"สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น"(ภาค 4)


“ทีป้าหน่อยกินยาแค่สองอาทิตย์ยังลืมกินยาแล้วหนูล่ะกินมาเป็นปีๆก็ต้องมีลืมกันบ้างซิ”
วันที่แปดถึงสิบสอง(สัปดาห์ที่สอง)ของการกินยา

          เริ่มชินกับอาการข้างเคียงของยา  รู้แล้วว่าตอนเช้า(โดยเฉพาะตื่นนอน)ปัสสาวะจะสีเข้มมากๆแต่ไม่เท่ากับสัปดาห์แรก และระหว่างวันปัสสาวะจะเริ่มเหลืองน้อยลงแต่ไม่ถึงกับใสเลยนะปวดเมื่อยตามเนื้อตัวยังมีอยู่คู่กับน้องสิว(ถ้าเป็นเด็กๆที่กินยา คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องสิวนะ) <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อดไม่ได้เลยต้องหายามาทาแก้สิว  เมื่อวันก่อนสวดมนต์เสร็จลืมกินยา ป้าเปรี้ยวนึกยังไงไม่รู้วันนี้ถามว่า กินยาหรือยัง รีบลงจากเตียงมากินยาทันที  นี่แหล่ะของจริงจะได้รู้ซะบ้าง (บอกตัวเอง)คือบางครั้ง เวลาถามเด็กว่าต้องมีใครคอยเตือนเรื่องกินยาอยู่หรือเปล่า </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">เด็กตอบ ให้ยายเตือนทุกวันคร้าบกระผม </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p> เราก็จะแย้งว่า อ้าวกินยาเองทุกวัน ทำไมต้องให้ยายเตือนล่ะจ๊ะ </p><p>นี่ดีนะถ้าป้าเปรี้ยวไปบอกเด็กๆเรื่องป้าหน่อยเกือบลืมกินยาแล้วล่ะก็ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จะต้องถูกเด็กๆย้อนว่า ทีป้าหน่อยกินยาแค่สองอาทิตย์ยังลืมกินยาแล้วหนูล่ะกินมาเป็นปีๆก็ต้องมีลืมกันบ้างซิ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p>    รู้แล้วว่าคนเราก็ต้องมีลืมกันบ้าง แฮะ แฮะ คราวหน้าจะได้ไม่พูดประโยคนี้แล้วค่ะ            บอกกับตัวเองว่า ต้องเสริมกำลังใจและชมเด็กๆทุกๆครั้งหลีกเลี่ยงการตัดพ้อเรื่องกินยาเพราะบางครั้งเรามุ่งหวัง(คาดหวัง)ว่าเด็กควรจะทำตามที่แนะนำเรื่องกินยา แต่ถ้าเด็กไม่มีใครคอยดูแลให้กำลังใจอย่างต่อเนื่อง เด็กจะเบื่อและเอือมระอามากๆกับการกินยาเพราะวัยเด็กเป็นวัยที่สนุกสนานไม่ใช่ต้องมานั่งทุกข์ระทมกับการกินยา            เรื่องการเสริมสร้างกำลังใจ ผู้ใหญ่จะมีวิธีการต่างๆนาๆที่เลือกเองได้โดยไม่ค่อยมีใครกล้าขัด เช่น อยากกินโน่นกินนี่(เป๊บซี่) ดูVCD ทั้งวัน  นั่งรถไปเที่ยวยังที่ต่างๆที่อยากจะไป  แต่เด็กยังต้องพึ่งพาให้ผู้ใหญ่พาไปเด็กๆเวลาป่วยถึงเครียดหรือ เซ็งมากกว่าผู้ใหญ่ไงล่ะค่ะ ขอให้เห็นใจเด็กๆด้วยนะค่ะ(ป้าหน่อยขอเป็นกระบอกเสียงแทนเด็กๆ)  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">อ้อ! ขอขอบคุณทุกๆท่านค่ะไม่ว่าจะเป็นญาติเด็กๆ และพี่ๆเพื่อนๆที่ห่วงใยมาตามสายโทรศัพท์</p><p>                                                                                          ป้าหน่อย</p><p></p><p>  </p>

คำสำคัญ (Tags): #กำลังใจ
หมายเลขบันทึก: 62453เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

โอ้โฮป้าหน่อย เล่นขนขอเล่นมาเพี๊ยบเลยแบบนี้หายเซ็งแย่เลย

  • พี่เล็กเองรู้และเข้าใจผู้ป่วยดีถึงเรื่องการกินยาให้ตรงเวลา
  • ถ้าอาศัยเพียงตัวเราเองโดยไม่มีพี่เลี้ยงจะพบปัญหาการหลงลืม (พี่เองก็ยังเคยเป็นเล้ย...) ดังนั้นเราควรจะบอกผู้ป่วยควรมีพี่เลี้ยงเตือนการกินยาแล้วจะทำให้วินัยการกินยาของตนเองดีขึ้นค่ะ

           อยากบอกหน่อยว่าอาชีพอย่างเราต้องเตรียมใจรับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากคนไข้อยู่แล้ว แต่พวกเรามีกระบวนการเฝ้าระวังที่ดี   จึงทำให้ไม่มีอาการรุนแรงการติดเชื้อ TB เป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้   ขอให้อดทนทานยาให้สม่ำเสมอเพียง 6 เดือนเท่านั้น....ถ้าเปรียบเทียบกับผู้ป่วยเด็กติดเชื้อเอชไอวีที่ต้องทานยาต้านไวรัสตลอดชีวิตแล้วจะรู้สึกมีกำลังใจขึ้นมาก  อีก 2 สัปดาห์เจอกันนะค่ะ เด็กๆ บ่นคิดถึงป้าหน่อยมากๆๆ....ค่ะ

                                                                                             พญ.รุจนี

ได้รับกำลังใจแบบนี้  สู้ต่อแน่นอนค่ะ

                            "หน่อย"

  • นึกถึงเหตุผลของ DOT เลยนะคะ
  • ดีใจที่ "สู้...สู้" ค่ะ
ตอนนี้อยากลาป่วยเพื่อสะสางงานที่คั่งค้างบ้างจัง แต่ถ้าต้องกินยาไม่เอานะ ขอเอาใจช่วยคนกินยาดีกว่า..ฮิฮิ

อย่าไปคิดอยากลาป่วยเลย แค่คิดก็มีงานมารออยู่ในสมองแล้ว ดูรูปเหมือนป้าเปรี้ยวไปก่อน จะได้มีกำลังใจและกายที่แข็งแรง

           (เห็นรูปนี้แล้วคิดถึงป้าเปรี้ยว)

แวะมาเยี่ยมหน่อยค่ะ   ขอบคุณที่ไม่ท้อแท้  
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท