จัดชั้นหนังสือในห้องสมุดอย่างไรดี


ผม ไม่รู้ว่าความคิดนี้จะถูกจะผิดอย่างไร แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กร ที่เคยปฏิบัติกันมา แต่ผมว่าชาวห้องสมุดพร้อมเสมอที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ขาดแต่เพียงอย่างเดียว คือเสียงสนับสนุน ว่าสิ่งที่เราคิดมันถูกมันผิดอย่างไร

           วันนี้ผมได้มีโอกาสประชุมกับ น้องๆ ในฝ่ายบริการ เกี่ยวกับการจัดชั้นหนังสือในห้องสมุด ซึ่งปัจจุบัน การจัดชั้นหนังสือในห้องสมุดมอนอ จะจัดหนังสือ ภาษาอังกฤษ กับภาษาไทยแยกกันอยู่คนละชั้น ข้อดีคือเราแยกชั้นกันอย่างชัดเจน ถ้าต้องการภาษาอังกฤษ ก็ชั้นสอง ส่วนถ้าต้องการหนังสือภาษาไทยก็อยู่ชั้นล่าง ซึ่ง ผู้บริหารคนเก่า ต้องการให้มีการส่งเสริมการใช้ตำราภาษาอังกฤษ หนังสือใหม่ๆ ที่เข้ามา จึงเป็นตำราภาษาอังกฤษ ซึ่งขัดกับข้อมูลการใช้หนังสือ ซึ่งนิสิตส่วนใหญ่จะชอบใช้หนังสือภาษาไทย จะมีก็นิสิต ปริญญาเอก ปริญญาโท และอาจารย์ซึ่งใช้ตำราำภาษาอังกฤษบ้าง


 การแบ่งโซนหนังสือ

 

ภาพแสดงโครงสร้างการแบ่งโซนจัดชั้นหนังสือห้องสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร

 

                    ผมเองได้เสนอแนวความคิดกับน้องๆ ว่าเราจะสามารถจัดชั้นหนังสือ ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาไทยไว้ในชั้นเดียวกันเลย ได้หรือไม่ คือไม่ต้องมาแยกกันเป็นคนละชั้น จัดรวมกันเลย โดยแยกตามหมวด ซึ่งมหาวิทยาลัยนเรศวร ใช้ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือเป็นระบบ LC ซึ่งผมเองไม่รู้คิดผิดหรือเปล่า โดยคิดว่า

  1. การจัดชั้นแบบนี้จะมีข้อดีกับผู้ใช้ ตรงที่เมื่อค้นหาหนังสือ สมมุติว่า ค้นหาหนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ภาษาจาว่า ก็จะ อยู่ในหมวดหมู่ QA76.73

 ชื่อหนังสือ ชื่อหมวดหมู่
 กลุ่มหนังสือ
The Java Programming Language   QA76.73.J38 A519t 2000 ภาษาอังกฤษ 
 Java Programming Volume I  QA76.73.J38 ว849จ 2543  ภาษาไทย
 
 
 จากตารางที่ผมยกตัวอย่างให้เห็น จะพบว่าหนังสือสองเล่มมีเนื้อหาคล้ายๆ กัน หมวดเดียวกันคือ QA76.73.J38 แต่ว่าถูกไปจัดอยู่คนละชั้น ดังนั้นถ้าเราจัดเสียใหม่ให้ทั้งหนังสือภาษาอังกฤษและภาษาไทยมาอยู่ในชั้นเดียวกัน เรียงต่อกันไป ผมว่าผู้ใช้ที่มาหาหนังสือที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ก็จะเห็นหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่ในที่เดียวกันโดยไม่ต้องเดินขึ้นไปหาซ้ำที่ชั้นถัดไป และถ้าจัดแบบนี้ โอกาสที่หนังสือภาษาอังกฤษ ก็จะถูกหยิบใช้ด้วย
             ผมไม่รู้ว่าความคิดนี้จะถูกจะผิดอย่างไร แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กร ที่เคยปฏิบัติกันมา แต่ผมว่าชาวห้องสมุดพร้อมเสมอที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ขาดแต่เพียงอย่างเดียว คือเสียงสนับสนุน ว่าสิ่งที่เราคิดมันถูกมันผิดอย่างไร
 ภาพแสดงการจัดชั้นหนังสือที่เรียงต่อกันอังกฤษ-ไทย
 ภาพแสดงการจัดเรียงหนังสือทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ในหมวดหมู่เดียวกันวางเรียงต่อกันไปในชั้นเดียวกัน


หมายเลขบันทึก: 62557เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)
  • ผมว่าไม่ถูกไม่ผิดครับ ขึ้นอยู่ว่าลองใช้แล้ว ผู้ที่ใช้happy หรือไม่ครับ อ.หนึ่ง

อ.หนึ่งคะ

         ลองสอบถามไปที่พระนครเหนือดูสิคะ ว่าทำไมเขาเคยทำแบบที่อาจารย์เสนอแล้วถึงกลับมาแยก ตู้ภาษาไทย อังกฤษเหมือนเดิม

         ดิฉันสอบถามคนปฏิบัติงานแล้ว เขาบอกว่า ชั้นหนังสือมั่วมาก ทั้งจัดหนังสือขึ้นชั้นลำบากปนกันไปหมดและนักศึกษาหาหนังสือยากค่ะ

         ขอบคุณทั้งสองความคิดเห็นมากครับ ตอนนี้เอง เท่าที่ทราบมหาวิทยลัยที่ดำเนินการจัดชั้นหนังสือแบบนี้ มีอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ครับ ซึ่งเท่าที่ลองถามจาก หัวหน้าที่รับผิดชอบการจัดชั้น เขาบอกถึงข้อดีมากกว่าข้อเสียครับ คือ

  1. สะดวกกับผู้ใช้ในการค้นหาหนังสือ
  2. ประหยัดชั้น

          แต่การจัดชั้นก็มีอีกวิธีคือจัดชั้นภาษาอังกฤษและภาษาไทยคู่กันไป รู้สึกว่าที่จุฬาจะใช้วิธีการจัดชั้นแบบนี้

ปัญหาเรื่องการจัดชั้นหนังสือ คิดว่าห้องสมุดหลายแห่งคงประสบกันมาบ้างแล้ว จะจัดอย่างไรดีนั้น? สำคัญอยู่ที่ผู้ใช้บริการค่ะ ควรฟังเสียงจากผู้ใช้ดีมั๊ยค่ะ ให้ผู้ใช้ร่วมเสนอความคิดเห็น โดยเราเสนอแนวทางแต่ละรูปแบบพร้อมให้ข้อมูลข้อดีข้อเสีย สำหรับที่มอ.ปัตตานี นโยบายการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรต่างประเทศนั้นก็มีเช่นเดียวกัน แต่ทางเราได้เปรียบในเรื่องรูปแบบของอาคาร ซึ่งแยกเป็น 2 ฝั่ง มีบันไดคั่นกลาง เราจึงสามารถจัดชั้นหนังสือทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศในอาคารชั้นเดียวกันได้ ซึ่งไม่ไกลกันนัก ทั้งนี้ต้องจัดแยกหนังสือ เก่า-ใหม่นะคะ ไม่เช่นนั้นจะใช้เนื้อที่เยอะมากทีเดียว คือ หนังสือ 2536-ปัจจุบัน จัดเก็บที่อาคารใหม่ชั้น 2 ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ หนังสือ 2535 ลงไป จัดเก็บที่อาคารตึกเก่าชั้น 2 ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ วิธีนี้เริ่มแรกก็มีผู้ใช้คิดเห็นไม่สอดคล้องด้วย แต่ระยะหลังเมื่อเคยชินแล้วก็ตอบรับดีค่ะ เพราะผู้ใช้จะคาดคะเนได้ว่าทรัพยากรจัดเก็บที่ใด โดยดูจากปีที่พิมพ์ของหนังสือนั้นๆได้ค่ะ สิ่งที่อยากจะฝากไว้เป็นแง่คิด กรณีที่อ.เสนอไว้นั้น นอกจากจะรวมหนังสือในแต่ละภาษาแล้ว ยังจัดรวมหนังสือปีเก่า-ใหม่ด้วยหรือไม่ค่ะ หากเป็นเช่นนั้นจะต้องใช้เนื่อที่ต่อหนังสือในแต่ละหมวดมากทีเดียวค่ะ บทสรุปจะเป็นอย่างไรก็ตาม...ขอเอาใจช่วยด้วยคนนะคะ

ข้อดี

ก็คือถ้าจัดหนังสือภาษาไทยและอังกฤษไว้ด้วยกันผู้ใช้บริการได้ดูตัวเล่มข้างๆได้ด้วยว่า ถ้าค้นเจอภาษาไทยแล้ว ภาษาอังกฤษเล่มนี้ก็น่าสนใจ

ข้อเสีย

ก็คือ บางครั้งหนังสือภาษาไทยด้วยกันเนื้อหาใกล้เคียงกันอาจจะกระจัดกระจายอยู่คนละชั้นเพราะว่ามีหนังสือภาษาอังกฤษแทรกก็ได้ค่ะ

 อยู่ที่ความสะดวกของผู้ใช้บริการ และความเคยชินในการใช้งานของผู้ใช้บริการค่ะ

หอสมุดฯ ของม.ธุรกิจบัณฑิตย์ก็จัดรวมกันค่ะ

                 ผมได้ตามเข้าไปอ่านประสบการณ์ที่คุณวงเดือนเขียนไว้เกี่ยวกับการจัดชั้นหนังสือของมหาวิทยาลัยบูรพา เลย ขออนุญาตยกความคิดเห็นของ คุณวงเดือนมาไว้ในนี้ ดังนี้ครับ

              คุณวงเดือนได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า

  • การให้จัดชั้นหนังสือภาษาไทย ภาษาอังกฤษมาไว้ด้วยกัน จากประสบการณ์การได้ให้บริการกับชาวต่างประเทศที่เข้ามาศึกษาในสถาบัน ชาวต่างประเทศก็จะสะดวกและจะมีความสุขมากที่เข้าใช้หนังสือแล้วหาง่าย จัดไว้เป็นหมวดหมู่ ได้สิ่งที่เขาต้องการ
  • ผู้ใช้บริการภายนอก สำนักหอสมุด ม.บูรพาเปิดให้บริการบุคคลภายนอกและมีจำนวนมากที่เข้ามาใช้ห้องสมุด ซึ่งบุคคลส่วนใหญ่ก็อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออก มีทุกระดับ ทุกสาขา ก็ได้รับความสะดวกในการที่จะหาข้อมูลหนังสือในแต่ละภาษา แต่ละหมวด ที่เราจัดไว้ งานวิจัยก็ส่วนหนึ่ง ภาษาต่างประเทศก็ส่วนหนึ่ง
  • เจ้าหน้าที่จัดชั้นก็จะสามารถจัดได้สะดวกเพื่อให้ผู้ใช้บริการหาหนังสือง่าย และเมื่อเล่มไหนหาไม่พบก็จะทราบได้ว่าหนังสือหาไม่พบ เพราะสาเหตุใด ทำให้ง่ายในการบริการผู้ใช้ เพราะผู้ใช้บริการมีหลากหลายรูปแบบที่เข้ามาใช้ห้องสมุด
  • ขอบคุณ คุณกัมปนาท 
  • ขอบคุณ คุณวันเพ็ญ
  • ขอบคุณ คุณวงเดือน
  • ขอบคุณ คุณวรรณพร
  • และทุกความคิดเห็นที่ร่วมกันให้ข้อมูลครับ
  • และก้ทำให้ได้รับทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่าที่ธุรกิจบัณฑิตก็จัดรวมกัน อย่างน้อยตอนนี้ก็มี 2 ที่แล้วไม่ทราบว่ามีข้อดี--ข้อเสียอย่างไรบ้างครับ

 

ผมขออนุญาต นำความคิดเห็นที่ผมโทรศัพท์ไปเรียนสัมภาษณ์ รศ.ปัญญา ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุตรดิตถ์ โดยที่ผมจะพยายามไม่ใส่ความรู้สึกตอนเองลงไป ใส่แต่ข้อมูลที่ได้รับจริงๆ

รศ.ปัญญา เล่าให้ผมฟังว่า

           "ที่ มรภ.อุตรดิตถ์ จัดหนังสือรูปแบบนี้มานานมาก จนอาจารย์บอกว่าเป็นประเพณี ส่วนข้อดีข้อเสียอาจารย์ไม่ได้มีการทำวิจัยไว้ แต่แนวคิดนี้ อาจารย์บอกว่าน่าจะได้มาจากจุฬา"

          อาจารย์ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า "ที่ มรภ.อุตรดิตถ์ ใช้หมวดหมู่หนังสือแบบดิวอี้ แต่ว่าในระยะเริ่มแรก หนังสือเราน้อยและมีอาคารเพียงอาคารเดียว ห้องน้อย หนังสือน้อย"

          อาจารย์หัวเราะอย่างอารมณ์ดีว่า "น่าจะเป็นเทคนิคในการจัดวางหนังสือให้เตะตาลูกค้า ทำให้ผู้ใช้ตัดสินใจลำบาก เพราะมีทั้งหนังสือภาษาอังกฤษ และภาษาไทยอยู่ด้วยกัน เลยยืมทั้งสองเล่มเลย"

         สำหรับข้อเสียของการจัดวิธีนี้ อาจารย์บอกว่ายังไม่มีรายงานมา แต่ที่นี่เราจัดเซิร์ฟปริญญาตรีเป็นหลัก ร้อยละ 90 ลูกค้าเราเป็นนิสิตปริญญาตรี แต่ของอาจารย์ มีทั้งปริญญาโท ปริญญาเอก อาจจะแตกต่างกัน

     ผมได้เรียนถามอาจารย์เรื่องการขยายชั้น มีความยุ่งยากลำบากไหมครับ อาจารย์เล่าให้ฟังว่า "เราใช้เทคนิคการจัดไม่เต็มชั้น แต่เราจัดแค่ 50-60 เปอร์เซ็นต์ และต้องคำนึงถึงบางหมวดที่คนนิยม เช่น หมวดคอมพิวเตอร์ก็จะจัดพื้นที่เผื่อการขยายชั้นไว้ ส่วนบางหมวดคนใช้น้อยเช่นปรัชญา ก็จะจัดพื้นที่ไม่มาก"

           แล้วผมเรียนถามเรื่องการจำหน่ายหนังสืออาจารย์มีวิธีดำเนินการอย่างไร อาจารย์เล่าให้ฟังอย่างอารมณ์ดีว่า ของเราที่นี่ไม่ได้จำหน่ายหนังสือทุกปี หนังสือเก่าที่นี่เราก็ระบายไปที่ห้องสมุดคณะ บริจาคไปที่ศูนย์แพร่ ศูนย์น่าน และที่สำคัญปีที่ผ่านมาน้ำมาช่วยจำหน่ายหนังสือไปได้เยอะ

      อาจารย์ยังเสนอแนะความคิดว่า อาจารย์น่าจะลองทำวิจัยดู โดยลองกับบางหมวดเช่นหมวดใหญ่ๆ หมวดวิทยาศาสตร์ ลอกสักปีหนึ่ง แล้วดูว่าเด็กนิสิต เค้าคิดอย่างไร เค้าชอบไหม

           จากแนวความคิดของ รศ.ปัญญา เป็นแนวความคิดที่พวกน้องๆ จัดชั้นของมอนอคิดไว้เหมือนกันว่าเราน่าจะวิจัยเรื่องการจัดชั้นห้องสมุด ผมว่าปีหน้า งานวิจัยสถาบันของห้องสมุดคึกคักแน่นอน

เมื่อวันที่ 17 ไปอบรม มสธ.  ได้ไปใช้บริการมี่ห้องสมุด มสธ. ที่นี่จัดเหมือนภาพแสดงจัดชั้นเหมือนของอาจารย์ค่ะมีป้ายบอกช่วงชั้น คู่ขนานกัน ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ จะถามเจ้าหน้าที่จัดชั้นของเค้าสะดวกมั้ยในการทำงานก็มองหาไม่พบเนื่องจากเวลายังเช้ามาก และตัวเองยังติดอบรม ตั้งใจจะ กลับมาส่ง E-mail สอบถามบรรณารักษ์บริการที่เค้าอบรมให้วันนั้น  ก็เลยมานั่งคิดถึง ทำอย่างเค้าแล้วจะดีอย่างไรน่าแยกหนังสือปีที่พิมพ์ 2535 ลงไป ไว้อีกซีกหนึงปี2535 ขึ้นไป จัดหนังสือคู่ขนานเหมือนกัน  คิดต่ออีกว่าหนังสือคู่ขนานแล้ว เจ้าหน้าที่จัดชั้นคู่ขนานอีกดีมั้ย  อยากจะให้ผู้ใช้บริการที่เคยมีประสบกราณ์การรใช้ทั้ง 2 รูบแบบแสดงความคิดเห็น ดีอย่างไร ไม่ดีอย่างไรมากๆๆๆนะคะ จะได้เป็นข้อมูลให้กับเราชาวบรรณารักษ์ทั้งหลายๆๆหลายๆๆสถาบัน  ตัดสินใจ

มันต้องดูผู้ใช้บริการด้วยอ่ะครับอาจารย์ เพราะว่าถ้าผู้ใช้เคยชินกับการหาแบบใดผู้ใช้ก็มีวิธีการหาหนังสือแบบนั้น ดังนั้นในส่วนตัวผมคิดว่ามันต้องแล้วแต่กรณี เช่น ถ้าเป็นห้องสมุดสาขา หรือ เฉพาะทาง ผมว่าจัดแบบรวมกันก็ดี แต่หากเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่หรือมีหลากหลายสาขาควรจะแยกดีกว่าเนื่องจากจะทำให้แยกกันได้อย่างชัดเจน จุดประสงค์ของการหาหนังสือส่วนใหญ่ผุ้ใช้มันจะแยกทางด้านภาษาอยู่แล้ว

ไม่รู้นะครับว่าความคิดผมจะถูกมั้ยแต่ยินดีจะรับฟังต่อครับ

ขอบคุณครับ

จาก (บรรณารักษ์มือใหม่)

  • ผมชอบ post นี้มากครับ ที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และต่อยอดความคิดกันอย่างเป็นระยะ
  • รอติดตามอีกครับ

ขอแสดงความคิดเห็นคะ

คิดว่าน่าขึ้นอยู่กับขนาดของห้องสมุดด้วยละคะ ถ้าห้องสมุดที่มีขนาดเล็ก คงไม่มีปัญหา หนังสือจะได้อยู่รวมกัน แต่ถ้าห้องสมุดที่มีขนาดใหญ่สิคะ ดิฉันคิดว่ามันหาหนังสือยากคะ จากประสบการณ์ตัวเองเคยลองไปค้นหนังสือที่มีการจัดรวมแบบนี้แล้ว สับสนคะสำหรับเลขหมู่ ที่ยาวเหยียด เลขคัตเตอร์ทั้งภาไทยและภาอังกฤษปนกัน ปรากฎว่าไม่เจอตัวเล่มที่ต้องการกรณีนี้อาจะเกิดจาก

  • การ catalog ที่ให้เลขย่อยมาเกินไป จึงไม่สัมพันธ์การระบบการจัดหนังสือบนชั้นของหน่วยงานนั้นๆ
  • เจ้าหน้าที่จัดชั้นผิด สับสนกับอักขระทั้งตัวเลขและตัวหนังสือ
  • นักศึกษาที่ไปหยิบหนังสือบนชั้นมาดูแต่ไม่ต้องการจึงช่วยเก็บเข้าที่ชั้นตามเดิม ซึ่งบางครั้งก็นำมาเก็บไม่ถูกตามระบบของจากจัดหนังสือขึ้นชั้นของหน่วยงานนั้น

         ปัญหาการจัดหนังสือขึ้นชั้น มีมานานแล้ว เพราะมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หลายกลุ่ม ทั้งผู้ใช้บริการ และผู้ใช้บริการในส่วนงานบริการและงานวิเคราะห์ ดังนั้น น่าจะมาพิจารณาละคะ ว่าหน่วยงานของเราเกิดปัญหาตรงไหนกันแน่ และจะช่วยกันแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ส่วนเรื่องการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดหนังสือบนชั้นก้คงต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของหน่วยงานนั้นแหละคะ ซึ่งก็แตกต่างกันไป นานาจิตตังคะ ยังไงจะรอฟังความคิดเห็นของท่านอื่นๆ นะคะ

ที่นิด้าจะจัดเรียงหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษอยู่ด้วยกันในส่วนของหนังสืออ้างอิงและวิทยานิพนธ์ซึ่งจะใช้ระบบจัดหมู่แบบ LC (ส่วนหนังสือทั่วไปแยกภาษาคือ ภาษาอังกฤษ ชั้น 4 และภาษาไทย ชั้น 3) โดยหนังสือหมวดเดียวกันจะเรียงภาษาอังกฤษมาก่อนภาษาไทย เพื่อประโยชน์ในการ print out เลขหมู่จากระบบห้องสมุดมาสำรวจหนังสือ

จากที่เคยให้ระบบนี้มาตั้งแต่เริ่มห้องสมุด และเป็น collection เล็กๆ ไม่พบปัญหาอะไร โดยใน OPAC ต้องแจ้ง collection และชั้นเก็บให้ถูกต้อง มีการจัดเรียงหนังสือให้ถูกเลขหมู่ ถูก collection และเจ้าหน้าที่ต้องหมั่นอ่านชั้นหนังสือบ่อยๆ (Read Shelf) เพื่อความสะดวกของผู้ใช้ในการค้นหา และติดประกาศวิธีการจัดเรียงหนังสือให้ผู้ใช้ทราบด้วย

ขอขอบคุณอาจารย์หนึ่งมากคะ ที่เปิดประเด็นเรื่องการจัดชั้นหนังสือให้ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นกัน โดยมากการจัดชั้นหนังสือมักจะมีปัญหาเสมอ สถานภาพหนังสือบอกอยู่บนชั้น On Shelf / CHK SHELF แต่ผู้ใช้หาไม่พบ เนื่องจากหนังสือจัดเรียงผิดที่ ผิด collection ผิดประเภท ผิดหมวด ผิดหมู่ ถูกซ่อน กว่าจะพบก็เมื่อสำรวจหนังสือ ดังนั้นนี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่หนังสือถูกใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่ซื้อมา 

ขอแสดงความคิดเห็นหน่อยนะคะ  วิธีการจัดหนังสือแบบเรียงภาษาไทยคู่กับภาษาอังกฤษ จะต้องเผื่อเนื้อที่ไว้สำหรับหนังสือที่แทรกเข้ามาระหว่างเลขหมู่ช่วงนั้นๆด้วย ทั้งหนังสือใหม่และหนังสือที่ถูกยืมไป  ไม่อย่างนั้นคนขึ้นชั้นต้องเสียเวลาแยกหนังสือออกจากกัน เพื่อให้มีเนื้อที่พอสำหรับนำหนังสือถูกคืนแล้วขึ้นชั้นในแต่ละวัน ถ้าจะใช้วิธีเรียงหนังสือไทยต่อด้วยหนังสืออังกฤษจริงๆ คงต้องเผื่อเนื้อที่ชั้นไว้ด้วยน่ะค่ะ แล้วกำหนดขอบเขตของหนังสือในแต่ละส่วนให้ชัดเจน เช่น ภาษาไทยหมวด L หมวดย่อย LB จะเริ่มตั้งแต่เลขไหนถึงเลขไหน แล้วจึงเรียงต่อด้วยภาษาอังกฤษ แล้วชั้นถัดไปจึงเริ่ม เช่น LB1221-LB2805  แล้วตามด้วยภาษาอังกฤษ  จึงต้องแบ่งช่วงดีๆ ไม่เช่นนั้นคนขึ้นชั้นจะสับสน และคนหาหนังสือก็จะสับสนเช่นกัน  

ดิฉันเห็นว่าน่าจะทดลองได้นะคะ ถ้าไม่ลองก็ไม่รู้ว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร  แต่ควรทดลองหนังสือซักประเภทก่อน เพื่อดูผลกระทบหลายๆด้านน่ะค่ะ   

ขอบคุณ คุณ บุษกร คุณภาวณา คุณศศิธรมากนะครับ ในการให้ข้อมูล หลากหลายความ คิด หลากหลายแนวทาง
13 ธค.49
        เรื่องการจัดชั้นหนังสือนั้น ที่ราชภัฎเชียงราย จัดรวมภาษาไทย และภาษาอังกฤษ อยู่รวมกัน เรียงลำดับภาษาไทยมาก่อนภาษาอังกฤษเรียงถัดมา เราจัดแบบนี้มาตั้งแต่ 2522 โดยยึดหลักการขั้นต้นว่า ห้องสมุด ไม่ควรมีภาษา วัสดุความรู้เรื่องอะไรก็ตาม ถ้าให้ความรู้เหมือนกัน เป็นสารสนเทศสิ่งเดียวกัน จะบันทึกด้วยภาษาใดๆก็ตาม ควรจะอยู่ด้วยกัน ผู้ใช้จะเลือกสรรอย่างเสรี และเลือกสรรความรู้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ แสวงหาให้มากที่สุด ดีที่สุด ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบการบันทึกอย่างใด เอาความรู้และความกระหายในความรู้ เป็นที่ตั้งต้น ทั้งนี้จะต้องสัมพันธ์กับ OPAC  ที่จะต้องมีรายละเอียดที่มากพอ สมบูรณ์แบบ และสามารถบอกตำแหน่งของการจัดเก็บบนชั้นได้อย่างพอเพียงเกินกว่าจะบอกเป็นบัตรรายการ 3-8 บรรทัด อย่างที่พบเห็นในโปรแกรมห้องสมุดปัจจุบันทั่วไป ไม่ได้ใช้ศักยภาพของคอมพิวเตอร์ให้คุ้มค่า บรรณารักษ์จะต้องทำงานมากขึ้น มีความรู้มากขึ้น และชี้นำได้ใกล้เคียงกับเนื้อเรื่องได้มากขึ้น ที่ราชภัฎเชียงราย เน้นการลงรายการที่จะต้องมี Note และ มี summary/abstract ในทุกๆรายการ ที่สืบค้นได้ บรรณารักษ์ต้องอ่านศึกษา และชำนาญการเฉพาะมากที่สุด  Information Resources ไม่มีรูปแบบเฉพาะ ในโลกของ cyber ปัจจุบัน Information จะถูกบันทึกไว้เหลือเพียง 3 แบบเท่านั้น คือ paper, CD, และ online(e-access) นอกนั้นล้มละลายหายไปจาก ห้องสมุดทั้งหลายมากขึ้นทุกที ตัวอย่าง หลายประเภท คงเหลือครุภัณฑ์โบราณตั้งอยู่ แต่หาซื้อวัสดุมาใช้งานไม่ได้ เช่น เทปเสียง วิดีโอเทป สไลด์ ภาพยนต์ นี่คือ การเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันของห้องสมุดมหาวิทยาลัย แนวคิดที่น่าสนใจในปัจจุบันของ ราชภัฎเชียงราย คือ พยายามนำวัสดุโบราณเหล่านี้มา แปลงเป็น CD และถ้าสิ่งไหนเป็น high used จะบันทึกลงใน HD storages server ที่ผู้ใช้บริการสามารถเรียกใช้ได้จาก OPAC ตลอดเวลา จะเป็นการลดพื้นที่จัดเก็บ และลดภาระงานบริการ ถามว่าทำได้ไหม ก็ e-thesis ยังทำได้เลย แล้ว e-books อื่นๆทำไมจะทำไม่ได้ และถ้าการจัดเก็บบนชั้นเก็บแบบเปิด จะมีวัสดุ หนังสือตำรา และ CD วางเรียงกันไปเป็นแถวต่อเนื่อง ถ้าเป็นกระดาษหยิบไปเปิดศึกษา ที่โต๊ะอ่าน ถ้าเป็น CD ก็นำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ หรือหยิบยืมคืนไปที่อื่นๆได้ ตามสะดวก
ในอนาคตห้องสมุดมหาวิทยาลัยรุ่นใหม่ๆอาจจะมีพื้นที่เพียงอาคาร 2ชั้นเล็กๆ ไม่มีขนาดใหญ่โตมากนัก เพราะวัสดุความรู้จำนวนมาก จะถูกแปลงเป็น CD หรือ online เกือบจะหมด ที่เหลืออยู่ คือ ศักยภาพของการสืบค้นที่มีประสิทธิภาพ เรื่องนี้ก็จะเชื่อมโยงไปยัง กระบวนการของการสืบค้นด้วย Suject Heading, Keyword ซึ่งจะเป็น เครื่องมือที่สำคัญยิ่งยวดของ ผู้ใช้บริการการสืบค้นข้อมูล นอกจากนี้คำอธิบาย ที่เป็น physical description ของวัสดุความรู้ ก็ต้องมีการขยายความแสดงผลให้ชัดแจ้ง สมบูรณ์หลากหลาย และสามารถ link ไปยังแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่ขยายขอบข่ายของความรู้นั้นได้อีกต่อๆไป อาจจะไม่รู้จบก็ได้ จนกว่าผู้แสวงหาความรู้จะพอใจแล้ว บรรณารักษ์ ต้องรู้เรื่องหลายด้าน หลายภาษา และต้องซาบซึ้งใน high technology อย่างดีพอ(ไม่ได้หมายความว่าเป็นช่างเทคนิคนะ) อีกประการหนึ่งที่จะต้องตระหนักในอนาคตของวิชาชีพ ให้มากกว่าทุกวันนี้ ถ้าระบบมือถือ+โน้ตบุ้ค ที่มีประสิทธิภาพมากๆยิ่งขึ้น บริษัท ที่ผลิตสารานุกรม และพจนานุกรม ทั้งหลาย นำเอาสิ่งเหล่านั้นไปสู่ระบบ online  ที่สามารถเรียกใช้ข้อมูลผ่าน ระบบมือถือ ไม่ต้องเข้ามห้องสมุดอีกต่อไป แล้วสารสนเทศเหล่านี้ ในห้องสมุด จะบริการกันอย่างไรต่อไป (อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะมันกำลังจะเป็นในอนาคตอันใกล้นี้) มาถึงตอนนี้ การจัดเก็บหนังสือบนชั้น คงไม่ใช่เรื่องยุ่งยากเท่าไหร่แล้ว ทำ address/call no. ให้ดีก็แล้วกัน มันเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไปของห้องสมุด ที่ Library of Congress  หรือในประเทศอื่น ที่มีภาษาประจำชาติหลากหลายมากกว่า 1ภาษา ไม่เห็นเป็นปัญหาในการจัดเก็บ และค้นหาเลย บ้านเราก็ไม่น่าจะมีปัญหา(ยกเว้นปัญหาที่มาจาก ความเคยชิน กับปัญหากลัวการเปลี่ยนแปลง)

ที่ทำงานผมก็จัดรวมกันเหมือนกันครับ ยิ่งสะดวกมากขึ้นกรณีที่ค้นหาแบบไม่ระบุภาษา ถ้าต้องแยกหนังสือ ตามภาษาคงต้องจัดไว้หลายมุมมากครับ เช่น จีน ไทย ญี่ปุ่น ลาว เขมร เวียดนาม ฝรั่งเศส เบรมัน

ขอแสดงความคิดเห็นหน่อยนะคะ วิธีการจัดหนังสือแบบเรียงภาษาไทยคู่กับภาษาอังกฤษ จะต้องเผื่อเนื้อที่ไว้สำหรับหนังสือที่แทรกเข้ามาระหว่างเลขหมู่ช่วงนั้นๆด้วย ทั้งหนังสือใหม่และหนังสือที่ถูกยืมไป ไม่อย่างนั้นคนขึ้นชั้นต้องเสียเวลาแยกหนังสือออกจากกัน เพื่อให้มีเนื้อที่พอสำหรับนำหนังสือถูกคืนแล้วขึ้นชั้นในแต่ละวัน ถ้าจะใช้วิธีเรียงหนังสือไทยต่อด้วยหนังสืออังกฤษจริงๆ คงต้องเผื่อเนื้อที่ชั้นไว้ด้วยน่ะค่ะ แล้วกำหนดขอบเขตของหนังสือในแต่ละส่วนให้ชัดเจน เช่น ภาษาไทยหมวด L หมวดย่อย LB จะเริ่มตั้งแต่เลขไหนถึงเลขไหน แล้วจึงเรียงต่อด้วยภาษาอังกฤษ แล้วชั้นถัดไปจึงเริ่ม เช่น LB1221-LB2805 แล้วตามด้วยภาษาอังกฤษ จึงต้องแบ่งช่วงดีๆ ไม่เช่นนั้นคนขึ้นชั้นจะสับสน และคนหาหนังสือก็จะสับสนเช่นกัน

ดิฉันเห็นว่าน่าจะทดลองได้นะคะ ถ้าไม่ลองก็ไม่รู้ว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร แต่ควรทดลองหนังสือซักประเภทก่อน เพื่อดูผลกระทบหลายๆด้านน่ะค่ะ

เมื่อวันที่ 17 ไปอบรม มสธ. ได้ไปใช้บริการมี่ห้องสมุด มสธ. ที่นี่จัดเหมือนภาพแสดงจัดชั้นเหมือนของอาจารย์ค่ะมีป้ายบอกช่วงชั้น คู่ขนานกัน ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ จะถามเจ้าหน้าที่จัดชั้นของเค้าสะดวกมั้ยในการทำงานก็มองหาไม่พบเนื่องจากเวลายังเช้ามาก และตัวเองยังติดอบรม ตั้งใจจะ กลับมาส่ง E-mail สอบถามบรรณารักษ์บริการที่เค้าอบรมให้วันนั้น ก็เลยมานั่งคิดถึง ทำอย่างเค้าแล้วจะดีอย่างไรน่าแยกหนังสือปีที่พิมพ์ 2535 ลงไป ไว้อีกซีกหนึงปี2535 ขึ้นไป จัดหนังสือคู่ขนานเหมือนกัน คิดต่ออีกว่าหนังสือคู่ขนานแล้ว เจ้าหน้าที่จัดชั้นคู่ขนานอีกดีมั้ย อยากจะให้ผู้ใช้บริการที่เคยมีประสบกราณ์การรใช้ทั้ง 2 รูบแบบแสดงความคิดเห็น ดีอย่างไร ไม่ดีอย่างไรมากๆๆๆนะคะ จะได้เป็นข้อมูลให้กับเราชาวบรรณารักษ์ทั้งหลายๆๆหลายๆๆสถาบัน ตัดสินใจ

เรื่องการจัดชั้นหนังสือนั้น ที่ราชภัฎเชียงราย จัดรวมภาษาไทย และภาษาอังกฤษ อยู่รวมกัน เรียงลำดับภาษาไทยมาก่อนภาษาอังกฤษเรียงถัดมา เราจัดแบบนี้มาตั้งแต่ 2522 โดยยึดหลักการขั้นต้นว่า ห้องสมุด ไม่ควรมีภาษา วัสดุความรู้เรื่องอะไรก็ตาม ถ้าให้ความรู้เหมือนกัน เป็นสารสนเทศสิ่งเดียวกัน จะบันทึกด้วยภาษาใดๆก็ตาม ควรจะอยู่ด้วยกัน ผู้ใช้จะเลือกสรรอย่างเสรี และเลือกสรรความรู้ในสิ่งที่ตนเองต้องการ แสวงหาให้มากที่สุด ดีที่สุด ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบการบันทึกอย่างใด เอาความรู้และความกระหายในความรู้ เป็นที่ตั้งต้น ทั้งนี้จะต้องสัมพันธ์กับ OPAC ที่จะต้องมีรายละเอียดที่มากพอ สมบูรณ์แบบ และสามารถบอกตำแหน่งของการจัดเก็บบนชั้นได้อย่างพอเพียงเกินกว่าจะบอกเป็นบัตรรายการ 3-8 บรรทัด อย่างที่พบเห็นในโปรแกรมห้องสมุดปัจจุบันทั่วไป ไม่ได้ใช้ศักยภาพของคอมพิวเตอร์ให้คุ้มค่า บรรณารักษ์จะต้องทำงานมากขึ้น มีความรู้มากขึ้น และชี้นำได้ใกล้เคียงกับเนื้อเรื่องได้มากขึ้น ที่ราชภัฎเชียงราย เน้นการลงรายการที่จะต้องมี Note และ มี summary/abstract ในทุกๆรายการ ที่สืบค้นได้ บรรณารักษ์ต้องอ่านศึกษา และชำนาญการเฉพาะมากที่สุด Information Resources ไม่มีรูปแบบเฉพาะ ในโลกของ cyber ปัจจุบัน Information จะถูกบันทึกไว้เหลือเพียง 3 แบบเท่านั้น คือ paper, CD, และ online(e-access) นอกนั้นล้มละลายหายไปจาก ห้องสมุดทั้งหลายมากขึ้นทุกที ตัวอย่าง หลายประเภท คงเหลือครุภัณฑ์โบราณตั้งอยู่ แต่หาซื้อวัสดุมาใช้งานไม่ได้ เช่น เทปเสียง วิดีโอเทป สไลด์ ภาพยนต์ นี่คือ การเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันของห้องสมุดมหาวิทยาลัย แนวคิดที่น่าสนใจในปัจจุบันของ ราชภัฎเชียงราย คือ พยายามนำวัสดุโบราณเหล่านี้มา แปลงเป็น CD และถ้าสิ่งไหนเป็น high used จะบันทึกลงใน HD storages server ที่ผู้ใช้บริการสามารถเรียกใช้ได้จาก OPAC ตลอดเวลา จะเป็นการลดพื้นที่จัดเก็บ และลดภาระงานบริการ ถามว่าทำได้ไหม ก็ e-thesis ยังทำได้เลย แล้ว e-books อื่นๆทำไมจะทำไม่ได้ และถ้าการจัดเก็บบนชั้นเก็บแบบเปิด จะมีวัสดุ หนังสือตำรา และ CD วางเรียงกันไปเป็นแถวต่อเนื่อง ถ้าเป็นกระดาษหยิบไปเปิดศึกษา ที่โต๊ะอ่าน ถ้าเป็น CD ก็นำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ หรือหยิบยืมคืนไปที่อื่นๆได้ ตามสะดวก

ในอนาคตห้องสมุดมหาวิทยาลัยรุ่นใหม่ๆอาจจะมีพื้นที่เพียงอาคาร 2ชั้นเล็กๆ ไม่มีขนาดใหญ่โตมากนัก เพราะวัสดุความรู้จำนวนมาก จะถูกแปลงเป็น CD หรือ online เกือบจะหมด ที่เหลืออยู่ คือ ศักยภาพของการสืบค้นที่มีประสิทธิภาพ เรื่องนี้ก็จะเชื่อมโยงไปยัง กระบวนการของการสืบค้นด้วย Suject Heading, Keyword ซึ่งจะเป็น เครื่องมือที่สำคัญยิ่งยวดของ ผู้ใช้บริการการสืบค้นข้อมูล นอกจากนี้คำอธิบาย ที่เป็น physical description ของวัสดุความรู้ ก็ต้องมีการขยายความแสดงผลให้ชัดแจ้ง สมบูรณ์หลากหลาย และสามารถ link ไปยังแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่ขยายขอบข่ายของความรู้นั้นได้อีกต่อๆไป อาจจะไม่รู้จบก็ได้ จนกว่าผู้แสวงหาความรู้จะพอใจแล้ว บรรณารักษ์ ต้องรู้เรื่องหลายด้าน หลายภาษา และต้องซาบซึ้งใน high technology อย่างดีพอ(ไม่ได้หมายความว่าเป็นช่างเทคนิคนะ) อีกประการหนึ่งที่จะต้องตระหนักในอนาคตของวิชาชีพ ให้มากกว่าทุกวันนี้ ถ้าระบบมือถือ+โน้ตบุ้ค ที่มีประสิทธิภาพมากๆยิ่งขึ้น บริษัท ที่ผลิตสารานุกรม และพจนานุกรม ทั้งหลาย นำเอาสิ่งเหล่านั้นไปสู่ระบบ online ที่สามารถเรียกใช้ข้อมูลผ่าน ระบบมือถือ ไม่ต้องเข้ามห้องสมุดอีกต่อไป แล้วสารสนเทศเหล่านี้ ในห้องสมุด จะบริการกันอย่างไรต่อไป (อย่าคิดว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะมันกำลังจะเป็นในอนาคตอันใกล้นี้) มาถึงตอนนี้ การจัดเก็บหนังสือบนชั้น คงไม่ใช่เรื่องยุ่งยากเท่าไหร่แล้ว ทำ address/call no. ให้ดีก็แล้วกัน มันเป็นเรื่องธรรมดาทั่วไปของห้องสมุด ที่ Library of Congress หรือในประเทศอื่น ที่มีภาษาประจำชาติหลากหลายมากกว่า 1ภาษา ไม่เห็นเป็นปัญหาในการจัดเก็บ และค้นหาเลย บ้านเราก็ไม่น่าจะมีปัญหา(ยกเว้นปัญหาที่มาจาก ความเคยชิน กับปัญหากลัวการเปลี่ยนแปลง)

ที่ทำงานผมก็จัดรวมกันเหมือนกันครับ ยิ่งสะดวกมากขึ้นกรณีที่ค้นหาแบบไม่ระบุภาษา ถ้าต้องแยกหนังสือ ตามภาษาคงต้องจัดไว้หลายมุมมากครับ เช่น จีน ไทย ญี่ปุ่น ลาว เขมร เวียดนาม ฝรั่งเศส เบรมัน

ชอบ แนวคิดของ มรภ.เชียงรายจังครับที่ว่า

"ห้องสมุด ไม่ควรมีภาษา วัสดุความรู้เรื่องอะไรก็ตาม ถ้าให้ความรู้เหมือนกัน เป็นสารสนเทศสิ่งเดียวกัน จะบันทึกด้วยภาษาใดๆก็ตาม ควรจะอยู่ด้วยกัน"

 

  • ในฐานะผู้ใช้ต้องการแบบนี้มากเลยครับ รหัสเดียวกันหรือใกล้เคียงกันอยุ่ด้วยกันโดยไม่มีเรื่องภาษาเข้ามาเกี่ยวครับ จริงอยากจะบอกว่าประเภทของสื่อก็ไม่น่าจะเอามาเป็นตัวแยกให้อยู่คนละที หากจัดการได้ง่ายในการจัดวางนะครับ

เอาแบบไปโซนไหนก็ได้เรื่องราวทำนองเดียวกันอย่างที่อยากได้ก็เป็นใช้ได้แล้วครับ เป็นกำลังใจให้ครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท