KM-class2


แนวทางการบริหารจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2548
แนวทางการบริหารจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2548 กรมส่งเสริมการเกษตรให้ความสำคัญ เรื่อง การบริหารจัดการความรู้มาตั้งแต่ปี 2547 ได้จัดทำแนวทางและวางแผนการพัฒนาระบบบริหารความรู้ในองค์กร โดยการศึกษาแนวทางการบริหารความรู้ขององค์กรต่างๆ วิเคราะห์บทบาทภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตร และจัดทำแนวทางการบริหารความรู้ในองค์กรขึ้น สำหรับในปี 2548 ได้กำหนดให้มีการดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ภายใต้การบริหารจัดการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการกรมส่งเสริมการเกษตร คณะที่ 2 ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน เรื่อง การบริหารองค์ความรู้ขึ้นมา ทำหน้าที่ในการพัฒนาและสนับสนุนการดำเนินงานการบริหารองค์ความรู้ภายในกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งในการจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนดวิธีการดำเนินงานเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ (1) ขั้นตอนการเตรียมการ (2) ขั้นตอนการดำเนินงาน (3) ขั้นตอนการติดตามและประเมินผล ขั้นตอนการเตรียมการ เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะต้องสร้างความเข้าใจในทุกระดับ เพื่อให้เกิดการนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมต่อไป 1. การสื่อสารสร้างความเข้าใจการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสื่อสารให้ผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรได้รับรู้และตระหนักถึงความสำคัญและจำเป็นในการดำเนินการสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization, LO) และการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร (Knowledge Management, KM) โดยการ 1.1 แต่งตั้งคณะทำงานการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร 1.2 การนำเรื่องการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ และการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร เข้าชี้แจงในที่ประชุมประจำเดือนของผู้บริหารกรมส่งเสริมการเกษตร 1.3 การประชาสัมพันธ์โครงการและเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ ของกรมฯ เช่น ทาง Website, วารสารกรมส่งเสริมการเกษตร 2. การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้และการบริหารจัดการความรู้ ในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด แนวทางตลอดจนประโยชน์ของการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร และปรับวิธีคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมของคนในองค์กรให้ตระหนัก เกิดความพร้อมในการจัดการความรู้ และจัดทำแผนการดำเนินงาน โดยการ 2.1 จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ และการบริหารจัดการความรู้ในองค์กรให้แก่ผู้บริหาร คณะทำงานฯ และบุคลากรในองค์กร 2.2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้นในการบริหารจัดการความรู้ในองค์กรให้แก่กลุ่มจังหวัดเป้าหมาย 3. การประเมินศักยภาพขององค์กร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจความพร้อมขององค์กรในด้านต่างๆ เช่น วัฒนธรรมขององค์กร ฐานข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่ในองค์กร ความพร้อมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกระดับ เป็นต้น โดยการสำรวจและวิเคราะห์ศักยภาพองค์กรในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการความรู้ เช่น ออกแบบเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล รายงานสรุปผล 4. กำหนดแนวทางการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบระบบการบริหารจัดการความรู้ในองค์กรของกรมส่งเสริมการเกษตร โดยการนำผลการสำรวจและวิเคราะห์ศักยภาพองค์กร มาเป็นข้อมูลในการออกแบบและวางระบบในการบริหารจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมทั้งกำหนดหน้าที่ บทบาทของผู้มีส่วนร่วม เทคโนโลยีที่จะใช้ กำหนดการวัดผลลัพธ์ที่ต้องการ และจัดทำแผน ขั้นการดำเนินงาน 1. ดำเนินการตามแนวทางการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร วัตถุประสงค์ เพื่อให้มีการบริหารจัดการความรู้ตามแนวทางการบริหารจัดการความรู้ขององค์กร โดยการ 1.1 จัดทำเป้าหมายในการบริหารจัดการความรู้และหาองค์ความรู้ที่ต้องการนำมาในการบริหารจัดการความรู้ โดยดำเนินการกำหนดเป้าหมายในการบริหารจัดการความรู้ขององค์กร และเลือก 9 จังหวัดนำร่อง คือ จังหวัดนครพนม อุบลราชธานี นครนายก สมุทรสงคราม อ่างทอง สตูล นครศรีธรรมราช น่าน กำแพงเพชร เป็นหน่วยงานเพื่อทดลองรูปแบบในการจัดการความรู้ของกรม ซึ่งในจังหวัดเหล่านี้จะมีการวิเคราะห์สมรรถนะหลัก ประเมินสมรรถนะหลัก กำหนดเรื่อง/ประเด็นการทำ KM ในระดับหน่วยงานย่อย 1.2 ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กร เช่น สร้างกลุ่ม/เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับอำเภอ/ระหว่างอำเภอ ตลาดนัดความรู้ Best Practice แลกเปลี่ยนผ่านสื่อ เช่น Web Board และวารสาร พัฒนาช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น จัดทำระบบสารสนเทศ 1.3 จัดหา รวบรวม และสร้างองค์ความรู้ เช่น จัดหาและรวบรวบความรู้ที่ต้องการใช้ พัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้เพื่อจัดเก็บให้เป็นระบบสะดวกและเข้าถึงง่าย สังเคราะห์องค์ความรู้ของแต่ละพื้นที่ ขั้นการติดตามประเมินผล 1. การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบถึงผลการดำเนินงาน ว่าประสบผลสำเร็จหรือไม่อย่างไร มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ ประสบผลสำเร็จ รวมทั้งปัญหาอุปสรรค และนำข้อมูล ผลการดำเนินงาน ในปี 2548 มาทบทวน ปรับปรุง และวางแผนขยายผลการดำเนินงาน ในปี 2549 โดยการ 1.1 ออกแบบเครื่องมือในการประเมินผล 1.2 รวบรวมข้อมูล 1.3 วิเคราะห์ข้อมูล 1.4 รายงานสรุปผลการประเมิน 1.5 มอบประกาศเกียรติคุณแก่จังหวัดนำร่อง 1.6 ประชุมคณะทำงานฯ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน และขยายผล ในปี 49 หมายเหตุ แนวทางการจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นเพียงแนวทางกว้าง ๆ ที่สามารถปรับปรุง ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยระหว่างการดำเนินงานจะมีคณะทำงานเป็นสื่อกลางในการนำข้อมูลระหว่างหน่วยงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แล้วนำไปปรับปรุงให้เหมาะสมต่อไป ขณะเดียวกันคณะทำงานในหน่วยงานก็มีเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจ และปรับปรุงกระบวนการอย่างสม่ำเสมอ ช่องทางการสื่อสารที่สามารถแลกเปลี่ยนให้สะดวก คือ ผ่านช่องทาง Website KM WebPages ของกรมส่งเสริมการเกษตร ............................................. http://effiu.doae.go.th/doae%20KM/prompt/Nt/01.doc
หมายเลขบันทึก: 62478เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท