​ศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง " โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัยมาบเอื้อง " ตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี


ป้ายศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จ.ชลบุรี

ภาพถ่ายโดย : ชริญา แก้วบัวดี

วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560 นักศึกษาสาขาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดิน ครั้งที่ 11 สานต่อศาสตร์พระราชา สถาปนาปูทะเลย์วิชชาลัย ณ ศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง " โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัยมาบเอื้อง " หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า....มหาลัยคอกหมู เป็นศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี


สมาชิกกลุ่มได้มีส่วนร่วมในงานมหกรรมครั้งนี้กับยศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จ.ชลบุรี

ภาพถ่ายโดย : สมาชิกนักศึกษาสาขาพัฒนาชุมชน หมู่เรียน 57/42

มหาลัยคอกหมู ศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ตั้งอยู่เลขที่ 114/1 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี 20170

อาจารย์ยักย์แห่งมหา’คอกหมู

- อาจารยักแห่งมหาลัยคอกหมูหรือนายวิวัฒน์ ศัยลกำธร หนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ลงสู่การปฏิบัติอย่างมีเป้าหมายเพื่อพัฒนามนุษย์ทุกช่วงชีวิต ในขณะเดียวกันภารกิจสำคัญอีกประการหนึ่งได้แก่การขับเคลื่อน “หลักกสิกรรมธรรมชาติ” ผ่านการบ่มเพาะหลักคิดและหลักปฏิบัติผ่าน “ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง” จังหวัดชลบุรี ศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่แสดงผลสัมฤทธิ์ของการนำศาสตร์พระราชามาดำเนินการจัดการ น้ำ ดิน ป่ามาฟื้นฟูระบบนิเวศจนสามารถพลิกดินดานสร้างระบบนิเวศที่สมดุลต่อระบบผลิตภาคการเกษตร พัฒนาสู่ชุมชนที่ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขยายผลสู่การสร้างแบบอย่างใหม่ของการศึกษาวิถีไทยในอนาคตด้วยการนำ “ บวร บ้าน-วัด-โรงเรียน “ กลับสู่การบ่มเพาะเด็กและเยาวชนให้มีคุณธรรมความรู้ในนาม “ ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย “ ต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ตามกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิบุคคลในการจัดการขั้นพื้นฐาน

- นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร เกิดเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2497 ในครอบครัวชาวนาและหมอพื้นบ้านของจังหวัดฉะเชิงเทราหลังจากจบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดสนามจันทร์เข้ามาศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่กรุงเทพมหานครมาเป็น “ เด็กวัด “ เพื่อศึกษาต่อ “ โรงเรียนวัดนวลนรดิศ “ จนจบชั้นมัธยมศึกษาเมื่อปี 2516 จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงจนจบปริญญาตรีศิลปศาสตร์บัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ ก่อนเดินหน้าเข้าสู่การทำงานสายงานพัฒนาสังคมและศึกษาต่อระดับปริญญาพัฒนบริหารศาสตร์มหาบัณฑิต ด้านการพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ในปี พ.ศ. 2531

- ด้านประวัติการทำงาน นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร เคยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองประเมินผลและข้อมูลพระราชดำริ สำนักงานกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ( กปร. ) ได้มีโอกาสถวายการรับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยทำหน้าที่จดบันทึกพระราชดำรัส วางแผนและประเมินโครงการตามแนวพระราชดำริมาเป็นเวลา 16 ปี ก่อนตัดสินใจลาออกจากงานเพื่อนำแนวทางตามพระราชดำรัสลงสู่การปฏิบัติด้วยตนเอง สร้างตนให้เป็นตัวอย่างจนสามารถขับเคลื่อนขยายผลไปทั่วประเทศในปัจจุบัน

- ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งงานประธานกรรมมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาสภาการปฏิรูปประเทศ ประธานสถาบันเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้มูลนิธิเศรษฐกิจพอเพียงและประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ในขณะเดียวกันได้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากับหลายหน่วยงาน / องค์กร เพื่อขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคส่วนต่างๆ ของสังคมนอกเหนือจากการทำเกษตร อาทิ ด้านการศึกษา ด้านอุตสาหกรรม ด้านธุรกิจการบริการ

- ด้านเกียรติประวัติและรางวัลที่ได้รับ นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร ได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5 และได้รับรางวัลเกียรติยศในงานคนค้นฅนอวอร์ด ครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นรางวัลที่จัดขึ้นเพื่อเชิดชูและให้กำลังใจ “คนดี “ ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กลับผู้อื่นในสังคมอย่างไม่ย่อท้อ เมื่อปี พ.ศ. 2552 และได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์จากมหาวิยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีอีสานและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำว่า “ บวร “

บ = บ้าน........หมายถึง “ชุมชน” ผู้อุปถัมค้ำชูโรงเรียนและวัดผ่านทางแรงการและการบริจาคทำหน้าที่รักษาภูมิปัญญาบรรพบุรุษ

ว = วัด .........หมายถึง บ่มเพาะ คุณธรรม จริยธรรม ด้วยการขัดเกลาและฝึกฝนตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

ร = โรงเรียน...หมายถึง ของเด็ก พ่อแม่และทุกๆคนเป็นการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิตให้เป็นคนที่ดีมีวินัย พึ่งพาตนเองได้ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีความกตัญญูกตเวที


ศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จ.ชลบุรี

ภาพถ่ายโดย : จินตนา แก้วระย้า

ภายในศูนย์การเรียนรู้มีทั้งหมด 9 ฐานการเรียนรู้ให้ได้ศึกษาหาความรู้ ได้แก่

1. ฅนมีไฟ คือ น้ำมันไบโอดีเซลเป็นทางเลือกหนึ่งของพลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน สามารถผลิตได้จากวัตถุดิบจากการเกษตรภายในประเทศ เช่น ไขมันจากพืช ไขมันจากสัตว์ ตลอดจนสาหร่ายบางตัว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการใช้น้ำมันไบโอดีเซลเป็นพลังงานทดแทนเพื่อช่วยแก้ปัญหาของชาติและสามารถพึ่งตนเองได้ในด้านพลังงาน

2.ฅนเอาถ่าน คือ ถ่านคุณภาพที่ให้ความร้อนสูง ปลอดจากสารก่อมะเร็งนับวันจะหายากในปัจจุบัน การเผาถ่านให้ได้คุณสมบัติดังกล่าวต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจค่อนข้างมากเพื่อให้ได้ถ่านคุณภาพ รวมถึงเทคนิคการผลิตน้ำส้มควันไม้อันเป็นผลพลอยได้ชิ้นงานจากกระบวนการเผาถ่าน ซึ่งมีการนำมาใช้ประโยชน์ได้สารพัดโดยเฉพาะทางด้านการกสิกรรมธรรมชาติและเกษตรอินทรีย์ ที่มุ่งเน้นการลดละเลิกจากการใช้สารเคมีที่เป็นพิษกับเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

3.ฅนรักษ์ป่า คือ ตามแนวทางป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ที่พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยมาช้านาน เพื่อสร้างโลกสีเขียว การช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างคนกับธรรมชาติ ไม่เอาเปรียบทั้งตนเองและธรรมชาติ สร้างภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิตอยู่บนโลกที่มีลูกของพ่ออยู่เต็มไปหมด คิดที่จะให้มากกว่าคิดที่จะรับ เริ่มปลูกต้นไม้ในใจเสียก่อนแล้วค่อยเริ่มปลูกต้นไม้ในแผ่นดินไทย

4.ฅนติดดิน คือ บ้านดินเป็นหนึ่งของการนำแนวคิดในการใช้วัสดุในท้องถิ่นมาสร้างเป็นที่พักอาศัย เพื่อให้เหมาะกับการดำรงชีวิต สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัสดุที่ใช้อาจจะเกิดจากการหมุนเวียนอย่างคุ้มค่า คุณค่าของการสร้างบ้านดินจึงอยู่ที่การสร้างบ้านบนวิถีพึ่งพาตนเอง ลดการซื้อหาปัจจัยภายนอกชุมชน ทำให้มนุษย์และสรรพสัตว์สิ่งแวดล้อมอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลและลงตัว

5.ฅนรักษ์แม่โพสพ คือ " เกษตรกรไทยเป็นผู้ผลิตอาหารเลี้ยงประเทศมาตั้งแต่อดีตอันยาวนานจนถึงปัจจุบัน แม้พลเมืองของชาติจะทวีขึ้นมากเพียงใด เกษตรกรก็ผลิตอาหารได้เพียงพอเสมอ ซ้ำยังสามารถส่งออกไปเลี้ยงพลเมืองโลกได้อีกเป็นจำนวนมาก การที่ชาติของเราเลี้ยงตนเองได้นี้เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เพราะไม่ว่าเกิดสภาวะการณ์เช่นไรเราจะอยู่รอดได้เสมอ เนื่องจากคนไทยเป็นผู้ผลิตไม่ใช่เป็นผู้บริโภคเท่านั้น "

6.ฅนรักษ์แม่ธรณี คือ หลักกสิกรรมธรรมชาติ ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงบำรุงดินเป็นอันดับแรกและถือเป็นหัวใจสำคัญ เพราะถือว่าดินเป็นต้นกำเนิดชีวิต การห่มดินหรือการคลุมดินไม่เปลือยดินและการปรุงอาหารเลี้ยงดินโดยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพลงไปเพื่อให้เป็นอาหารดิน เรียกหลักการนี้ว่า " เลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช " การปฏิบัติเช่นนี้จะทำให้ดินกลับมามีชีวิต พืชที่ปลูกก็จะเจริญเติบโตแข็งแรงให้ผลผลิตดี

7.ฅนมีน้ำยา คือ ผลิตน้ำยาอเนกประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในประจำวันตามปรัชญาหลักการเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้วัสถุดิบที่มีในท้องถิ่นที่มีรสเปรี้ยวไม่ว่าจะเป็น มะนาว ส้มจี๊ด สับปะรด ฯลฯ นำมาเป็นวัสถุดิบในการทำน้ำยาอเนกประสงค์ ไม่เฉพาะน้ำยาอเนกประสงค์เท่านั้น ยังสามารถเรียนรู้ในเรื่องของน้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาซักผ้า สบู่สมุนไพร ฯลฯ

8.ฅนรักษ์สุขภาพ คือ เพราะในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆมากมาย ผู้คนต้องเผชิญปัญหาในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว ส่งผลเสียโดยตรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติได้นำนานาสาระด้านสุขภาพ ทั้งอาหารเพื่อสุขภาพ การล้างพิษ ( ดีท๊อกซ์ ) การทำสปาแบบง่ายจากภูมิปัญญาชาวบ้าน พร้อมเคล็ดไม่ลับที่สามารถปฏิบัติได้จริงที่ทำให้ทุกคนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

9.ฅนรักษ์น้ำ คือ การใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์ตั้งแต่ภูผาสู่มหานทีด้วยวิธีการต่างๆตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลายคนอาจคิดว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรเป็นหลักแท้ที่จริงแล้วด้วยพระอัฉริยะภาพอันแหลมคมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ หาได้มีคำตอบเพียงภาคการเกษตรเท่านั้น ยังมีองค์รวมของฐานคิดที่สามารถใช้ได้ในทุกระดับ ทุกภาคส่วน นอกจากนี้ยังแฝงแนวคิดผสานเทคนิคจากภูมิปัญญาท้องถิ่นไว้ได้อย่างเยี่ยมยิ่ง


กิจกรรมก่อนพิธีเปิดมหกรรมภายในศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ณ ใต้ต้นก้ามปู

ภาพถ่ายโดย : จินตนา แก้วระย้า


กิจกรรมพิธีเปิดมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดิน ครั้งที่ 11 สานต่อศาสตร์พระราชา สถาปนาปูทะเลย์วิชชาลัย ณ ศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง " โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัยมาบเอื้อง "

วีดีโอโดย : จินตนา แก้วระย้า

การเดินชมงานมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดิน ครั้งที่ 11 สานต่อศาสตร์พระราชา สถาปนาปูทะเลย์วิชชาลัย

ภาพถ่ายโดย : จักรกฤษณ์ อยู่มากญาติ

หลักจากเสร็จสิ้นการเปิดพิธีมหกรรมคืนชีวิตให้แผ่นดิน ครั้งที่ 11 สานต่อศาสตร์พระราชา สถาปนาปูทะเลย์วิชชาลัย ณ ศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง " โรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัยมาบเอื้อง " พวกเราก็ได้มีโอกาสเดินชมภายในงาน เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์และความรู้ไปให้ได้มากที่สุด โดยภายในงานได้มีซุ้มของกลุ่มกสิกรรมธรรมชาติมากมายที่มาเผยแพร่ความรู้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของทั้งประเทศไทยเรา ยกตัวย่างเช่น

ผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพร ศูนย์กสิกรกรรมธรรมชาติ 84 พรรษา อ.เกาะจันทร์ จังกวัดชลบุรี

ภาพถ่ายโดย : ชริญา แก้วบัวดี


ผลิตภัณฑ์น้ำอัญมณีบูรพาสวนสมุนไพรปัญญพร จังหวัดชลบุรี

ภาพถ่ายโดย : ชริญา แก้วบัวดี


ผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องสังข์หยดอินทรีย์ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสายเพชร

ภาพถ่ายโดย : ชริญา แก้วบัวดี


ผลิตภัณฑ์สบู่ธรรมชาติศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จ.ชลบุรี

ภาพถ่ายโดย : จินตนา แก้วระย้า


ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร

ภาพถ่ายโดย : ชริญา แก้วบัวดี


นั่งดูวีดีโอประวัตือาจารย์ยักษ์

ภาพถ่ายโดย : จักรกฤษณ์ อยู่มากญาติ

หมายเลขบันทึก: 626128เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2017 13:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2017 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท