เกณฑ์ซ่อนเกณฑ์/ ความเที่ยงตรง


หลายตัวชี้วัด ตามคู่มือการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ 49 ของ ก.พ.ร. ที่กำหนดเกณฑ์การประเมินทั้งที่เป็นแบบเชิงปริมาณ แบบกระบวนการ และแบบขั้นตอนความสำเร็จ (เต็ม 5 คะแนน)

บ่ายวันนี้มีโอกาสได้ไปตรวจผลการปฏิบัติราชการ ปี 49 ของกองการเจ้าหน้าที่ มมส. และได้ตรวจให้คะแนนในตัวชี้วัดที่ 15 "ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอุดมศึกษาด้านอาจารย์" ดูตามชื่อตัวชี้วัดแล้วคงเป็นเกณฑ์แบบระดับความสำเร็จ 5 ระดับ ธรรมดาๆ แต่พออ่านคำอธิบายตามคู่มือนั้นไม่ใช่แบบที่จะประเมินได้ง่ายๆ สำหรับมือใหม่อย่างผม

ตัวชี้วัดนี้มีเกณฑ์เป็นแบบที่เกณฑ์ซ่อนเกณฑ์ทั้งที่เป็นเชิงคุณภาพ/ปริมาณป่นกันอยู่ ต้องเทียบผลคะแนนอยู่หลายขั้นหลายตอน กว่าจะได้คะแนนในตัวชี้วัดนี้ออกมา

  • สำคัญสุดในส่วนที่เป็นเชิงคุณภาพนั้นมันไม่เป็นปรนัย ใช้ทั้งดุลพินิจ ความรู้ส่วนตัวได้อย่างขอบเขตที่กว้างขวางในการตัดสินใจ
  • ส่วนที่เป็นเชิงปริมาณผมว่าใครๆที่ไปประเมินก็คงให้คะแนนเหมือนกัน 

wg

ผมเลยมองว่าการประเมินผลในลักษณะของข้อมูลในเชิงคุณภาพ  เกณฑ์ที่มีความสลับซับซ้อน วุ่นวาย และคนที่มาประเมิน นั้นเป็นส่วนที่ส่งผลต่อความเที่ยงตรง และให้เกิดปัญหาในการเทียบเคียงในภายหลัง

KPN

หมายเลขบันทึก: 62414เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ในการจะวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงคุณภาพ บางครั้งต้องปรับให้เป็นเชิงปริมาณก่อนเพื่อความสะดวกในการวิเคราะห์ แต่ก็ต้องเป็นเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือและยอมรับได้ค่ะ

ขอบคุณบัณฑิต วท.บ.สถิติ หมาดๆ ที่ให้คำแนะนำครับ

เห็นด้วยกับคุณกัมปนาทค่ะ แต่ในการประเมินสิ่งที่เป็นนามธรรม เกณฑ์คุณภาพบางครั้งจำเป็นต้องมี แต่ควรลดความเป็นอัตนัยโดยผู้ประเมินต้องทำความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งคงลดความเป็นอัตตวิสัยลงบ้างค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท