มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 (IAS 39)


แนวทางการกันเงินสำรองตาม IAS 39

     เนื่องด้วยขณะนี้คาดว่าสภาวิชาชีพบัญชีจะนำมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 (IAS 39) มาใช้ในประเทศไทยในช่วงปี 2551 ดังนั้นสถาบันการเงินเฉพาะกิจจึงต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและการปรับปรุงระบบการกันเงินสำรองเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 (IAS 39) และเพื่อไม่ให้กระทบต่อฐานะการเงินของธนาคารพาณิชย์มากนัก ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงต้องกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์(AMC) ที่สถาบันการเงินมีอำนาจในการควบคุมกิจการทยอยกันเงินสำรองตามมาตรฐานการบัญชีฉบับดังกล่าวภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2550

     สำหรับหลักการของ IAS 39 คือ เป็นการรับรู้และการวัดมูลค่าตราสารทางการเงินเพื่อให้สะท้อนมูลค่าหรือราคาตลาดที่แท้จริง ปัจจุบันในต่างประเทศก็เริ่มปฏิบัติตาม IAS 39 แล้ว เช่น ประเทศต่างๆ ในยุโรป,ออสเตรเลีย,ฮ่องกง,สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ เป็นต้น สำหรับประเทศไทยโดยสภาวิชาชีพบัญชีคาดว่าจะนำ IAS 39 มาบังคับใช้ประมาณปี 2551 ดังนั้นจึงต้องเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้านเพื่อให้หน่วยงานที่ต้องใช้ IAS 39 เข้าใจและนำไปปฏิบัติได้โดยไม่เกิดปัญหา

     ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องและต้องใช้ IAS 39 ต้องติดตามความคืบหน้าจากเว็บไซค์ http://www.bot.or.th เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดและไม่พลาดข้อมูลข่าวสารที่สำคัญอย่างมากในขณะนี้

หมายเลขบันทึก: 62439เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
   เมื่อก่อนรู้สึกหนาวๆนะ เพราะเป็นแบงค์ไทยแท้    แต่ตอนนี้ไม่กลัวแล้วเพราะเป็นแบงค์ลูกครึ่งแล้วครับแต่อาจต้องกลัวอย่างอื่น (ถูกไล่ออก...แฮะๆ...)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท