beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ข้อคิดคำคมจาก "เสียงกู่จากครูใหญ่"


การศึกษานั้นต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ไม่ใช่ศึกษาเพื่อที่จะทิ้งถิ่น

    วันนี้นึกถึงเรื่อง "เสียงกู่จากครูใหญ่" ขึ้นมา เคยเล่าไว้ที่นี่  เรื่องเล่า : เสียงกู่จากครูใหญ่ 

    เรื่องดี ๆ แบบนี้มีผู้อ่านน้อยจัง ก่อนหน้าเก็บสถิติใหม่ (ก่อน 6 มิ.ย.49) มีผู้อ่านเป็นร้อยครั้ง พอเก็บสถิติใหม่เหลือแค่ 48 ครั้ง...ส่วนของคุณจ๋า ณ สคส. เหลือแค่ 26 ครั้งเท่านั้นเอง...

    ต่อไปนี้เป็นข้อคิด คำคม ที่ผมถอดบทมาจาก VCD นะครับ..ใครสนใจเอาไปทำเป็นภาพยนตร์ ผมจะแต่งเรื่องให้ใหม่นะครับ...เริ่มต้นเลยครับ

  • นักพัฒนานั้น...ต้องเป็นผู้ที่ทำงานด้วยความเสียสละไม่เรียกร้องความดีความชอบหรือผลประโยชน์เป็นพิเศษตอบแทน ...เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นนักฉวยโอกาส
  • คนเราวัดกันด้วย...เครื่องแต่งกายภายนอก....ถ้าแต่งกายด้วยเสื้อผ้าขาดๆ คนเขาก็ไม่นับถือ
  • บทเรียนบทแรกของนักพัฒนา "ถ้าสร้างศรัทธาไม่สำเร็จ การพัฒนาก็ล้มเหลว"
  • ชาวบ้านอยู่กันอย่างเห็นแก่ตัว
  • ความสำเร็จของการพัฒนา ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของชาวบ้าน
  • ก่อนลงมือทำงาน...ต้องสร้างกำลังใจในการทำงานเสียก่อน
  • การทำงานเพื่อพัฒนาสังคม คือการทำงานกับคนหมู่มาก ซึ่งยังมีความคิดเห็นแตกต่างกัน ดังนั้นต้องมีการ "ประสานความคิด ประสานจิตใจ"
  • ต้องการเพียงคำเขวัญเดียว..แต่ทำให้สำเร็จ ไม่ใช่มีคำขวัญไว้เยอะแยะ แต่ไม่ได้ทำเลย
  • คำขวัญ "การทำงานหนัก เป็นดอกไม้ของชีวิต"
  • การทำงานต้องคิดหา...จุดเริ่มต้น...
  • นโยบายของครูใหญ่เน้น "การพี่งตนเอง" หรือ อตฺตา หิ อตฺโน นาโถ
  • ครูใหญ่เชื่อว่าชาวบ้านที่เห็นแก่ตัวกันมานานนั้น ยังไม่สามารถใช้คำพูดจูงใจได้ ต้องอาศัยการทำงานหนักเป็นตัวอย่างจูงใจ
  • การสร้างโรงเรียนเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ไม่ใช่เรื่องของชาวบ้าน ถ้ารัฐไม่สร้างให้ เขาก็ไม่ให้ลูกหลานเรียน เขาอยู่มาได้โดยไม่ต้องไปโรงเรียน
  • หลักการทำงานของครูใหญ่ "พี่งตัวเองเสียก่อน แล้วสวรรค์จะช่วย"
  • เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือครูใหญ่ก็ยังมีภรรยาครูใหญ่
  • การที่บ้านเมืองเสื่อมโทรมจนทุกวันนี้ ก็เพราะคนเห็นแก่ตัว เราเป็นครู เราเป็นพ่อเป็นแม่คน เราเป็นผู้ใหญ่ในสังคมนี้ ถ้าไม่ทำเป็นตัวอย่างแล้วใครจะทำ
  • มีธรรมะคนจะช่วยมาก ไม่มีธรรมะคนจะช่วยน้อย
  • พลังของนักเรียนหรือพลังมด มีความภาคภูมิใจที่ได้ช่วยโรงเรียน ดีกว่าไปวิ่งเล่น
  • เมื่อชาวบ้านได้ร่วมมือกันทำงานเพื่อสร้างโรงเรียนให้ลูกหลานแล้ว จิตใจก็พัฒนาขึ้น เห็นคุณค่าของความสามัคคี เขาจึงช่วยกันทำงานด้วยความขยันขันแข็ง ไม่มีการเกี่ยงงอน ถึงตอนกลางคืนไม่ยอมหยุด จุดคบเพลิงทำต่อ
  • ชาวบ้านตกลงกันว่า จะร่ามมือกันสร้างสาธารณประโยชน์อย่างอื่น อันจะทำให้ชีวิตของเขาและลูกหลานของเขาดียิ่งขึ้น โดยไม่ต้องรอเงินงบประมาณ เงินผัน เงิน.....
  • เมื่องานสำเร็จ ครูใหญ่เรียกประชุมเพื่อกล่าวยกย่องเป็นกำลังใจว่า "การที่เราทำงานสำเร็จ เรียบร้อย และรวดเร็วเช่นนี้ ก็เพราะความร่วมแรงร่วมใจของทุกคน"
  • โรงเรียนที่ยากจน และเริ่มต้นพัฒนาอย่างเรา ความสวยงามไม่จำเป็น ต้องยึดหลักพึ่งตนเอง และประหยัด
  • นักเรียนได้ฝึกการก่อสร้างด้วยตนเอง และเมื่อเรียนจบชั้นประถมก็สามารถสร้างบ้านของตัวเองได้
  • ครูและนักเรียน ได้ใช้โรงเรียนที่เขาช่วยกันสร้าง อย่างภาคภูมิใจ
  • แม้โรงเรียนจะสร้างเสร็จแล้ว ครูใหญ่ยังคงทำงานหนักเพื่อพัฒนาโรงเรียนต่อไป เพราะงานพัฒนาหรืองานสร้างความเจริญนี้ ทำได้ตลอดชีวิตไม่มีที่สิ้นสุด 
  • ครูใหญ่บันทึกการทำงานของตนเองไว้ทุกขั้นตอน และบันทึกของครูใหญ่ทราบไปถึงหนังสือพิมพ์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ที่ช่วยกันตีพิมพ์ให้รัฐบาลทราบเรื่องว่า บัดนี้ครูใหญ่ได้พัฒนาจิตใจของชาวบ้าน ให้ขยัน ให้พึ่งพาตนเอง โดยร่วมกันทำงานสร้างโรงเรียนสำเร็จแล้ว  รัฐบาลจึงมาสร้างโรงเรียนให้ใหม่ ให้ใหญ่กว่าเก่า และเพิ่มครูให้อีก
  • สวรรค์ชั้นแรกคือครูน้อยกับนักเรียน...สวรรค์ชั้นต่อมาคือชาวบ้าน...และสวรรค์ชั้นสูงก็คือรัฐบาลนั่นเอง
  • การพัฒนารายได้ของชาวบ้าน เพื่อช่วยให้นักเรียนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การเรียนก็จะได้ผลดีตามไปด้วย... ได้เริ่มต้นจากการสังเกต
  • ครูใหญ่สังเกตว่า นักทัศนาจรที่มาเที่ยวในหมู่บ้าน (มีบ่อน้ำแร่ร้อน) ขากลับจะมีไข่ไก่ติดไปด้วย...นักทัศนาจรเหล่านี้คือตลาด ที่เข้ามาถึงหมู่บ้าน ไม่ต้องไปหาให้ยาก
  • ครูใหญ่สละเงิน 300 บาทไปซื้อไข่ไก่มา 200 ตัว "การเลี้ยงไก่เพื่อเพิ่มรายได้นี้ เป็นความคิดริเริ่มของครูใหญ่เอง ไม่ใช่เลี้ยงตามคำสั่ง ถ้าเลี้ยงตามคำสั่ง ไม่นานก็เลิก"
  • เมื่อทางการทราบว่า ครูใหญ่เริ่มต้นเลี้ยงไก่แล้ว ก็ส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ เพื่อให้โรงเรียนมีไก่มากขึ้น ไม่ใช่ส่งมาช่วยกินไก่ของโรงเรียน
  • 5 เดือนต่อมา โรงเรียนมีไก่มากขึ้น ครูใหญ่จึงใช้กุศโลบายแจกไก่ให้นักเรียนที่เรียนดี.(และเพื่อให้เห็นความสำคัญ จึงจัดงานอย่างยิ่งใหญ่)..แล้วครูใหญ่จะตามไปดูที่บ้านเพื่อตรวจให้คะแนน...นักเรียนคนไหนเลี้ยงไก่ได้มากจะได้คะแนนเยอะ...นักเรียนอยากได้คะแนนเยอะๆ...ก็ไปบังคับพ่อแม่ให้ช่วยเลี้ยงไก่
  • นักเรียนที่ถือไก่กลับไปบ้านเหล่านี้ คือทหารกองหน้าที่จะต่อสู้เอาชนะความยากจน โดยใช้ไก่เป็นอาวุธนั่นเอง
  • ชาวบ้านอื่นๆ เห็นหมู่บ้านนี้มีไก่มาก...เลยตั้งชื่อให้หมู่บ้านนี้ว่า "บ้านไก่"....ต่อมาเห็นมีการเลี้ยงผึ้งมากขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า "บ้านผึ้ง" .....ต่อมาเห็นมีการเลี้ยงวัวมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า "บ้านวัว" .......ต่อมา.....ต่อมา
  • ครูใหญ่ทำสวนครัวตัวอย่าง เพื่อช่วยให้ชาวบ้านมีผักกินในฤดูหนาว...ปลูกสวนครัวในโรงเรียน โดยมีพลาสติกคลุม และมีขี้ไก่เป็นปุ๋ย
  • ครูใหญ่ยังเช่าที่ดินจากทางการ เพื่อปลูกไม้สนหอมบนเขา ซึ่งได้กล้าไม้มาจากกรมป่าไม้ 38,000 ต้น ให้นักเรียนช่วยดูแล และภาพใน 4 ปี ต้นไม้เหล่านี้ถ้าตัดหมดจะขายได้เงินถึง...4 ล้านบาท
  • การเรียนของเด็กนักเรียน ในภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ เลี้ยงผึ้ง เลี้ยงวัว เป็นการเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยตรง และเห็นผลเร็ว "เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ไม่ใช่ศึกษาเพื่อจะทิ้งถิ่น"
  • ต่อมาครูใหญ่ได้ขายวัวไปจำนวนหนึ่ง เอาเงินไปซื้ออุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์การทดลองทางวิทยาศาสตร์ อุปกรณ์การกีฬาและดนตรี โดยไม่ได้รบกวนเงินงบประมาณจากทางราชการ...
  • ต่อมา...โรงเรียนนี้กลายเป็นโรงเรียนพัฒนาตัวอย่าง..ทางราชการจึงส่งเรือมาให้รับส่งนักเรียน....
  • เมื่อมีการจัดงานโรงเรียน ให้กับนักเรียนที่จบการศึกษา ครูใหญ่ยังแจกเงินก้นถุงที่เก็บสะสมไว้ ให้กับนักเรียนเพื่อใช้เป็นทุนต่อไป
  • ความทราบไปถึงผู้ใหญ่ในรัฐบาล เชิญครูใหญ่ไปรับรางวัลนักพัฒนา พร้อมมอบเงินรางวัลให้อีก 80,000 บาท ซึ่งครุใหญ่ก็ไม่ได้นำไปใช้ส่วนตัว นำไปสมทบทุนสร้างศาลาประชาคม ซึ่งต่อมาก็ใช้เป็นสถานที่จัดงานแต่งงานของลูกศิษย์
  • ภรรยาครูใหญ่เห็นแล้วว่า ผลงานของครูใหญ่ทำให้ชาวบ้านรักและศรัทธาเธอด้วยความจริงใจไปด้วย เธอมีความสุขมาก และความสุขเช่นนี้ จะใช้เงินซื้อหาไม่ได้
  • 8 ปีก่อน ครูใหญ่คนเดียวแท้ๆ ที่เดินทางเข้าหมู่บ้าน และสอนให้พวกชาวบ้าน ขยันอย่างฉลาด ปราศจากอบายมุข เห็นความยากจนของเพื่อนบ้านเป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะต้องช่วยกัน มีเพื่อนบ้านที่ดีแล้วไม่ต้องมีรั้วบ้าน
  • ความสำเร็จของทุกๆ คนในสังคม จะหล่อหลอมรวมกัน นำพาประเทศไปสู่ความเข้มแข็ง..และเอาชนะความยากจนได้...

 

หมายเลขบันทึก: 62442เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

คุณ beeman คะ

  • ครูอ้อยก็เขียนสรุปย่อเรื่องเสียงกู่จากครูใหญ่คะ  ที่นี่ค่ะ
  • แต่คุณ beeman  เก็บรายละเอียดได้ดีกว่าครูอ้อยมากเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • รวดเร็วจังครับครูอ้อย ยังแก้ไม่ทันเสร็จดี กำลังตรวจทานอยู่พอดี
  • เรื่องย่อของครูอ้อยเน้นเรื่อง กลยุทธ์วิธีทำงานครับ ซึ่งก็คงมีประมาณนั้น
  • ขอบคุณครับที่เข้ามาร่วมอ่าน ร่วมแจม

กลับไปอ่านpost ของวันที่ 28 มิ.ย. 2549 เห็นภาพชัดดีครับถ้าได้ดูVCD คงเข้าใจมากขี้นครับ พอสรุปได้เป็นขั้นๆ คือ

  • สร้างศรัทธา
  • ทำความรู้จักมักคุ้น

มีต่อครับ กดเร็วไปหน่อย

  • ทำความเข้าใจร่วมกัน
  • ทำให้เป็นตัวอย่างให้เห็นเป็นภาพชัดๆ ที่จับต้องได้
  • สุดท้ายมีความสุขบนรากฐานความคิดเดียวกันครับ

สวัสดีครับคุณแจ๊ค

  • สรุปต่อยอดได้ดีครับ
  • ชอบสรุปสุดท้ายครับ "มีความสุขบนรากฐานความคิดแบบเดียวกัน"
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท