ทุนชุมชนในภูมิภาคตะวันตก : กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านปลักไม้ลาย ( ครั้งที่ 5 )


วันนี้วันที่ 19 มีนาคม 2560 เป็นวันที่จัดการอบรมของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านปลักไม้ลายเป็นวันสุดท้ายของการอบรม

ภาพรวมการจัดกิจกรรมอบรมของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านปลักไม้ลาย

ภาพถ่ายโดย : ชริญา แก้วบัวดี


วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2560 ได้มีกิจกรรมของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านปลักไม้ลาย ต.ทุ่งขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม แต่ละช่วงดังต่อไปนี้

09.00 – 12.00 น. ศึกษาป่าสมุนไพร


การบรรยายและบอกถึงชนิดของสมุนไพร

ภาพถ่ายโดย : ณัฐภัทร พระสว่าง

เรื่องสมุนไพรในการรักษาโรค

  • ใบกระออม1ส่วน หญ้าหนวดแมว1ส่วน รากหญ้าคา1ส่วน หัวแห้วหมู1ส่วน และเกลือเม็ดใหญ่3เม็ด สามารถนำมาต้มและดื่มช่วยในการขับนิ่วได้ภายใน1อาทิตย์
  • ใบดีปลี เป็นยาร้อนช่วยในการขับลมสามารถนำไปประกอบอาหารได้เพราะกลิ่นเหมือนพริกไทยและเผ็ดเหมือนพริกไทยด้วยใช้ดีกว่าพริกไทยวิธีการใช้หั่นและโรยลงไปในอาหาร
  • หญ้าง่วงช้าง สรรพคุณมีหลายอย่างแต่สรรพคุณที่จดสิทธิ์บัตรก็คือช่วยในการขับปัสสาวะยาเม็ดที่เราใช้จากหมอแพทย์ปัจจุบันเราต้องซื้อจากญี่ปุ่นซึ้งเสียเงินเราจึงควรนำสมันไพรของบ้านเรามาใช้เพื่อเป็นการลดการใช้จ่าย นำเอาไปต้มใส่น้ำและดื่มจะช่วยขับปัสสาวะและแก้อักเสบเต้านมขอวัวนมแพะนมได้อีกด้วย
  • ใบมะกา เป็นยาระบายถ่ายไข้ยาทุกหม้อในสมัยโบราณจะใช้ใบมะกา99%เพราะไม่ว่าจะไข้อะไรต้องมีการขับไข้ออกมาก่อนต้องถ่ายของเสียจากร่างกายออกก่อน ช่วยลดเบาหวาน ความดัน
  • ต้นแก้วดอกหอม ใบเป็นยาชากรณีถ้าเราเลี้ยงสัตว์หรือตัวเราเป็นบาดแผลปวดบาดแผลเอาใบมาตำและพอกมันจะหายปวดเหมือนเราฉีดยาชา สมมุติว่าเลี้ยงแพะเกิดไปมีบาดแผลยาวๆและเราต้องไปหาสัตว์แพทย์สามารถใช้ใบนี้ตำพอกแล้วเย็บเองได้เลย
  • ใบม่อน มีคุณค่าทางอาหารค่อนข้างสูงแค่ยอดใบม่อนยอดอ่อนๆสามารถนำไปต้มน้ำซุปแทนซุปก้อนสำเร็จรูปได้ จะมีรสชาติหวานๆ ที่ปฐมอโศกไม่เคยใช้ซุปก้อนสำเร็จรูปหรือผงชูรสใช้ใบม่อนมาตลอด
  • ว่านกาบหอยมีสองชนิด ชนิดใหญ่มันจะมีดอกตามข้อใบเหมือนกับหอยแครงหอยกาบ ชนิดเล็กจะมีดอกเล็กกว่าออกมาตามข้อใบเหมือนกัน แก้ไอแก้เจ็บคอโดยการเอาไปต้มแล้วเอามาดื่ม ปรุงรสด้วยมะนาวเกลือน้ำตามไปนิดหนึ่งให้พอมีรสชาติเอาเปรี้ยวนำให้เยอะกว่ารสอื่นเพราะยาแก้ไอต้องเปรียวนำ
  • ใบโปร่งฟ้า เอาไปกินเป็นผักเคียงได้ช่วยลดความเลียนจากไขมันสรรพคุณยังหาไม่ได้


การบรรยายถึงสรรพคุณของสมุนไพร

ภาพถ่ายโดย : จักรกฤษณ์ อยู่มากญาติ

การปักชำกิ่ง

ระดับการเสียบให้เสียบ1ใน3ของพื้นที่ดินให้เกือบถึงก้นแต่อย่าให้ถึงก้นทำได้ง่ายแต่พวกเราเองชอบคิดว่าการปักชำนั้นมันยากเราเลยไปซื้อที่ร้านกันอย่างเดียวเพราะพืชทุกชนิดมีฮอร์โมนของมันถ้าตราบใดที่มันยังไม่ตายมันยังมีอาหารอยู่มันจะพยายามออกรากออกยอดมาดินล้วนๆโอกาที่ราจะขึ้นนั้นจะน้อยถ้าใส่ปุ๋ยปุ๋ยมันมีราจะทำให้อยู่ได้ไม่นานแล้วปัจจัยที่ทำให้รากมันงอกก็คืออากาศแต่ต้องอากาศน้อยๆอากาศยิ่งน้อยเท่าไหร่ก็จะบังคับให้รากมันออกเร็วเท่านั้นถ้าดินโปร่งโอกาสที่รากจะออกจะมีน้อยและก็จะเน่าง่ายแต่ถ้าดินแน่นไล่อากาศออกให้หมดจะดีกว่า ยกตัวอย่างเช่นกิ่งโกสน ถ้าไม่อุดปากขวดรากไม่ออก ถ้าอุดปากขาดรากจะออกเร็ว ถ้าเราศูนย์ยากาสมันมันจะทำให้รากออกเร็วแต่ถ้าเราปล่อยมันไปคอยไปคอยมารากจะไม่ออกถ้าทำให้แน่นเลยรากจะออกภายใน2อาทิตย์ โดยช่วงแรกๆนั้นกิ่งพวกนี้ยังไม่ต้องการอาหารมากมายในช่วงแรกๆ


13.00 – 14.00 น. สรุปบทเรียน

คุณลุงสุธรรมกล่าวสรุปบทเรียนทั้งหมดที่อบรมกันมา

ภาพถ่ายโดย : จักรกฤษณ์ อยู่มากญาติ


14.00 – 15.00 น. พิธีมอบวุฒิบัตรและปิดพิธี


สมาชิกกลุ่มนาย จักรกฤษณ์ อยู่มากญาติ รับวุฒิบัตร

ภาพถ่ายโดย : จินตนา แก้วระย้า


สมาชิกกลุ่มนาย นนทกานต์ ทองอยู่ รับวุฒิบัตร

ภาพถ่ายโดย : จินตนา แก้วระย้า

สมาชิกกลุ่มนางสาว ชริญา แก้วบัวดี รับวุฒิบัตร

ภาพถ่ายโดย : จินตนา แก้วระย้า

สมาชิกกลุ่มนาย ณัฐภัทร พระสว่าง รับวุฒิบัตร

ภาพถ่ายโดย : จินตนา แก้วระย้า

สมาชิกกลุ่มนาย จักรกฤษณ์ สายแจ้ง รับวุฒิบัตร

ภาพถ่ายโดย : จินตนา แก้วระย้า

สมาชิกกลุ่มนางสาว ผกามาศ สองเมือง รับวุฒิบัตร

ภาพถ่ายโดย : จินตนา แก้วระย้า

สมาชิกที่เข้าร่วมรบการอบรมรับวุฒิบัตร

ภาพถ่ายโดย : จินตนา แก้วระย้า


สมาชิกที่เข้าร่วมรบการอบรมรับวุฒิบัตร

ภาพถ่ายโดย : จินตนา แก้วระย้า

หมายเลขบันทึก: 626568เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2017 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2017 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท