ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี หมู่เรียน57/42


ในภาพอาจจะมี 8 คน, ผู้คนกำลังยืน, ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง
วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2560 เวลา 9.30 สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน ได้มาศึกษาดูงานกันที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง เป็นศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรประจำตำบล ตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

ประวัติความเป็นมาศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง


พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่ว่า เศรษฐกิจของเราขึ้นอยู่กับการเกษตรมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว รายได้ของประเทศได้มาใช้สร้างความเจริญด้านต่าง ๆ เป็นรายได้จากการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ จึงอาจกล่าวได้ว่าความเจริญของประเทศต้องอาศัยความเจริญของการเกษตรเป็นสำคัญและงานทุก ๆ ฝ่ายจะดำเนินก้าวหน้าไปได้ ก็เพราะการเกษตรของเราเจริญ

ประกอบกับ อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท โดยรับราชการใกล้ชิดกับพระองค์ท่านฯ ในหน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) สำนักนายกรัฐมนตรีกว่า ๑๖ ปี ได้สัมผัสกับชีวิตของเกษตรกรในทั่วภูมิภาคของประเทศ ซึ่งได้พบกับปัญหาต่าง ๆของเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดินทำกิน ความยากจน ความรู้ในเรื่องการเกษตร ตลอดจนปัญหาสุขภาพ การศึกษา และอื่น ๆ ประกอบกับที่ได้ถวายการรับใช้พระองค์ท่าน ได้เห็นพระองค์ท่านทุ่มเทพระวรกาย กำลังทุนทรัพย์ อีกทั้งเวลาโดยส่วนใหญ่กับการพัฒนาค้นคว้าและทดลองในสิ่งต่าง ๆ ภายใต้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืช การทำนาข้าว การปรับปรุงดิน และน้ำ การศึกษาการปลูกป่า และพืชสมุนไพร การปลูกแฝก โรงสี และเทคโนโลยีชีวภาพ การวิจัยเรื่องพลังงาน และโครงการ อื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งทรงลงมือปฏิบัติการด้วยพระองค์เอง

พระองค์ท่านทรงเน้นให้ประชาชน และเกษตรกรรู้จักพึ่งตนเอง จึงได้พระราชทานแนวคิดเรื่อง “ทฤษฎีใหม่เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อเป็นหลักคิดให้กับทุก ๆ คน ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร จึงได้รวบรวมกลุ่มคนในหลาย ๆ อาชีพ ที่มีแนวคิด แนวอุดมการณ์ ในการที่จะฟื้นฟูประเทศ โดยการนำแนวคิดเรื่องทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ ให้ใช้กับการทำการเกษตร และการดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งการรณรงค์ให้เกษตรกรเลิกใช้สารเคมี หยุดการพึ่งพาชาติตะวันตกและหันกลับมาพึ่งพาตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่เคยสืบทอดกันมาเพื่อเน้นการทำเกษตรที่ยั่งยืนบนผืนแผ่นดินไทย

การรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาทำการเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง ตามแนวพระราชดำริฯนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติให้เกษตรกรได้เห็นจริงจึงจะเข้าใจแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้องจึงเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการเผยแพร่แนวความคิดและดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเป็นศูนย์ค้นคว้าวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการกสิกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์ การปศุสัตว์ การพลังงาน การแพทย์เภสัชกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยใช้ภูมิปัญญาตะวันออก

2. เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรม ถ่ายทอด และเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ ให้กับเกษตรกร นักเรียนนักศึกษา ข้าราชการและประชาชน

3. เพื่อเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลภายใต้โครงการของกระทรวงเกษตร และสหกรณ์

4. เพื่อเป็นสถานที่จัดทำแปลงสาธิต ในเรื่องของการนำเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้กับสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับพืชผักสวนครัวและนาข้าวเพื่อให้ความรู้ และเป็นแปลงตัวอย่างให้กับกลุ่มเกษตรกรในท้องถิ่นและเกษตรกรอื่นๆ ที่สนใจ

5. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมอุปกณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตรในอดีต โดยจะตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ชาวนาต่อไป

6. เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยวให้กับผู้ที่สนใจทางด้านการเกษตรแบบธรรมชาติเข้าแวะชม และแสวงหาความรู้

7. เพื่อเป็นศูนย์ฝึกอบรมที่เปิดให้กับหน่วยงานองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนต่างๆ ที่สนใจใช้เป็นสถานที่จัดอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรทุกประเภท

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง


ในภาพอาจจะมี สถานที่ในร่ม

บ = บ้าน หมายถึง “ชุมชน” ผู้อุปถัมป์ค้ำชูโรงเรียนและวัดผ่านทางแรงกายและการบริจาค ทำหน้าที่รักษาภูมิปัญญาบรรพบุรุษ

ว= วัด..บ่มเพาะ คุณธรรม จริยธรรมิ ด้วยการขัดเกลาและฝึกฝนตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

ร= โรงเรียน ....ของเด็ก พ่อแม่และทุกๆคน เป็นการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ให้เป็นคนดีมีระเบียบวินัยพึ่งพาตนเองได้ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีความกตัญญูกตเวที


มี 9 ฐานการเรียนรู้ดังต่อไปนี้

ฅนรักษ์ป่า ตามแนวทางป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ที่พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยมาช้านาน เพื่อสร้างโลกสีเขียวการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ระหว่างฅนกับธรรมชาติไม่เอาเปรียบทั้งตนเองและธรรมชาติ สร้างภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิตอยู่บนโลกที่มีลูกของพ่ออยู่เต็มไปหมดคิดที่จะให้มากกว่าคิดจะให้มากกว่าคิดที่จะรับเริ่มปลูก ต้นไม้ใจเสียก่อนแล้วค่อยเริ่มปลูกต้นไม้บนแผ่นดินไทย

ฅนติดดิน บ้านดินเป็นหนึ่งของการนำแนวคิดในการใช้วัสดุในท้องถิ่นมาสร้างเป็นที่พักอาศัย เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตสอคล้องกับวิถีชีวิตและวัสดุที่ใช้อาจจะเกิดจากการหมุนเวียนอย่างคุ้มค่าคุณค่าของการสร้างบ้านดินจึงอยู่ตรงที่การสร้างบ้านบนวิธีตนเองลดการซื้อหาปัจจัยจากภายนอกชุมชนทำให้มนุษย์และสรรพสัตว์สิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลและลงตัว

ตนรักษ์แม่โพสพ “เกษตรกรไทยเป็นผู้ผลิตอาหารเลี้ยงประเทศมาตั้งแต่อดีตอันยาวนานจนถึงปัจจุบันแม้ประมือของชาติจะทวีขึ้นมาเพียงใดเกษตรกรก็ผลิตอาหารได้เพียงพอเสมอซ้ำยังสามารถส่งออกไปเลี้ยงพลเมืองโลกได้อีกเป็นจำนวนมากการที่ชาติของเราเลี้ยงตนเองได้นี้เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เพราะ ไม่ว่าเกิดสภาวะการณ์เช่นไรเราจะอยู่รอได้เสมอเนื่องจากคนไทยเป็นผู้ผลิตไม่ใช่จะเป็นเพียงผู้บริโภคเท่านั้น”

ฅนรักษ์น้ำ การใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์ตั้งแต่ภูผาสู่มหานทีด้วยวิธีการต่างๆตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหลายคนอาจคิดว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรเป็นหลักแท้ที่จริงแล้วด้วย พระอาริอัจฉริยะภาพอันแหลมคมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหาได้มีคำตอบเพียงภาคการเกษตรเท่านั้นยังมีองค์รวมของฐานคิดที่สามารถใช้ได้ในทุกระดับทุกภาคส่วนนอกจากนี้ยังฟังแนวคิดประสานเทคนิคภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ได้อย่างเยี่ยมยิ่ง

ฅนมีน้ำยา ผลผลิตน้ำยาอเนกประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายประจำวันตามหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นที่มีรสเปรี้ยวไม่ว่าจะเป็นมะนาวส้มจี๊ดสับปะรด นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำน้ำยาอเนกประสงค์ไม่เฉพาะน้ำยาอเนกประสงค์เท่านั้นยังสามารถเรียนรู้ในเรื่องของน้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาซักผ้าสบู่สมุนไพรเป็นต้น

ฅนรักษ์สุขภาพ เพราะในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงต่างๆมากมายผู้คนต้องประเชิญปัญหาในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจสังคมครอบครัวส่งผลเสียโดยตรงและทางร่างกายและจิตใจเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติได้นำนานาสาระด้านการดูแลสุขภาพทั้งอาหารเพื่อสุขภาพการล้างพิษ(ดีท๊อกซ์)การทำสปาแบบง่ายจากภูมิปัญญาชาวบ้านพร้อมเคล็ดไม่รับที่สอบปฏิบัติได้จริงที่ทำให้ทุกคนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

ฅนรักษ์แม่ธรณี หลักกสิกรรมธรรมชาติ ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงบำรุงดินเป็นลำดับแรกและถือเป็นหัวใจสำคัญเพราะถือว่าดินเป็นต้นกำเนิดของชีวิตการเพิ่มดินหรือการคุมดินไม่เป็นไรดินและการพรุ่งอาหารเลี้ยงดินโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพลงไปเพื่อให้เป็นอาหารของดินเรียกหลักการนี้ว่าเลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืชการปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้ดินกลับมามีชีวิตพืชที่ปลูกก็เจริญเติบโตแข็งแรงให้ผลผลิตดี

ฅนมีไฟน้ำมันไบโอดีเซลเป็นทางเลือกหนึ่งของพลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถเล่นได้จากวัตถุดิบจากการเกษตรภายในประเทศเช่นไขมันจากไขมันจากสัตว์ตลอดจนสาหร่ายบางชนิดพระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการใช้น้ำมันไบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทนเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของชาติและสามารถพึ่งตนเองในด้านพลังงาน

ฅนเอาถ่านถ่านคุณภาพให้ความร้อนสูงปลอดจากสารก่อมะเร็งนับวันจะหายากในปัจจุบันการเผาถ่านให้ได้ตามคุณสมบัตินั่งเก้าต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจค่อนข้างมากเพื่อให้ได้คุณภาพรวมถึงเทคนิคการผลิตน้ำส้มควันไม้อัน เป็นผลพลอยได้ขึ้นมาจากกระบวนการพอทานซึ่งมีการนำมาใช้ประโยชน์ได้สารพัดโดยเฉพาะทางด้านการกสิกรรมธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์ที่มุ่งเน้นการลดละเลิกจากการใช้สารเคมีที่เป็นผิดกับเกษตรกรผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

ทฤษฎีบันได 9 ขั้น สู่ความพอเพียง

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

1. พอกิน

2. พอใช้

3. พออยู่

4. พอร่มเย็น

5. บุญ พระ พ่อแม่ ครูบาร์อาจารย์ ญาติผู้ใหญ่

6. ทาน ใจรู้จักพอ เมตตา เอื้อเฟื้อ

7. เก็บรักษา แปรรูป ถนอมอาหาร

8. ขาย ค้าขายเป็นธรรม

9. เครื่อข่าย เศรษฐกิจพอเพียงระดับ ชุมชน จังหวัด ประเทศ

วันที่ 17มีนาคม - 19มีนาคม 2560 ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ได้จัดงานมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดินครั้งที่ 11


ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ภายในงานมีการเรียนรู้ดังต่อไปนี้

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, สถานที่กลางแจ้ง และ ธรรมชาติ

เป็นการนำสมุนไพรที่มีอยู่มาทำเป็นยาสระผม น้ำยาซักผ้าและน้ำยาอเนกประสงค์


ในภาพอาจจะมี 1 คน, ต้นไม้, สถานที่กลางแจ้ง และ อาหาร

นำผักผลไม้และข้าว ในชุมชนของตนเองมาเสริมสร้างเป็นรายได้และนำเงินเข้าชุมชน


ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

แนวคิดในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนให้เกิดประโยชน์มากที่สุด


ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ไม่มีข้อความกำกับภาพอัตโนมัติ

ถ่านไม้ไผ่ผลพลอยได้จากการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง


ในภาพอาจจะมี ต้นพืช และ สถานที่กลางแจ้ง

มีการคัดแยกถังขยะเพื่อนำขยะที่ทิ้งไปนำมาใช้ประโยชน์ได้ต่อไป


ในภาพอาจจะมี ต้นพืช และ สถานที่กลางแจ้ง

โรงเรียนชาวสวน เกษตรอินทรีย์ วิถีคนจันทร์

สรุปและวิเคราะห์แนวคิดกระบวนการทำงานของ “ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง”ที่นำมาใช้ในงานพัฒนาชุมชน

หลักการ การลงมือทำเป็นแบบอย่าง แทนการสอนผ่านทฤษฎี

อาจารย์ ยักษ์ ท่านได้ลงมือทำโดยใช้ตัวของท่านเองเป็นโมเดลในการสร้างความสำเร็จให้เกิดขึ้นเป็นที่ประจักษ์ เพื่อดึงผู้ที่สนใจเข้าร่วมศึกษาเรียนรู้หลักการนี้สามารถนำมาใช้ในงานพัฒนาชุมชนได้คือหน้าที่ของนักพัฒนาชุมชนคือสร้างกระบวนการให้เกิดการพัฒนา ดังนั้นนักพัฒนาเองจึงต้องศึกษาวิธีการและกระบวนการให้เข้าใจชัดเจนก่อนที่จะไป จัดกระบวนการให้กับคนอื่นๆได้เรียนรู้ละเข้าใจ

หลักการแก้ไขปัญหาตามลำดับขั้น

อาจารย์ ยักษ์ ท่านได้ลงมือปฏิบัติอย่างเป็นลำดับขั้นคือการแก้ปัญหาเรื่องดิน โดยปรับสภาพดิน “เลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช” หลักการแก้ปัญหาเป็นลำดับขั้นสามารถนำมาใช้กับงานพัฒนาได้เช่นกันเรื่องการวิเคราะห์ปัญหาและจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน

การสร้างเครือข่าย

เมื่อ อ.ยักษ์ ท่านประสบความสำเร็จแล้วจึงมีการสร้างเครือข่ายโดยการจัดอบรมเรื่องการเกษตรให้กับผู้ที่มีความสนใจและภายในเครือข่ายจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันผ่านกิจกรรมศึกษาดูงาน หรือ งานมหกรรมคืนชีวิตให้ดินในทุกๆปีที่จะมีการรวมตัวกันของเครือข่าย เครือข่ายถือเป็นสิ่งสำคัญในงานพัฒนาชุมชนเพราะงานพัฒนาไม่สามารถทำคนเดียวได้ต้องอาศัยหลายภาคส่วนมาระดมความคิดร่วมกัน

หลักการมีส่วนร่วม

อาจารย์ยักษ์ ท่านได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆให้กับผู้มาเรียนรู้ผ่านการมีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติจริงและการมีส่วนร่วมถือเป็นหัวใจของงานพัฒนาเพราะเป็นกระบวนการที่ทุกส่วนร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผน ร่วมกันทำและร่วมรับผลประโยชน์ร่วมกัน

กระบวนการกลุ่ม

อาจารย์ ยักษ์ ท่านมีการจัดการสนทนาแลกเปลี่ยนระหว่างเครือข่ายอาจเป็นการเรียนรู้ร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันเพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ในงานพัฒนาชุมชนถือว่าสำคัญเพราะการสนทนากลุ่มจะช่วยสะท้อนความคิดของแต่ละคนทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือองค์ความรู้ในมิติใหม่ซึ่งเป็นหนทางไปสู่การหาข้อสรุปในการพัฒนา



หมายเลขบันทึก: 626167เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2017 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มีนาคม 2017 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท