรรคมากมาย

การทำโครงการชีววิถีทำให้บ้านดงป่าสักลืมตาอ้าปากได้

นายชัชพงศ์กุลเทพพรมส.อ.บ.ต. ผู้ใหญ่หมาน

โครงการชีววิถี มีความผูกพันกับ กฟผ.มานาน ส่วนหนึ่งได้มีผู้รับจ้างทำการปลูกป่าหลังจากเสร็จภารกิจที่จังหวัดน่าน ก็ไปทำต่อของ กฟผ.

ที่ผ่านมามีความผูกพันกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต มีความภูมิใจ กฟผ. ที่รู้จริง ทำจริง ให้ความรู้อบรม ดูงานแต่ กฟผ. ทำจริง จึงมีความศรัทธาว่าสิ่งที่เสนอไป กฟผ.ให้ชุมชนจริงๆ

เรื่องที่ดิน ที่ดงป่าสักมีการจัดการที่ดินโดยแบ่งขอบเขตชัดเจน ไม่มีการบุกรุก การจัดเวรยาม การเดินทางไกล ธนาคารต้นไม้เสริม มีการร่วมทำกับ ธกส. เรื่องการดูแลรักษาป่า

มีการปลูกป่าหลายแสนต้น เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน

1. สร้างรายได้ให้กับชุมชน

2. พื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น

ปัญหา

1. ต้นทุนการผลิตสูง

2. ราคาผลผลิตต่ำ

3. รายได้ต่ำ ค่าใช้จ่ายสูง

ชีววิถีจะช่วยเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายเพื่อความยั่งยืน

การประเมินผลการดำเนินการโครงการชีววิถี

พบว่าสมาชิกมีชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้นจากเดิมโดย

1.ช่วยลดต้นทุนในด้านการผลิต

2.ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนจากเดิมต้องจ่ายค่ากับข้าวอย่างน้อยวันละ100บาทลดเหลือลงวันละ30บาทบางวันก็ไม่ได้จ่ายเลย

3.เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว โดยได้มาจากการขายปลาดุกและกบ
คาดว่า ปี พ.ศ.2560 จะขยายผลจำนวน 20ครัวเรือน

มีการอบรมให้ความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เป็นการอบรมครึ่งวัน และให้ความรู้แบบเจาะประเด็น ตัวอย่างที่ทำจะเป็นการอบรมครึ่งวันเช้า และตอนบ่ายจะลงมือวางแผนทำต่อ ทำแผนศึกษาดูงานอบรม

การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการลดค่าใช้จ่าย การเลี้ยงสัตว์ มีการสอนการใช้จุลินทรีย์ต่าง ๆ มีเชิญท่านผู้เชี่ยวชาญมาสอนที่บ้านหล่มสัก เป็นต้น

ครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการฯ

- คนที่ต้องการประกอบอาชีพ

- คนไม่มีที่ขุดบ่อทำบ่อ ก็มีการทำกระชังกบ ให้ มีการเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา

ศูนย์เรียนรู้ทำแบบครอบคลุมโดยใช้พื้นที่น้อยให้เกิดประโยชน์ มีคณะที่ปรึกษา มีนักวิชาการประจำศูนย์

ฐานการเรียนรู้ที่ 1 ชีววิถีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กฟผ.)

ฐานการเรียนรู้ที่ 2 การเลี้ยงวัวแบบประณีต

มีการขุดบ่อให้ มีการเลี้ยงไส้เดือน ใช้ปุ๋ย

ฐานการเรียนรู้ที่ 3 การเลี้ยงสัตว์น้ำ

อุปสรรคใหญ่คือน้ำไม่พอ ขาดอุปกรณ์ ถ้ามีหน่วยงานไหนอนุเคราะห์ก็จะช่วยให้ชาวบ้านได้ทุกปี

มีปลาหลายชนิด

ฐานการเรียนรู้ที่ 4 ธนาคารต้นไม้

มี ธกส.สนับสนุน ชุมชนต้องเรียนรู้

มีการเพาะปลามัง (คล้าย ๆ ปลาไข่)

มีเครือข่าย ผู้ว่าฯน่าน กลุ่มจิตอาสา กลุ่ม Smart Farmer กลุ่มพัฒนาชุมชน

การร่วมแสดงความคิดเห็น

การให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นชุมชนต้นแบบที่เป็นประโยชน์กับคนต่อ ๆ ไป


Dinner Talk หัวข้อ ประสบการณ์ของข้าพเจ้า...กับการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่โรงพยาบาลน่าน

โดย นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร ที่ปรึกษาสถาบันปิดทองหลังพระ

ท่านได้กล่าวถึงนิยามของผู้บริหาร ได้ยกพระราชดำรัสเรื่องการทำหน้าที่ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่องการทำตามหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด

หมายถึง ต้องมุ่งเน้นความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กรโดยสามารถร่วมกับคนอื่น มีความเคารพเพื่อนร่วมงาน ไม่มองว่าใครเป็นลูกน้องใคร

การทำงาน กับการประพฤติตน ต้องรู้ว่าคุณค่าของตนอยู่ที่ไหน

การครองตนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และยุติธรรม

คนเราได้เกิดมาเป็นคนถือว่ามีความโชคดีมากแล้ว แต่ที่โชคดีมากกว่านั้นคือ ได้คำสอนทางศาสนาจากพระพุทธเจ้า พระเยซู พระมูฮัมหมัด ทางโลกจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นแบบอย่างที่ดี

ได้กล่าวถึงความทุ่มเทในการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ท่านเสด็จมาที่จังหวัดน่าน23 ครั้ง มาเยี่ยมที่โรงพยาบาล และประชาชนในพื้นที่


โครงการหลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย

ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

13 มีนาคม – 9 มิถุนายน2560

วันที่ 29 มีนาคม 2560

(สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาห้วยหาด ตามแนวทางพระราชดำริของรัชกาลที่ 9

บรรยายโดย ผู้ใหญ่บ้านนัยนา ฑีฆาวงศ์และ ส.อบต. 2 ท่าน นายประชุม ล้วนปวน และนายต้น ตาลตา

กล่าวถึงโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ที่บ้านห้วยหาดมีส่วนร่วม ให้ประชาชน พอมี พอกิน พอใช้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ เดินทางสายกลาง พอประมาณมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน มีความรู้และคุณธรรมโดยสิ่งที่ทำคือเน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม การพัฒนาจิตใจให้มีคุณธรรม การให้การศึกษา การสร้างความมั่นคง เพื่อการต่อยอด และกระจายพัฒนาสู่ชนบทกล่าวถึงการพัฒนาแหล่งน้ำพัฒนาป่าไม้ พัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต และมีหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

กระบวนทัศน์

1. การให้คนมีส่วนร่วมในทุกเรื่องที่สามารถร่วมได้

2. การพัฒนาจิตใจ

3. ส่งเสริมการศึกษาและคุณธรรม

4. การสร้างความมั่นคง เพื่อสร้างความก้าวหน้าและต่อยอด

5. การกระจายการพัฒนาสู่ชนบท

การดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้านชุมชนแบบมีส่วนร่วม

“ การพัฒนาหมู่บ้านชุมชน ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ก่อน แล้วจึงค่อยสร้าง ค่อยเสริม ความเจริญและเศรษฐกิจชั้นสูงต่อไป ”

หลักการและเหตุผล

การสร้างความมั่นคงบนพื้นที่สูงของจังหวัดน่านอย่างยั่งยืนด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ

การบริหารจัดการ ควบคุม การบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่ม การคืนพื้นที่ป่าไม้ การควบคุมจำกัดการปลูกพืชและการใช้สารเคมีที่ส่งผลกระทบเสียหาย การจัดระเบียบที่ดินทำกินของชุมชนและการพัฒนาปรับองค์ความรู้ไปสู่ระบบเกษตรบนพื้นที่สูงผสมผสานแบบยั่งยืน ที่ต้องทำควบคู่ไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิด ทั้งความมั่นคงทางอาหาร รายได้ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นทางเลือกในการลดปัญหายาเสพติด รวมถึงการลดปัญหาไฟป่าหมอกควันในพื้นที่อีกด้วย

ใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ที่ออกแบบตามบริบทของภูมิสังคมและสถานการณ์จริงในพื้นที่ ที่มีทั้งงานวิจัย งานบริการวิชาการเพื่อปรับใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปพร้อมกับงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของชีวิตความเป็นอยู่ชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดน่าน “สร้างเมืองน่านน่าอยู่คู่ป่าต้น

ตลอดจนความต้องการของชุมชนบ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน มีความมุ่งมั่นที่จะหาอาชีพทางเลือกเพื่อสร้างรายได้ทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว อย่างเช่นข้าวโพดหาช่องทางการพัฒนาอาชีพที่สามารถให้ คนอยู่คู่กับป่าต้นน้ำ ร่วมปกปักรักษาป่าต้นน้ำน่านให้คงอยู่สืบไป

มหาวิทยาลัยฯ จึงเชิญชวนให้คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา นำความรู้เชิงวิชาการสมัยใหม่ จากการวิจัยไปสานต่อองค์ความรู้เดิมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในการส่งเสริมอาชีพให้กับคนในชุมชน ให้มีความรู้ มีอาชีพ มีงานทำ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงและยั่งยืน บนฐานสังคมแห่งการเรียนรู้ ภายใต้แนวคิด การพัฒนาหมู่บ้าน ชุมชน ต้องสร้าง พื้นฐานคือความพอมี พอกิน พอใช้ก่อน แล้วจึงค่อยเสริม ค่อยสร้างความเจริญและเศรษฐกิจขั้นสูงต่อไป

วัตถุประสงค์การพัฒนาชุมชน

1. เพื่อร่วมสืบสานงานที่พ่อทำ ตามแนวพระราชดำริฯอย่างต่อเนื่อง และร่วมสนองงานโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพฯโครงการ “รักษ์ป่าน่าน”

2. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านห้วยหาดไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและมั่นคงในอนาคต

3. เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ระหว่าง ภาคประชาชน และภาคีต่างๆ

เป้าหมายการพัฒนา

  • การพัฒนาบุคคลและครัวเรือน: สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง สร้างผู้นำชุมชนการแห่งการพัฒนา และสร้างหลักสูตรอาชีพที่เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านอาชีพ แก้ไขปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
  • พัฒนาชุมชน : ยกระดับกลุ่มอาชีพด้านกระบวนการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการ เพื่อกระจายรายได้ระดับหมู่บ้าน ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดปัจจุบัน
  • พัฒนาสังคม:ร่วมวางแผนการพัฒนา วางรากฐานชุมชนแห่งการเรียนรู้ด้านอาชีพทางการเกษตร โภชนาการ สุขภาพอนามัย การศึกษา ตลอดจนการอนุรักษ์ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นในพื้นที่
  • มุ่งสู่ความพอเพียงเพื่อก้าวสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน : การพัฒนาหมู่บ้านชุมชน ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ก่อน แล้วจึงค่อยสร้าง ค่อยเสริม ความเจริญและเศรษฐกิจชั้นสูงต่อไป

ภาคีภายนอกที่หนุนเสริมชุมชน อาทิ

  • องค์การบริหารส่วนตำบลอวน
  • อำเภอปัว
  • อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
  • เครือข่ายวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ภาคเหนือตอนบน สกว.
  • มณฑลทหารบกที่ 38 น่าน (ค่ายสุริยพงษ์)
  • เขื่อนสิริกิติ์
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปัว
  • สำนักงานการเกษตร

กิจกรรม

1. พัฒนาแหล่งน้ำ 2,500 ไร่ สร้าง 4 ฝายเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ

2. การช่วยดูแลรักษาป่า ใช้แรงงานของชุมชนเป็นหลักช่วยดูแลป่าอุดมสมบูรณ์ มีเขตอนุรักษ์พันธุ์ป่าไม้

3. มีสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ขึ้นชื่อ เช่น ปลาแก้มช้ำ (ปลาพื้นบ้านอร่อย) การทอผ้า ถั่วดาวอินคา มีประโยชน์ในการลดน้ำตาลในเลือด

4. การทำแนวป้องกันไฟป่า ระหว่างเดือน ธันวาคม – เมษายน มีบุคลากรลาดตระเวน โดยจ่ายเป็นค่าอาหารกลางวันคนละ 200 บาท เพื่อช่วยจัดการดูแลต้นน้ำ และดูแลป่า

5. การทำการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การใช้วัสดุธรรมชาติการห่ออาหาร ใช้ใบตอง ไม้ไผ่

6. การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาชุมชนด้านการเกษตรเน้นความยั่งยืนเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการช่วยกันรักษ์ป่า การอยู่อย่างพอเพียงตามรอยพ่อ

โครงการในอนาคต

1. ส่งเสริมอาชีพ

2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชน

3. การสร้างศูนย์การเรียนรู้

4. การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้

5. การสร้างป่า สร้างคน

6. การสร้างฝาย ในวันที่ 4-6 พฤษภาคม 2560

7. การปลูกป่า ทดแทนป่าเสื่อมโทรม

การดูแลรักษาน้ำ และป่าอย่างยั่งยืน

เนื่องจากแต่ก่อนมีการทำไร่เลื่อนลอย ทำลายป่า ก่อให้เกิดอากาศเป็นพิษ โลกร้อน และสัตว์หนีหายจำนวนมาก ต่อมาได้มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านช่วยกันดูแลรักษา เพื่อการอนุรักษ์ป่าอย่างยั่งยืนได้มีการของงบประมาณสนับสนุนในบางส่วน

มีการทำเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมการปลูกไม้ยืนต้น ควบคู่กับการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพการดูแลรักษาป่า เพื่อสร้างรายได้ให้ยั่งยืนมากขึ้น การทำการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การส่งเสริมอาชีพในชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้ด้วยตนเองจะได้ไม่ไปทำลายป่า

มีมาตรการป้องกัน และต่อสู้ผู้ทำลายป่า มีการจัดเวรยามช่วยดูแลป่า

เน้นแนวความคิดเอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการทำการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์รวมกัน

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

กล่าวว่าคนที่นำเสนอในวันนี้ถือได้ว่าเป็นผู้นำตัวจริงจังหวัดน่านได้ต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ความยากจน และความล้มเหลว สู่การสร้างพันธมิตรในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันพบว่าที่บ้านห้วยหาดเป็นตัวอย่างของการใช้ปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในหลวงรัชกาลที่ 9 อย่างจริงจังผู้นำท้องถิ่นเป็นผู้ที่มีบทบาทสูง จึงควรร่วมมือกัน เพื่อปรับไปสู่มาตรฐานที่สูงขึ้น ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

กฟผ. และชุมชนควรร่วมมือกันในการเพิ่มสมรรถนะของชาวบ้าน ส่งเสริมการพัฒนาด้านเทคโนโลยี สร้าง Capacity ที่สูงขึ้น และใน EADP รุ่นที่ 13 ควรนำเสนอเรื่องชุมชนให้ชุมชนมีความเข้าใจใน กฟผ.มากขึ้น

การร่วมแสดงความคิดเห็นจากตัวแทน กฟผ.

1. กฟผ.มีโครงการที่เคยทำร่วมกับชุมชน และให้ชุมชนดูแลต่อไปที่พบคือบางอย่างที่ทำไม่ตรงกับบริบทที่ชุมชนอยากได้ควรมีการศึกษาว่าชุมชนอยากทำอะไร และให้จัดสรรทรัพยากรจากชาวบ้าน บางครั้งงบประมาณไม่มี แต่เน้นการเข้าถึงและเข้าใจชาวบ้านเป็นหลักด้วย แนวคิด 4 ส. คือ ส่ง เสริม สร้าง สานต่อ

2. การได้ใจจากชุมชนจะทำอย่างไร

ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีต่อชุมชน ใช้ใจในการทำงานร่วมกับชุมชน

3. การใช้เทคโนโลยี และสื่อ Social Media ช่วยในการโปรโมทชุมชน และผลิตภัณฑ์จากชุมชน

ให้ชุมชนมี Profile และให้ทุกคนมี Facebook เพื่อสามารถสร้าง Impact ให้เกิดขึ้นกับชุมชน เช่นผลิตภัณฑ์ถั่วดาวอินคา


ศึกษาการพัฒนาชุมชน อำเภอบ่อเกลือ ชมบ่อเกลือสินเธาว์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

เรียนรู้จากมัคคุเทศก์น้อย ที่เป็นเยาวชนในพื้นที่ เล่าถึงความเป็นมา สู่การสร้างรายได้ที่มาจากเกลือสินเธาว์ซึ่งเป็นบ่อเกลือสินเธาว์ภูเขาแห่งเดียวในโลกด้วยคุณประโยชน์ที่มีมากมายและรสชาติอร่อย เกลือสินเธาว์จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจสามารถสร้างรายได้เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวสู่ชุมชน ได้อย่างยั่งยืนอีกทางหนึ่ง

บ่อเกลือภูเขา

บ่อเกลือ ตั้งอยู่ในอำเภอบ่อเกลือ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดน่าน เดิมเรียกว่า "เมืองบ่อ" ซึ่งหมายถึง เมืองที่มีบ่อเกลือสินเธาว์ ที่มีอยู่ในพื้นที่ซึ่งเดิมมีอยู่ในจำนวน 7 บ่อ คือ บ่อหลวง บ่อหยวก บ่อเวร บ่อน่าน บ่อกิน บ่อแคะ และบ่อเจ้า

บ่อเกลือมีอยู่สองบ่อ คือ บ่อเกลือเหนือ และ บ่อเกลือใต้ โดยบ่อเกลือเหนือมีขนาดใหญ่ มีโรงต้มเกลืออยู่หลายโรง ส่วนบ่อเกลือใต้ มีโรงต้มเกลือน้อยกว่า ทั้งสองบ่อชาวบ้านยังใช้วิธีการต้มเกลือแบบโบราณในโรงเกลือที่ปิดมิดชิด ภายในมีเตาขนาดใหญ่ขึ้นรูปจากดินเหนียวสำหรับวางกะทะใบเขื่อง หรือกระทะแขวนตะกร้าไม้ไผ่สานใบเล็กๆ เพื่อใช้สำหรับบ่อเกลือ ชาวบ้านที่บ้านบ่อหลวง ทำการต้มเกลือสินเธาว์มาตั้งแต่โบราณหลายร้อยปีมาแล้ว จากหลักฐานทางธรณีวิทยาระบุว่า เมื่อหลายแสนปีก่อน บริเวณนี้เคยเป็นทะเล

ประวัติชาติพันธุ์บ่อเกลือ

จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสประจำหมู่บ้านที่จดจำจาก "ปั๊บปิน" เป็นเอกสารใบลานซึ่งเขียนเป็นอักษรธรรมล้านนาไว้และได้สูญหายไปจากวัดบ่อหลวงราว 40-70 ปี มาแล้ว แต่มีผู้จดจำเรื่องราวในเอกสารนั้นเป็นอย่างดีคือ อดีตกำนันนนท์ถี เขื่อนเมือง และเป็นผู้เดียวที่จดจำเรื่องราวเหล่านี้ได้

บรรพบุรุษเล่าว่า...เป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากมองโกเลียออกมาทางแม่น้ำเหลืองทางหัวพันห้าทั้งหก เมื่อล่องแม่น้ำโขงมาถึงลาว จึงมาหยุดอยู่ที่เมืองหลวงน้ำทาแต่พวกลาวไม่ให้อยู่ จึงข้ามมาอยู่ที่เชียงแสนเจ้าหลวงภูคาจึงไปบอกให้มาหักล้างถางพงอยู่บริเวณนี้มีแม่น้ำลำธารดี ให้มาทำเกลือโดยที่เจ้าหลวงภูคาไปขอเจ้าหลวงน่าน เ้จ้าหลวงน่านไปขอพญาเม็งรายเพื่อขอคนเชียงแสนที่อพยพให้มาอยู่ที่นี่ ราว พ.ศ.2323-2327 ในสมัยล้านนาเป็นเมืองขึ้นพม่า

ด้วยเหตุผลที่บ่อเกลือ หรือ เมืองบ่อ เป็นชุมชนขนาดใหญ่ และเหตุผลที่เกลือเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีบทบาทต่อชุมชนคนเมืองน่านและบ้านเมืองชุมชนร่วมสมัยที่อยู่รอบๆ เมืองน่าน ทั้งรัฐสุโขทัย ล้านช้าง(ลาว) และล้านนา(เชียงใหม่) เป็นสาเหตุที่ทำให้พระเจ้าติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่(ล้านนา) เสด็จยกทัพมาตีเมืองน่านราว พ.ศ. 1993 และเอาเมืองน่านเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของล้านนา และความสำคัญสืบเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์

มีเรื่องราวสืบต่อกันมาอีกว่า เจ้าหลวงน่าน จะต้องให้คนส่งเกลือไปถวายที่เมืองน่านเป็นการส่งส่วย เกลือ 5 ล้าน 5 แสน 5 หมื่น 5 พัน (ประมาณ 7,395 กิโลกรัมต่อปี) โดยใช้คนที่ไม่ได้ต้มเกลือนำไปส่งเช่นคนบ่อเกลือเหนือ ซึ่งส่วนมากจะเป็นชาวลั๊วะ การส่งเกลือไปถวายพระเจ้าน่านจะมีคนมารับที่นาปางถิ่น (สนามบินน่านในปัจจุบัน) โดยมีหัวหน้าเป็นชาวบ่อหลวงเป็นผู้ควบคุมไป การส่งส่วยเหล่านี้เริ่มเมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐานแต่กระทำเรื่อยมาจนถึงเจ้ามหาพรหมสุรธาดา (พ.ศ.2461-2474) เป็นเจ้าผู้ครองนคร และถูกยกเลิกไปในช่วงเวลานั้นเมื่อระบบรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางของกรุงเทพมหานครสามารถใช้ได้เต็มที่

ในอดีต อำเภอบ่อเกลือขึ้นตรงกับอำเภอปัว มี 2 ตำบลคือ ตำบลบ่อเกลือเหนือ และตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือถูกปิดล้อมด้วยขุนเขาการเดินทางลำบาก การติดต่อสื่อสารทำได้โดยทางเท้าเท่านั้น ใช้เวลาเดินทาง 1-2 วัน กว่าจะถึงอำเภอปัว จึงถูกปิดล้อมด้วยกองกำลังติดอาวุธพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมา เมื่อสงครามการใช้กำลังอาวุธยุติลง มีผู้เข้าร่วมพัฒนาชาติไทยเป็นจำนวนมาก ทางราชการจึงได้แยกตำบลบ่อเกลือเหนือ และตำบลบ่อเกลือใต้ออกจากอำเภอปัว จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ่อเกลือเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2531 และยกฐานะเป็นอำเภอบ่อเกลือในปี พ.ศ.2538

การค้นพบบ่อเกลือ

สำหรับการค้นพบบ่อเกลือที่บ้านบ่อหลวง มีการเล่าสืบต่อกันมาดังนี้ว่า แต่เดิมบริเวณพื้นที่เหล่านี้เป็นป่าดงพงไพร ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่มีหนองน้ำที่พวกสัตว์ต่างๆ ชอบมากินน้ำในหนองน้ำแห่งนี้ และยังมีนายพรานผู้หนึ่งมาล่าสัตว์ และเห็นว่าพวกเหล่าสัตว์ทั้งหลายมากินน้ำที่นี่เป็นประจำ เมื่อลองชิมดูจึงรู้ว่าเค็ม ข่าวล่วงรู้ไปถึงเจ้าหลวงภูคา และเจ้าหลวงบ่อ จึงชวนกันมาดูน้ำเกลือ โดยทั้ง 2 พระองค์ขึ้นไปอยู่ที่บนยอดดอยภูจั๋น เพื่อแข่งขันกันพุ่งสะเดา(หอก) เจ้าหลวงภูคาพุ่งหอกไปตกทางตะวันตกของน้ำมาง ตรงที่ตั้งของหนอกในปัจจุบัน เจ้าหลวงบ่อ พุ่งหอกไปตกทางตะวันตกของน้ำมาง ข้ามน้ำมางตรงที่ตั้งของหอเจ้าพ่อหลวงในปัจจุบัน ชาวบ้านที่ชมดูการพุ่งหอก ไปนำเอาหินมาก่อเป็นที่สังเกตแล้วตั้งเป็นโรงหอ ทำพิธีเพื่อตอบแทนบุญคุณเจ้าทั้ง 2 พระองค์ ทุกปี ภายหลัง ทั้ง 2 พระองค์คิดกันว่า จะนำคนที่ไหนมาอยู่ เมื่อปรึกษากันแล้วจึงไปนำคนที่อยู่เชียงแสน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวบ่อหลวงมาหักล้างถางพงและทำเกลืออยู่ที่นี่

บ่อเกลือที่เห็นในปัจจุบันนั้น ปากบ่อกรุด้วยไม้กั้นเป็นคอกอย่างดี อดีตกำนันนนท์ถี เขื่อนเมือง เล่าว่า เมื่อสมัยแม่ของตนยังเป็นเด็ก เจ้าผู้ครองเมืองส่งคนมาสร้างคอกไม้เป็นขอบบ่อ เพราะแต่เดิมเป็นเพียงบ่อดิน ใช้ไม้กลวงสวมตรงกลางคันดินถล่มเท่านั้น ในขณะนั้น แม่ได้ช่วยตักน้ำมาเลี้ยงผู้ที่มาทำการก่อสร้างนั้นด้วย

อาชีพการทำเกลือสินเธาว์

ปัจจุบัน บ่อเกลือที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์มีจำนวน 5 บ่อ คือ บ้านบ่อหลวง หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อเกลือใต้ 2 บ่อ, บ้านบ่อหยวก หมู่ที่ 3 ตำบลบ่อเกลือเหนือ 2 บ่อ และบ้านนากิ๋น หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อเกลือเหนือ 1 บ่อ

ขั้นตอนการผลิตเกลือสินเธาว์ของอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

1. เตรียมเตาต้มเกลือโดยใช้ดินเหนียวเป็นรูปโดม ปากเตา มีขนาเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร

2. ใช้ใบตองรองก้นกระทะ เพื่อป้องกันไม่ให้กระทะติดเตา

3. ตักน้ำขึ้นจากบ่อลงถังพักเพื่อให้สิ่งปนเปื้อนมากับน้ำตกตะกอน โดยพักน้ำไว้ประมาณ 1 คืน

4. นำน้ำในถังพักไปต้ม ให้น้ำระเหยออก ใช้เวลาต้มประมาณ 3 ชั่วโมง

5. เมื่อน้ำระเหยจะมีเกลือสินเธาว์ตกตะกอนอยู่ก้นกระทะ จากนั้นตักใสเปาะ(่ชะลอม)ให้สะเด็ดน้ำ

6. นำเกลือที่ผลิตได้มาผสมกับสารไอโอดีนในอัตราส่วนเกลือ 12-15 กิโลกรัม/น้ำไอโอดีน 30 ซีซี.

7. นำบรรจุลงถุงพลาสติกติดฉลาก เพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้า/นักท่องเที่ยว ถุงละ 4 กิโลกรัม ราคาถุงละ 20 บาท

(ที่มาเพิ่มเติม : www.lannatouring.com)


โครงการหลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย

ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

13 มีนาคม – 9 มิถุนายน2560

วันที่ 30 มีนาคม 2560

(สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

เยี่ยมชมโรงสีพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

โดย คุณจำนง ราชภัณฑ์

ประธานโรงสีพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ความเป็นมา

โรงสีข้าวพระราชทาน ศูนย์เรียนรู้ชุมชนโรงสีข้าวพระราชทาน ตั้งอยู่ที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ภายใต้โครงการภูฟ้าพัฒนาตามโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ถือเป็นโครงการต้นแบบที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในถิ่นทุรกันดาร ด้วยการทำการเกษตรแบบผสมผสาน สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์และส่งเสริมให้ชาวบ้านและนักเรียนได้นำวิธีการสหกรณ์ไปใช้พัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น และโรงสีข้าวพระราชทาน เป็นอีกหนึ่งโครงการที่พระองค์ท่านได้พระราชทานแนวทางความช่วยเหลือให้แก่ราษฎรในพื้นที่ สืบเนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปี 2549 เกิดพายุพัดกระหน่ำทางตอนเหนือของจังหวัดน่าน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้และขาดแคลนข้าวเพื่อการบริโภค ทำให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริจัดตั้งโครงการกองทุน ข้าวพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขึ้น และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินกองทุนหมุนเวียน 500,000 บาท พร้อมทั้งข้าวสารและเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่กองทุนในเบื้องต้น เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนข้าว รวมทั้งเป็นกองทุนข้าวสำรองสำหรับเกษตรกรที่ยากจน และผู้ประสบภัยพิบัติ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของความมั่นคงทางอาหารให้กับคนในชุมชน ข้าวสาร และเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่กองทุนในเบื้องต้น เพื่อแก้ไปปัญหาการขาดแคลนข้าวและเป็นกองทุนข้าวสำรองสำหรับเกษตรกรที่ยากจนและผู้ประสบภัยพิบัติในอนาคต การดำเนินงานของกองทุนข้าวมีพัฒนาการก้าวหน้าตามลำดับ ด้วยความสามัคคี ซื่อสัตย์ และความตั้งใจในการพัฒนาตนเองของสมาชิกและคนในชุมชน ทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง และมีราษฎรให้ความสนใจขอเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก

และเพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพของกองทุนข้าวฯ ให้สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้มากยิ่งขึ้น จึงทรงพระราชทานเครื่องจักรโรงสีข้าวชุมชน เครื่อง CP-R 1000 สำหรับจัดตั้งโรงสีข้าวพระราชทาน บริหารงานในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชน และใช้วิธีการสหกรณ์มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ โดยโรงสีได้ดำเนินธุรกิจรวบรวมข้าวเปลือกจากสมาชิกมาแปรรูป สีเป็นข้าวสารจำหน่ายและบริการสีข้าวให้สมาชิกและชาวบ้านในพื้นที่ชุมชนใกล้เคียงได้อีกด้วย ปัจจุบันสมาชิกกลุ่มโรงสีข้าวมีการพัฒนารวมกลุ่มผู้ผลิต แบ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตข้าวปลอดภัยจำนวน 50 ราย พื้นที่ 231 ไร่ ผลิตข้าวปลอดภัยเพื่อขายข้าวเปลือกให้โรงสีข้าวพระราชทาน โดยกรมการข้าวได้ให้การรับรองแปลง (จีเอพี) ยังมีกลุ่มผู้ผลิตข้าวจ้าวปลอดภัยบ้านคัวะ จำนวน 10 ราย พื้นที่ 30 ไร่และส่งเสริมให้สมาชิกทดลองปลูกข้าวจ้าวหอมมะลิพันธุ์ 108 เพื่อจำหน่ายให้โรงสีข้าวพระราชทาน และกลุ่มผู้ผลิตข้าวฤดูนาปรัง จำนวน 6 ราย พื้นที่ 16 ไร่ ทดลองปลูกข้าวหอมนิล ข้าวพันธุ์ กข.49 ข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 หลังฤดูการทำนาปี โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มรายได้และต้องการขายข้าวเปลือกให้โรงสีข้าวพระราชทาน

นอกจากนี้ ยังได้สนองแนวพระราชดำริเรื่องการเตรียมคนที่จะเข้ามาดูแลและบริหารโรงสีในอนาคต ด้วยการถ่ายทอดความรู้ให้แก่เยาวชนในท้องถิ่น โดยประสานกับโรงเรียนบ้านปง นำนักเรียนเข้ามาเรียนรู้กระบวนการในโรงสีข้าว และจัดทำโครงงานสอนการทำนา ให้แก่นักเรียนช่วงชั้นประถมปีที่ 1-6 โดยมีครูเกษตรและนักวิชาการเกษตร จากศูนย์วิจัยข้าวแพร่และสำนักงานเกษตรอำเภอท่าวังผา เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน และมีการขยายการเรียนรู้กระบวนการโครงการสอนการทำนาให้แก่นักเรียนในโรงเรียนต่างๆ ในอำเภอท่าวังผา จนนักเรียนสามารถลงมือปฏิบัติจริงในการทำนาข้าวในนาสาธิต เริ่มตั้งแต่การเตรียมกล้า โดยการทุ่งกล้า และหยอดเมล็ดข้าวกล้า การไถนา การปลูกข้าว การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การนำไปตากแดด ตลอดจนการนำข้าวไปสีที่โรงสีข้าวพระราชทาน เพื่อเป็นอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน ซึ่งพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกคือ ไรซ์เบอรี่ และข้าวหอมมะลิ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนโรงสีข้าวพระราชทาน อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ปัจจุบันกลายเป็น ศูนย์เรียนรู้บ้านจำลองชนเผ่าไทลื้อโรงสีข้าวพระราชทานฯ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้ชาวบ้านเกิดการรวมกลุ่มสร้างเป็นชุมชนเข้มแข็ง และสามารถบริหารจัดการโรงสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างผลกำไรกลับคืนสู่ชาวบ้าน ปัจจุบันมีเกษตรกรที่ยังยึดอาชีพทำนาและเป็นสมาชิกส่งผลผลิตข้าวป้อนให้กับโรงสีข้าวพระราชทานมีสมาชิก จำนวน 1,169 คน มีคณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 15 คน มีทุนเรือนหุ้น 4,567,630 บาท มีทุนดำเนินงาน จำนวน 9,478,425.33 บาท มีรายได้จากธุรกิจรวบรวมข้าวเปลือก จำหน่ายข้าวสาร บริการสีข้าว จำหน่ายผลิตผลพลอยได้จากการสีข้าว เช่น รำ ปลายข้าว แกลบ และจำหน่ายปัจจัยการผลิตให้กับสมาชิก เป็นเงินกว่า 11 ล้านบาท ซึ่งทางโรงสีข้าว มีกำลังการผลิต จำนวน 1 ตัน/ชั่วโมง หรือ 8 ตัน/วัน และในปี 2556 ที่ผ่านมา ทางโรงสีได้รวบรวมข้าวจากสมาชิกเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นข้าวสาร แบ่งเป็น ข้าวเจ้า 300 ตันและข้าวเหนียว 200 ตัน

มีการดำเนินธุรกิจแปรรูปด้วยการจำหน่ายข้าวสาร/ข้าวเปลือก/ผลผลิตจากการรวบรวม 6,366,399 บาท มีการดำเนินธุรกิจจัดการสินค้ามาจำหน่าย รวม 1,623,554.50 บาท รวมมีการบริหารจัดการได้กำไรสุทธิ (30 กันยายน 2557) จำนวน 460,105.25 บาท

นอกจากนี้ ทางกลุ่มได้บริหารจัดการโรงสีข้าวพระราชทาน และมีผลการดำเนินงานที่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ทั้งทางตรงและทางอ้อมเป็นอย่างดี ได้แก่ การส่งเสริมพัฒนาอาชีพเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ และการสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจให้แก่คนในชุมชน โดยคนในชุมชนได้มีโอกาสเข้ามาร่วมมือกัน ช่วยกันบริหารจัดการองค์การ โดยนำรูปแบบ "หลักการ วิธีการสหกรณ์” มาปรับใช้ ซึ่งโรงสีข้าวพระราชทานแห่งนี้ นับเป็นโรงสีข้าวต้นแบบที่บริหารงานเองโดยชาวบ้านในชุมชน และเป็นตัวอย่างของการบริหารจัดการโรงสีข้าวทุกขั้นตอน และกระบวนการมุ่งหวังให้เกษตรกรชาวนา ได้ประโยชน์อย่างแท้จริงและเกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย

พันธุ์ข้าว ที่สามารถปลูกในพื้นที่จังหวัดน่าน พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ กข.6 มากที่สุด รองลงมาได้แก่พันธุ์ กข.10 และ สันป่าตอง 1 ซึ่งข้าวสองพันธุ์หลังนี้เป็นข้าวอายุสั้นที่เกษตรกรมักจะนำไปปลูกหมุนเวียนร่วมกับพืชชนิดอื่นๆ ขณะเดียวกันข้าวเจ้าที่นิยมปลูกเป็นข้าวพันธุ์หอมมะลิ 105 ซึ่งทางโรงสีข้าวพระราชทานได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวมาจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ชุมชน ในอำเภอท่าวังผา และศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดแพร่ เพื่อนำมาจำหน่ายให้กับสมาชิกในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด และส่วนหนึ่งแบ่งให้สมาชิกยืมไปปลูกก่อน เมื่อสมาชิกเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วให้นำเงินมาชำระคืนตามมูลค่าเมล็ดพันธุ์ที่ได้ยืมไป ขณะที่สมาชิกบางส่วนมีความรู้เรื่องการคัดแยกและเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ ได้แบ่งเมล็ดพันธุ์บางส่วนไว้สำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป ซึ่งฤดูกาลเพาะปลูกจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และสามารถเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน-กลางเดือนธันวาคม

(ที่มาเพิ่มเติม : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดน่านวันที่19 กุมภาพันธ์ 2558 และwww.siamrath.co.th วันที่ 16 เมษายน 2557)

การดำเนินงาน

โรงสีข้าวพระราชทานฯ ได้มีการจำหน่ายข้าวสารในเขตจังหวัดน่าน ดำเนินธุรกิจในลักษณะการให้สินเชื่อ และเมล็ดพันธุ์ให้แก่สมาชิก มีการจัดกองทุนต่าง ๆ การบริหารจัดการกองทุนต่าง ๆ มีกองทุนปุ๋ยพระราชทาน น้ำประปา มีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 1457 คน และมีกองทุนข้าวพระราชทานกว่า 4 แสนบาท

ในปี 2553 และ ปี 2555 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ติดตามและมีการประสานกับโรงเรียนวังผาวิทยาคม เพื่อจัดให้เป็นศูนย์กิจกรรมการเรียนรู้

มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมจัดการโรงสีข้าวพระราชทาน มีกลุ่มสหกรณ์เข้ามาบริหารจัดการกลุ่มโรงสีข้าวพระราชทาน การบริหารจัดการกลุ่ม การปรับปรุงวิธีการบริหารจัดการโรงสีข้าว มีการแนะนำส่งเสริมด้านวิชาการในการปลูกข้าวแก่สมาชิก ใช้กิจกรรมโรงสีข้าวพระราชทาน นำระบบสหกรณ์เข้าพัฒนาการบริหารจัดการโรงสีข้าวพระราชทาน โดยมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทานการผลิตข้าว เริ่มพัฒนาตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

ระดับต้นน้ำ ให้สมาชิก คณะกรรมการและฝ่ายเจ้าหน้าที่โรงสี มีส่วนร่วมวางแผนการดำเนินงานควบคู่กับการส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ผลิตข้าวเพื่อป้อนโรงสี ซึ่งในปีนี้ สมาชิกกลุ่มโรงสีข้าวมีการพัฒนารวมกลุ่มผู้ผลิต แบ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตข้าวปลอดภัย จำนวน 50 ราย พื้นที่ 231 ไร่ ผลิตข้าวปลอดภัยเพื่อจำหน่ายข้าวเปลือกให้โรงสีข้าวพระราชทานฯ โดยกรมการข้าว ได้ให้การรับรองแปลง(GAP) ยังมีกลุ่มผู้ผลิตข้าวจ้าวปลอดภัยบ้านคั๊วะ จำนวน 10 ราย พื้นที่30 ไร่ ส่งเสริมให้สมาชิกได้ทดลองปลูกข้าวจ้าวหอมมะลิพันธุ์ 108 เพื่อจำหน่ายให้โรงสีข้าวพระราชทาน และกลุ่มผู้ผลิตข้าว ฤดูนาปรัง จำนวน 6 ราย พื้นที่ 16 ไร่ ทดลองปลูกข้าวหอมนิล ข้าวพันธุ์ กข.49 ข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 หลังฤดูการทำนาปี โดยมีเป้าหมายที่จะทดลองปลูกข้าวนาปรัง เพื่อเพิ่มรายได้และต้องการขายข้าวเปลือกให้โรงสีข้าวพระราชทาน

ระดับกลางน้ำ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้สนับสนุนด้านการเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการโรงสีข้าวขนาดเล็กให้แก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานโรงสี โดยฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ด้านการบริหารโรงสีโดยใช้รูปแบบสหกรณ์ นำคณะกรรมการ ประธานกลุ่ม และเจ้าหน้าที่โรงสีข้าวพระราชทานไปศึกษาดูงานสหกรณ์การเกษตรพิมาย จำกัด จังหวัดนครราชสีมา และสหกรณ์การเกษตรลำพระเพลิง จำกัด ซึ่งเป็นสหกรณ์ที่มีความเข็มแข็งในการดำเนินงานด้านบริหารจัดการโรงสีข้าว เพื่อให้สามารถนำความรู้มาปรับใช้ได้กับโรงสีข้าวพระราชทาน พร้อมทั้งได้ส่งเจ้าหน้าที่จากสถาบันพัฒนาเครื่องจักรกลและพื้นที่สหกรณ์ เข้ามาถ่ายทอดความรู้แบบฝึกปฏิบัติจริง เพื่อควบคุมเรื่องการลดการสูญเสียระหว่างการสีข้าว ซึ่งทำให้ต้นทุนสูง ส่งผลให้โรงสีข้าวไม่มีกำไร หรือขาดทุน จึงต้องปรับปรุงกระบวนการสีข้าวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเป้าหมายต่อไปจากนี้คือการปรับปรุงการบริหารงานและพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีสำหรับโรงสีข้าวให้ได้ตามระบบ GMP

ระดับปลายน้ำ กรมส่งเสริมสหกรณ์ สนับสนุนให้กลุ่มโรงสีข้าวพระราชทานพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค และจัดทำบรรจุภัณฑ์ใหม่ให้แก่กลุ่มโรงสีข้าวพระราชทาน สร้างความทันสมัยแก่ตัวผลิตภัณฑ์และเป็นการถนอมอายุของผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งได้สนับสนุนให้เชื่อมโยงเครือข่ายตลาดข้าวสารและเมล็ดพันธุ์ข้าวกับสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดน่าน เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายข้าวสารของโรงสีข้าวพระราชทานให้มากยิ่งขึ้น

โรงสีข้าวพระราชทาน จะรวบรวมข้าวเปลือกจากสมาชิกนำมาเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นข้าวสาร เพื่อนำออกจำหน่ายสู่ตลาดภายใต้ตราสินค้า “ข้าวน่าน” อยู่บนภาพปู่ม่านย่าม่าน ในตำนานกระซิบรัก ซึ่งเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดภูมินทร์ ซึ่งเป็นภาพที่มีชื่อเสียงของจังหวัดน่าน สร้างเอกลักษณ์ให้ข้าวน่านของโรงสีข้าวพระราชทานแห่งนี้ เป็นที่จดจำของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น และเพิ่มทางเลือกด้วยข้าวสารหลากหลายประเภท อาทิ ข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้องหอมมะลิ ข้าวเจ้ากล้องหอมนิล ข้าวกล้องไรส์เบอร์ลี่ ข้าวกล้องเหนียวดำ ข้าวกล้องเหนียวขาว และข้าวเหนียวคัดพิเศษ กข.6 บรรจุลงในถุงสุญญากาศขนาด 1 กิโลกรัม และ 2 กิโลกรัม ส่วนถุง 5 กิโลกรัม เป็นการบรรจุแบบปกติ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกให้นำไปวางจำหน่ายที่ร้านภูฟ้าทุกสาขาในกรุงเทพมหานคร

ปี 2556 ทางโรงสีข้าวพระราชทาน ได้จำหน่ายข้าวสารให้กับโรงพยาบาลจังหวัดน่าน หน่วยงานทหารบก ธนาคารออมสิน วัดพระธาตุแช่แห้ง โรงเรียนในอำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอบ่อเกลือ ศูนย์จำหน่ายสินค้าโอทอปจังหวัดน่าน หน่วยงานราชการ และกองงานในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นเงิน 5,301,245 บาท และในปี 2557 ทางโรงสีข้าวพระราชทานมีเป้าหมายที่จะรวบรวมข้าวเปลือกจากสมาชิกประมาณ 500 ตัน

โรงสีข้าวพระราชทาน จังหวัดน่าน นับเป็นต้นแบบให้เกษตรกรได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้การทำนาข้าวแบบยั่งยืน เป็นการสร้างกองทุนสำรองสำหรับเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือตนเองของเกษตรกรที่ยากจน บนพื้นฐานวิถีชีวิตพอเพียงและรักษาอาชีพดั้งเดิมของราษฎรในอำเภอท่าวังผาให้ดำรงอยู่

โรงสีข้าวพระราชทานยังได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน อาทิ ซี.พี.ธนาคารออมสิน สหกรณ์การเกษตรฯ บริษัทสยามคูโบต้า กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้มอบให้สำนักพัฒนาและถ่ายทอดสหกรณ์ มีสำนักพัฒนาเครื่องจักรกล มีการบริหารจัดการโรงสีข้าวพระราชทาน ให้สามารถช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มโรงสีข้าวพระราชทานฯ โดยการร่วมแรง ร่วมใจ ตามระบบสหกรณ์เพื่อบริหารจัดการธุรกิจของโรงสีข้าวพระราชทานฯให้สามารถบริการสมาชิกชุมชน

1. ร่วมแรง ร่วมใจ
2. ร่วมหุ้น
3. ร่วมรับผิดชอบ
4. ร่วมทำธุรกิจ
5. ร่วมรับผลประโยชน์

การจัดการการเงิน

ปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ ที่กำหนดการลงทุนทำธุรกิจ ตามหลักการบริหารจัดการ

ธุรกิจ

แหล่งของเงินทุน
1.เงินค่าหุ้น
2.เงินอุดหนุน
3.เงินกำไรจากการลงทุนดำเนินธุรกิจ

การบัญชีกลุ่มโรงสีข้าวพระราชทานฯ

กลุ่มโรงสีข้าวพระราชทานฯมีการจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี เพื่อความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกลุ่มโรงสีข้าวพระราชทาน

ในปี 2556-2560 โรงสีข้าวพระราชทานมีวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการข้าวเชิงคุณภาพ บริหารจัดการงบประมาณ เอื้อต่อชุมชน

ต้นน้ำ

- การเสริมสร้างความมีส่วนร่วมให้แก่โรงสี

- การอบรมให้มีการปลูกข้าวที่ดี

กลางน้ำ

- พัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการ

- ปรับปรุงวิธีการให้มีประสิทธิภาพ

- เครื่องบรรจุข้าวสาร

ปลายน้ำ

- ปรับปรุงทางการตลาด

- การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย การถนอมอายุผลิตภัณฑ์

สมาชิกผู้นำกลุ่ม มีโอกาสเรียนรู้จากการศึกษาดูงานจากเกษตรกร หรือสหกรณ์ ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบการบริหารจัดการแบบสหกรณ์ โดยนำรูปแบบ "หลักการ วิธีการสหกรณ์” มาสู่การบริหารชุมชนโดยยึดเป็นรูปแบบในการขับเคลื่อน ดำเนินการสนับสนุนให้คำปรึกษา สอนคนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถบริหารองค์กรด้วยตนเอง มุ่งสู่การเป็นองค์กรธุรกิจของภาคประชาชนที่ประชาชนช่วยในการบริหารจัดการชุมชน การพัฒนาการแข่งขัน และการปรับตัวสู่การพัฒนาประเทศไทยในอนาคต

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ข้าวที่มาสีเป็นข้าวอะไร

ตอบ เป็นข้าวของสมาชิกที่ทำไว้กิน แล้วเหลือก็นำมาขาย มีหลายประเภท ทั้งมะลิแดง มะลินิล ข้าวเหนียว และมะลิที่จุฬาฯ มาส่งเสริม ก็มีจำนวนมาก

ข้าวไรซ์เบอรี่ และข้าวหอมนิล มีการร่วมกับพี่น้องบนดอย ทางโรงสีแปลงสภาพจากข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร เป็นข้าวเหนียว แล้วนำมาขาย

2. สมาชิกใครเป็นได้บ้าง

ตอบ เริ่มต้นสมาชิกจะมาจากตำบลสีภูก่อน หลังจากนั้นมีต่างตำบล และต่างอำเภอบ้าง ใครก็ได้สามารถสมัครเป็นสมาชิกในราคาหุ้นละ 10 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อบุคคล

3. สมาชิกที่เป็นชาวนากี่เปอร์เซ็นต์

ตอบ 90%

4.กำไรที่ได้จากไหน

ตอบ ส่วนใหญ่จากข้าวกล้อง ซึ่งเป็นลักษณะการช่วยเหลือกันมากกว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตรัสว่าอย่าเอากำไรมาก ให้อยู่ได้พอ ไปได้พอ อย่าให้เกิน อย่าเอาเปรียบประชาชน

5. พันธุ์ข้าวจากไหน

ตอบ ศูนย์วิจัยข้าวแพร่

6. ศูนย์การเรียนรู้ทำอะไรบ้าง

ตอบ เริ่มตั้งแต่สอนเด็ก ลงกล้า ทำเหมือง ทำฝาย ปลูกข้าว หว่านข้าว สอนตั้งแต่ต้นจนจบ

7. ปัญหาหลักคืออะไร

ตอบ เรื่องเกี่ยวกับข้าว ความชื้นของข้าวควรต้องได้มาตรฐาน แต่ประชาชนบางคนมาตรฐานไม่ถึงนำข้าวมาขาย จึงต้องให้นำกลับไปปรับให้ได้มาตรฐานก่อนนำกลับมาขาย

8. การตลาดเครือข่ายที่ช่วยมีที่ไหนบ้างทีให้ความช่วยเหลือ

ตอบ รพ.จังหวัดน่าน กองพันทหารราบ รพ.น่านวังผา รพ.ยุพราชบัว โรงเรียนต่าง ๆ และที่อื่น ๆ อีกมากที่ซื้อเป็นขาประจำ

9. พันธุ์ข้าวได้จากศูนย์วิจัยแพร่

ตอบ ได้จากศูนย์ และแต่ละตำบลจะมีศูนย์พันธุ์ข้าวอยู่ ถ้าโรงสีไหนดีจะมีพันธุ์ข้าวหมด และรับซื้อ

10. โรงสีข้าวพระราชทานให้ราคาแก่เกษตรกรอย่างไร

ตอบ ราคาที่ให้จะมีส่วนต่างอยู่ เช่นซื้อมา 13 บาท โรงสีข้าวพระราชทานจะให้ 13.50 บาท คือให้ราคาสมาชิกสูงกว่า 50 สตางค์ และจะมีมาตรฐานในการรับซื้อ ดูความชื้น ไม่ต่ำกว่า 15%

11. การมีน้ำท่วมมาจึงเกิดโรงสี แล้วถ้ามีน้ำท่วมอีกจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร

ตอบ ถ้าชาวนาในกลุ่มไม่มีพันธุ์ข้าวตามที่กองทุนมีให้ทางโรงสีจะให้พันธุ์ข้าวไปเลย พอได้ผลผลิตข้าวออกมาก็แลกเปลี่ยนกับที่ได้มา เช่นได้มา 10 กิโลกรัม ก็นำมาเปลี่ยน 10 กิโลกรัม โดยไม่ต้องซื้อ

12. ตลาดมีที่ไหนบ้าง

ตอบ ส่วนใหญ่มีในจังหวัดน่าน แต่ถ้าในกรุงเทพฯ ทีส่งไปก็จะมีข้าวหอมนิล และมีการส่งไปทางเครือข่ายสหกรณ์ที่จังหวัดแพร่

13. ข้าวที่นี่เป็นอย่างไร

ตอบ เป็นโครงการช่วยเหลือประชาชน เอาเงินที่เหลือมาจ้างพนักงาน และเชื่อมเครือข่ายประชาชนเพิ่มขึ้น

14. ปีนี้ข้าวราคาไม่ดี เกษตรกรที่มาขายที่นี่ โรงสีข้าวพระราชทานจะรับซื้อได้หมดหรือไม่

ตอบ รับซื้อหมด ข้าวไม่ค่อยดี อย่างลมพัดก็ล้ม มีสั่งเพิ่ม ไม่พอจำหน่าย แต่ปัญหาที่พบคือข้าวมีการปนกันคือ ข้าวเหนียวปนข้าวเจ้า ข้าวเจ้าปนข้าวเหนียว

15. ชาวนาในบ้านวังผาเป็นสมาชิกสหกรณ์ทั้งหมดหรือไม่

ตอบ ที่โรงสีข้าวพระราชทานไม่ใช่สหกรณ์ แต่มีการบริหารจัดการแบบสหกรณ์ เป็นกลุ่มโรงสีข้าวพระราชทานโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

16. ฐานการรับซื้อเปรียบเทียบกับข้างนอก เป็นอย่างไร

ตอบ ราคาการรับซื้อจะอ้างอิงจากราคากลางของกรมการค้าภายในกำหนดไว้ แต่จะเน้นเรื่องคุณภาพมากกว่า โดยพยายามหาเมล็ดพันธุ์พื้นเมืองให้เป็นจุดแข็ง สร้างคุณค่าเพื่อเป็นแบรนด์ของเรา

17. ทำไมชาวนาบางส่วนไม่ยอมเป็นสมาชิกเพราะอะไร

ตอบ มีชาวนา 80% เป็นสมาชิก แต่ที่ไม่เป็นก็แล้วแต่เขา

18. ที่นี่ได้มีการตั้งเป้าหมายในแต่ละปี และประเมินรายได้ที่อยู่รอดได้ อย่างไร

ตอบ หลังการประชุมใหญ่จะมีการทำแผนทุกปี คือไถนา กี่เปอร์เซ็นต์ การทำนาปีเพื่อลดความเสี่ยง โดยทางโรงสีจะมีการทำประชาสัมพันธ์ให้ด้วย

19. การยืมพันธุ์ข้าวจะทำอย่างไร

ตอบ ต้องเป็นสมาชิกเท่านั้นที่สามารถยืมพันธุ์ข้าวได้ และต้องมีสมุดพกถึงจะยืมได้

20. กิจกรรมต้นน้ำมีการส่งเสริมให้เด็กมาเรียนด้วยหรือไม่

ตอบ ตัวอย่าง ในแต่ละปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 – 2559 นักเรียนที่มาเรียนจะมีแปลงพิเศษให้เขาช่วยกันทำ

21. มีหน่วยงานมาศึกษาด้วยหรือไม่

ตอบ มีหลายหน่วยงานที่เข้ามาศึกษา

22. จะมีแนวทางโครงการต่อเติมหรือไม่

ตอบ นอกจากผลิตภัณฑ์ข้าวยังมีผลิตภัณฑ์อื่นด้วย มีกลุ่มแม่บ้านที่ไปทำเอง สามารถไปซื้อผลิตและมาวางขายที่นี่

23. ผลผลิตเฉลี่ย มีกี่ไร่ต่อตัน และมีปัญหาเรื่องน้ำหรือไม่ ใช้ระบบอะไร

ตอบ เรื่องชลประทาน เมื่อก่อนเป็นระบบที่แยกน้ำกัน ทำให้มีการบูรณาการดีขึ้น มีประตูเปิดปิด จัดได้ว่าเป็นเหมืองอัศจรรย์ทีเดียวและมีการคิดราคาข้าวพิเศษเพื่อการให้ตอบแทนคณะกรรมการฯ ที่ดูแลด้วย

24. แปลงพระราชทาน มีที่ไหนบ้าง

ตอบ จุดกำเนิดแปลงพระราชทาน คือ เหตุการณ์สึนามิ ที่ภาคใต้ สมาคมจิตรลดาอยู่ใกล้พระองค์ท่านฯ ได้เข้าไปช่วยเหลือ และมีการทำเป็นเอกลักษณ์เพื่อตอบแทนพระองค์ท่าน ซึ่งประธานสมาคมจิตรเก่าสวนจิตรลดา (คุณปัน) ได้เคยเข้ามาทำงานร่วมกันที่นี่ และก็ไปช่วยทำข้าวบนดอยด้วย

25. เรื่องแกลบที่ได้จากการสีข้าว เอาไปทำอะไร

ตอบ แกลบมีการขายให้กับท้องถิ่น ทางไกล มีโรงเรียนซื้อไปทำปุ๋ยหมักเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้

26. ถ้าแกลบคุณภาพดีสามารถไปทำคริสตัลได้

ตอบ มีแกลบโขง กิโลกรัมละ 45 สตางค์ แต่ปัจจุบันไม่มีเนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงสั่งรื้อ

27. เอาแกลบเป็นโรงงานพลังไฟฟ้า หรือมีโอกาสใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้หรือไม่

ตอบ สามารถทำได้ และมีคนคิดจะทำ แต่ยังไม่เสร็จสักทีที่นี่ไม่ใช่สถานที่วิจัย ถ้ามาก็จะมาเลย


ศึกษาการพัฒนาโครงการพื้นที่บ้านน้ำป้าก ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา

บรรยายโดย คุณวรพล ไชยสลี หัวหน้าหน่วยโครงการปิดทองหลังพระและตัวแทนจากมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง

โครงการพื้นที่บ้านน้ำป้าก ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผาเป็นหมู่บ้านนำร่องโครงการหนึ่งของโครงการปิดทองหลังพระ สืบสานตามแนวพระราชดำริ จังหวัดน่าน ใช้ดอยตุงโมเดล ที่เป็นการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากลุ่มน้ำอย่างสมดุล ให้คนและป่าอยู่ร่วมกันและพึ่งพากันอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไปพร้อมกัน ตามแนวพระราชดำริ ปลูกป่า ปลูกคน

และได้ไปเยี่ยมชม เกษตรกรในพื้นที่ นายหมื่น อนันต์ ที่เป็นตัวอย่างของการทำเศรษฐกิจพอเพียงทำบัญชีครัวเรือน สามารถสร้างรายได้ และลดรายจ่าย เป็นตัวอย่างของการลงมือปฏิบัติจริงอีกท่านหนึ่ง

ทำไมต้องน่าน

น้ำจากแม่น้ำน่านคิดเป็น 45 % ของแม่น้ำเจ้าพระยา หรือถือได้ว่าแม่น้ำน่านจะหล่อเลี้ยงแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย แต่สภาพป่าต้นน้ำจังหวัดน่านนั้นแทบไม่มีเหมือนเมื่อก่อน เพราะการเผาทำลาย การใช้สารเคมีต่างๆ ทำให้พื้นที่ป่าถูกทำลาย เพราะอาชีพส่วนใหญ่ของชาวจังหวัดน่านนั้นปลูกข้าวโพด แต่ข้าวโพดนั้นแพ้หญ้าทำให้ต้องมีการฉีดสารเคมีเป็นจำนวนมาก น่านมีอัตราผู้ป่วยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงเป็นอันดับ 9 ของประเทศจากปี 2554 ที่เคยอยู่อันดับที่ 28

น่านมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่ำเป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ และในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา พื้นที่ป่าของน่านลดลงจาก 5.3 ล้านไร่ เหลือเพียง 4.6 ล้านไร่ป่าหายไปเฉลี่ยประมาณกว่า 70,000 ไร่ หรือวันละ 190 ไร่

ความเป็นมา

บ้านน้ำป้าก เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่หุบเขาริมลำห้วยสายซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำน่าน ในปี 2551 ได้เกิดอุกภัยและดินโคลนถล่มอย่างรุนแรงในหมู่บ้านน้ำป้าก และบ้านห้วยธนู ทำให้ชาวบ้านเสียชีวิตไปจำนวน 3 คน และบ้านเรือน ไร่นา สัตว์เลี้ยงเสียหายเป็นครั้งใหญ่ของหมู่บ้าน

หลังเหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้หน่วยงาน/องค์กรต่างๆ ได้เข้ามาช่วยเหลือ เยียวยา และฟื้นฟูชุมชนหลากหลายรูปแบบ แต่สิ่งหนึ่งที่มีการพูดถึงมากคือการฟื้นฟูป่าต้นน้ำเพื่อลดการไหลบ่าของน้ำป่าลง จนในปี 2552 โครงการปิดทองหลังพระ สืบสานตามแนวพระราชดำริ ในจังหวัด ก็ได้เลือกเอาพื้นที่บ้านน้ำป้ากเป็นพื้นที่นำร่องของโครงการ

บ้านน้ำ เป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องขนาดเล็กของโครงการบูรณาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดน่าน มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริได้ดำเนินงานส่งเสริมให้ชุมชนที่ยากจนสามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้จากการปลูกพืช อาหาร ทำปศุสัตว์ และการประมงให้เพียงพอต่อความต้องการทั้งของตนเองและทั้งจังหวัดน่านได้ตลอดปี

โดยเฉพาะการนำองค์ความรู้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “ลดการใช้พื้นที่ป่า ปลูกนาขั้นบันได” ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาขยายผล รวมทั้งยึดมั่น 3 หลักการปฏิบัติ

ได้แก่ “หลักการองค์ความรู้ 6 มิติ” คือ น้ำ ดิน เกษตร พลังงานทดแทน ป่า และสิ่งแวดล้อม

“หลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ” คือเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา

และ “หลักการทรงงานและหลักการโครงการ” เช่น การศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ มององค์รวม ไม่ยึดติดตำรา เน้นการมีส่วนร่วม ขาดทุนคือกำไร ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ปลูกป่าในใจคน ทำงานอย่างมีความสุข ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด พออยู่พอกิน พึ่งตนเอง ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน ฯลฯ

โครงการปิดทองหลังพระได้เข้ามาดำเนินการในการปลูกคนให้กับชาวบ้านในพื้นที่แล้ว ตอนนี้ชาวบ้านมีข้าวกิน มีพื้นที่ในการเกษตรแต่การที่จะนำชาวบ้านเข้าสู่ความพอเพียงตามแนวพระราชดำริได้นั้นเราจะต้องปลูกป่าทำการปลูกป่าในโครงการ “ปลูกป่า สร้างคน บนวิถีพอเพียง รักษาต้นน้ำ บรรเทาอุทกภัย” ปลูกใน 3 พื้นที่ คือ อำเภอท่าวังผา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอสองแคว พื้นที่ทั้งหมด สองแสนห้าหมื่นไร่ เพื่อแก้ปัญหาภูเขาหัวโล้น แก้ปัญหาพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด

“3:3:3 รอด พอเพียง และยั่งยืน ในช่วง 3 ปีแรกจะทำอย่างไรให้ชาวบ้านรอด มีข้าวกินอย่างพอกิน เราต้องเข้ามาทำระบบน้ำ ทำฝาย เพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับชาวบ้านเพื่อที่ให้ชาวบ้านใช้พื้นที่ในการเพาะปลูกไม่มาก ปรับทำเป็นนาขั้นบันได ตอนนี้ในพื้น 3 อำเภอนั้นรอดแล้ว กำลังเข้าสู่ความพอเพียงทั้ง 3 พื้นที่ โดยทุกพื้นที่ที่โครงการเข้ามาทำจะเน้น หลัก เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เป็นหลักในการทำงาน”

พื้นที่บ้านน้ำป้ากจากที่ประสบปัญหาอุทกภัยน้ำป่าไหลหลากอย่างหนักจนไม่สามารถทำนาทำไร่ได้เลย ในปี 2551 ปัจจุบันประชาชนจำนวน 217 ครัวเรือนวันนี้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก สามารถปลูกข้าวได้เพิ่มจาก 37 ไร่เมื่อปี พ.ศ.2551เป็น 810 ไร่ในปัจจุบัน รวมทั้งประสบผลสำเร็จในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่า ชาวบ้านที่เคยไปขายแรงงานในเมืองก็หันกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิด โดยสถิติล่าสุดมีผู้ไปประกอบอาชีพต่างเมืองเพียง 3 % เท่านั้น

พื้นที่ดำเนินการโครงการปิดทองหลังพระฯ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีในพื้นที่ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผาในลุ่มน้ำเดียวกัน มีพื้นที่ 3 หมื่นไรบริหารจัดการเรื่องของป่าเป็น 70:30:70 ให้เป็นพื้นที่ของป่า อีก 30 เป็นพื้นที่ของประชาชน เพื่อทำอาชีพตามแนวของศาสตร์พระราชา ภายใต้แนวคิดว่าจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวพระราชดำริ บริหารจัดการเพื่อชุมชนโดยชุมชน

ดอยตุงโมเดล

คือ การบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำอย่างสมดุล ด้วยเงื่อนไขให้คนและป่าอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาและยั่งยืน เกิดจากการประยุกต์ประสบการณ์และความสำเร็จจากโครงการพัฒนาต่าง ๆ ของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในการปลูกป่าและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนไปพร้มกันตามแนวพระราชดำริ “ปลูกป่า ปลูกคน” ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ดอยตุงโมเดล เป็นการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำอย่างสมดุลดังนี้

1. ป่าอนุรักษ์ 60 % คือพื้นที่ป่าที่มีไม้เรือนยอด ไม่ถูกเผา และไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชเป็นเวลานาน ใช้วิธี “ปลูกป่าแบบไม่ปลูก” โดยอาศัยกฎระเบียบชุมชนควบคุมไม่ให้คนหรือสัตว์เข้าไปรบกวนการฟื้นตัวของป่าตามธรรมชาติ

2. ป่าเศรษฐกิจ 20% คือการปรับพื้นที่ไร่หมุนเวียน (ที่ทำกิน) เป็นป่าเศรษฐกิจ โดยชาวบ้านเป็นเจ้าของไม้เศรษฐกิจสร้างรายได้ในระยะยาว และมีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าสูง เช่น ไผ่ ต๋าวหวาน มะม่วงหิมพานต์ กาแฟ ฯลฯ

3. ป่าใช้สอย 8 % คือพื้นที่ที่ชุมชนช่วยกันรักษาและใช้ประโยชน์ร่วมกันอยู่เดิม หรือปลูกเสริมตามเงื่อนไขกฎระเบียบของชุมชน เช่น เป็นพื้นที่แหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคหรือการเกษตรและนำผลผลิตจากป่าไปใช้หรือบริโภค

4. ที่ทำกิน 10%

5. ที่อยู่อาศัย 2%

ขั้นตอนการประยุกต์ใช้ดอยตุงโมเดล

1. สร้างความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับและสอบถามความต้องการของชุมชน

2. กำหนดขอบเขตลุ่มน้ำของพื้นที่โครงการฯ ระบุพื้นที่หมู่บ้านตามเขตการปกครอง และสำรวจแหล่งน้ำหรือลำห้วยในพื้นที่

3. ประเมินการใช้ประโยชน์พื้นที่ประเภทต่าง ๆ ในพื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมดตามอัตราส่วน “ดอยตุงโมเดล”

4. เดินสำรวจพื้นที่ทำกินร่วมกับชุมชนด้วย GPS และกำหนดขอบเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ต่าง ๆ ร่วมกับชุมชน ท้องที่ ท้องถิ่น และภาครัฐ พร้อมจัดทำแผนที่การใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำทั้งหมด

5. สร้างความเข้าใจและพัฒนาคุณภาพชีวิต “ปลูกคน” เพื่อให้ชุมชนพึ่งพาตัวเองได้ด้วยการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และลดหนี้สิน

6. ชุมชนร่วมกันเดินสำรวจขอบเขตป่าใช้สอยและกำหนดชนิดพืชสำหรับปลูกเสริม เพื่อการใช้ประโยชน์ในอนาคตร่วมกัน

7. ส่วนพื้นที่ที่เหลือในบริเวณลุ่มน้ำกำหนดเป็นป่าอนุรักษ์ทั้งหมด โดยชุมชนร่วมกันพิจารณาว่าจะ “ปลูกป่าแบบไม่ปลูก” หรือ “ปลูกป่าแบบปลูกเสริม” ตามสภาพจริงในปัจจุบัน

8. กำหนดพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการแปรรูปเพื่อสร้างรายได้ในระยะยาว และให้ชาวบ้านเลือกเพื่อปลูกในพื้นที่ไร่หมุนเวียน (ที่ทำกิน)

9. ติดตามความก้าวหน้าและสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการปลูก การรวมกลุ่ม การแปรรูป และการตลาดอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 5 ปี

ปลูกป่าตามแนวพระราชดำริ

“ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง”

การปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาอยู่ได้ ให้ใช้วิธีปลูกไม้สามอย่าง แต่มีประโยชน์สี่อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กิน ไม้เศรษฐกิจ โดยปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับซับน้ำและปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วย โดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ประโยชน์ที่สี่คือ ได้ระบอนุรักษ์ดินและน้ำ

“คนอยู่กับป่า”

...เมื่อคนได้ใช้ประโยชน์จากป่า ป่าก็จะอยู่ได้ ป่าอยู่ได้ คนอยู่รอด...

“ปลูกป่า ปลูกคน”

...การขาดโอกาสของ “คน” ซึ่งส่งผลต่อ “ป่า” เพราะฉะนั้น จะปลูกป่าให้ยั่งยืน ต้องปลูกคนด้วย...

“การบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ โดยแก้ปัญหาทั้งลุ่มน้ำ”

“สร้างป่า สร้างรายได้”


โปรดคลิกที่ลิ้งค์ข้างล่างนี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

http://www.gotoknow.org/posts/626196

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 20 มีนาคม – 3 เมษายน 2560

http://www.gotoknow.org/posts/626982

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 4-19 เมษายน 2560


ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : EADP 13..ห้องเรียนสัญจร ตอนที่ 1.. “น่าน” สืบสานการทำงานตามศาสตร์พระราชา ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน 2560 เวลา 21.00-21.30 น.ทางสถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks


ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : EADP 13..ห้องเรียนสัญจร ตอนที่ 2.. บทบาท “กฟผ.”กับการทำงานในระดับชุมชน..กรณีศึกษาจังหวัดน่าน ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2560 เวลา 21.00-21.30 น.ทางสถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks


ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : EADP 13..ห้องเรียนสัญจร ตอนที่ 3..เรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองน่านเพื่อสืบสานงาน กฟผ. และรายงานพิเศษ : CNC GROUP กับการพัฒนาองค์กรธรรมาภิบาล ออกอากาศ : วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2560 ทางช่อง TGN ระหว่างเวลา 21.00-21.30 น.

หมายเลขบันทึก: 626594เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2017 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2017 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)
นิทัศน์ วรพนพิพัฒน์

สรุปประเด็น EADP 13 (ช่วงที่ 2: ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2560)

การศึกษาดูงานที่จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญของประเทศไทย เพราะปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา 45 % มาจากจังหวัดนี้ ความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่น่าน โดยเฉพาะบริเวณใกล้ๆพื้นที่ป่าต้นน้ำจึงไม่สำคัญเฉพาะต่อจังหวัดน่านแต่เป็นเรื่องสำคัญของประเทศไทยอีกด้วย หากชาวบ้านไม่สามารถมีความเป็นอยู่ที่ดี รายได้ไม่พอที่จะเลี้ยงชีพ จะทำให้เกิดปัญหาการทิ้งถิ่นฐาน การเข้าบุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำ การปลูกสิ่งที่ผิดกฏหมาย และปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคมตามมาอีกมากมาย

สำหรับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีหน้าที่จัดหาไฟฟ้าให้พอเพียงกับความต้องการของประชาชนในประเทศ มีสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน เป็นจุดรับไฟฟ้าจากโครงการหงสา จาก สปป. ลาว มีกำลังผลิตตามสัญญา1,473 MW โครงการนี้ไม่เพียงแต่เป็นการจัดหาพลังงานที่มีราคาเหมาะสมให้กับประเทศไทยแล้วยังสร้างรายได้ให้กับจังหวัดน่านอีกด้วย โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจากการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการหงสานี้ จะถูกแบ่งมาให้กับจังหวัดน่าน

จากการดำเนินงานของ กฟผ. ในการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่านพบการต่อต้านเนื่องจากความไม่เข้าใจของภารกิจของ กฟผ. ตลอดจนความสงสัยในความปลอดภัยของชาวบ้านและผลกระทบกับสภาพแวดล้อม แต่ในที่สุดการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าน่านก็แล้วเสร็จโดยได้รับการยอมรับจากชาวบ้าน แต่ในช่วงดำเนินการก็ยังมีประเด็นเสียงรบกวน (Noise) จาก Line Shunt Reactor ซึ่งเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นนี้ผ่านมาตราฐานด้านสิ่งแวดล้อม แต่เนื่องจากเมืองน่านเป็นเมืองที่เงียบสงบ ทำให้ชาวบ้านยังคงได้ยินเสียงรบกวนนี้ โดยชาวบ้านได้ร้องเรียนต่อ กฟผ. และ กฟผ. ได้ตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องนี้อย่างเร่งด่วน โดยสร้างกำแพงกันเสียง “โดย กฟผ. ยินดีที่จะดำเนินการให้เหนือกว่ามาตราฐานทางกฏหมาย” จากเรื่องราวดังกล่าวอาจสรุปได้ว่า โครงการดีๆ ที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ และท้องถิ่น นั้นจะประสบผลสำเร็จเป็นที่ยอมรับของชุมชน จะต้องเพิ่มเติมประเด็น การพูดคุยด้วยความจริงใจ การให้ชาวบ้านรับรู้เข้าใจโครงการ การรับฟังและมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และการตอบสนองต่อเสียงเรียกร้องต่อความเดือดร้อนของชาวบ้านอย่างรวดเร็ว ซึ่งเจ้าหน้าที่ของ กฟผ. ที่ท้องที่นั้นๆเป็นกลไลที่สำคัญยิ่งในการสร้างความเข้าใจกับชุมชน ทำให้ชุมชนรับรู้และเข้าใจว่า กฟผ. มาทำเรื่องดีๆ เข้ามาพัฒนาประเทศและชุมชนไปพร้อมๆกัน

นอกจากประเด็นเรื่องสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน ที่อยู่ในตัวเมืองน่านแล้ว นอกเขตเมืองนั้นจะต้องทำให้ชาวบ้านสามารถยืนด้วยขาของตัวเองได้ มีอาชีพ มีความสามารถในการสร้างรายได้ให้พอเพียงมีเหลือเก็บ มีภูมิค้มกันในตัวเอง เมื่อชาวบ้านสามารถเลี้ยงตัวเองได้แล้ว ปัญหาการรุกป่าต้นน้ำ การละถิ่นฐาน ปัญหาด้านการทำผิดกฏหมาย ด้านเศรษฐกิจและสังคมจะลดลง การจะเข้าไปช่วยชาวบ้านพัฒนาให้ถึงขั้นที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ให้ใช้หลักการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และการน้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ซึ่งจากการศึกษาดูงานที่จังหวัดน่านนั้น พบว่า การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่เพียงแต่ทำให้ชาวบ้านที่ทำมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ยังทำให้ชุมชนที่นำไปใช้มีความแข็งแรงด้านปัญญา พร้อมที่จะพัฒนาชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

ชื่อ นายชฎิล ศุขะพันธุ์ ตำแหน่ง ช.อขน-ห.

ช่วงที่ 2 ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่ : สร้างวิสัยทัศน์ผู้นำ “ ห้องเรียนผู้นำสัญจร และกิจกรรมCSR “

วิชาที่ 7 การเสวนา ( วันที่ 3 ; วันที่ 28 มี.ค.256 )

7.1 เยี่ยมชมสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน

โดย คุณนิรันดร์ เนาวเศรษฐ หัวหน้าสถานีไฟฟ้าแรงสูง จ.น่าน

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

สถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน เป็นสถานีปลายทางที่จังหวัดน่าน รับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสาลิกไนต์ สปป.ลาว ผ่านระบบส่งไฟฟ้า 500 kV โดยผ่าน 3 อำเภอของจังหวัดน่าน คือ อำเภอสองแคว อำเภอท่าวังผา และอำเภอเมืองมีระยะทาง 101 กิโลเมตร เพื่อสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าในบริเวณภาคเหนือและส่งผ่านพลังงานไฟฟ้าที่รับซื้อเข้าสู่ภาคกลาง พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

กระแสต่อต้านจากประชาชน โดยรอบสถานีไฟฟ้าแรงสูง น่าน ถึอว่าเป็นปัญหาและความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่จะส่งผลให้ไม่สามารถส่งกระแสไฟฟ้าได้ตามเป้าหมาย มีการจัดการได้อย่างดี คือ

1. แสวงหาความร่วมมือของหลายฝ่าย ทั้ง กฟผ. นักธุรกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่ ซึ่งทางกฟผ.ได้ลงพื้นที่ด้วยความจริงใจ และเน้นการพูดความจริง

2. มีการรับข้อร้องเรียนผ่าน Call Center ก็ต้องแสดงความจริงใจ และความรับผิดชอบในการดำเนินการทั้งหมด

3. มีการพูดคุยโดยใช้ใจคุยสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนในพื้นที่ ด้วยภาษาเมืองใช้ใจและภาษาเดียวกันคุย แล้วจะทำให้ปัญหาดูเล็กลงแม้บางครั้งไม่มีงบประมาณ แต่สิ่งที่ต้องทำคือการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี การร่วมรับฟังความคิดเห็น การรับเรื่อง การสร้างความเป็นมิตร และการสร้างพลังบวกให้เกิดขึ้นตลอดเวลา

4. ดำเนินการปรับปรุงปัญหาข้อเรียกร้องและทำการประชาสัมพันธ์ชีแจงแสดงผลการปรับปรุงให้ชาวบ้านและชุมชนได้เห็น เช่น การสร้างกำแพงกันเสียง Shunt Reactor มูลค่า หลายล้าน

7.2 บ้านดงป่าสัก โครงการหมู่บ้าน กฟผ. วิถีพอเพียง

โดย คุณไพศาล วิมลรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

จังหวัดน่าน มีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าดงดิบทำให้การเดินทางลำบากเต็มไปด้วยพื้นที่ป่า และเป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็นพื้นที่กบดานของกลุ่มคอมมิวนิสต์ และผู้ก่อการร้าย ปัจจุบันสภาพป่า หรือสภาพภูมิประเทศจากเดิมที่เป็นป่าดงดิบ และมีต้นน้ำลำธาร ในพื้นที่ของน่านลดลงเนื่องจากมีการทำลายป่า ทำลายเขาเป็นพื้นที่ทำกิน ทำให้น่านมีพื้นที่ป่าลดลงเหลือไม่ถึง 20%ในอดีตชาวบ้านช่วยรบ ถ้ารบชนะก็ได้สิทธิ แต่ปัญหาคือการออกพื้นที่กรรมสิทธิ์ไม่สามารถทำได้ ชาวบ้านอยู่ในพื้นที่ป่ามาก่อน แต่ไม่มีเอกสารมาสำแดง จึงเกิดปัญหาเรื่องการยื้อแย่งกลายมาเป็นปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ตามมา

ดังนั้น จึงได้มีแนวทางการตัดสินใจในเรื่องการส่งเสริมเกษตรกรรม โดยให้ชาวบ้านเลือกพื้นที่ที่ทำอาชีพ ดีกว่าพื้นที่ที่จะเป็นปัญหาในอนาคต ไม่ใช่ให้เขาเลือกอาชีพที่ทำผิดกฎหมายแล้วเรามาคอยปราบปราม จะลำบากมากกว่านี้

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

ผู้ว่าฯ กล่าวว่า ในเรื่องที่เกี่ยวข้องจริง ๆ ในพื้นที่น่าน ขอฝากให้ กฟผ. ดูเรื่อง CSR ในพื้นที่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าในรัศมี 5 กม. ให้มีไฟฟ้าใช้ และให้ดูแลพื้นที่ใต้สายส่งแรงสูง ควรมีการตอบแทนชุมชนที่อยู่ใต้สายส่งไฟฟ้าแรงสูงด้วย เช่นเดียวกับชุมชนที่อยู่ในรัศมีพื้นที่ใกล้โรงไฟฟ้า ได้รับอานิสงค์จากการสร้างโรงไฟฟ้าด้วย

7.3 Dinner Talk ประสบการณ์ของข้าพเจ้า........กับการทรงงานของในหลวงรัชการที่ 9 ที่โรงพยาบาลน่าน โดย นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร ที่ปรึกษาสถาบันปิดทองหลังพระ

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

1.การเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ในพื้นที่ จังหวัดน่านทั้งหมด 23 พระองค์เสด็จมา มาเยี่ยมที่โรงพยาบาล และประชาชนในพื้นที่จังหวัดน่าน ตั้งแต่ วันที่ 16 มี.ค.2501 ถึง วันที่ 4 ก.พ.2524

2.เหตุการณ์ที่ คุณหมอ ประทับใจที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จพระราชดำเนินให้กำลังใจแก่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ทหาร ในช่วง วันเสียงปืนแตก 26 ก.พ.2510

3. ท่านได้กล่าวถึงนิยามของการบริหาร ได้ยกพระราชดำรัสเรื่องการทำหน้าที่ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่องการทำตามหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การบริหารงาน หมายถึง การมุ่งเน้นความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กรโดยสามารถร่วมกับคนอื่น มีความเคารพเพื่อนร่วมงาน ไม่มองว่าใครเป็นลูกน้องใคร

การทำงาน กับการประพฤติตน ต้องรู้ว่าคุณค่าของตนอยู่ที่ไหน ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และยุติธรรม

วิชาที่ 8 โครงการพัฒนาห้วยหาด แนวทางพระราชดำริของรัชการที่ 9 โดย ผญบ.นัยนา ฑีฆาวงศ์ ผู้ใหญ่บ้านห้วยหาด

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ผญบ.นัยนา ฑีฆาวงศ์ ผู้ใหญ่บ้านห้วยหาด ได้บรรยายสรุป ถึงโครงการพัฒนาหมู่บ้านชุมชน ต้องสร้างพื้นฐานคุณภาพชีวิตชุมชน ที่บ้านห้วยหาดแบบมีส่วนร่วม ให้ประชาชน พอมี พอกิน พอใช้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ เดินทางสายกลาง พอประมาณมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน มีความรู้และคุณธรรมโดยสิ่งที่ทำคือเน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม การพัฒนาจิตใจให้มีคุณธรรม การให้การศึกษา การสร้างความมั่นคง เพื่อการต่อยอด และกระจายพัฒนาสู่ชนบทกล่าวถึงการพัฒนาแหล่งน้ำพัฒนาป่าไม้ พัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต และมีหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ก่อน แล้วจึงค่อยสร้าง ค่อยเสริม ความเจริญและเศรษฐกิจชั้นสูงต่อไป

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การสร้างความมั่นคงบนพื้นที่สูง ของจังหวัดน่านอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ เป็นการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ มีการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ที่ออกแบบตามบริบทของภูมิสังคมและสถานการณ์จริงในพื้นที่ ที่มีทั้งงานวิจัย งานบริการวิชาการเพื่อปรับใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปพร้อมกับงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของชีวิตความเป็นอยู่ชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดน่าน “สร้างเมืองน่านน่าอยู่คู่ป่าต้นน้ำ” โดยมีโครงการที่สำคัญๆ อยู่ 14 โครงการ เช่น การใส่หมวกให้ภูเขาหัวโล้น ฯลฯ

วิชาที่ 9/1 ศึกษาการพัฒนาชุมชนบ่อเกลือ โดยมัคคุเทศน้อย น้องมะลิ,น้องปาย,น้องหนูนา,น้องมิว และ พี่จุ๋ม ผู้ดูแลการบรรยาย

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

บ่อเกลือมีอยู่สองบ่อ คือ บ่อเกลือเหนือ และ บ่อเกลือใต้ โดยบ่อเกลือเหนือมีขนาดใหญ่ มีโรงต้มเกลืออยู่หลายโรง ส่วนบ่อเกลือใต้ มีโรงต้มเกลือน้อยกว่า ทั้งสองบ่อชาวบ้านยังใช้วิธีการต้มเกลือแบบโบราณในโรงเกลือที่ปิดมิดชิด ภายในมีเตาขนาดใหญ่ขึ้นรูปจากดินเหนียวสำหรับวางกะทะใบเขื่อง หรือกระทะแขวนตะกร้าไม้ไผ่สานใบเล็กๆ เพื่อใช้สำหรับบ่อเกลือ ชาวบ้านที่บ้านบ่อหลวง ทำการต้มเกลือสินเธาว์มาตั้งแต่โบราณหลายร้อยปีมาแล้ว

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

1.การพัฒนาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยยมชมความแปลกและวิถีของชุมชนแบบดั่งเดิมในการต้มเกลือสินเธาว์

2.การจัดจำหน่ายเกลือเพื่อการบริโภค และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เกลือ Value Creation เช่น เกลือสปาสมุนไพรระเบิดขี้ไคล,สบู่เกลือ,เกลือสปาแช่เท้าฯลฯ ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกลือ มากกว่า 10 เท่า

วิชาที่ 9/2 เยี่ยมชมโรงสีพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

โดย คุณจำนง ราชภัณฑ์ ประทานโรงสีฯ

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  • ข้อมูลทั่วไป

-ปี 2549 เกิดพายุพัดกระหน่ำทางตอนเหนือของจังหวัดน่าน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก

-สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มีพระราชดำริจัดตั้งโครงการกองทุน ข้าวพระราชทานและโรงสีข้าวพระราชทาน พระราชทานเงินกองทุนหมุนเวียน 500,000 บาท

-ปัจจุบันโรงสีข้าวพระราชทานมีสมาชิก จำนวน 1,169 คน มีคณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 15 คน มีทุนเรือนหุ้น 4,567,630 บาท มีทุนดำเนินงาน จำนวน 9,478,425.33 บาท มีรายได้ เป็นเงินกว่า 11 ล้านบาท

-โรงสีข้าว มีกำลังการผลิต จำนวน 1 ตัน/ชั่วโมง หรือ 8 ตัน/วัน และในปี 2556 ที่ผ่านมา ทางโรงสีได้รวบรวมข้าวจากสมาชิกเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นข้าวสาร แบ่งเป็น ข้าวเจ้า 300 ตันและข้าวเหนียว 200 ตัน

2.การดำเนินงาน

-การบริหารจัดการโรงสีข้าวพระราชทาน นำระบบสหกรณ์เข้าพัฒนาโดยมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทานการผลิตข้าว โดยเริ่มพัฒนาตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

-

§ระดับต้นน้ำ ให้สมาชิก คณะกรรมการและฝ่ายเจ้าหน้าที่โรงสี มีส่วนร่วมวางแผนการดำเนินงานควบคู่กับการส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ผลิตข้าวเพื่อป้อนโรงสีและส่งเสริมให้ชาวบ้านและนักเรียนได้นำวิธีการสหกรณ์ไปใช้พัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น เช่นส่งเสริมให้สมาชิกได้ทดลองปลูกข้าวจ้าวหอมมะลิพันธุ์ 108 ,ข้าวหอมนิล ,ข้าวพันธุ์ กข.49 ,ข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 และขายข้าวเปลือกให้โรงสีข้าวพระราชทาน

§ระดับกลางน้ำ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้สนับสนุนด้านการเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการโรงสีข้าวขนาดเล็กให้แก่ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานโรงสี โดยฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ด้านการบริหารโรงสี

§ระดับปลายน้ำ กรมส่งเสริมสหกรณ์ สนับสนุนให้กลุ่มโรงสีข้าวพระราชทานพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค และจัดทำบรรจุภัณฑ์ใหม่ เชื่อมโยงเครือข่ายตลาดข้าวสารและเมล็ดพันธุ์ข้าวกับสหกรณ์การเกษตรเพิ่มช่องทางการจำหน่ายข้าวสารของโรงสีข้าวพระราชทานให้มากยิ่งขึ้นจำหน่ายข้าวสารให้กับโรงพยาบาลจังหวัดน่าน หน่วยงานทหารบก ธนาคารออมสิน วัดพระธาตุแช่แห้ง โรงเรียนในอำเภอท่าวังผา อำเภอปัว อำเภอบ่อเกลือ ศูนย์จำหน่ายสินค้าโอทอปจังหวัดน่าน หน่วยงานราชการ และกองงานในพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

  • การก้าวสู่การเป็นองค์กรของชุมชนที่เข้มแข็ง ด้วยการนำกระบวนการสหกรณ์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ชนบท
  • การยึดหลักวิธีการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสมาชิก ให้ทุกคนได้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของการเป็นเจ้าของร่วมกัน ร่วมคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันบริหารงาน อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในอนาคตและเป็นฐานรากสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงต่อไป
  • มีการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ทางการตลาด กับการบริหารจัดการโรงสีฯ ได้เป็นอย่างดี
  • สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กองงานในพระองค์นำสิ่งของพระราชทานไปมอบให้ผู้ประสบภัยในพื้นที่ และได้ขอพระราชทานจัดตั้งโครงการกองทุนข้าวพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีขึ้น โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงิน ข้าวสารและเมล็ดพันธุ์ให้แก่กองทุนในเบื้องต้น เพื่อเป็นกองทุนข้าวสำรอง เพื่อช่วยเหลือตนเองของเกษตรกรที่ยากจนและผู้ประสบภัยพิบัติในอนาคตซึ่งเป็นพระมหากรุณา ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นห่วงประชาชน จึงเป็นโครงการที่มีคุณค่าทางจิตใจ สร้างความผูกพัน กับประชาชนในจังหวัดน่าน เป็นอย่างมาก

วิชาที่ 9/3 ศึกษาการพัฒนาโครงการพื้นที่บ้านน้ำป้าก โดย คุณวรพล ไชยสลี หัวหน้าหน่วยโครงการปิดทองหลังพระ

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

โครงการปิดทองหลังพระสืบสานตามแนวพระราชดำริ จังหวัดน่าน ใช้ดอยตุงโมเดล เป็นการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากลุ่มน้ำอย่างสมดุล ให้คนและป่าอยู่ร่วมกันและพึ่งพากันอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไปพร้อมกัน ตามแนวพระราชดำริ ปลูกป่า ปลูกคน และเป็นการใช้ 4 ศาสตร์พระราชา เช่น “ ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ” , “คนอยู่กับป่า”, “ปลูกป่า ปลูกคน” ,“การบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ โดยแก้ปัญหาทั้งลุ่มน้ำ” ,“สร้างป่า สร้างรายได้” และ การบริหารจัดการดอยตุงโมเดล 9 ขั้นตอน โดยผ่านฐานการเรียนรู้ 3 ฐาน คือ ฐานกระจก ,ฐานน้ำ ,ฐานเศรษฐกิจพอเพียง

สิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงาน

การดำเนินโครงการ 12 ปี มีความละเอียดอ่อนมากเนื่องจากต้องมีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่ทำกิน และการจัดการตามศาสตร์พระราชาก็เป็นคำตอบให้ชาวบ้านได้เห็นภาพว่าเขาได้อะไรในการดำเนินงานของเขานำไปสู่การปลูกป่าเศรษฐกิจที่ยั่งยืนต่อไป

พงษ์สิทธิ์ ศิริฤกษ์อุดมพร กลุ่ม 6

28 มีนาคม 2560 จ.น่าน

ได้มีโอกาสไปร่วมสัมมนาเพียงวันที่ 28 มีน่คม 2560 เพียงวันเดียวครับ
สิ่งที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. Social Acceptance

บทเรียนของ การสร้าง สถานีไฟฟ้าแรงสูง น่าน ทำให้เรียนรู้ว่า แต่ละย่างก้าวต่อไปของ กฟผ. ไม่ง่ายอีกต่อไป อย่าว่าแต่การสร้าง โรงไฟฟ้าเลย แม้กระทั่งการสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูง ที่ กฟผ. เคยเชื่อเสมอมาว่าเป็นเรื่องไม่ยากในแง่มุมด้านวิศวกรรม แต่ในด้านการยอมรับจากสังคมคงไม่เป็นเช่นนั้น ดังนั้นจากนี้ไป กฟผ. คงต้องมุ่งเน้นบทบาทต่อสังคม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ สร้างความเชื่อมั่น สร้างความเชื่อใจ และสร้างการยอมรับจากสังคม(Social Acceptance) ด้วยมาตรการเชิงรุกมากกว่าการตั้งรับเหมือนในอดีต

2. ชีววิถี โครงการในฝันของ กฟผ.

หมู่บ้านดงป่าสัก เป็นตัวอย่างที่ดี ในการรุกคืบต่อสังคม ด้วย โครงการชีววิถี ที่ กฟผ.ริเริ่มและทำมานาน ซึ่งต้องชู เศรษฐกิจพอเพียง ตามปรัชญาของในหลวง เป็นบทนำ เห็นตัวอย่างจริงที่ กฟผ. ไปดำเนินการที่บ้านของอดีตผู้ใหญ่บ้านแล้ว เห็นความหวังว่า สิ่งที่ กฟผ.ทำ น่าจะไปได้ถูกทาง เพราะด้วยพื้นที่ไม่มาก ทำโครงการชีววิถี เพื่อความพอเพียง พออยู่พอกิน สามารถอยู่ได้แบบสบายๆ จึงขอชื่นชม โครงการชีววิถีที่ กฟผ.ไปดำเนินการที่จังหวัดน่าน และให้กำลังใจทีมงานคน กฟผ.ที่เสียสละกำลังกายและกำลังใจครับ

ฤดีมาส ปางพุฒิพงศ์

สรุปการดูงาน จ.น่าน 28-30 มี.ค.60

จังหวัดน่านมีความสำคัญต่อกฟผ. และเกี่ยวข้องกับ หน่วยงานใน กฟผ.ถึง5 สายรอง โดย

1. เป็นจุดเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าหงสาไปที่แม่เมาะ สร้างความมั่นคงในระบบไฟฟ้าภาคเหนือ

2. น้ำจากแม่น้ำน่านไหลลงสู่เขื่อนสิริกิติ์ (45% ของแม่น้ำ เจ้าพระยามาจากน่าน)

3. กฟผ. มีแผนงานจะก่อสร้างสายส่งอีกเส้นทางผ่าน จังหวัดน่าน

4. หลายหน่วยงานในกฟผ.ได้ประสานงานกับจ.น่านทั้งในการ ปฏิบัติงานและการทำCSR ซึ่งแต่เดิมตั้งคนต่างทำต่อมาได้มีการบูรณาการงานทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน โดยร่วมกัน ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้จังหวัดน่านด้วยโครงการ ปลูกป่ากฟผ.

5. การปลูกป่าอย่างยั่งยืนของกฟผ. ได้นำเอาศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้ ประกอบด้วย3แนวทางคือ -ปลูกที่ท้อง(สร้างอาชีพสร้างรายได้) มีชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงของกฟผ.ที่จังหวัดน่าน -ปลูกที่ใจ(ให้ความรู้สร้างจิตสำนึก) มีโครงการ กล้าดีที่สนับสนุนให้เด็กคิด เด็กทำ เด็กพูดเพื่อรักษาทรัพยากรป่าไม้จังหวัดน่าน -ปลูกในป่า(จ้างชุมชนปลูกและดูแลรักษาป่า)รวมทั้งร่วมกิจกรรมปลูกป่ากับเครือข่ายต่างๆในจังหวัดน่าน. สิ่งที่พบในการดูงาน : การทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย/ความสำคัญของงาน CSR /ผู้บริหารยังให้การสนับสนุนงานน้อยกว่าที่ควร โดยเฉพาะ โครงสร้างงานด้านชุมชนยังไม่มี ขาดงบประมาณและความคบ่องตัวในการทำงาน

6. ปัญหาและอุปสรรคชุมชนต่อต้านเรื่องเสียง เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องความกลัวต่างๆเช่น กลัวเป็นมะเร็งกลัวฟ้าผ่า การแก้ไขไปคุยชี้แจงยกตัวอย่าง ใช้คนในพื้นที.

พบผวจ.น่าน

ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าน่าน มาจากปัญหาเรื่องที่ทำกิน จังหวัดน่านมีพื้นที่ทำกินเพียง 10% ที่เหลือนอกนั้นเป็นป่า จึงพบการบุกรุกพื้นที่ป่าเป็นจำนวนมาก การแก้ปัญหาจึงควรเริ่มที่การสร้างอาชีพสร้างรายได้และสร้างมูลลค่าเพิ่มให้ที่ทำกินที่มีอยู่เดิมเพื่อไม่ให้เกิดการบุกรุก

ผู้ว่าฯเคยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่าที่โรงไฟฟ้าบางปะกงมีกองทุนพัฒนาพื้นที่รอบรฟฟ. ทุกพื้นที่มีไฟฟ้าใช้ แต่ที่จังหวัดน่านชุมชนที่อยู่ใกล้แนวสายส่งกลับไม่มีไฟฟ้าใช้อยากให้ กฟผ.ช่วยดูแลเรื่องนี

การดูงานทั้งชุมชนที่กฟผ.สนับสนุนและชุมชน ที่ปิดทองหลังพระสนับสนุน

ล้วนเป็นชุมชนที่ดูแลรักษาป่า ด้วยจิตสำนึกและด้วยความสามัคคีโดยเฉพาะผู้นำชุมชนต่างๆ มีภาวะผู้นำสูงและมีความเสียสละมุ่งมั่นเพื่อส่วนรวม แม้ว่า หลายชุมชนมีแรงผลักดันจากความผิดพลาดในอดีตแต่ก็ยังมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขจนประสบความสำเร็จในที่สุด

สิ่งที่ได้รับจากการดูงาน:

1. การทำCSR ต้องอาศัยความร่วมมือในลักษณะพันธมิตรร่วมกันทำ =ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี ไม่ใช่การบริจาคอย่างเดียว

แต่อย่างไรก็ตามจะต้องใช้งบประมาณ ที่เหมาะสม

2. การเข้าถึงชุมชนต้องพิจารณาความต้องการของชุมชนเป็นหลักไม่ใช่ความต้องการของเราที่อยากจะทำ

3. ป่าต้องอาศัยชุมชนดูแล และ ชุมชนต้องอาศัยป่า+ตระหนักถึงความสำคัญของป่า

4. ประทับใจบ้านห้วยหาดที่สุด

-พัฒนาคนก่อน +คุณธรรม

-ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน

-ใช้ปรัชญาในหลวง

-ความเป็นผู้นำที่นุ่มนวลของผู้ใหญ่บ้าน

-ความเสียสละเป็น❤️ของความสำเร็จ

บทเรียนที่ได้จากคุณหมอบุญยงค์วงศ์รักมิตร:

1. ความไว้ใจสำคัญที่สุดในการทำงานดังเช่นที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ตรัสว่า..."ฉันไว้ใจเธอ"เมื่อได้มอบหมายงานสำคัญให้คุณหมอทำ

2.การทำงานให้สำเร็จตาม วัตถุประสงค์ขององค์กร ต้องอาศัยความร่วมมือกับคนรอบข้าง

3.ให้ความเคารพเพื่อนร่วมงาน ไม่ใช่ลูกน้อง

4. ในหลวงรัชกาลที่เก้าเป็นแบบอย่างของความทุ่มเทเสียสละ ที่ได้เสด็จมาในพื้นที่อันตรายของจังหวัดน่านกว่า 10 ครั้งครั้งสำคัญคือครั้งที่มีนายทหารยศพันโทมาขอฮ.ไปช่วยลูกน้อง ในหลวงราชินีขึ้นฮ.ไปรับ และทรงมีเมตตาเห็นความสำคัญของ ชีวิตผู้ใต้บังคับบัญชา

5. ความหมายของคำว่า "คุณค่า " คือสำคัญ มีประโยชน์

การได้มาสัญจรจังหวัดน่าน ในครั้งนี้ ทำให้เราได้มองเห็นความเข้มแข็งของชุมชน ที่ยึดถือเอาแนวทางพระราชดำริมาพัฒนาชุมชน ได้เห็นภาวะผู้นำในชุมชน ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยมีจุดมุ่งหมาย ที่จะเอาชนะความยากจน ความยากลำบาก โดยการยกระดับชีวิตชุมชน สร้างความรู้ ความเข้าใจ มีการส่งเสิมอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ เช่น บ้านห้วยหาด บ้านน้ำป้าก หรือ พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่น ชุมชนบ่อเกลือ มีการจับกลุ่มเพื่อตั้งเป็นสหกรณ์ เช่น โรงสีพระราชทาน เป็นต้น โดยความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ต้องมีการบริหารเครือข่ายในชุมชน เมื่อประชาชนอิ่มท้องมีรายได้ ความเป็นอยู่ดีขึ้น การบุกรุกทำลายป่า การทำไร่เลื่อนลอย ก็ลดลง แล้ว กฟผ ได้บทเรียนอะไรจากการไปดูงานครั้งนี้ สิ่งแรกคือ การเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น การสร้างเครือข่าย ความร่วมมือ กับหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานอื่น เพื่อผลักดันให้ กฟผ เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน โดยเป้าหมายของเราคงหนีไม่พ้น การสร้างการยอมรับจากประชาชน นั่นเอง

นายชัยโรจน์ ปานพรหมมินทร์

สรุปบทเรียนที่ได้เรียนรู้ วันที่ 28 29 30 มี.ค. 2560

1. สฟ. น่าน

สฟ. น่าน แต่เดิมเป็นสถานีไฟฟ้าแรงสูงที่มีระบบไฟฟ้าขนาดแรงดัน 115 kV สำหรับจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้จังหวัดน่าน โดยรับพลังงานไฟฟ้า จาก จังหวัดแพร่ แต่ภายหลังได้มีการก่อสร้างขยายเพิ่มระบบ 500/230 kV นอกจากงานก่อสร้าง สถานีไฟฟ้าแรงสูงแล้ว ยังมีงานก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 500 kV จาก ชายแดนไทย-ลาวเชื่อมต่อกับ สฟ. น่าน และสายส่งจาก สฟ.น่านเชื่อมต่อกับ สฟ. แม่เมาะ3 เป็นการเชื่อมโยงกับระบบไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าหงสาจากประเทศลาวกับระบบไฟฟ้า 500 kV ของประเทศไทยเพื่อส่งพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าหงสาให้กับประเทศไทย

สำหรับจังหวัดน่านจะได้รับผลพลอยได้จากระบบส่งไฟฟ้า 500 kV ดังกล่าว เนื่องจากได้เชื่อมต่อระบบไฟฟ้า 115 kVเดิม เข้ากับระบบ 500 kV ทำให้ระบบไฟฟ้าสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้จังหวัดน่านได้มากขึ้นและมั่นคงมากขึ้น

ชุมชนรอบสถานีไฟฟ้าแรงสูงได้รับผลกระทบเนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในสถานีไฟฟ้ามีเสียงดัง ซึ่งในเวลากลางคืนจะสามารถได้ยินชัดเจน ทั้งที่ระดับเสียงไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่ กฟผ. ได้ดำเนินการสร้างกำแพงกันเสียงเพื่อลดปัญหาดังกล่าว

2. บ้านดงป่าสัก

1. นายไพศาล วิมลรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน

ปัญหาเรื่องป่าไม้ของจังหวัดน่านนับเป็นปัญหาระดับประเทศเนื่องจากเป็นป่าต้นกำเนิดลุ่มน้ำน่านซึ่งเป็นต้นน้ำสายสำคัญของประเทศ ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้มีปริมาณลดลงเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะต้องมีแนวทางลดการทำลายป่าไม้ และ แนวทางการฟื้นฟูพื้นที่ป่าที่ได้รับความเสียหายไปฟร้อมๆ กัน ปัจจุบันเดิมที่เป็นป่าดงดิบ และมีต้นน้ำลำธาร ในพื้นที่ของ จ. น่าน มีปริมาณลดลงเนื่องจากมีการทำลายป่าเป็นพื้นที่ทำกิน

แนวทางการแก้ไขปัญหาป่าไม่จังหวัดน่านตามแนวทางของผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องแก้ปัญหาประชาชนที่อยู่ในพื้นให้ได้ต้องทำให้เกิดความสมดุลระหว่างประชาชนในพื้นที่กับป่าไม้ ให้ประชาชนในพื้นที่ดูแลป่าไม้ได้ด้วยตนเอง ทางราชการต้องให้ความเป็นธรรมกับประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ป่ามายาวนานก่อนที่ประกาศพื้นที่เป็นเขตป่าไม้ และให้ความช่วยเหลือในการประกอบอาชีพที่ไม่ผิดกฎหมายบ้านเมือง ให้ความรู้เรื่องป่าไม้เพื่อที่จะได้ช่วยดูแลได้ถูกหลักวิธี โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ป่าต้นน้ำ

ปัญหาหมู่บ้านตามแนวพื้นที่สายส่งไฟฟ้าของ กฟผ. ไม่มีไฟฟ้าใช้ ก็เป็นตัวอย่างที่ กฟผ. จะต้องหาแนวให้ความช่วยเหลือเนื่องจากชาวบ้านดังกล่าวได้รับผลกระทบ แต่ไม่ได้ประโยชน์จากโครงการเลย

2. นายเกตุศร รบศึก ผู้ใหญ่บ้าน

บ้านดงป่าสักมีการจัดการที่ดินโดยแบ่งขอบเขตชัดเจน ไม่มีการบุกรุกป่า แต่การจัดเวรยามเพื่อดูแลรักษาป่า มีส่งเสริมอาชีพให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้ มีธนาคารต้นไม้เพื่อเสริมการดูแลรักษาป่า

มีการอบรมให้ความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการฯ เน้นทั้งวิชาการและการปฏิบัติจริง เช่นเป็นการอบรมครึ่งวัน และให้ความรู้แบบเจาะประเด็น ตัวอย่างที่ทำจะเป็นการอบรมครึ่งวันเช้า และตอนบ่ายจะลงมือปฏิบัติจริง

มีพื้นที่ต้นแบบเพื่อการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการลดค่าใช้จ่าย การเลี้ยงสัตว์ มีการสอนการใช้จุลินทรีย์ต่าง ๆ มีผู้เชี่ยวชาญมาสอนที่บ้านหล่มสัก

3. Dinner Talk หัวข้อ ประสบการณ์ของข้าพเจ้า...กับการทรงงานตามศาสตร์พระราชา

นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร

ท่านเป็นตัวอย่างของข้าราชการที่มีความเสียสละ การครองตนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และยุติธรรม มีความทุ่มเททำงานช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยในท้องที่ห่างไกลความเจริญทำงานโดยที่ไม่หวังผลตอบแทนหรือลาภยศ และได้บรรยายกล่าวถึงความทุ่มเทในการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 พระองค์ท่านเสด็จมาที่จังหวัดน่าน 23 ครั้ง มาเยี่ยมที่โรงพยาบาล และประชาชนในหลายพื้นที่

4. ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาห้วยหาด ต. อวน อ. ปัว จ. น่าน

ผู้ใหญ่บ้านนัยนา ฑีฆาวงศ์

สำหรับการเป็นนักปกครองหญิงท่านนี้มีความสามารถเปี่ยมล้นไม่แพ้ผู้ชายเลย สามารถนำพาและพัฒนาชุมชนให้ลูกบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และสามารถเป็นแบบอย่างให้ชุมชนอื่นๆ สามารถนำเป็นต้นแบบไปใช้พัฒนาต่อยอดได้อีก โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ที่บ้านห้วยหาดให้ทุกคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารและการพัฒนา บริหารให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ให้ประชาชนมีรายได้และสามารถดำรงค์ชีพอยู่ได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5. ศึกษาการพัฒนาชุมชน อ. บ่อเกลือ

ชมบ่อเกลือสินเธาว์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและชมผลิตภัณฑ์จากเกลือสินเธาว์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน นับว่าเป็นรูปแบบตัวอย่างของการจัดการที่สามารถจะทำให้ธุระกิจที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ สามารถดำเนินต่อเนื่องไปได้ดีในยุกต์ปัจจุบัน มีการนำเสนอภูมิปัญญาความรู้ในสมัยโบราณ และ การส่งเสริมการสร้างงานให้เยาวชนทำงานรองรับการท่องเทียวซึ่งจะทำให้เยาวชนมีความรักและความผูกพันธ์กับท้องถิ่นตัวเอง เสริมสร้างประสบการณ์และได้เงินทุนสำหรับการศึกษาเพื่อความมั่งคั่งในอนาคต.

6. เยี่ยมชมโรงสีพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

คุณจำนง ราชภัณฑ์

จากวิกฤติปัญหาน้ำท่วม กลายเป็นโอกาสในการแก้ไขปัญหาเรื่องข้าวให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน และ พัฒนาอย่างต่อเนื่องเสริมความมั่นคงให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ จัดตั้งโรงสีในรูปสหกรณ์และให้ชาวบ้านสามารถซื้อหุ้นของโครงการ เพื่อสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นเจ้าของโรงสีให้กับชาวบ้านทุกคน และได้รับส่วนแบ่งกำไรจากปันผลจากการดำเนินธุระกิจอีกด้วย นับเป็นโครงการแบบอย่างให้ชุมชนอื่นๆ สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบการพัฒนาได้เป็นอย่างดี

7. ศึกษาการพัฒนาโครงการพื้นที่บ้านน้ำป๊าก ต.ตาลชุม อ. ท่าวังผา

คุณวรพล ไชยสลี

เป็นโครงการแก้ไขปัญหาป่าไม้ของจังหวัดน่านโดยใช้ดอยตุงโมเดล ที่เป็นการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากลุ่มน้ำอย่างสมดุล ให้คนและป่าอยู่ร่วมกันและพึ่งพากันอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไปพร้อมกัน วิทยากรได้นำเสนอลำดับการพัฒนาโครงการซึ่งต้องใช้เวลายาวนานนับสิบปีโดยมีเป้าหมายให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีการใช้และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ สูงสุด การพัฒนาไม่ใช่แต่เป็นการพัฒนาพื้นที่ป่าไม้แต่เพียงอย่างเดียว มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตและวิถีความคิดและความเป็นอยู่ของประชาชนในโครงการด้วย ใช่ว่าการพัฒนาป่าไม้จะเกิดประโยชน์กับชุมชนที่อยู่ตามลุ่มน้ำที่ป่าเป็นต้นน้ำเท่านั้น ป่าไม้ที่เป็นผลงานชุมชนที่สามารถนำกลับคืนมา ชุมชนจะได้รับผลประโยชน์โดยตรง และได้รับผลประโยชน์มากสุด

ความมุ่งมั่นของทีมงานพัฒนานับเป็นกรณีศึกษา ความสามารถจูงใจให้ชาวบ้าน (นายหมื่น อนันต์) ที่แต่เดิมคิดเฉพาะการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพียงอย่างเดียว กลับเป็นความศรัทธาความเชื่อมั่นที่ยอมปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาตามโมเดล ส่งผลให้การพัฒนาโครงการให้สำเร็จตามที่ต้องการและประชาชนมีเป็นอยู่ดีขึ้น ไมเป็นหนี้สิน

นายสายัณห์ คะเชนทร์

น่าน

1.สฟ.น่าน

ก่อนนี้ชาวน่านใช้ไฟจาก กฟภ. ด้วยการปั่นไฟด้วยเครื่อง Diesel Gen ต่อมาประมาณ 2528 กฟผ.ได้ก่อสร้าง สฟ.น่าน 115 kv รับไฟแบบ Radial Line จาก สฟ.แพร่ และปี 2558 ก่อสร้าง 550kv รับพลังงานไฟฟ้าจาก รฟ.หงสา ส่งให้ แม่เมาะ 3

ประเด็นน่าสนใจ

1.ที่ดินเอกชนประมาณ 2 ไร่ อยู่ใจกลางที่ดินเกือบ 200 ไร่ ของ กฟผ.ไม่มีที่ไหนเป็นแบบนี้ ในการขยาย สฟ.การจัดหาที่ดินหากเกิดอุปสรรคในการจัดซื้อ ไม่สามารถขยายออกได้ สามารถเปลี่ยนตำแหน่งจัดหาแปลงใหม่ได้

2.ปัญหาเสียงดังของ Shunt Reacter รบกวนชาวบ้าน

- เสียงไม่เกินข้อกำหนดกฎหมาย..

- การแก้ไขปัญหาโดย กฟผ.ลงทุนร่วม 20 ล้านเพื่อติดตั้งกำแพงกั้นเสียง..ใช้เป็นต้นแบบในการแก้ปัญหา

- การให้ข้อมูลกับชุมชน

2.บ้านดงป่าสัก

กฟผ.ได้นำโครงการชีววิถีมาเผยแพร่ให้กับชุมชนที่นี่ ซึ่งเป็นชุมชนที่ร่วมมือดูแลป่าที่ กฟผ.ปลูก แต่ชาวบ้านได้นำไปปฏิบัติน้อยมากเพียง 14 ครอบครัว และมีเจตจำนงค์เพิ่มเป็น 21 ครอบครัวในปีนี้

ชาวบ้านยังเข้าถึงเศรษฐกิจพอเพียงน้อย

3.บ้านห้วยหาด

เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นต้นแบบของชุมชนที่อยู่ร่วมกับป่าแบบพึ่งพากันและกัน

4.บ้านบ่อเกลือ

ชุมชนเลี้ยงตัวเองได้ ผืนป่ายังอุดมสมบูรณ์

5.ปัว

ผ่านป่าที่ถูกทำลายเป็นหมื่น เป็นแสนไร่ ได้พบกับวัฒนธรรมชาวเหนือ

6.โรงสีพระราชทาน

กลุ่มชาวนาได้รวมกลุ่มกันตามโครงการพระราชดำริ มีการนำระบบสหกรณ์เข้ามาจัดการ คุณภาพชีวิตที่ดี มีทุนดำเนินงานประมาณ 10 ล้าน ทุนเรือนหุ้นประมาณ 5 ล้าน สมาชิก 1200 ครัว

เป็นโครงการที่ยิบยื่นโอกาสให้ชาวบ้านยืนด้วยลำแข้งตัวเองอย่างมั่นคง เงินลงทุนต่อครัวเรือนไม่ได้สูงมากมาย ภาครัฐควรนำเป็นแบบอย่างในการสร้างความอยู่ดีกินดีของประชาชน

7.บ้านน้ำป๊าก

โครงการติดทองหลังพระ

จากสภาพป่าที่ถูกทำลายวันละ 190 ไร่ ความแห้งแล้ง อุทกภัย ระบบนิเวทศ์วิทยาที่ถูกทำลาย ปัญหาน้ำที่เป็นต้นทุนของทุกชิวิต คำตอบมีให้ที่นี่ เป็นโครงการพระราชดำริอีกแล้ว รัฐอยู่ที่ไหน ทำอะไร

ขยายผลโครงการนี้ทุกพื้นที่ของประเทศ หยุดการบุกรุกทำลาย รักษาผืนป่าไว้ เพิ่มพื้นที่ป่า ทำเดี่ยวนี้

การเผาป่าเปิดพื้นที่เพื่อทำไร่ข้าวโพด...ใครซื้อ ซื้อทำอะไร หยุดซื้อ ก็หยุดปลูก ก็หยุดบุกรุก ..

เสนอให้ กฟผ.สนับสนุนโครงการติดทองหลังพระอย่างเต็มที่ นำโครงการชีววิถี กฟผ.เข้ามาขยายผลให้ชาวบ้านทุกครัวเรือน

มีป่า มีน้ำ ชุ่มชื่น ไม่มีอุทกภัย

ชัยพร รัตนกุล EADP 13 กลุ่ม 2

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้ารับการอบรม EADP 13 วันที่ 28-30 มีนาคม 2560 ที่ จ.น่าน

1.การเข้าเยี่ยมชมสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน ทำให้รับรู้ว่าการให้ข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งสำคัญ ที่ กฟผ.ต้องคำนึงถึงและให้ความรู้ความเข้าใจกับชุมชนและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยที่ผ่านมา กฟผ.มีแผนงานในการจัดซื้อที่ดินเพื่อใช้ในการสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน แต่ชุมชนต่อต้านเนื่องจากมีข่าวว่า กฟผ.จะซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทำให้ต้องเสียเวลาในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และส่งผลต่อแผนงานก่อสร้าง ดังนั้น กฟผ.ต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับทุกภาคส่วนและแสดงความบริสุทธิ์ใจ ความจริงใจ ในการดำเนินการใดก็ตาม

2.ประสบการณ์ที่ได้รับจาก นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร เป็นประสบการณ์ที่น่าประทับใจและภาคภูมิใจ ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงห่วงใยประสกนิกร อีกทั้งยังได้มอบทุนส่วนพระองค์ เพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงพยาบาลน่าน ในการรักษาผู้ป่วยเจ็บจากโรคภัยและการสู้รบกับข้าศึก พร้อมทั้งยังได้รับความไว้วางใจให้คุณหมอดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลโดยไม่ผ่านภาครัฐ ด้วยทรงเชื่อใจในตัวคุณหมอ ทำให้คุณหมอเกิดแรงบันดาลใจและพลังในการดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลจนประสบความสำเร็จ เป็นตัวอย่างอันดีของผู้บังคับบัญชาที่ต้องให้ความเชื่อมั่นและไว้วางใจในการมอบหมายงานชิ้นสำคัญให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาที่เห็นว่ามีความรู้ความสามารถเพื่อช่วยกันขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายและประสบความสำเร็จต่อไป

3.โครงการพัฒนาห้วยหาด ของผู้ใหญ่บ้าน นัยนา ทีฆาวงศ์ เป็นตัวอย่างของการดำเนินงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ ป่าไม้ อาชีพและการพัฒนาคุณภาพชีวิต อันทำให้เห็นว่า ผู้นำต้องมุ่งมั่นและทุ่มเท ต้องทำจริงๆให้เห็นเป็นตัวอย่าง ผู้นำต้องทำให้เห็นเป็นตัวอย่างก่อนโดยการทำให้เห็นจริงว่าสิ่งที่บอกหรือถ่ายทอดนั้นสามารถปฏิบัติให้เป็นจริงได้ เพื่อให้ลูกบ้านได้เรียนรู้และเข้าใจ เกิดความศรัทธาเชื่อมั่นและทำตาม

4.โครงการพื้นที่บ้านน้ำป๊าก เป็นหมู่บ้านนำร่องของโครงการปิดทองหลังพระ ตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9เป็นตัวอย่างของวิถีชีวิตที่ใช้แนวเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต ไม่จำเป็นต้องร่ำรวย แค่มีกินมีใช้ ไม่มีหนี้ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความพอเพียงไม่ฟุ่มเฟือย มีความสุขที่ยั่งยืน

นัฐวุธ พิริยะจิตตะ ช.อบค-ว. กลุ่ม 3

สรุปประเด็นการเรียนรู้ จังหวัดน่าน วันที่ 28-30 มีนาคม 2560

1 ผู้นำท้องถิ่นหรือผู้นำชุมชน มีลักษณะ ดังนี้

  • ทำงานด้วยใจ มีความตั้งใจ มีความมุ่งมั่น
  • มีความเสียสละ
  • มีความยุติธรรม สร้างความรู้รักสามัคคี
  • สร้างทีมงาน เน้นการทำงานอย่างมีระบบและมีความยุติธรรม มีกิจกรรมรองรับ เพิ่มรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน
  • ต้องให้ชาวบ้าน พอมี พอกิน พอใช้ ก่อน ถึงจะทำงานพัฒนา สร้างความเจริญทางเศรษฐกิจชั้นสูงต่อไป
  • เน้นการพัฒนาคน พัฒนาทุนมนุษย์
  • การพัฒนาชุมชนได้ถูกการพัฒนาและเติบโตมาจาก การต่อสู้ในอดีตที่ถุกรุกรานจากพรรคคอมมิวนิสต์ การเป็นหมู่บ้านกันชน การถูกรุกราน ความยากจนในอดีต การเรียนรู้และความผิดพลาดจากการตัดไม้ทำลายป่า การทำไร่เลื่อนลอยเช่น การปลูกข้าโพด ปัญหายาเสพติดในหมูบ้าน ทำให้ผู้นำชุมชนและชาวบ้านมีบทเรียน และมีพลังในการต่อสู้จนเป็นหมู่บ้านตัวอย่าง
  • มีศูนย์รวมใจในการดำเนินการด้านประชารัฐ คือนำนโยบายภาครัฐมาปฏิบัติอย่างจริงจัง ประกอบกับใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียงจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มายึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติ
  • มีและใช้พันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการขับเคลื่อนแผนในการดำเนินงาน
  • มีการวางแผน มีการประชุม มีทิศทางในการดำเนิงาน มีความร่วมมือจากลุกบ้านเป็นอย่างดี

2 กฟผ. ควรเร่งรีบในการสร้าง Social Trust อย่างจริงจัง ให้ประชาชนหรือชาวบ้านเห็นความมุ่งมั่นในการสร้าง หรือพัฒนาสังคม ชุมชนอย่างต่อเนื่อง มั่นงคง ยั่งยืน และมีการขยายผลแบบ ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

3 เรียนรู้โครงการชีววิถี วิสาหกิจชุมชน ทั้งชุมชนบ้านดงป่าสัก บ้านห้วยหาด และบ่อเกลือ และชุมชนบ้านน้ำป้าก โครงการต้นแบบต่างๆเหล่านี้ ถ้ามีภาครัฐหรือองค์กรใหญ่เช่น กฟผ. ปตท. กฟน. กฟภ. มาพัฒนา สร้างอาชีพ สร้างเป็นแผล่งท่องเที่ยว พัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้เติบโตเดิบใหญ่ได้เป็นอย่างดี สร้างเป็นหมู่บ้านตัวอย่างให้ทุกชุมชนมาศึกษาดูงานและเรียนรู้ เกิดเป็นวัฏจักรในการสร้างรายได้ได้อย่างมั่นคงและมั่งคั่ง รวมทั้งได้ Social Trust จากประชาชนในหมู่บ้าน และขยายตัวในการยอมรับของชุมชนในภาพตำบล อำเภอ จังหวัด จะเป็นสิ่งที่ดีเยี่ยมในการทำงานด้าน CSR ได้เป็นอย่างดี

นายทิเดช เอี่ยมสาย กลุ่ม 6

สาระสำคัญในวันที่ 28-30 มีนาคม 2560

ภาพรวมของการศึกษาดูงานสู่แนวทางการพัฒนา CSR ของ กฟผ. ที่จังหวัดน่าน: ภาพรวมในมุมมองของผม อยู่ในระดับ ปานกลางถึงดี เนื่องจากเป้าหมายและจุดประสงค์ของการเรียนรู้นอกห้องเรียน ไม่ค่อยชัดเจน และกิจกรรม ค่อนข้างแน่น ทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าในช่วงท้ายๆ กิจกรรม แต่อย่างไรก็ตามการได้เรียนรู้ในสิ่งที่แตกต่าง จากมุมมองในประสบการณ์ของตนเอง ได้ช่วยกระตุ้นความคิด ให้เกิดการค้นคว้าและเรียนรู้มากขึ้น ได้เห็นแนวคิดของการ ส่งใจถึงจากของผู้นำสู่สมาชิกในกลุ่ม ที่จะร่วมมือร่วมใจ ช่วยกันฝ่าฟันปัญหาเพื่อไปสู่ความสำเร็จด้วยกัน

สิ่งที่ได้มากกว่าความรู้.. จากการสัญจรสู่จังหวัดน่าน: Connection ระหว่างผู้เข้าอบรมด้วยกัน มีเพิ่มมากขึ้น อย่างเห็นได้ชัด ถือว่าเป็นสิ่งดีๆ อันดับแรกในการเรียนรู้ครั้งนี้

การที่จะผูกใจคนนั้น องค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับการที่ผู้นำจะให้ผู้ตามมีความเชื่อมั่น ที่จะร่วมมือร่วมใจที่จะทำงานเหล่านั้นให้สำเร็จได้ คือการเสียสละ และการจริงใจ

นายสุธีร์ พร้อมพุทธางกูร กลุ่ม 6

28 มีนาคม 2560

ศึกษาดูงาน ที่ สฟ.น่าน

จากการศึกษาดูงานที่ สฟ.น่าน จะพบว่าปัจจุบัน การต่อต้านลามมาถึงงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงแล้ว ต่างจากอดีตที่ต่อต้านเฉพาะสายส่ง ซึ่งเป็นสัญญาณว่า งานก่อสร้างระบบส่งของ กฟผ. จะพบกับความยากลำบากมากยิ่งๆ ขึ้น ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในด้านนี้ ต้องตระหนัก และให้ความสำคัญต่อชุมชนมากยิ่งขึ้นด้วย

ต่อด้วยบ้านดงป่าสัก โครงการหมู่บ้าน กฟผ. วิถีพอเพียง โดยมี คุณไพศาล วิมลรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน

มีประเด็นที่ชวนคิด คือ ในระยะเวลา 30 ปี ภูเขา จ. น่าน เป็นภูเขาหัวโล้นเกือบทั้งจังหวัด เนื่องจากพื้นที่ทำกินที่ถูกต้องมีน้อย ชาวบ้านจึงจำเป็นต้องบุกรุกพื้นที่ป่า ซึ่งจะต้องแก้ไขโดยเร็ว แนวทางหนึ่งที่น่าทำคือ ให้คนอยู่ร่วมกับป่า ดูแลรักษาป่า และมีอาชีพในป่า โดยจังหวัดกำกับดูแลให้เป็นไปตามนโยบาย

จากการพบกับผู้ใหญ่หมาน จะพบว่ายังมีกลุ่มคนที่ตั้งใจพัฒนาอาชีพตนเอง เพื่อจะได้ไม่ต้องบุกรุกป่า โครงการชีววิถี ของ กฟผ. เป็นโครงการหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของชาวบ้านได้โดยตรง จึงควรขยายขอบเขตและประชาสัมพันธ์ให้แพร่หลายมากขึ้น

Dinner Talk กับ นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร ที่ปรึกษาสถาบันปิดทองหลังพระ

ได้เห็นตัวอย่างบุคคลที่ทำงานด้วยความมุ่งมั่น ซื่อสัตย์ สุจริต ให้ความเคารพผู้ร่วมงาน โดยไม่หวังผลตอบแทน ซึ่งควรยึดถือเป็นแบบอย่าง

29 มีนาคม 2560

ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาห้วยหาด ตามแนวพระราชดำริของรัชการที่ 9

เป็นการพัฒนาโดยมีเป้าหมาย หยุดการบุกรุกทำลายป่า จัดระเบียบที่ทำกินของชุมชน พัฒนาและให้ความรู้เกษตรกร ให้สามารถทำการเกษตรบนพื้นที่สูง หยุดการใช้สารเคมี และคืนพื้นที่ป่าไม้

ศึกษาการพัฒนาชุมชน อ.บ่อเกลือ

ได้รู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนบ่อเกลือ การพัฒนาชุมชนซึ่งเป็นแหล่งผลิตเกลือสินเธาว์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว และทำรายได้ให้ชุมชนเพิ่มขึ้น

30 มีนาคม 2560

เยี่ยมชมโรงสีพระราชทานสมเด็จพระเทพราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

จากการเยี่ยมชมโรงสี เห็นว่าเป็นแนวทางช่วยเหลือชาวนาที่ดีมาก ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการการปลูกข้าวได้ โดยการสนับสนุนให้จัดตั้งสหกรณ์ผู้ปลูกข้าวทุกอำเภอมีชาวนาในอำเภอเป็นสมาชิก รวมสหกรณ์อำเภอจัดตั้งเป็นสหกรณ์ จังหวัด มีสหกรณ์อำเภอเป็นสมาชิก และให้หน่วยงานราชการในจังหวัดที่จำเป็นต้องซื้อข้าว เช่นเรือนจำ โรงเรียน ให้ซื้อข้าวผ่านสหกรณ์จังหวัดนั้น และการอุดหนุนช่วยเหลือเกษตรกร ก็อุดหนุนผ่านสหกรณ์ ผลประโยชน์ก็จะตกถึงชาวนาจริงๆทุกคน

ศึกษาการพัฒนาโครงการพื้นที่บ้านน้ำป้าก ต.ตาลชุม อ.ท่าวังผา

โครงการบ้านน้ำป้าก เป็นโครงการหนึ่งที่นำศาสตร์พระราชา มาใช้ในการพัฒนา คือ เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา ตามแนวทาง ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ ปลูกไม้ใช้สอย ไม้กิน ไม้เศรษฐกิจ โดยประโยชน์ที่ได้รับ 4 อย่าง ได้แก่ รองรับระบบชลประทาน อุดช่วงไหล่ตามร่องหวย รับน้ำฝน และ ได้ระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ

โดยมีหลักคิด คือ เมื่อคนได้ประโยชน์จากป่า ป่าก็อยู่ได้

นายประสาท จันทร์เพ็ญ กลุ่ม5

สรุปการเรียนรู้การศึกษาดูงาน จ.น่าน (28-30 มีนาคม 2560)

1. สถานีไฟฟ้าแรงสูง กฟผ. จังหวัดน่าน เป็นสถานีไฟฟ้าแรงสูง ที่มีระบบไฟฟ้าที่มีการเชื่อมโยงกับระบบไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสาลิกไนต์ สปป.ลาว เพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนั้น สถานีไฟฟ้าแรงสูง กฟผ. จังหวัดน่านต้องรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย ถึงแม้เสียงที่เกิดจาก Shunt Reactor ไม่เกินค่ามาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด โดย กฟผ. สร้างแนวกำแพงกันเสียง

2. บ้านดงป่าสัก เป็นหมู่บ้านในโครงการหมู่บ้าน กฟผ. วิถีพอเพียง โดย กฟผ. นำโครงการชีววิถีมาเผยแพร่ให้กับชุมชนที่นี่ ซึ่งมีครัวเรือนเข้าร่วมโครงการแล้ว 14 ครัวเรือน จากทั้งหมด 145 ครัวเรือน นับว่ายังน้อยมาก และมีโอกาสได้เยี่ยมชมครัวเรือนตัวอย่าง มีฐานการเรียนรู้ 4 ฐาน

ฐานที่ 1 : ชีววิถีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ฐานที่ 2 : การเลี้ยงวัว

ฐานที่ 3 : การเลี้ยงสัตว์น้ำ

ฐานที่ 4 : ธนาคารต้นไม้

3. Dinner Talk ประสบการณ์ของนายแพทย์บุญยงค์ วงศ์รักมิตร ที่ปรึกษาสถาบันปิดทองหลังพระ

ท่านได้ทุ่มเทชีวิตรับราชการจนเกษียณอายุที่ รพ.น่าน โดยท่านเล่าประสบการณ์การทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 และ ท่านยังได้กล่าวถึงการทุ่มเทในการทรงงานของรัชการที่ 9 ที่เสด็จมา จ.น่านถึง 23 ครั้ง และทรงเยี่ยมทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากสนามรบ นายแพทย์บุญยงค์ได้ยึดหลักการครองตนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และยุติธรรม

4. โครงการพัฒนาห้วยหาด ตามแนวทางพระราชดำริ

บ้านห้วยหาดเป็นหมุ่บ้านตัวอย่างที่ดำเนินการที่มีการพัฒนาดำเนินการตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9

- พัฒนาป่าไม้/แหล่งน้ำ ควบคุมการบุกรุกพื้นป่า คืนผืนป่าไม้ ทำฝาย

- พัฒนาอาชีพ : ปลูกพืชเศรษฐกิจ เลี้ยงสัตว์ ทำไม้กวาด สิ่งทอ

- พัฒนาคุณภาพชีวิต : ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน

ความสำเร็จของโครงการห้วยหาดพัฒนา เป็นความสามารถของผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้านนัยนาที่มีความตั้งใจจริง และทำตัวเป็นแบบอย่าง ประกอบการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่าง ๆ)

5. โครงการพื้นที่บ้านน้ำป้าก ต.ตาลชุม อ.ท่าวังผา จ.น่าน

ปี 2551 หมู่บ้านน้ำป้ากเกิดอุทกภัย ดินโคลนถล่มอย่างรุนแรง บ้านเรือนเสียหาย บ้านเรือนไร่นา สัตว์เลี้ยงเสียหายเป็นครั้งใหญ่ หน่วยงานต่าง ๆ ได้ให้ความช่วยเหลือ ปี พ.ศ. 2552 โครงการปิดทองหลังพระสืบสานตามแนวพระราชดำริใน จ.น่าน ได้เลือกพื้นที่บ้านน้ำป้าก เป็นพื้นที่นำร่อง ฯลฯ โดยใช้รูปแบบของ ดอยตุงโมเดล คือ การบริหารจัดการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำอย่างสมดุล ให้คนและป่าอยู่ร่วมกัน ปลูกป่า/ ปลูกคน จะปลูกป่าให้ยั่งยืนต้องปลูกคนด้วย สร้างป่า/สร้างรายได้

ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

ปลูกป่า 3 อย่าง(ปลูกไม้3อย่าง)

ประโยชน์ 4 อย่าง

  • ป่าอนุรักษ์ 60%
  • ป่าเศรษฐกิจ 20%
  • ป่าใช้สอย 20%
  • ที่ทำกิน
  • ที่อยู่อาศัย
  • ป่าใช้สอย
  • อนุรักษ์น้ำ + อนุรักษ์ดิน
  • 6. โรงสีพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามมกุฏราชกุมารี เป็นโรงสีพระราชทาน ศูนย์เรียนรู้ โดยจัดตั้งเป็นกลุ่มโรงสีข้าวพระราชทาน โดยการ่วมแรงร่วมใจของสมาชิกในชุมชน ตามระบบสหกรณ์ เพื่อบริหารจัดการธุรกิจ จัดตั้งเป็นกองทุนประเภทต่าง ๆ เช่น กองทุนปุ๋ยพระราชทานฯ กองทุนข้าวพระราชทานสามารถให้บริการสมาชิกชุมชน โดยมีวิสัยทัศน์บริการซื้อขายข้าวแบบครบวงจร โดยมีกิจกรรม

    ต้นน้ำ - เสริมสร้างการมีส่วนร่วม การบริหารจัดการ การอบรมให้กับสมาชิก

    กลางน้ำ - พัฒนาระบบจัดการและปรับปรุงกระบวนการผลิต

    ปลายน้ำ - ปรับปรุงการตลาด

    เสน่ห์ ตรีขันธ์ EADP13 กลุ่ม4

    การให้ชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าไม้ได้ ทำได้โดยการให้ความรู้ การสร้างอาชีพให้กับชุมชน พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชุมชน โครงการบ้านน้ำป้ากซึ่งเป็นโครงการณ์ที่ดำเนินการตามแนวพระราชดำริของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 แบ่งพื้นที่ป่าให้ชุมชนทำกินแบ่งพื้นที่ป่าเป็นทั้งปลูกเพื่อเศรษฐกิจ เพื่อใช้สอย เพื่อทำมาหากิน ทำให้หยุดทำการบุกรุกป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอย ชุมชุนกลับมาช่วยดูแลป่าไม้

    โรงสีพระราชทาน เป็นการช่วยเหลือชาวนาที่ดีมาก โดยการจัดตั้งสหกรณ์การสนับสนุนชาวนาทั้งด้านความรู้ การขายข้าว การอุดหนุนสมาชิกผ่านสหกรณ์ทั้งทางด้านต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ทำให้ผลประโยชน์ตกถึงชาวนาจริงๆ

    ภักดี ปฏิทัศน์ EADP13 กลุ่ม 4

    ช่วงที่ 2 28-30 ส.ค.2560

    1. สถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน

    • เป็นสถานีรับไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าหงสา ประเทศลาว ส่งจำหน่ายในประเทศไทย
    • มีการต่อต้านจากประชาชนในช่วงการก่อสร้างขยายสถานีไฟฟ้า เนื่องจากประชาชนได้รับข่าวสารที่ผิดๆ คิดว่า กฟผ.จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่

    สิ่งที่ได้เรียนรู้

    • ควรมีการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ล่วงหน้า ถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่แน่ชัดในการก่อสร้าง

    2.บ้านดงป่าสัก

    • เป็นโครงการที่นำวิถีเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ มีการแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆเลี้ยง ปลา หมูปลูกพืชสวนครัว แต่เท่าที่สอบถามจากชาวบ้าน รายได้หลักมาจาก การรับจ้างปลูกป่า ดูแลรักษาป่า

    สิ่งที่ได้เรียนรู้

    • โครงการที่ไปดูเหมือนโครงการทดลอง ให้คนทั่วไป ไปดูงาน ยังไม้ได้ผลจริงจัง แม้จะมีโครงการ Homestay แต่ไม่น่าจะยั่งยืน เพราะไม่มีสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยว รายได้หลักจากการปลูกป่า ไม่ยั่งยืน หมดงบประมาณโครงการหมดก็หมดรายได้ ต้องกลับไปสู่วิถ๊ชีวิตเดิมๆ

    3.Dinner Talk

    • พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จน่านบ่อยมาก โดยเฉพาะที่โรงพยาบาลน่าน ทรงเยี่ยม ทหาร ตำรวจ ที่บาดเจ็บจากการสู้รบกับผู้เห็นต่างฯ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและเป็นสัญลักษณ์

    สิ่งที่ได้เรียนรู้

    • การทำงานของนายแพทย์บุญยงค์ วงศ์รักมิตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่านในขณะนั้น เป็นการทำงานด้วยความตั้งใจ ซื่อสัตย์ มุ่งหวังผลสัมฤทธิ์ โดยที่ไม้ต้องประกาศให้บุคคลอื่นไดรับรู้ เหมือนกับการปิดทองหลังพระ ในที่สุดก็จะประสบความเจริญก้าวหน้าในชีวิตการงานเนื่องจากผลงานที่ได้กระทำไว้มีผลสัมฤทธิ์ทำให้ผู้บริหารรับรู้ได้

    4.โครงการพัฒนาห้วยหาด

    • มีการดำเนินงานตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากหมู่บ้านวงในของผู้ใหญ่บ้านนัยนาก่อน เพื่อเป็นต้นแบบ เมื่อบ้านใกล้เคียงเห็นผลก็จะทำตามขยายไปเรื่อยๆ

    สิ่งที่ได้เรียนรู้

    • มีการจัดแบ่งพื้นที่ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ที่มีความเกื้อกูลกันทำให้มีรายได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะรายได้หลักมาจากการเลี้ยงหมู ทำให้ไม่ต้องทำไร่เลื่อนลอยอีกต่อไป หมู่บ้านนี้ทำเห็นผลจริงจังมากกว่า บ้านดงป่าสัก

    5.โครงการพัฒนาชุมชนบ่อเกลือ

    • เป็นแหล่งที่มีการทำเกลือสินเธาว์ขายมาตั้งแต่โบราณ ในปัจจุบันมีการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

    สิ่งที่ได้เรียนรู้

    • การจำหน่ายเกลือเป็นรายได้หลักในอดีต ปัจจุบันมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างมีหลักวิชาการเสริมกับการพัฒนาเกลือให้มีรูปแบบหลากหลาย จะสนับสนุนให้ชุมชนมีอาชีพที่ยั่งยืน

    6.โรงสีข้าวพระราชทาน สมเด็จพระเทพฯ

    • ใช้ระบบสหกรณ์ในการดำเนินการเน้นการพัฒนาให้ความรู้ ตั้งแต่การเลือกพันธ์ การปลูก การสีเป็นข้าวสาร บรรจุ ในรูปแบบที่หลากหลาย จำหน่ายในช่องทางที่หลากหลาย

    สิ่งที่ได้เรียนรู้

    • การพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องพัฒนาตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ แลปลายน้ำ แบบครบวงจร

    7.โครงการพัฒนาน้ำป้าก

    • เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยหน่วยงานปิดทองหลังพระ ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ถูกต้องตามหลักการ มีขั้นตอนพัฒนาที่เป็นระบบ แบ่งพื้นที่พัฒนาในภาพรวมเป็นส่วนๆ เช่นพื้นที่ป่าต้นน้ำ พื้นที่ทำกิน มีการปลูกพืชไร่พืชสวน เลี้ยงสัตว์ ที่หลากหลายเพื่อมิให้ผลิตผลล้นตามฤดูกาล มีการพัฒนาแหล่งน้ำ แบ่งน้ำใช้ตามช่วงเวลาที่เหมาะสม ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ที่พอเพียงตลอดปี

    สิ่งที่ได้เรียนรู้

    • โครงการนี้ ควรเป็นโครงการต้นแบบให้ทุกพื้นที่ในประเทศไทย เอาเป็นแบบอย่าง
    • หากทำได้ตามนี้คิดว่าการบุกรุกป่าจะหมดไปจากประเทศไทย
    นายสุพัฒนพงศ์ สิกขาบัณฑิต ช.อจพ. กลุ่ม 2

    ความเห็นการศึกษาดูงาน จ.น่าน 28-30 มี.ค.60

    การที่ กฟผ. เข้าไปทำโครงการผ่านพื้นที่ จะสำเร็จและยั่งยืนได้ต้องทำให้ชุมชนเชื่อใจและเชื่อมั่นต่อ กฟผ. พูดจริงทำจริง รักษาคำมั่นสัญญาอย่างต่อเนื่อง การที่ กฟผ. สนับสนุนชุมชนให้ปลูกป่าและดูแลรักษาป่า เมื่อนำแนวคิดของดอยตุงโมเดลมาใช้งานจะทำให้ชุมชนอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืน

    กฟผ. หรือประเทศยังไม่มีนโยบายกองทุนสนับสนุนชุมชนรอบพื้นที่แนวสายส่งของ กฟผ. ซึ่งปัจจุบันมีแต่กองทุนพัฒนาไฟฟ้าที่สนับสนุนเฉพาะชุมชนรอบโรงไฟฟ้า หากเป็นไปได้ควรมีมาตรการสนับสนุนให้มีกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ตลอดแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง ซึ่งในบางประเทศเขาเปิดให้ทำได้ เช่น จัดทำเป็นพื้นที่ออกกำลังกาย เป็นต้น ซึ่งถ้าสามารถให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามแนวสายส่งได้ทั่วประเทศ จะเป็นการใช้ประโยชน์พื้นที่ที่ประชาชนถูกรอนสิทธิ์ได้ดียิ่งขึ้นและเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยรักษาความปลอดภัยของระบบส่งไฟฟ้าของประเทศด้วย

    ความคิดเห็นนอกเหนือ ก็คือ กฟผ. อาจจะขออนุมัติผู้บริหารที่มีอำนาจ ในการให้ทุนการศึกษาแก่บุตรหลานของชุมชนที่ กฟผ. เข้าไปจัดทำโครงการไม่ว่าจะเป็นโครงการโรงไฟฟ้า โครงการระบบส่งไฟฟ้า โดยอาจสนับสนุนทุนการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนจบปริญญาตรี และหากจบปริญญาตรีในสาขาที่ กฟผ. ต้องการ กฟผ. จะให้สิทธิเข้าทำงานใน กฟผ. ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ซึ่งคิดว่า แนวคิดนี้ กฟผ. น่าจะทำได้

    กรรณิการ์ อนุสิฏฐกุล

    ช่วงที่ 2 : วันที่ 28-30 มีนาคม 2560

    เยี่ยมชมสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน กฟผ. จังหวัดน่าน วันที่ 28 มีค.2560

    สถานีไฟฟ้าแรงสูงจังหวัดน่านก่อสร้างบนพื้นที่ 16 ไร่ มีประชากรโดยรอบประมาณ 400,000 คน

    เป็นสถานีปลายทางที่จังหวัดน่าน รับสายส่งจากจังหวัดแพร่ด้วยระยะทาง 108 กม.ได้ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน เพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสาลิกไนต์ สปป.ลาว จำนวน 1,878 เมกะวัตต์ สัญญาดังกล่าวเป็นโครงการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าในเขตประเทศไทย เชื่อมโยงสายส่ง 500 kV ชายแดนไทย/ลาว – น่าน พร้อมทั้งปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้า 500 kV น่าน – แม่เมาะ 3

    ปัญหามีทั้งชุมชนต่อต้านช่วงก่อนก่อสร้าง และหลังก่อสร้าง ทั้งเรื่องการกลัวฟ้าผ่า กลัวการเกิดมะเร็งจากสายส่งไฟฟ้าแรงสูง กลัวเสียง จนต้องมีการสร้างกำแพงกันเสียงขึ้น การแก้ปัญหาคือมีการเข้าพื้นที่ต่อเนื่อง โดยผู้ปฏิบัติงานที่เป็นคนในท้องถิ่น ทั้งนี้ต้องมีงบประมาณสนันสนุนที่เพียงพอด้สวย

    เยี่ยมบ้านดงป่าสัก วันที่ 28 มึค.2560

    สาเหตุที่ตั้งชื่อบ้านดงป่าสักเนื่องจากเดิมหมู่บ้านมีต้นสักอยู่เป็นจำนวนมาก พอมีการสัมปทานป่าจากภาครัฐต้นสักก็ถูกตัดโค่นจนหมด บ้านดงป่าสัก มี 146 ครัวเรือน มีหมู่บ้านสาขา อาทิห้วยปูน 46 ครัวเรือน มีคน 579 คน

    มีการดูแลชุมชนแบบบูรณาการในทุกๆด้าน

    ด้านป่าไม้ มีการปลูกป่าเสริม ธนาคารต้นไม้ การเฝ้าระวัง ทำแนวป้องกันไฟ

    ด้านการจัดการทรัพยากรน้ำ มีการทำระบบประปาภูเขา สร้างฝายชะลอน้ำ และยังมีแผนที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก

    ด้านอาชีพ มีการใช้โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของ กฟผ. มีการเกษตรแบบผสมผสาน

    ด้านการจัดการที่ดิน มีแผนการขออนุญาติออกโฉนดที่ดินทำกิน

    บ้านดงป่าสัก ถือเป็นชุมชนต้นแบบที่ควรค่าแก่การดำเนินรอยตาม

    วิชาที่ 7 Dinner Talk ประสบการณ์ของข้าพเจ้า...กับการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่โรงพยาบาลน่าน วันที่ 28 มีค.2560

    นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร ที่ปรึกษาสถาบันปิดทองหลังพระ ได้เล่าถึงความทุ่มเทในการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ท่านเสด็จมาที่จังหวัดน่าน23 ครั้ง มาเยี่ยมที่โรงพยาบาล และประชาชนในพื้นที่ ในยามที่พื้นที่เต็มไปด้วยผู้ก่อการร้ายและการสู้รบ ทำให้เราเห็นว่าเรามีในหลวงที่รักประเทศชาติ และ ประชาชนของพระองค์อย่างหาที่เปรียบได้ยาก

    นอกจากนี้คุณหมอยังได้ยกพระราชดำรัสเรื่องการทำหน้าที่ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่องการทำตามหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ซึ่งเป็นข้อคิดให้กับเราว่า ถ้าทุกคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด เท่านั้น การทำงานใดๆ ก็จะสำเร็จลุล่วง และไม่เกิดปัญหาตามมา

    วิชาที่ 8 โครงการพัฒนาห้วยหาด ตามแนวทางพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 วันที่ 29 มีค.2560

    โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน แบบมีส่วนร่วมที่บ้านห้วยหาด ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    มีกิจกรรมหลักๆให้คนภายในชุมชนมีส่วนร่วมมากมาย เช่น

    -กิจกรรมการพัฒนาแหล่งน้ำ 2,500 ไร่ สร้าง 4 ฝายเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ

    -กิจกรรมพัฒนาป่าไม้ ใช้แรงงานของชุมชนเป็นหลักช่วยดูแลป่าอุดมสมบูรณ์ มีเขตอนุรักษ์พันธุ์ป่าไม้

    -กิกรรมการพัฒนาอาชีพ มีสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ขึ้นชื่อ เช่น ปลาแก้มช้ำ (ปลาพื้นบ้านอร่อย) การทอผ้า ถั่วดาวอินคา มีประโยชน์ในการลดน้ำตาลในเลือด

    -การทำแนวป้องกันไฟป่า ระหว่างเดือน ธันวาคม – เมษายน มีบุคลากรลาดตระเวน โดยจ่ายเป็นค่าอาหารกลางวันคนละ 200 บาท เพื่อช่วยจัดการดูแลต้นน้ำ และดูแลป่า

    . การทำการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การใช้วัสดุธรรมชาติการห่ออาหาร ใช้ใบตอง ไม้ไผ่

    สิ่งที่ได้เรียนรู้จากที่นี่ คือ การมีผู้นำที่เสียสละ และมุ่งมั่น บวกกับ การมีส่วนร่วมของชุมชน ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามที่ตั้งไว้

    วิชาที่ 9/1 ศึกษาการพัฒนาชุมชน อ. บ่อเกลือ วันที่ 29 มีค.2560

    เยี่ยมชมบ่อเกลือ และการผลิตเกลือสินเธาว์ ซึ่งเป็นบ่อเกลือสินเธาว์ภูเขาแห่งเดียวในโลกด้วยคุณประโยชน์ที่มีมากมายและรสชาติอร่อย เกลือสินเธาว์จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจสามารถสร้างรายได้เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวสู่ชุมชน ได้อย่างยั่งยืนอีกทางหนึ่ง

    ที่นี่ใช้เด็กนักเรียน เป็นมัคคุเทศก์น้อย ที่เป็นเยาวชนในพื้นที่ นำชมและเล่าประวัติความเป็นมา การผลิต และผลิตภัญท์จากเกลือสินเธาว์ ซึ่งสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและสร้างงานให้กับชมชนด้วย

    วิชาที่ 9/2 เยี่ยมชมโรงสีพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วันที่ 30 มีค.2560

    เนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยที่ จ.น่านเมื่อปี 2549 ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตร ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริจัดตั้งโครงการกองทุน ข้าวพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขึ้น และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงินกองทุนหมุนเวียน 500,000 บาท พร้อมทั้งข้าวสารและเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่กองทุนในเบื้องต้น พร้อมทั้งพระราชทานเครื่องจักรโรงสีข้าวชุมชน เครื่อง CP-R 1000 สำหรับจัดตั้งโรงสีข้าวพระราชทาน บริหารงานในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชน และใช้วิธีการสหกรณ์มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ โดยโรงสีได้ดำเนินธุรกิจรวบรวมข้าวเปลือกจากสมาชิกมาแปรรูป สีเป็นข้าวสารจำหน่ายและบริการสีข้าวให้สมาชิกและชาวบ้านในพื้นที่ชุมชนใกล้เคียงได้อีกด้วย

    การดำเนินการมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทานการผลิตข้าว ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

    กิจกรรมต้นน้ำ -เสริมสร้างการมีส่วนร่วม -การอบรมสมาชิก

    กิจกรรมกลางน้ำ -เพิ่มประสิทธิภาพ -ปรับปรุงโรงสีข้าว - ปรับปรุงเครื่องบรรจุข้าวสาร

    กิจกรรมปลายน้ำ - การบริหารจัดการตลาด -การพัฒนาผลิตภัณฑ์

    วิชาที่ 9/3 ศึกษาการพัฒนาโครงการพื้นที่บ้านน้ำป๊าก ต.ตาลชุม อ. ท่าวังผา วันที่ 30 มีค. 2560

    โครงการพื้นที่บ้านน้ำป้าก ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผาเป็นหมู่บ้านนำร่องโครงการหนึ่งของโครงการปิดทองหลังพระ สืบสานตามแนวพระราชดำริ จังหวัดน่าน ใช้ดอยตุงโมเดล ในช่วง 4 ปีแรก ดำเนินการปลูกคนก่อน ให้อยู่รอด แก้ไขปัญหาหนี้สิน และให้มีเงินออม

    ดอยตุงโมเดลป็นการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำอย่างสมดุลดังนี้

    ป่าอนุรักษ์ 60 % ป่าเศรษฐกิจ 20% ป่าใช้สอย 8 % ที่ทำกิน 10% ที่อยู่อาศัย 2%

    โครงการปิดทองหลังพระได้ทำให้ชาวบ้านคนหนึ่งอย่างนายหมื่น อนันต์ ที่มีหนี้สินและทำไร่เลื่อนลอยมาตลอด สามารถกลับมาลืมตาอ้าปาก และใช้หนี้จนลดลงได้เรื่อยๆ

    สิริพร ขำคม - กลุ่ม 2

    สรุปหลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EADP) วันที่ 28-30 มี.ค. 60

    จากการเยี่ยมชมสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน กฟผ. จ.น่าน นั้น กฟผ. ได้มีการสืบสานปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น มีแนวคิดเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม โดยโครงการของ กฟผ. ที่จัดขึ้นที่จังหวัดน่าน ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการปลูกป่า เพื่อพลิกฟื้นคืนพื้นที่สีเขียว คู่ปลูกจิตสำนึกชาวน่าน ตามแนวทาง “ปลูกที่ท้อง ปลูกที่ใจ และปลูกในป่า” ซึ่งเห็นด้วยกับ ศ.ดร. จิระ หงส์ลดารมภ์ ที่ได้ให้คำแนะนำโดยฝากคิดเรื่องการสร้าง Social trust ในการเป็นตัวอย่างที่ดีให้สังคมรับทราบถึงประโยชน์และสิ่งที่จะทำในอนาคตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป คิดว่าเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับ กฟผ. อีกทางหนึ่ง

    ประเด็นจากการเยี่ยมชม บ้านดงป่าสัก เดิมสภาพภูมิประเทศเป็นป่าดงดิบทำให้การเดินทางลำบาก เลยเป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็นพื้นที่กบดานของกลุ่มคอมมิวนิสต์ และผู้ก่อการร้าย ซึ่งในปัจจุบันปัญหาเรื่องผู้ก่อการร้ายได้รับการแก้ไขแล้ว ส่วนเรื่องการดูแลคนในพื้นที่ มีการสนับสนุนสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น ต้องทำให้ชาวบ้านมีที่อยู่ที่ทำกิน สามารถเลี้ยงตัวเองได้ โดยมีการส่งเสริมอาชีพการทำเกษตรกรรม เพื่อที่จะไม่ต้องไปประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมายและสร้างความเดือดร้อน เพื่อลดปัญหาการรุกล้ำพื้นที่ป่าและปัญหาอื่นๆ โดยบ้านดงป่าสักเป็นพื้นที่โครงการหมู่บ้าน กฟผ. วิถีพอเพียง กล่าวคือให้ความสำคัญในเรื่อง การดูแลชุมชน เช่น โครงการชีววิถี เป็นการช่วยเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้กับชาวบ้านในชุมชน ซึ่ง กฟผ. ได้มีการจัดอบรมให้แก่ชาวบ้านในเรื่องความรู้เกี่ยวกับกับการลดค่าใช้จ่าย การเลี้ยงสัตว์ การสอนการใช้จุลินทรีย์ และเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสอนในเรื่องต่างๆอีกด้วย

    ในส่วนของ Dinner Talk หัวข้อ ประสบการณ์ของข้าพเจ้า...กับการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้เข้าใจแนวคิดเรื่องผู้บริหารที่ดีว่าควรประพฤติปฎิบัติตัวอย่างไร โดยกล่าวถึงความทุ่มเทในการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ว่าพระองค์ท่านเสด็จมาที่จังหวัดน่าน 23 ครั้ง มาเยี่ยมที่โรงพยาบาลและประชาชนในพื้นที่ นอกจากนี้ยังยกพระราชดำรัสเรื่องการทำหน้าที่ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ว่าต้องทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด มุ่งเน้นความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กรโดยต้องร่วมมือกับคนอื่น มีความเคารพเพื่อนร่วมงาน มองว่าทุกคนเท่าเทียมกัน และรู้คุณค่าของตนเองว่าคืออะไร

    จากการศึกษาดูงานโครงการพัฒนาห้วยหาด ตามแนวทางพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 กล่าวถึงโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน มีหลักการคือต้องสร้างพื้นฐาน ความพอมี พอกิน พอใช้ แล้วจึงค่อยสร้าง ค่อยเสริม ความเจริญและเศรษฐกิจขั้นสูงต่อไป โดยเป็นการพัฒนาบุคคลและครัวเรือน ยกระดับกลุ่มอาชีพด้านกระบวนการผลิต การตลาด และการบริหารจัดการ เพื่อกระจายรายได้ระดับหมู่บ้าน

    การจากศึกษาดูงานการพัฒนาชุมชน อำเภอบ่อเกลือสินเธาว์ ได้เรียนรู้จากมัคคุเทศก์น้อย ที่เป็นเยาวชนในพื้นที่ว่าที่นี่เป็นบ่อเกลือสินเธาว์ภูเขาแห่งเดียวในโลก และเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย โดยมีบ่อเกลือ 2 บ่อคือ บ่อเกลือเหนือ และบ่อเกลือใต้ โดยบ่อเกลือเหนือมีขนาดใหญ่ มีโรงต้มเกลือหลายโรง ส่วนบ่อเกลือใต้ มีโรงต้มเกลือน้อยกว่า ทั้ง 2 บ่อชาวบ้านใช้วิธีต้มเกลือแบบโบราณในโรงเกลือที่ปิดมิดชิด โดยเกลือที่ได้จะมีคุณประโยชน์มากมายและรสชาติอร่อย เกลือสินเธาว์จึงเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่น่าสนใจและสามารถสร้างรายได้เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวสู่ชุมชนได้ คิดว่าเป็นการพัฒนาที่นั่งยืนและสามารถใช้จุดเด่นของชุมชนมาสร้างประโยชน์ให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี

    จากการเยี่ยมชมโรงสีพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทำให้ได้เห็นแนวคิดการบริหารงานแบบใหม่ๆ เช่น การบริหารงานในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชน และใช้วิธีสหกรณ์มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ โดยมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทานการผลิตข้าว เริ่มพัฒนาตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

    ส่วนการศึกษาดูงานการพัฒนาโครงการพื้นที่บ้านน้ำป้าก ต.ตาลชุม อ.ท่าวังผา ซึ่งเป็นหมู่บ้านนำร่องโครงการหนึ่งของโครงการปิดทองหลังพระ สืบสานตามแนวพระราชดำริ โดยใช้โมเดลดอยตุง ที่เป็นการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากลุ่มน้ำอย่างสมดุล ให้คนและป่าอยู่ร่วมกันและพึ่งพากันอย่างยั่งยืน เป็นการใช้หลักการต่างๆเพื่อบริหารจัดการ เช่น หลักการองค์ความรู้ 6 มิติ หลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ หลักการทรงงานและหลักการโครงการ เป็นต้น

    นาย ถาวร วิศิษฏ์เกียรติชัย กลุ่ม2

    28มีนาคม60

    สถานีไฟฟ้าแรงสูง จ.น่าน

    ตามที่ได้ไปเยี่ยมสถานีไฟฟ้าแรงสูง จ.น่าน และฟังการบรรยาย การก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าหงสาลิกไนต์ แขวงไซยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าส่งขายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กำลังการผลิตกว่า 1,800 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ห่างชายแดนไทย 35 ก.ม. และ กฟผ.กำลังเร่งสร้างแนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง พาดผ่านชายแดนไทยมายังอ.เมืองน่าน ทำให้เกิดปัญหากับประชาชน วิถีชีวิตเกษตรกรและป่าชุมชน ความสวยงามทางทัศนียภาพในชุมชน นอกจากนี้ ผลกระทบโดยตรงจากโครงการสายส่งไฟฟ้าแรงสูง คือประชาชน ซึ่งมีที่ดินอยู่ในแนวสายส่งต้องสูญเสียสิทธิในที่ดินทำกิน และเรือกสวนไร่นาซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน ยังคงเป็นประเด็นที่สำคัญที่อาจจะทำให้โครงการต่างๆไม่อาจเกิดขึ้นได้ หนทางแก้ไขก็คงมีหลายๆวิธี เช่นการเข้าหาประชาชน พูดความจริง และการให้ประชาชนในพื้นทีที่สนับสนุนหรือเห็นด้วยกับโครงการช่วยในการเจรจากับกลุ่มประชาชนที่คัดค้าน เพราะโครงการนี้เป็นการช่วยเพิ่มความมั่นคงในระบบไฟฟ้า เป็นการตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าในเขตภาคเหนือที่เพิ่มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากการขยายตัวของุรกิจ อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว

    บ้านป่าดงสัก

    สถานการณ์ปัจจุบันของ จ.น่าน

    โดย นาย ไพศาล วิมลรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน

    มี3 ประเด็น ที่ผวก น่าน ได้ บรรยายให้ฟัง

    1.ประเพณี วัฒนธรรม สภาพแวดล้อม สภาพภูมิศาสตร์น่าน

    2.ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ การทำลายป่า ทำให้เกิดสภาพ ภูเขาหัวโล้น

    3.ปัญหาราษฎรไม่มีไฟฟ้าใช้

    ประเด็น ที1

    น่านมีศิลป วัฒนธรรม ประเพณีพื้นบ้านอันเป้นเอกลักษณ์ท้องถิ่น เช่น ผ้าทอน้ำไหล ดนตรีพื้นบ้าน มีวัดวาอารามที่เป็นสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนามากมาย เช่นวัดภูมินทร์ วัดพระธาตุแช่แห้ง ร้านค้า ร้านอาหารท้องถิ่น จะอยู่ในตรอกซอกซอย การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของน่านเป็นแบบช้าๆในอดีต สภาพภูมิประเทศเดิมมีลักษณะเป็นป่าดงดิบ มีเทือกเขาหลวงพระบาง ซึ่งเป็นต้นน้ำแม่น้ำน่าน อยู่ในอ.เฉลิมพระเกียรติในปัจจุบันจึงมีผู้คนอพยพขไปอยู่ในป่าบริเวณนั้นมากต่อมามีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เข้าไปหลบซ่อนอยู่ในป่าแถบนั้นด้วย จึงทำให้มีผู้คนเข้าไปอยู่อาศัยมากขึ้น

    ประเด็นที่2

    เมื่อมีผู้คนมากขึ้น ทุกครอบครัวต้องหารายได้ มาเลี้ยงครอบครัวคือการทำเกษตรกรรม ถางป่า ปลูกพืช โดยที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ เป็นการบุกรุก เพราะเป็นที่ของกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติฯ ถึงอย่างไรผู้คนเหล่านั้นเป็นคนน่าน ต้องให้พวกเขามีที่ทำกิน ดีกว่าให้เขาทำสิ่งผิดกฎหมาย ในพื้นที่ที่เขาอยู่ทางเลือกในการประกอบอาชีพมีน้อยจะมีก็แต่เกษตรกรรม และหน่วยงานราชการไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้มากนัก การจะเข้าไปพัฒนา ส่งเสริมอาชีพ ผู้คนเหล่านั้นทำได้ยาก

    ประเด็นที่3

    การที่กฟผ.มีโครงการระบบส่งจาก เมืองหงสามาจ.น่าน แต่บางชุมชนที่มีเสาไฟฟ้าผ่านยังไม่มีไฟฟ้าใช้ จะมีหนทางใดให้พวกเขามีไฟฟ้าใช้ ผวก.น่าน อยากให้มีโครงการที่มุ่งไปสู่คนดอย ให้พวกเขาลงจากดอย เพื่อจะได้ไม่มีการบุกรุกที่ดินอีก คนที่จะช่วยปลูกป่ามีเยอะ แต่การที่จะให้คนบนดอยลงมายาก ผวก.น่าน บอกว่า การที่กฟผ.มีโครงการต่างๆที่น่าน ควรจะมียุทธศาสตร์ในการช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ด้วย ทำอย่างไรที่จะให้กฟผ.เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วย จ.น่าน ให้เขาชื่นชมกับการที่กฟผ.จะเข้าไปช่วยเหลือ พัฒนา ดูแลเขาจริงๆ

    ผู้นำชุมชนบ้านป่าดงสัก ต.ฝายแก้ว อ.ภูเพียง จ.น่าน

    ชุมชนบ้านป่าดงสัก นับได้ว่าเป็นชุมชนอีกแห่งหนึ่งที่พัฒนาชุมชนของตนเองให้เป็นชุมชนต้นแบบเป้น แหล่งเรียนรู้ ไม่เฉพาะสำหรับคนในชุมชนเองแต่ยังเผื่อแผ่ไปสู่ชุมชนอื่น นับได้ว่าตั้งแต่ผู้นำตลอดจนทุกคนในชุมชนนี้ มีทั้งความขยัน อดทน เสียสละรักการเรียนรุ้ เพื่อนำมาพัฒนาชุมชน ของตัวเอง สำหรับกิจกรรมที่ได้ทำในชุมชนเน้นในเรื่องการทำเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ การสร้างฝาย การไม่บุกรุกพื้นที่เพื่อทำการเกษตร แต่จะเป็นการดูแลป่า เพิ่มพื้นที่ป่า การเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวเช่นเลี้ยงกบ ปลา ส่วน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ได้เข้ามาจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ ให้แก่ชุมชนขยายผลโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จ.น่าน

    ประสบการณ์ของข้าพเจ้า กับการทำงานตามศาสตร์ของพระราชา

    นพ. บุญยงค์ วงศ์รักมิตร

    นายแพทย์บุญยงค์ วงศ์รักมิตร เป็นผู้ที่มีความสามารถอย่างสูงยิ่งทั้งด้านการรักษาพยาบาล ที่เชี่ยวชาญในหลายๆสาขา จนได้รับเกียรติยกย่องเชิดชูหลายรางวัล เป็นที่ยอมรับกันในหมู่แพทย์อย่างกว้างขวาง ผลงานที่เด่นชัดได้แก่ เป็นแพทย์ ที่ยืนหยัด ทุ่มเท และเสียสละ อย่างยิ่งในการช่วยเหลือ พลเรือน ทหาร ตำรวจ ที่ได้รับบาดเจ็บจากการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมูนิสต์ในพื้นที่ จังหวัดน่านและจังหวัดใกล้เคียงมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2510 จนถึงปีพ.ศ. 2536 โดยในขณะนั้นมีเหตุการณ์สู้รบกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ มทหารได้รับบาดเจ็บจากการสุ้รบเป็นอันมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ได้มีสิ่งของพระราชทาน ได้แก่ เครื่องมือแพทย์ต่างๆแต่ที่เหนืออื่นใด เมื่อพระองค์ท่านพระราชทานสิ่งของให้แล้วก็ตรัสว่าเงินที่ขอไปนั้น ฉันนำมามอบให้แล้วขอให้หมอดำเนินการก่อสร้างเองนะไม่ต้องผ่านราชการฉันไว้ใจเธอ

    สำหรับน.พ.บุญยงค์ แล้ว คำว่า ฉันไว้ใจเธอ ใครได้ฟังแล้วจะรู้สึกอย่างไร เมื่อพระองค์ท่านรับสั่งแบบนี้ ย่อมมีผลต่อการทำงานต่างๆ มากมายโดยไม่อาจบิดพลิ้ว น.พ.บุญยงค์ ได้รับการยกย่องในหมู่ประชาชนโดยทั่วไปว่า เป็นพ่อพระของคนยากจน ในด้านการบริหารงาน ถือได้ว่าเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นัก บริหารในวงการแพทย์และสาธารณสุขทุกระดับ นอกจากจะเป็นผู้ที่มีความสามารถในการพูด การจูงใจผู้ร่วมงานแล้ว ยังเป็นผู้เสียสละ อุตสาหะ และซื่อสัตย์สุจริตต่อวิชาชีพและหน้าที่การงานเป็นตัวอย่างแก่ข้าราชการโดยทั่วไป สามารถพัฒนาโรงพยาบาลน่านให้ก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง เมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว เป็นผู้นำท้องถิ่นทองถิ่นที่เข้มแข็ง ก่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มพลังมวลชนต่างๆในการพัฒนาจังหวัดน่านให้เจริญก้าวหน้า

    29 มีนาคม 2560

    บ้านห้วยหาด ต.อวน อ.ปัว จ.น่าน

    โครงการพัฒนาห้วยหาด ตามแนวทางพระราชดำริของรัชกาลที่9 ทิศทางการพัฒนาหมู่บ้านจะเน้นในการมีส่วนร่วมของทุกคน

    ดำเนินวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง อยู่อย่างพอเพียง ด้วยการพึ่งตนเอง เพื่อพัฒนาให้หมู่บ้านมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน พัฒนาจิตใจให้มีคุณะรรมให้การศึกษาลดปัญหายาเสพติด

    ด้านการพัฒนาอาชีพ/รายได้ ส่งเสริมการรวมตัวของคนในหมู่บ้านในลักษณะกลุ่มอาชีพ กลุ่มผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริมและพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

    ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่งเสริม นับสนุนการลดต้นทุนในการประกอบอาชีพ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ขยายผลการดำเนินวิถีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงทุกครัวเรือน

    ด้านกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชน ส่งเสริมการจัดเวทีชุมชนเพื่อวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดทิศทางการพัฒนาหมู่บ้านเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และการแสดงออกของคนในหมู่บ้าน โดยมีการประชุมแกนนำชุมชนและชาวบ้าน ในการพัฒนาหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งมีการปรับปรุงแผนชุมชนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และนำโครงการ กิจกรรมที่มีอยู่ในแผนชุมชนมาดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

    ทั้งหมดนี้ต้อง ชมเชยผู้นำท้องถิ่น ในอดีตจนถึงปัจจุบันที่ได้ร่วมพัฒนา ต่อสู้กับความยากจน เป็นแบบอย่างและ เสียสละทุกอย่างเพื่อชุมชน

    ศึกษาพัฒนาชุมชน อำเภอบ่อเกลือ

    บ่อเกลืออันเป็นขุมทรัพย์ของอำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่านเป็นบ่อเกลือที่มีอายุเก่าแก่มาแต่ครั้งโบราณ ที่นี่ถูกค้นพบโดยพรานป่าที่เดินทางเข้ามาล่าสัตว์ และพบว่าบริเวณแหล่งน้ำแถวนี้มีสัตว์ป่ามาลงกินอย่างชุกชุมเป็นประจำ เมื่อลองชิมน้ำดูก็รู้ว่ามีรสเค็ม ต่อมาผู้คนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานแล้วสามารถผลิตเกลือเป็นสินค้าสำคัญส่งออกไปจำหน่ายยังเมืองอื่นๆที่ห่างไกล ปัจจุบันชาวบ้านบ่อเกลือก็ยังคงผลิตเกลือจากบ่อเกลือโบราณแห่งนี้ โดยมีบ่อเกลือสำคัญอยู่ 2 แห่ง มีบ่อใหญ่อยู่บริเวณต้นน้ำว้า 2 บ่อ และบริเวณต้นน้ำน่านมีบ่อใหญ่อยู่ 5 บ่อ และบ่อเล็กบ่อน้อยอีกจำนวนหนึ่ง การผลิตเกลือที่บ่อเกลือนั้นยังใช้วิธีการตามแบบโบราณโดยชาวบ้านจะทำพิธีเซ่นไหว้เลี้ยงผีบ้านผีเมืองผู้รักษาบ่อเกลือ โดยชาวบ้านจะให้ความเคารพบ่อเกลือที่ถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์มีคุณค่าหล่อเลี้ยงชาวบ่อเกลือมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ชาวบ้านจะตักน้ำจากบ่อเกลือขึ้นมาต้มในกระทะใบบัวขนาดใหญ่ เคี่ยวด้วยฟืนไม้นานราว 4 - 5ชั่วโมงจนน้ำระเหยตกตะกอนเป็นเกล็ดเกลืองวดขึ้น จากนั้นก็จะใช้ไม้พายตักช้อนเกล็ดเกลือขึ้นมาใส่ในตะกร้าสารที่แขวนไว้เหนือกระทะ ปล่อยให้น้ำเกลือที่ติดขึ้นมาหยดลงไปในกระทะ เคี่ยวอยู่เช่นนั้นจนน้ำแห้งเหลือแต่เกลือจากนั้นก็จะนำมาบรรจุถุงวางขาย ปัจจุบันเกลือที่ผลิตจากบ่อเกลือจะมีการเติมสารไอโอดีน เพื่อเพิ่มสารอาหารสำคัญให้กับเกลือสินเธาว์ที่ผลิตได้ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณะสุข บรรจุถุงเสร็จก็วางขายกันตรงนั้นทันที ซึ่งเกลือที่นี่จะมีสีขาวเกล็ดละเอียด มีรสชาติกลมกล่อม ไม่มีกลิ่นคาวทะเล ท่านที่มีโอกาสผ่านไปก็ลองซื้อติดไม้ติดมือกลับมาชิมกันดู ถือเป็นการกระจายรายได้ช่วยเหลือชาวบ้าน ปัจจุบันมีชาวบ้านที่ยังคงต้มเกลือขายถือเป็นการสร้างรายได้ให้กับครอบครัวนอกเหนือจากอาชีพการเกษตรที่ทำเป็นอาชีพหลัก.
    30มีนาคม2560

    โรงสีพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

    ศูนย์เรียนรู้ชุมชนโรงสีข้าวพระราชทาน อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ซึ่งเป็นโครงการในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระราชทานแนวทางความช่วยเหลือให้กับราษฎร สืบเนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปี 2549 เกิดพายุพัดกระหน่ำทางตอนเหนือของจังหวัดน่าน ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้และขาดแคลนข้าวเพื่อการบริโภค ชาวบ้านประสบปัญหาและได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการกองทุนข้าวพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขึ้น และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเงิน ข้าวสารและเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่กองทุนในเบื้องต้น เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนข้าวและเป็นกองทุนข้าวสำรองสำหรับเกษตรกรที่ยากจนและผู้ประสบภัยพิบัติในอนาคต และเพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพของกองทุนข้าวฯ ให้สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้มากยิ่งขึ้น จึงพระราชทานเครื่องจักรโรงสีข้าวชุมชน เครื่อง CP-R 1000 สำหรับจัดตั้งโรงสีข้าวพระราชทาน บริหารงานในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชน และใช้วิธีการสหกรณ์มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ โดยโรงสีได้ดำเนินธุรกิจรวบรวมข้าวเปลือกจากสมาชิกมาแปรรูป สีเป็นข้าวสารจำหน่ายและบริการสีข้าวให้สมาชิกและชาวบ้านในพื้นที่ชุมชนใกล้เคียงด้วย เพื่อเป็นการการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการจัดการองค์กร ได้มีการนำระบบสหกรณ์เข้าพัฒนาการบริหารจัดการโรงสีข้าวพระราชทาน โดยมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทานการผลิตข้าวเริ่มพัฒนาตั้งแต่ระดับต้นน้ำ ให้สมาชิก คณะกรรมการและฝ่ายเจ้าหน้าที่โรงสี มีส่วนร่วมวางแผนการดำเนินงาน ควบคู่กับการส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ผลิตข้าวเพื่อป้อนโรงสี ทุกครั้งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในจังหวัดน่าน จะทรงติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานของโรงสีข้าวพระราชทานที่อำเภอท่าวังผาด้วย

    ศึกษาพัฒนาโครงการพื้นที่บ้านน้ำป๊าก ต.ตาลชุม อ.ท่าวังผา จ.น่าน


    มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริโดยใช้ดอยตุงโมเดล ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่และส่งเสริมอาชีพ ประชาชน รวมทั้งส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    บ้านน้ำป้าก ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน เป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องขนาดเล็กของโครงการบูรณาการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดน่าน มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริได้ดำเนินงานส่งเสริมให้ชุมชนที่ยากจนสามารถลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้จากการปลูกพืช อาหาร ทำปศุสัตว์ และการประมงให้เพียงพอต่อความต้องการทั้งของตนเองและทั้งจังหวัดน่าน โดยเฉพาะการนำองค์ความรู้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “ลดการใช้พื้นที่ป่า ปลูกนาขั้นบันได” ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาขยายผล “หลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ”คือเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา และ “หลักการทรงงานและหลักการโครงการ” เช่น การศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ มององค์รวม ไม่ยึดติดตำรา เน้นการมีส่วนร่วม ขาดทุนคือกำไร ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ปลูกป่าในใจคน ทำงานอย่างมีความสุข ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด พออยู่พอกินพึ่งตนเองความซื่อสัตย์สุจริตจริงใจต่อกัน


    45 % น้ำจากแม่น้ำน่านจะหล่อเลี้ยงแม่น้ำเจ้าพระยา แต่สภาพป่าต้นน้ำจังหวัดน่านนั้นแทบไม่มีเหมือนเมื่อก่อนเพราะการเผาทำลายการใช้สารเคมีต่างๆทำให้พื้นที่ป่าถูกทำลาย ตอนนี้ชาวบ้านมีข้าวกินมีพื้นที่ในการเกษตร เข้ามาทำระบบน้ำ ทำฝาย เพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับชาวบ้าน แต่การที่จะนำชาวบ้านเข้าสู่ความพอเพียงตามแนวพระราชดำริได้นั้นเราจะต้องปลูกป่า สร้างคน บนวิถีพอเพียง รักษาต้นน้ำ บรรเทาอุทกภัย เพื่อแก้ปัญหาภูเขาหัวโล้นโดยทุกพื้นที่ที่โครงการเข้ามาทำจะเน้น หลัก เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เป็นหลักในการทำงานเพื่อทำอาชีพตามแนวของศาสตร์พระราชา ภายใต้แนวคิดว่าจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวพระราชดำริ บริหารจัดการเพื่อชุมชนโดยชุมชน นำองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาเข้ามาช่วย มีหลักคิดที่เป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้น ทำให้เกิดการเรียนรู้ ไม่เกิดข้อผิดพลาดมากเท่าเดิมผลผลิตต่างดีขึ้น รายได้เพิ่มมากขึ้น ทำการเกษตรแบบ ปลูกทุกอย่างที่กินกินทุกอย่างที่ปลูก ตามแนวของพระองค์ท่าน สามารถลดรายจ่ายสามารถอยู่อย่างยั่งยืน ให้คนในพื้นที่สามารถอยู่ร่วมกับป่า สร้างรายได้ที่เกิดจากป่า แล้วคนในพื้นที่จะมีภูมิคุ้มกันที่ดี คือสุขภาพที่ดี สิ่งแวดล้อมดี น้ำดี ณ วันนี้หมู่บ้านน้ำป้ากน้อมนำแนวพระราชดำริฯ มาใช้ ทำการเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ฯ ทำอย่างพอดี ไม่เกินกำลังตนเอง ใช้ทฤษฏีเศรษฐกิจพอเพียงฯมาใช้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างพอเพียงและมีความสุขยั่งยืนตลอดไป

    นายสรวิชญ์ หิมะมาน (กลุ่ม 3)

    วันอังคารที่ 28 มีนาคม 2560

    1. สถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน

    ได้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในแง่เทคนิค และในแง่ความขัดแย้งทางด้านความคิดของกลุ่มคนบางกลุ่ม อย่างไรก็ตามด้วยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ทำให้โครงการดังกล่าวแล้วเสร็จทันตามแผนงาน จากการที่ได้มาเยี่ยมชมสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน ได้เห็นความตั้งใจของเจ้าหน้าที่ประจำสถานีไฟฟ้าน่านที่มาบรรยายสรุป พร้อมทั้งตอบข้อซักถาม ที่ทำหน้าที่เสมือนผู้แทนองค์กร ที่คอยประสานงานทั้งที่เกี่ยวข้องกับงานทางเทคนิคและงานส่วนตัว สมควรชมเชยในความตั้งใจดังกล่า

    2. สถานการณ์ปัจจุบันของจังหวัดน่าน โดยนายไพศาล วิมลรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน

    ผู้ว่าฯได้กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เกิดมานาน การที่ชาวบ้านได้เข้ามาบุกรุกที่ทำกินตามนโยบายแก้ปัญหาแนวคิดการปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ มีการบุกรุกพื้นที่ต้นน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญของแม่น้ำน่าน อันเป็นต้นน้ำสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยา ปัญหาดังกล่าวไม่สามารถแก้ได้ในแนวทางการปกครองหรือทางกฎหมายเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ถ้าแก้ด้วยแนวทางเศรษฐกิจ ทำให้ชาวบ้านมีอยู่ มีกิน ก็จะสามารถดำเนินการแก้ปัญหาใหญ่ในเรื่องปากท้องได้

    3. บ้านดงป่าสัก

    ปัญหาทางด้านกายภาพ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีที่ราบเพียง 20% ส่วนปัญหาพื้นฐานคือ การทำเกษตรกรรมมีต้นทุนที่สูงขึ้น แต่ผลผลิตมีราคาต่ำ ทำให้ชาวบ้านมีค่าใช้จ่ายสูงแต่อรายได้ต่ำ แนวทางการแก้ปัญหาโดยใช้ชีววิถีคือ การลดต้นทุน ทำให้ลดค่าใช้จ่าย แล้วเพิ่มรายได้ โดย1. จัดการที่ดินให้มีขอบเขตชัดเจน 2. ส่งเสริมอาชีพโดยร่วมมือกับ ธกส. เพื่อทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น

    สิ่งที่ชาวบ้านบอกกับคณะคือกฟผ.มีความตั้งใจที่จะช่วย โดยอบรมในช่วงเช้าและลงมือทำทันทีในช่วงบ่าย ทำให้ชาวบ้านร่วมมือร่วมใจทำโครงการให้สำเร็จ ปัจจุบันได้ลองดำเนินการในพื้นที่เล็กๆเพื่อนำร่อง ก่อนจะเผยแพร่ให้ชาวบ้านที่สนใจ ได้มาร่วมโครงการต่อไป

    4. ประสบการณ์ของข้าพเจ้า...กับการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่โรงพยาบาลน่าน โดย นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร

    ได้ทราบในรายละเอียดซึ่งไม่เคยทราบมาก่อนเกี่ยวกับความทุ่มเทในการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯรัชกาลที่ 9ที่พระองค์ท่านเสด็จมาเยี่ยมที่โรงพยาบาลและประชาชนในพื้นที่ได้ย้ำถึงคุณลักษณะของผู้นำที่ดีที่เราทุกคนควรนำมาเป็นแนวปฏิบัติในชีวิตจริง

    วันพุธที่ 29 มีนาคม 2560

    5. โครงการพัฒนาห้วยหาด

    เป็นโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ดำเนินการแบบ พอมี พอกิน พอใช้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ เดินทางสายกลาง พอประมาณมีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกัน มีความรู้ และคุณธรรม เน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม การพัฒนาจิตใจให้มีคุณธรรม ให้การศึกษา สร้างความมั่นคง เพื่อการต่อยอด และกระจายพัฒนาสู่ชนบท รวมทั้งพัฒนาแหล่งน้ำ พัฒนาป่าไม้ พัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต และทำหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

    6. การพัฒนาชุมชน อำเภอบ่อเกลือ

    การนำผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นมาปรับปรุงบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยมีสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานรัฐเป็นพี่เลี้ยง ทำให้ชาวบ้านสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากอาชีพหลัก รวมทั้งให้บุตรหลานชาวบ้านได้มีกิจกรรมยามว่างจากการเรียนเพื่อช่วยหารายได้เพิ่มให้ครอบครัวอีกทางหนึ่ง

    วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2560

    7. โรงสีพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

    เป็นโครงการต้นแบบที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในถิ่นทุรกันดาร ด้วยการทำการเกษตรแบบผสมผสาน สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์และส่งเสริมให้ชาวบ้านได้นำวิธีการสหกรณ์ไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น จากเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปี 2549 สมเด็จพระเทพทรงมีพระราชดำริจัดตั้งโครงการกองทุนข้าวพระราชทานและทรงพระราชทานเงินกองทุนหมุนเวียนพร้อมทั้งข้าวสารและเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่กองทุนในเบื้องต้นเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนข้าว รวมทั้งเป็นกองทุนข้าวสำรองสำหรับเกษตรกรที่ยากจน และผู้ประสบภัยพิบัติ เพื่อแก้ไปปัญหาการขาดแคลนข้าวและเป็นกองทุนข้าวสำรองสำหรับเกษตรกรที่ยากจนและผู้ประสบภัยพิบัติในอนาคต

    8. โครงการพื้นที่บ้านน้ำป้าก ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา

    สิ่งที่ประทับใจ คือ การได้รับทราบตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงจากเกษตรกรในพื้นที่ คุณลุงหมื่น อนันต์ ที่เป็นตัวอย่างของการทำเศรษฐกิจพอเพียง ทำบัญชีครัวเรือน สามารถสร้างรายได้ และลดรายจ่าย เป็นตัวอย่างของการลงมือปฏิบัติจริงอีกท่านหนึ่ง

    อลิสา จินตณวิชญ์ (กลุ่ม 2)

    ช่วงที่ 2 : วันที่ 28-30 มีนาคม 2560

    สถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน กฟผ. จังหวัดน่าน

    การดำเนินงานของ กฟผ.ไม่ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้า สถานีไฟฟ้าแรงสูง และสายส่ง กฟผ.จะต้องคำนึงถึงชุมชนป็น

    สำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญควบคู่กัน คือ การสร้างความเข้าใจ การยอมรับและมีความจริงใจสำหรับสถานี

    ไฟฟ้าแรงสูงน่าน เป็นกรณีศึกษาสำหรับผู้ปฏิบัติงานที่มิได้มีภารกิจโดยตรงในการไปปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ต้อง

    ก่อสร้าง หรือต้องอยู่ร่วมกับชุมชนสิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ คือ การดำเนินภารกิจของ กฟผ. ส่งผลต่อวิถี

    ชีวิตของชุมชน ดังนั้น การให้ชุมชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นรับฟังและตอบสนองต่อความ

    เดือดร้อนของชุมชนอย่างรวดเร็ว จะทำให้ กฟผ.และ ชุมชนอยู่ร่วมกันได้และพัฒนาประเทศไปพร้อมๆกัน

    “บ้านดงป่าสัก”

    ชาวบ้าน มีความผูกพันกับ กฟผ.มานาน ส่วนหนึ่งเป็นผู้รับจ้างปลูกป่าให้ กฟผ. หลังจากเสร็จภารกิจที่จังหวัดน่าน ก็ยังคงรับจ้าง กฟผ.ในพื้นที่อื่นด้วยรวมทั้ง กฟผ.ใช้โครงการชีววิถีมาช่วยส่งเสริมชาวบ้าน ซึ่ง กฟผ. ได้มีการจัดอบรมให้แก่ชาวบ้านในเรื่องความรู้เกี่ยวกับกับการลดค่าใช้จ่าย การเลี้ยงสัตว์ การสอนการใช้จุลินทรีย์ และเชิญผู้เชี่ยวชาญมาสอนในเรื่องต่าง

    ต้นไม้ที่ กฟผ.เคยปลูกไว้เมื่อ 20 ปีที่แล้วเริ่มเติบใหญ่และชาวบ้านมองเห็นคุณค่าที่ กฟผ.มอบไว้ให้จึงมีการจัดการที่ดินโดยแบ่งขอบเขตชัดเจน ไม่มีการบุกรุก การจัดเวรยาม การเดินทางไกล ธนาคารต้นไม้เสริม มีการร่วมทำกับ ธกส. เรื่องการดูแลรักษาป่า

    Dinner Talk หัวข้อ ประสบการณ์ของข้าพเจ้า...กับการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9

    นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร ได้เล่าถึงความทุ่มเทในการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ท่านเสด็จมาที่จังหวัดน่าน23 ครั้ง มาเยี่ยมที่โรงพยาบาล และประชาชนในพื้นที่ ซึ่งในขณะนั้นเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ที่เต็มไปด้วยผู้ก่อการร้ายและการสู้รบ ทำให้เราเห็นว่าเรามีในหลวงที่รักประเทศชาติ และ ประชาชนของพระองค์อย่างหาที่เปรียบได้ยาก นอกจากนี้คุณหมอยังได้ยกพระราชดำรัสเรื่องการทำหน้าที่ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่องการทำตามหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด ซึ่งเป็นข้อคิดให้กับเราว่า ถ้าทุกคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด เท่านั้น การทำงานใดๆ ก็จะสำเร็จลุล่วง และไม่เกิดปัญหาตามมา

    โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ที่บ้านห้วยหาด

    ให้ประชาชน พอมี พอกิน พอใช้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ เดินทางสายกลาง พอประมาณมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน มีความรู้และคุณธรรมโดยสิ่งที่ทำคือเน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม การพัฒนาจิตใจให้มีคุณธรรม การให้การศึกษา การสร้างความมั่นคง เพื่อการต่อยอด และกระจายพัฒนาสู่ชนบท รวมถึงการพัฒนาแหล่งน้ำพัฒนาป่าไม้ พัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต และมีหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

    สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ การ เสียสละ มุ่งมั่น และมีส่วนร่วม จะทำให้ชุมชน พัฒนาได้อย่างยั่งยืน

    โครงการพัฒนาชุมชนบ่อเกลือ

    มีอยู่สองบ่อ คือ บ่อเกลือเหนือ และ บ่อเกลือใต้ ทั้งสองบ่อชาวบ้านยังใช้วิธีการต้มเกลือแบบโบราณในโรง

    เกลือที่ปิดมิดชิด ภายในมีเตาขนาดใหญ่ขึ้นรูปจากดินเหนียวสำหรับวางกะทะใบเขื่อง หรือกระทะแขวนตะกร้า

    ไม้ไผ่สานใบเล็กๆ เพื่อใช้สำหรับบ่อเกลือ ชาวบ้านที่บ้านบ่อหลวง ทำการต้มเกลือสินเธาว์มาตั้งแต่โบราณ

    หลายร้อยปีมาแล้ว และมีเยาวชนเป็นมัคคุเทศก์น้อยในการนำเที่ยวชม ซึ่งเป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวและ

    เป็นการเสริมสร้างคุณค่าของบ้านเกิด

    สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือชาวบ้านสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงจากอาชีพ

    ทำเกลือ มาพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเกลือและการท่องเที่ยวแทน เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

    โรงสีข้าวพระราชทานฯ

    ดำเนินงานในลักษณะการให้สินเชื่อ และเมล็ดพันธุ์ให้แก่สมาชิก โดยนำระบบสหกรณ์เข้ามาพัฒนาการบริหาร

    จัดการโดยมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทานการผลิตข้าว เริ่มพัฒนาตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ

    และปลายน้ำมีการแนะนำส่งเสริมด้านวิชาการในการปลูกข้าวแก่สมาชิก

    โครงการปิดทองหลังพระสืบสานตามแนวพระราชดำริ จังหวัดน่าน โครงการพื้นที่บ้านน้ำป้าก ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา

    ใช้ดอยตุงโมเดล เป็นการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากลุ่มน้ำอย่างสมดุล ให้คนและป่าอยู่ร่วมกันและ

    พึ่งพากันอย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไปพร้อมกัน ตามแนวพระราชดำริ ปลูกป่า ปลูกคน

    การขาดโอกาสของ “คน” ซึ่งส่งผลต่อ “ป่า” เพราะฉะนั้น จะปลูกป่าให้ยั่งยืน ต้องปลูกคนด้วย

    “การบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ โดยแก้ปัญหาทั้งลุ่มน้ำ”

    “สร้างป่า สร้างรายได้”

    สิ่งที่ได้เรียนรู้ หากสามารถต่อยอดไปยังพื้นที่อื่นๆได้ ชุมชุมสามารถพึ่งพาตนเองได้ ปัญหาการบุกรุกป่าจะหมดไป

    นายพนม บวรวงศ์เสถียร EADP 2017 กลุ่ม5

    ประเด็นสำคัญสิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้ในการทำงาน

    ช่วงที่2. วันที่ 28-30 มีนาคม 2560

    สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการเดินทาง มาที่จังหวัดน่านคนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงเรื่องป่าหัวโล้นขึ้นมาทุกคน วันนี้ได้ฟังจาก ผวจ.น่าน ท่านพูดว่ารักษาป่าง่ายนิดเดียวแค่เพียงเอาคนลงมาจากเขาหมดและไม่ต้องเข้าไปยุ่งอะไรกับป่า ป่ามันก็จะฟื้นตัวได้เองตามธรรมชาติ ถ้าทำได้จริงก็ดีสิ อันนี้ผมคิดในใจ เพราะเรื่องปลูกป่า กฟผ.ของเราปลูกมานาน ปลูกเป็นล้านๆไร่ หน่วยงานอื่นปลูกเป็นล้านต้น แต่เอาไปโฆษณาใหญ่ ทำไม กฟผ. จึงไม่เคยออกมาโฆษณา คำตอบที่ท่าน อดีตผู้ว่าการ กฟผ. คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ เคยตอบตอนมาเยี่ยมที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะสมัยที่ท่านยังเป็น ผู้ว่าการ กฟผ.ว่า ความจริงก็อยากจะโฆษณา แต่การลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือทางทีวีทุกวันนี้แพงมาก เราสามารถใช้ประชาสัมพันธ์ช่องทางอื่นจึงอยากเอาเงินไปใช้อย่างอื่นทำประโยชน์กับองค์กรแทน เข้าทำนองแบบปิดทองหลังพระ ตรงกับงานที่ นพ.บุญยงค์ วงศ์รักมิตร ที่ปรึกษาของสถาบันปิดทองหลังพระ ที่ท่านได้กรุณาเล่าเรื่องราวชีวิตการทำงานในอดีตและปัจจุบันของท่าน แล้วรู้สึกประทับใจในความเสียสละของท่านมาก เป็นแบบอย่างในการทำงานต่อสังคมและประเทศชาติอย่างแท้จริง

    สิ่งที่ได้เรียนรู้ในเรื่องของการทำงานด้าน CSR.

    ความรับผิดชอบต่อสังคมของ กฟผ. ที่เล็งเห็นความสำคัญของจังหวัดน่านไม่น้อยกว่าที่อื่นๆที่มีโรงไฟฟ้า หรือเขื่อนตั้งอยู๋ ซึ่ง กฟผ. มองว่าถึงแม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีการสร้างโรงไฟฟ้าที่ จังหวัดน่าน แต่ กฟผ. ได้ใช้ประโยชน์ จากจังหวัดน่าน 2 อย่าง คือ

    1. น่านเป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำน่านที่ กฟผ. ใช้น้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์

    2. น่านเป็นเส้นทางแนวสายส่งกำลังไฟฟ้าของระบบส่งไฟฟ้า 500 KV. ที่ กฟผ.รับซื้อไฟฟ้าจากลาวมาไทย เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ

    การดูงานที่บ้านดงป่าสักซึ่งเป็นพื้นที่ โครงการหมู่บ้าน กฟผ. ให้การสนับสนุนการปลูกป่า

    บ้านดงป่าสัก มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง บริหารจัดการป่าของชุมชน การปลูกดูแลรักษาป่า การสร้างแนวกันไฟ และได้นำโครงการชีววิถีที่ กฟผ. มาให้ความรู้และสาธิตวิธีทำโครงการต่างๆเอาไปทำได้จริงๆ ทำให้ชุมชนศรัทธาและเชื่อถือ ลดการบุกรุกป่า การทำไร่เลื่อนลอย ปัญหาอุปสรรคคือเรื่องน้ำยังไม่พอ ขาดอุปกรณ์เครื่องมือและเทคโนโลยีที่จะช่วยลดต้นทุน

    การดูงานโครงการพัฒนาที่บ้านห้วยหาด

    สิ่งที่ได้เรียนรู้ การพัฒนาหมู่บ้านชุมชน ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ก่อน แล้วจึงค่อยสร้าง ค่อยเสริม ความเจริญและเศรษฐกิจชั้นสูงต่อไป ซึ่งเป็นไปตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่9 ผู้ใหญ่บ้านปัจจุบัน คุณนัยนา มีความเป็นผู้นำสูง สร้างแรงจูงใจของชุมชน ความต้องการของชุมชนบ้านห้วยหาด ตำบลอวน อำเภอปัว จังหวัดน่าน มีความมุ่งมั่นที่จะหาอาชีพทางเลือกเพื่อสร้างรายได้ทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว อย่างเช่นข้าวโพดหาช่องทางการพัฒนาอาชีพที่สามารถให้ คนอยู่คู่กับป่าต้นน้ำ ร่วมปกปักรักษาป่าต้นน้ำน่านให้คงอยู่สืบไป มีโครงการสร้างฝายต้นน้ำ สร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชน การทอผ้า มีสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ขึ้นชื่อ เช่น ปลาแก้มช้ำ (ปลาพื้นบ้านอร่อย) การทอผ้า ผลิตภัณฑ์แปรรูปการเกษตรจากต้นดาวอินคาที่เป็นที่ต้องการของตลาด

    การดูงานที่บ่อเกลือ

    สิ่งที่เรียนรู้คือประวัติศาสตร์ในสมัยโบราณมีการรบพุ่งแย่งชิงบ่อเกลือ แต่ปัจจุบันชุมชนยังสามารถสร้างข้อตกลง กฎกติกาสังคม เพื่อรักษาบ่อเกลือซึ่งเป็นสมบัติชาติให้สืบทอดทำกินได้ชั่วลูกชั่วหลานต่อไป ใช้ประโยชน์จากเกลือสินเธาว์มาแปรรูปเพิ่มมูลค่าได้ นอกจากบ่อเกลือแล้วสภาพพื้นที่ของบ้านบ่อเกลือยังสวยงาม มีลำธารน้ำไหล มีศักยภาพสูงมากที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พักผ่อนด้านสุขภาพแบบเดียวกับประเทศญี่ปุ่นที่มีบ่อน้ำแร่จะดึงดูดคนในประเทศและชาวต่างชาติ โดยต้องวางภูมิสถาปัตย์ สร้างระบบสาธารณูปโภคต่างๆอย่างเหมาะสม และรักษาธรรมชาติสภาพแวดล้อม ขนบธรรมเนียมประเพณี

    การดูงานโรงสีพระราชทาน

    ความเป็นมาโรงสีพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในถิ่นทุรกันดารแบบพอเพียงมีไว้กินเหลือมาขายให้โรงสี ผลิตภัณฑ์ข้าว HIPPO ตามรูปฮิบโปพระราชทาน และ ข้าวน่าน ที่อยู่บนภาพปู่ม่านย่าม่านในตำนานกระซิบรักอยู่ในภาพวาดประวัติศาสตร์ที่วัดภูมินทร์ เป็นข้าวเหนียวที่มีชื่อเสียงคุณภาพของจังหวัดน่าน บริหารโรงสีข้าวแบบสหกรณ์ 1. ร่วมแรง ร่วมใจ 2. ร่วมหุ้น 3. ร่วมรับผิดชอบ 4. ร่วมทำธุรกิจ 5. ร่วมรับผลประโยชน์

    การดูงานโครงการในพื้นที่พัฒนาบ้านน้ำป้าก

    ได้เรียนรู้เรื่องการฟื้นฟูพื้นที่ป่าอย่างไร ปลูกป่า 3 อย่างได้ประโยชน์ 4 อย่าง การพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้ ดอยตุงโมเดลแนวทางพัฒนาอย่างยั่งยืน ปลูกคนก่อนปลูกป่า คนต้องอิ่มท้องก่อน การส่งเสริมชุมชนต้องส่งเสริมความรู้ สร้างความสัมพันธ์และจิตสำนึกที่ดี ไม่ใช้การให้เงินช่วยเหลือแต่ต้องให้ชุมชนมีความรู้และเรียนรู้การหารายได้พึ่งตนเอง นำมาปรับใช้ในการทำงานด้าน CSR.

    ณัฐ ยุทธสารประสิทธิ์ กลุ่ม 3

    Lesson to learn from Naan

    สรุป สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากการไปดูงานที่ จ. น่าน โดย องค์รวม :

    จังหวัดน่าน เดิม เป็นจังหวัดที่ มีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าดงดิบ การเดินทางลำบาก และเป็นพื้นที่ ของกลุ่มคอมมิวนิสต์ แต่ ปัจจุบันสภาพป่า หรือ สภาพภูมิประเทศจากเดิมที่เป็นป่าดงดิบ และมีต้นน้ำลำธาร ในพื้นที่ของน่านลดลงเนื่องจากมีการทำลายป่า ทำลายเขาเป็นพื้นที่ทำกิน ทำให้น่านมีพื้นที่ป่าลดลงเหลือไม่ถึง 20% จ. น่าน ความสำคัญ ต่อ กฟผ. คือ เป็นแหล่งต้นน้า ของแม่น้ำ น่าน ซึ่ง 40 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำใน เขื่อนสิริกิตต์ และ น่าน เป็น Hub ที่ รับไฟฟ้ามาจากประเทศ ลาว

    การดูงานครั้งนี้ได้ เรียนรู้ ถึง แนวคิดต่างๆ ในการแก้ปัญหาชุมชน การแก้ปัญหาการรุกที่ป่า ซึ่งจากการ พบ ผวก. จ.น่าน ท่านได้กล่าวว่า ต้องระลึกเสมอว่าเขาเป็นคนน่าน ต้องมีที่อยู่อาศัย มนุษย์ต้องกินต้องใช้ เจ็บไข้ต้องรักษา ลูกต้องเข้าโรงเรียน จะเอาเงินที่ไหน จึงได้มีแนวทางการตัดสินใจในเรื่องการส่งเสริมเกษตรกรรม โดยให้ชาวบ้านเลือกพื้นที่ที่ทำอาชีพ ดีกว่าพื้นที่ที่จะเป็นปัญหาในอนาคต ไม่ใช่ให้เขาเลือกอาชีพที่ทำผิดกฎหมายแล้วเรามาคอยปราบปราม จะลำบากมากกว่านี้ ต้องระลึกไว้เสมอว่า คนเลือกเกิดไม่ได้ ดังนั้นเราต้องช่วยกัน และเนื่องจากเขาไม่มีโอกาสในการทำมาหากินจึงเป็นเหตุผลที่ชาวบ้านลุกล้ำบนภูเขา และ หากจะ ปลูกป่าต้องปลูกในใจเขาก่อน “การทำอะไรใน กับป่า ต้องมีอาชีพให้เขาแทน การพัฒนาทำได้ยากเนื่องจากไม่มีโอกาสให้ประชาชนบนดอยมีทางเลือกอื่น เนื่องจากราชการก็ไม่สามารถเข้าไปได้ นั่นคือ คำตอบของการแก้ปัญหา

    สำหรับ การเรียนรู้จากชุมชนต่าง ๆ ที่ได้ไปเยี่ยมชม เช่น บ้านดงป่าสัก บ้านห้วยหาด ซึ่งบางชุมชนได้มีการดำเนินการโครงการชีววิถี ซึ่งก่อนหน้านี้ประสบปัญหา ได้แก่ 1. ต้นทุนการผลิตสูง 2. ราคาผลผลิตต่ำ 3. รายได้ต่ำ ค่าใช้จ่ายสูง และจาก การประเมินผลการดำเนินการโครงการชีววิถี พบว่า พบว่าสมาชิกมีชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้นจากเดิมโดยชีววิถีจะช่วยเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายเพื่อความยั่งยืน

    1.ช่วยลดต้นทุนในด้านการผลิต

    2.ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนจากเดิมต้องจ่ายค่ากับข้าวอย่างน้อยวันละ100บาทลดเหลือลงวันละ30บาท

    3.เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว โดยได้มาจากการขายปลาดุกและกบ
    ทั้งนี้สิ่งทำในทุกชุมชน คือ เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม สร้างอาชีพ และ หลายชุมชน มีศักยภาพมากพอที่ สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้

    โสตถิพันธุ์ คมสัน ช.อสอ-สผ. กลุ่ม 2

    การดำเนินงานของ กฟผ. เพื่อพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างโรงไฟฟ้า หรือระบบส่งในปัจจุบัน จะสำเร็จได้จะต้องสร้างความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นโดยเริ่มตั้งแต่ การรับรู้ เข้าใจ ยอมรับ และสนับสนุน สำหรับจังหวัดน่าน กฟผ. ได้มีส่วนสนับสนุนชุมชนให้ปลูกป่า ดูแลรักษาป่า รักษาต้นน้ำ โดยนำแนวคิดในรูปแบบของดอยตุงโมเดลมาปรับใช้ เพื่อให้ชุมชนอยู่ร่วมกันกับป่าได้อย่างยั่งยืน

    นอกจากนี้ ยังมีนโยบายจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนชุมชนใต้แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูงของ กฟผ. เช่นเดียวกับชุมชนรอบโรงไฟฟ้า เพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่า

    สำหรับสิ่งที่ กฟผ. ควรจะดำเนินการควบคู่ไปด้วย คือ การเปิดโอกาสด้านการศึกษา ควรมีการสนับสนุนทุนการศึกษา ทุนอาหารกลางวันให้แก่เด็กนักเรียนในพื้นที่ที่สายส่งไฟฟ้าไปถึง ส่งเสริมให้เยาวชนในท้องถิ่นได้มีโอกาสศึกษาในระดับสูงขึ้นตามความสามารถ

    นายกัมปนาท แสงสุพรรณ EADP 13 กลุ่ม 1

    ช่วงที่ 2 , 28 - 30 มีนาคม 2560 ณ จังหวัดน่าน

    1.เยี่ยมชมสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน ของ กฟผ.

    สรุปสาระสำคัญ : สถานีไฟฟ้าแรงสูงน่านมีพื้นที่ 109 ไร่ เมื่อก่อนได้รับการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าจะใช้พื้นที่สร้างโรงไฟฟ้า ทำให้พนักงานกฟผ. ที่นั่น นำโดย คุณนิรันดร์ ต้องไปอธิบายสร้างความเข้าใจกับชุมชน ได้มีการทำกำแพงกันเสียงที่ตัวสถานีไฟฟ้าแรงสูง ใช้งบประมาณ 20 ล้านบาทแล้วเสร็จ ในขณะนี้ได้รับความไว้วางใจจากชาวบ้านดีขึ้น สามารถเพิ่มการรับกระแสไฟฟ้าจาก โรงไฟฟ้าหงสา สปป.ลาว เข้ามาเสริมระบบไฟฟ้าของภาคเหนือ ให้มีความมั่นคงมากขึ้น และสามารถส่งกระแสไฟฟ้าเพิ่มเติมสู่ภาคกลางด้วย การทำงานด้านความเข้าใจต่อมวลชนของกลุ่มผู้ปฎิบัติงานพื้นที่ทำได้ดีมาก ทำด้วยความเสียสละ และจิตอาสาโดยแท้จริง

    2.เยี่ยม “ บ้านดงป่าสัก ” ณ อบต.ฝายแก้ว , ภูเพียง จ. น่าน

    สรุปสาระสำคัญ : บ้านดงป่าสัก นำโดย ผู้ใหญ่บ้านสมาน เป็นหนึ่งในหมู่บ้านของโครงการหมู่บ้าน กฟผ. วิถีพอเพียง นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และชีววิถีตามแนวคิดศาสตร์แห่งพระราชา มาใช้ในการดำรงชีวิต ทำการปลูกป่าให้เกิดความชุ่มชื้นในพื้นที่ โดยใช้ปรัชญา“ปลูกที่ท้อง,ปลูกที่ใจ,ปลูกในป่า ” สู่เยาวชนรุ่นใหม่

    ผู้ใหญ่สมานได้นำชมพื้นที่ 1 ไร่ ของบ้านที่นำแนวทางโครงการชีววิธีพอเพียงมาใช้โดยได้รับการสนับสนุนของ กฟผ. แบ่งพื้นที่เพาะปลูก , เลี้ยงสัตว์ , ปลูกพืชครัวเรือน , พื้นที่บ้านและพื้นที่ใช้สอยเพื่อใช้ชีวิตอย่างพอมีพอกิน ช่วยรักษาป่าต้นน้ำที่หล่อเลี้ยงให้แม่น้ำน่านส่งน้ำถึงร้อยละ 45 ให้กับพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาให้ใช้ได้ไม่ขาดแคลน หัวใจของงาน CSR กฟผ. คือให้อย่างมีคุณค่า ,รับอย่างมีศักดิ์ศรี

    3.ประสบการณ์การทำงานตามศาสตร์พระราชาของ นพ.บุญยงค์ วงค์รักมิตร

    สรุปสาระสำคัญ : ท่าน นพ. บุญยงค์ ที่ปรึกษาสถาบันปิดทองหลังพระ เล่าประสบการณ์การทำงานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินมายัง จ. น่าน เพื่อเยี่ยมชมราษฎรและโรงพยาบาล จ. น่าน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจกับแพทย์และพยาบาล รพ.โรงพยาบาล จ. น่านในสถานะการณ์ของการต่อสู้ทางความคิดที่แตกต่างกัน อีกทั้งทรงพระราชทานเงินในการบูรณะ/สร้างอาคารโรงพยาบาล จ. น่าน ทรงเยี่ยมทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในขณะนั้นยังความปลาบปลื้มให้แก่ผู้เข้าเฝ้ารับเสด็จ โดยไม่ถือพระองค์เป็นที่ระลึกถึงจนทุกวันนี้

    4.เยี่ยม ชุมชนบ้านห้วยหวด อ. ปัว และชมบ่อเกลือสินเธาว์ อ. บ่อเกลือ จ. น่าน

    สรุปสาระสำคัญ : บ้านห้วยหาด อ.ปัว จ. น่าน นำโดยท่านผู้ใหญ่บ้านนัยนา แนะนำให้รู้จักการทำงานของชุมชนหมู่บ้าน บ้านห้วยหวด และบ้านห้วยลักลาย ในอดีตเป็นพื้นที่ของคอมมิวนิสต์ ต่อมาได้เข้าร่วมการพัฒนาชาติไทยในการอนุรักษ์น้ำและอนุรักษ์ป่าให้กลับคืนมา มีการสร้างฝายเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใชสำหรับทำการเกษตรและการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ทดแทนการทำพืชเชิงเดี่ยวเช่นข้าวโพด , หยุดทำไร่เลื่อนลอย ทำนาแบบขึ้นบันใด,ปลุกพืชและเลี้ยงสัตว์ โดยมีองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนรวมทั้ง ม. เชียงใหม่ , ม. ภาคเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และ กฟผ. มาให้คำแนะนำ มีการนำผลิตผล เช่น ถั่วดาวอินคา , ไม้กวาดดอกหญ้าและผ้าทอมือเป็นสิ้นค้าสั่งขายเพิ่มรายได้เป็นการส่งเสริมอาชีพเพิ่มเติมลดการใช้สารเคมีจนชุมชนกลับมาพึงพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

    สำหรับบ่อเกลือสินเชาว์ของ อ.บ่อเกลือ มีอายุมากกว่า 800 ปี ถือเป็นสินค้าเศรษฐกิจที่สำหรับของพื้นที่มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ ของชุมชนและสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วย

    5.เยี่ยมโรงสีพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ อ.ท่าวังผา จ. น่าน

    สรุปสาระสำคัญ : จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2549 ทำให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี พระราชทานเงินให้จัดตั้งโรงสีข้าวพระราชทานขึ้นดำเนินในรูปแบบสหกรณ์ มีสมาชิกมาจากชาวนาในพื้นที่ อ.ท่าวังผา และรอบนอกของ จ. น่าน โดยจักตั้งเป็นกองทุนข้าวพระราชทานขึ้น ทำการรวบรวมข้าวเปลือกจากเครื่อข่ายและสมาชิกของโรงสีตามคุณภาพที่ได้รับการส่งเสริม ส่งขายไปยังที่ต่างๆ เช่น หน่วยราชการทหาร และภาคเอกชนภาคอื่นๆ เป็นการสร้างรายได้ให้เกษตรกร และทำเทคนิคใหม่ๆ มาส่งเสริมการปลูกข้าวให้มีคุณภาพ เป็นไปตามความต้องการของตลาด ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า1,200 ราย โดยมีกรมส่งเสริมสหกรณ์มาให้ความรู้ในการบริหารงานและส่งเสริมให้ข้าวได้ตามมาตราฐาน

    6.เยี่ยมชม “โครงการพื้นที่บ้านน้ำป๊าก อ. ท่าวังผา จ. น่าน

    สรุปสาระสำคัญ : พื้นที่บ้านน้ำป๊าก ต. ตาลชุม ท่าวังผา เป็นพื้นที่นำร่องของโครงการปิดทองหลังพระสืบสานตามแนวพระราชดำริตามแบบอย่างของดอยตุงโมเดลของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง เพื่อการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และลดการตัดไม้ทำลายป่า สร้างเศรษฐกิจรายได้ให้กับชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

    เริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2552 โดยใช้หลักการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อให้ชาวบ้านพึ่งพาตนเอง รักแหล่งน้ำด้วยการปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 ย่าง และสร้างอาชีพ ปัจุบันได้รับความร่วมมือจากชุมชนทั้ง 100% (3หมู่บ้าน) และคณะได้ดูพื้นที่ของนายหมื่น อนันต์ จำนวน 21 ไร่ นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ลดภาระหนี้สินที่มีอยู่ถึง 300,000 บาทลงได้มาก แบ่งพื้นที่ปลูกข้าว , ปลูกผลไม้ทางเศรษฐกิจเช่น ลำไย มะม่วง ,เลี้ยงสัตว์พวกสุกรและไก่ ปัจจับันลดหนี้เหลือ 60,000 บาท มีความสุขกับการดำรงชีวิต

    สรุปประเด็นที่เรียนรู้จากการดูงาน

    ชุมชนนำแนวคิด “ ศาสตร์พระราชา ” มาใช้ในการดำรงชีวิต ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น พออยู่พอกินมีรายได้ และยังช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นป่าไม้ ให้เกิดความยั่งยืนซึ่งเป็นนโยบายของ กฟผ. ที่ให้การสนับสนุนได้แก่ โครงการปลูกป่า ,โครงการชีววิถี และสนับสนุนงาน CSR โดยใช้หลักการ“ ให้อย่างมีคุณค่า รับอย่างมีศักดิ์ศรี” ซึ่งถือเป็นการนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 นำมาปรับใช้กับการทำงานของ กฟผ. ที่อยู่ร่วมกับชุมชนต่อไป

    ไวฑูรย์ เกียรติเฉลิมคุณ

    นายไวฑูรย์ เกียรติเฉลิมคุณ กลุ่ม 2
    วันที่ 28-30 มีนาคม 2560

    เยี่ยมชมสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่าน กฟผ. จังหวัดน่าน

    การสร้างความเข้าใจของชุมชนเรื่อง ลิกไนต์ สนามแม่เหล็ก และฟ้าผ่า ประกอบด้วย และการสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงน่านไม่ได้มองเพียงแค่ว่าจะต่อต้านแต่ต้องทำความเข้าถึงชุมชนเพื่อให้เกิดความเข้าใจและยอมรับ อยู่ที่ความร่วมมือของหลายฝ่าย ทั้ง กฟผ. นักธุรกิจ ผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่ ซึ่งทาง กฟผ.จะต้องลงพื้นที่ด้วยความจริงใจ และความจริง

    เยี่ยม “บ้านดงป่าสัก” พื้นที่โครงการหมู่บ้าน กฟผ. วิถีพอเพียง

    ปัจจุบันสภาพป่า หรือสภาพภูมิประเทศจากเดิมที่เป็นป่าดงดิบ และมีต้นน้ำลำธาร ในพื้นที่ของน่านลดลงเนื่องจากมีการทำลายป่า ทำลายเขาเป็นพื้นที่ทำกิน ทำให้น่านมีพื้นที่ป่าลดลงเหลือไม่ถึง 20%สาเหตุหนึ่งของการเป็นพื้นที่กบดานของกลุ่มคอมมิวนิสต์ และผู้ก่อการร้าย

    กไารแก้ปัญหาการออกพื้นที่กรรมสิทธิ์ไม่สามารถทำได้ ชาวบ้านอยู่ในพื้นที่ป่ามาก่อน แต่ไม่มีเอกสารมาสำแดง จึงเกิดปัญหาเรื่องการยื้อแย่งกลายมาเป็นปัญหาหลายเรื่องที่ตามมา และประเด็นที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดมองเรื่องไฟฟ้า มองว่าจังหวัดน่านมีสายส่งไฟฟ้าแรงสูงจาก โรงไฟฟ้าหงสา สปป.ลาวผ่านจังหวัดน่านแต่ชุมชนไม่มีไฟฟ้าใช้ และการส่งเสริมอาชีพต้องมีอาชีพให้เขาแทน การพัฒนาทำได้ยากเนื่องจากไม่มีโอกาสให้ประชาชนบนดอยมีทางเลือกอื่น เนื่องจากราชการก็ไม่สามารถเข้าไปได้

    จนทำให้นายทุนบางคนเข้าไปส่งเสริมการปลูกข้าวโพดด้วยจึงทำให้มีการตัดต้นไม้เพื่อไร่ข้าวโพด

    กฟผ. คงต้องกับมามองเรื่อง Connection กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด พลังงานจังหวัด ไฟฟ้าภูมิภาค ผู้นำชุมชน ฯลฯ เพื่อให้เกิดบูรณการทั้งหมดเพื่อให้เกิดความเชื่องโยงเพื่อให้เกิดกับชุมชนได้อย่างแท้จริง

    ผู้นำชุมชนบ้านดงป่าสักนายเกตุศรรบศึก ผู้ใหญ่บ้าน

    บ้านดงป่าสัก มี 146 ครัวเรือน มีหมู่บ้านสาขา อาทิห้วยปูน 46 ครัวเรือน มีคน 579 คน

    บ้านดงป่าสัก พื้นที่ 80% อยู่ในภูเขาสูง พื้นที่ราบ 20% มีการทำไร่ข้าวโพด สวนยางพารา เลี้ยงสัตว์ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน เลี้ยงสัตว์ กฟผ.ได้ไปเชื่อมกับชุมชนด้วยโครงการชีววิถี เรื่องที่ดิน ที่ดงป่าสักมีการจัดการที่ดินโดยแบ่งขอบเขตชัดเจน ไม่มีการบุกรุก การจัดเวรยาม การเดินทางไกล ธนาคารต้นไม้เสริม มีการร่วมทำกับ ธกส. เรื่องการดูแลรักษาป่า แต่ปัญหาคือเรื่องราคาต้นทุนและการตลาดที่ชุมชนยังไม่มีความรู้ แนวทางคงส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปให้ความรู้ในเรื่องผลผลิตเพื่อลดต้นทุนพร้อมจัดหาตลาดให้กับชุมชน

    เยี่ยมชมโครงการพัฒนาห้วยหาด ตามแนวทางพระราชดำริของรัชกาลที่ 9

    ใหญ่บ้านนัยนา ฑีฆาวงศ์และ ส.อบต. 2 ท่าน นายประชุม ล้วนปวน และนายต้น ตาลตา

    บ้านห้วยหาดมีส่วนร่วม ให้ประชาชน พอมี พอกิน พอใช้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ เดินทางสายกลาง พอประมาณมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน มีความรู้และคุณธรรมโดยสิ่งที่ทำคือเน้นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม การพัฒนาจิตใจให้มีคุณธรรม การให้การศึกษา การสร้างความมั่นคง เพื่อการต่อยอด และกระจายพัฒนาสู่ชนบทกล่าวถึงการพัฒนาแหล่งน้ำพัฒนาป่าไม้พัฒนาอาชีพคุณภาพชีวิต และมีหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ถือเป็นชุมชนที่ดีตัวอย่างที่สามารถให้ชุมชนเกิดความเข้าใจและมีส่วนร่วมด้วยกลยุทธ์ของผู้ใหญ่บ้านและทีมงานที่เข็มแข็ง มีโครงการเป้าหมาย และวิธีการที่จะทำในแต่ละกิจกรรมไดค่อนข้างชัดเจนเช่น พัฒนาแหล่งน้ำ 2,500 ไร่ สร้าง 4 ฝายเป็นแหล่งกักเก็บน้ำ การช่วยดูแลรักษาป่า ใช้แรงงานของชุมชนเป็นหลักช่วยดูแลป่าอุดมสมบูรณ์ มีเขตอนุรักษ์พันธุ์ป่าไม้ มีสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ขึ้นชื่อ การทำแนวป้องกันไฟป่า และยังมีการวางแผนโครงการในอนาคตหลายโครงการ ที่สำคัญการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาชุมชนด้านการเกษตรเน้นความยั่งยืนเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการช่วยกันรักษ์ป่า การอยู่อย่างพอเพียงตามรอยพ่อ

    ซึ่งมองศักยภาพของชุมชนแล้ว สามารถที่จะต่อยอดจากเดิมได้ไม่ว่าจะเป็นศูนย์เรียนรู้ให้ชุมชนอื่น หรือพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว การจัดการกับผลิตภัณฑ์ของชุมชนในเรื่อง Packaging เรื่องการตลาดอาจใช้ Social เข้ามาช่วย เรื่องนวัตกรรมในเรื่องพลังงานทด

    แทนมาใช้เช่นเครื่องอบใบอินคาจากเดิมใช้ไฟฟ้า อาจมาใช้เป็นเครื่องอบ Solar cell ซึ่งก็สามารถทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้เป็นต้น

    เยี่ยมชม ศึกษาการพัฒนาโครงการพื้นที่บ้านน้ำป้าก ตำบลตาลชุม อำเภอท่าวังผา

    หลักการดำเนินงาน มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และ สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิด ทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ มุ่งมั่นดำเนินการโดยยึด 3 หลักการ ดำเนินงานตามรอยพระยุคลบาท คือ

    1. หลักการองค์ความรู้ 6 มิติ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ปิดทองหลังพระ เน้นการพัฒนาชุมชนตามหลักการองค์ความรู้ โดยปรับน้ำหนักแต่ละเรื่องตามสภาพภูมิสังคมและ สภาพปัญหาในแต่ละพื้นที่ เน้นการพัฒนาชุมชนตามหลักการองค์ความรู้ใน 6 มิติ ได้แก่ ดิน น้ำ เกษตร พลังงานทดแทน ป่า และ สิ่งแวดล้อม โดยจะปรับน้ำหนักของแต่ละเรื่องตามสภาพภูมิสังคมและสภาพปัญหาของชุมชนในแต่ละพื้นที่ ซึ่ง องค์ความรู้ 6 มิติ จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น มิติน้ำ จะเน้นการพัฒนาแหล่งน้ำ การเก็บน้ำให้อยู่ในประเทศให้นานที่สุด และการใช้น้ำทุกหยดให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยวิธีการทำฝนหลวง กังหันน้ำชัยพัฒนา การทำฝาย และการบำบัด น้ำเสียโดยวิธีชีวภาพและมิติป่า ซึ่งจะเน้นวิธีการปลูกป่า คือ การปลูกป่าในใจคน การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง

    2. หลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาการ เข้าใจคือ การสร้างให้เกิดความเข้าใจในข้อมูลพื้นฐาน ด้วยการศึกษาข้อมูลทุกมิติของชุมชน ค้นหารากของปัญา หาและรวบรวมองค์ความรู้ของโครงการพระราชดำริทั่วประเทศการเข้าถึงเป็นเรื่องการสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วม โดยมุ่งสื่อสารสร้างความเข้าใจและความมั่นใจกับชุมชน ร่วม กันวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชุมชน และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวน การพัฒนามากที่สุด การพัฒนาเป็นเรื่องของการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน สร้างทีมพี่เลี้ยง การออกแบบหลักสูตรและเมนูการ พัฒนาการศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติของชุมชน รวมทั้งการให้ทีมพี่เลี้ยงให้คำแนะนำใน ชุมชนและติดตามสนับสนุนประเมินผล บันไดทั้งสามขั้นนี้ จะทำให้ชุมชนมีความเป็นเจ้าของและนำไปสู่ความยั่งยืนของการพัฒนาในที่สุดบันไดทั้ง 3 ขั้นนี้มุ่งไปสู่การพัฒนาให้ชุมชนมีความเป็นเจ้าของและนำไปสู่ความยั่งยืนในที่สุด

    3. หลักการทรงงานและหลักการโครงการ

    ปิดทองหลังพระ มุ่งมั่นดำเนินการโดยน้อมนำหลักการทรงงานและหลักการโครงการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็น หลักในการปฏิบัติงาน โดยการนำไปปรับใช้กับพื้นที่ต่างๆ ที่ปิดทองหลังพระเลือกเป็นพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการองค์ ความรู้ตามแนวพระราชดำริ เช่นที่จังหวัดน่าน

    ประจวบ ดอนคำมูล 475173 กลุ่มที่ 4

    การเรียนรู้ดูงานจังหวัดน่าน

    จังหวัดน่านมีตวามสำคัญในเนื่องจาก

    1. เป็นแหล่งต้นน้ำกว่า45%ของแม่น้ำเจ้าพระยาและเป็นแหล่งต้นน้ำของเขื่อนสิริกิตต์
    2. เป็นพื้นที่รองรับสายส่งไฟฟ้า500Kv.จากโครงการหงสา1,437 MW.เข้ามายังภาคเหนือของประเทศไทยตลอดอายุของสัญญา26ปี
    3. มีปัญหาการบุรุกทำลายป่ามาหลายปีจนเป็นภาพภูเขาหัวโล้นและหลายหน่วยงานเห็นว่าจำเป็นต้องมีการแก้ไข
    4. น่านเป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาและศิลปวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์และมีชื่อเสียง

    สิ่งที่ได้เรียนรู้

    1. ประเด็นปัญหาการเป็นพื้นที่ก่อสร้างสายส่งและสถานีไฟฟ้าแรงสูงรองรับการส่งไฟฟ้าจากโครงการหงสา สปป.ลาวเข้ามาพบว่ามีปัญหาชาวบ้านมีการต่อต้านเช่นเข้าใจว่าสายส่งจะทำให้เกิดปัญหาฟ้าผ่า หรือทำให้เป็นหมันและสถานีไฟฟ้ามีเสียงดัรบกวน ต้องมีการทำความเข้าใจและทำ CSR กับชุมชนอย่างต่อเนื่องและอดทนจึงทำให้โครงการสำเร็จไปได้ แต่ชุมชนที่อยู่ใกล้กับสายส่งบางส่วนกลับไม่มีไฟฟ้าใช้ซึ่งทางผู้ว่าราชการจังหวัดยังฝากให้ช่วยดูแลหาทางให้ช่วยเหลือชุมชนดังกล่าวด้วย
    2. กรณีปัญหาการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าจนเกิดภาพภูเขาหัวโล้น หลายหน่วยงานเข้ามาทำโครงการฟื้นฟูและปลูกป่า จากการได้มีโอกาสรับฟังท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกล่าวถึงสภาพปัญหาและประวัติศาสตร์การอยู่ของตนกับป่าตั้งแต่สมัยที่มีการต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย บางพื้นที่ต้องมีการนำมวลชนช่วยเหลือเรื่องความมั่นคงดังนั้นต้องให้สิทธิ์ทำกินกับชาวบ้านแต่ภายหลังก็มีการขยายพื้นที่บุกรุกมากขึ้นรวมทั้งมีนายทุนสนับสนุนให้ปลูกพืชเชิงเดี่ยวเช่นข้าวโพดทำให้เกิดการบุกรุป่าอย่างกว้างขวาง
    3. มีหลายโครงการเข้ามาดำเนินการและสนับสนุนให้ชาวบ้านอยู่กับป่าอย่างพอเพียง ยั่งยืนและฟื้นฟูสภาพเช่น กฟผ.ที่บ้านห้วยหาด บ้านดงป่าสัก มีการทำการเกษตรผสมผสานมีผลิตภัณฑ์ของชุมชน
    4. มูลนิธิปิดทองหลังพระที่บ้านน้ำป๊ากโดยการนำดอยตุงโมเดลมาประยุกต์ให้คนอยู่ได้ ป่าได้รับการจัดสรรและฟื้นฟูอย่างเป็นระบบและจะเป็นต้นแบบให้ขยายออกไปสู่ชมชนอื่นๆต่อไป ถือว่าเป็นการประยุกต์และต่อยอดองค์ความรู้และความสำเร็จจากโครงการของสมเด็จย่ามาสู่พื้นที่จังหวัดน่านอย่างน่าชื่นชม
    5. มีโครงการโรงสีชุมชนที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาทรงดำริและมีการจัดตั้งรูปแบบสหกรณ์ชุมชนก็ช่วยให้การปลูกและผลิตข้าวสารได้อย่างครบวงจรมีผลผลิตและกำไรเลี้ยงตัวเองและชุมชนได้อย่างสมดุล ชาวบ้านได้รียนรู้และบริหารจัดการกันเองโดยพระองค์ท่านเสด็จมาเยี่ยมเป็นประจำ
    6. มีโอกาสดีที่ได้รับฟังประสบการณ์การทำงานของคุณหมอบุญยงค์ วงศ์รักมิตรในฐานะผู้อำนวยการ รพ.น่านซึ่งได้มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิดอง๕พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะการต้องดูแลรักษาทหารที่บาดเจ็บจากการสู้รบกับผู้ก่อการร้ายด้วยความอุตสาหะและยากลำบากโดยพระองค์ท่านได้สละพระราชทรัพย์และเสด็จมาทรงงานที่จังหวัดน่านถึง23 ครั้ง คุณหมอได้ให้ข้อคิดการทำงานต้องสร้างคุณค่าให้กับส่วนรวมด้วยความสำนึกในหน้าที่ที่รับผิดชอบอย่างเต็มกำลัง
    นายธานี โพธิ์เอี้ยง ช.อผม-บ. กลุ่มที่5

    การเรียนรู้จากการดูงานที่ น่าน

    จากการศึกษาดูงานช่วงนี้ สิ่งที่ได้คือการรับรู้ข้อมูลต่างๆจากพื้นที่จริง จากคนที่อยู่ในพื้นที่จริง ทำให้ได้รู้ถึงปัญหาในแต่ละชุมชนที่แตกต่างกัน วิธีแก้ปัญหาของแต่ละชุมชน แรงบรรดาลใจที่ทำให้คนในแต่ละชุมชนต้องลุกขึ้นมาพัฒนาชุมชนของตนเอง ได้เห็นภาวะผู้นำของแต่ละชุมชน ซึ่งหากทุกชุมชนในประเทศทำได้อย่างกับชุมชนที่ไปดูงานมา ประเทศน่าจะพัฒนาได้มากกว่านี้ เพราะ ทุนมนุษย์สำคัญมาก

    นายอนุสรณ์ สุขศรี ช.อรม-2. กลุ่มที่ 5

    การศึกษาดูงาน ณ จังหวัดน่าน

    สิ่งที่ได้เรียนรู้ โครงการชีวะวิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทำอย่างไร การทำพิกัดของต้นไม้การรักษาป่าต้นน้ำของบ้านห้วยหาดทำอย่างไร เช่นการทำแนวป้องกันไฟป่า การลาดตระเวรเพื่อการอนุรักษ์ การประกอบอาชีพเพื่อทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว การทำเกลือสินเธาว์ของ อ.บ่อเกลือ ประเพณีการบายสีสู่ขวัญของชาวอำเภอปัว ตามวัฒนธรรมล้านนาการบริหารงานของกลุ่มโรงสีข้าวพระราชทาน จ.น่านวิธีการปลูกป่าของโครงการปลูกป่า สร้างคน บนวิถีพอเพียง บ.น้ำป้ากโ ดยใช้หลักคิดของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง (ดอยตุงโมเดล) เช่นการแบ่งป่าออกเป็นสามส่วน ป่าอนุรักษ์ ป่าเศรษฐกิจ ป่าใช้สอย ใช้หลักคิด ปลูกป่า ปลูกคน เมื่อคนอยู่ได้ ป่าก็อยู่ได้การแก้ความยากจนที่ยั่งยืนอย่างบูรณาการ

    สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับการทำ CSR กับชุมชนรอบโรงไฟฟ้า

    การดูงานจังหวัดน่านเป็นการเปิดโลกทรรศน์ในเรื่องของการรับรู้สภาพความเป็นอยู่ชองชุมชนซึ่งกฟผ.มีศักยภาพในการผลักดันหรือร่วมพํฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ประชาชนในพื้นที่ที่ กฟผ.ดำเนินกิจการด้านพลังงานไฟฟ้า เช่นชุมชนบ้านห้วยหาดหรือ

    อาจจะทำโครงการพลังงานหมุนเวียนที่โรงสีข้าวพระราชทานหรือทำโครงการปลูกป่าหมุนเวียนเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกให้เกิดการทำงานร่วมกันของหลายสายงานของกฟผ.ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาเรื่องอื่นๆซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการอยู่รอดและยั่งยืนขององค์กร นอกจากนี้ยังจะได้มีโอกาสในการสร้างเครือข่ายระหว่าง กฟผ.กับชุมชม ประชาชน ผู้นำการเคลื่อนไหว สื่อมวลชน อันจะทำไปสู้ผลลัพธ์ที่ดีเมื่อมีการขยายงานด้านการสร้าง

    แหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าใหม่ๆหรือการขยายระบบส่งอีกด้วย ดังนั้น กฟผ.ควรส่งเสริมให้มีโครงการเช่นเดียวกับการดูงานที่จังหวัดน่านเป็นจำนวนมากๆเพื่อแร่งให้เกิดการพัฒนาแนวคิดและวิธีการทำงานใหม่ๆซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ. ประเทศชาติ ประชาชน ชุมชนต่อไป

    นุชนาฏ เกษทอง ช.อทบ-ป. กลุ่มที่ 1

    - จังหวัดน่านมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับ กฟผ. ในหลายๆ เรื่อง มีป่าต้นน้ำที่ไหลสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ถึง 45 % (ชาวบ้านมีความยากจน ชาวบ้านมีรายได้ต่ำที่สุดเป็นลำดับ 3 ของประเทศ) กฟผ. ได้สร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงที่น่าน เพื่อเป็นที่รับไฟฟ้าจากโครงการหงสา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะเพิ่มรายได้ให้แก่จังหวัดน่าน


    - กฟผ. ปลูกป่าต้นน้ำที่จังหวัดน่าน เพื่อให้การปลูกป่าอย่างยั่งยืนโดยใช้แนวทาง คือ “ ปลูกที่ท้อง ปลูกที่ใจ ปลูกในป่า ” และต้องให้คนในพื้นที่มีจิตสำนึกที่จะรักและหวงแหนป่าของเขาไม่ให้ใครมาทำลาย


    - กฟผ. ต้องสร้าง Trust ให้กับผู้นำชุมชน /ผู้นำในท้องถิ่นนั้นให้ได้ก่อนจะนำไปสู่ความสำเร็จในด้าน CSR ได้ การเข้าถึงชุมชนต้องเข้าใจว่า เขาต้องการอะไรมิใช่ทำในสิ่งที่เราอยากจะทำ


    - การเยี่ยมชมโครงการหมู่บ้านตัวอย่างต่างๆ


    - การนำปรัชญาพอเพียงจากพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางปฏิบัติเศรษฐกิจ


    - การเสียสละของผู้นำชุมชนต่างๆ


    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท