การใช้ใบเงาะเพื่อป้องกันยางติดตะกงยางพารา


การใช้ใบเงาะเพื่อป้องกันยางติดตะกงยางพาราตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช   (เครือข่ายทุ่งสง)-  ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายระดับตำบลและมีการคัดเลือกคณะกรรมการเครือข่ายยางพาราระดับอำเภอ

-  มติที่ประชุมออกกฎระเบียบข้อบังคับในการทำยางแผ่นดิบเข้าสู่ตลาดกลางเพื่อเข้ากระบวนการประมูลยาง  โดยอิงราคาประมูลของตลาดกลางยางพาราจังหวัดนครศรีธรรมราช  (จันดี)  เครือข่ายยางพาราทุ่งสงเปิดรวบรวมยางทุกวัน อังคาร  เวลา  10.00  น. 16.00 น.

-  กำหนด  วัน  เวลา  สถานที่  รวบรวมยางแผ่นดิบของสมาชิกเครือข่าย  และบุคคลทั่วและรายงานน้ำหนักยางแผ่นดิบที่รวบรวมได้  ในวันพุธ  เวลา 09.00 น.

-  ตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราช  (เครือข่ายทุ่งสง)  นำส่งยางแผ่นดิบที่รวบรวมได้ถึงบริษัทที่ชนะการประมูล  โดย  บริษัทที่ชนะการประมูลเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งให้กับตลาดเครือข่ายทุ่งสง

-  การจ่ายเงินให้กับสมาชิกที่นำยางแผ่นดิบคุณภาพดีที่ผ่านการประมูลโดยโอนเงินเข้าบัญชี  สมาชิก  ณ. ธนาคารกรุงไทย  จำกัดมหาชน  ตามหมายเลขบัญชีที่ได้เปิดไว้กับธนาคาร

-  คณะกรรมการสรุปผลการดำเนินการ ตลาดทุกวัน  พุธ  เวลา  14.00  น.  เพื่อบันทึก  รายรับ  -  รายจ่าย

 ปัญหาอุปสรรค

                1.  การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึงเกษตรกรนำยางแผ่นดิบคุณภาพดี  เข้าสู่ตลาดประมูลในปริมาณไม่      มากพอ

                2.  การปรับปรุงคุณภาพยางแผ่นดิบคุณภาพดี  ของเกษตรกรไม่ได้ตามที่ต้องการเกษตรกรยังปฏิบัติ                     แบบเดิม

                3.  ราคาทั่วไปในท้องตลาด  กับราคาประมูลมีความแตกต่างไม่มากนักส่งผลให้เกษตรกร  ไม่นำยาง                    เข้าสู่ตลาดประมูล

 การใช้ใบเงาะเพื่อป้องกันยางติดตะกงยางพารา

                เกษตรกร  ตำบลหนองหงส์  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ได้ใช้ใบเงาะซึ่งเป็นใบที่แก่  ใช้สำหรับเช็ดตะกงยางพารา  เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ยางพาราติดตะกงซึ่งปกติการทำแผ่นยางพาราเกษตรกรใช้ตะกงในการทำยางแผ่นเมื่อเกษตรกรเทน้ำยางสดใส่ตะกงและใช้น้ำส้ม ฆ่ายางแล้วเมื่อยางแข็งตัวเกษตรกรจะนำยางมานวดเพื่อทำแผ่นยางพาราดิบปรากฏว่าจะมีเศษยางพาราติดบริเวณตะกงทำให้รูปทรงของแผ่นยางไม่สวยงามและได้ขนาดตามที่ต้องการ  เกษตรกร  ตำบลหนองหงส์  ได้ใช้ใบเงาะแก่ ๆ  มาใช้เช็ดถู  ตะกงทำให้เศษของยางพาราไม่ติดตะกง  และทำให้ยางแผ่นมีสีสวย  ซึ่งในใบเงาะจะมีน้ำเมือกจากใบเงาะเป็นตัวช่วยเคลือบตะกงทำให้ตะกงลื่นเศษยางไม่เกาะติดตะกง

 เทคนิคการคัดคุณภาพมังคุดโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน

                วิธีการคัดเลือกมังคุดให้ได้คุณภาพดี  โดยเกษตรกรชาวสวนมังคุดมีวิธีการดูว่ามังคุดได้คุณภาพตามที่ตลาดต้องการโดยดูจากภายนอก  เช่น  ขั้วผลตรงรอยปากปลิงถ้าหากมีรอยตำหนิหรือมีน้ำเยิ้มออกมาแสดงว่ามังคุดนั้น  เป็นเนื้อแก้ว  ตลาดไม่ต้องการ  (ผลเก็บเกี่ยวใหม่)  สีผิวมังคุดไม่สม่ำเสมอในผลเดียวกันประกอบด้วยหลายสี  เช่น  แดง , ดำ  ชมพู  แสดงว่า  มังคุดนั้นเป็นเนื้อแก้ว

                กรณียางไหล  เกษตรกรจะพบลักษณะเป็นยางเหนียวสีเหลืองเป็นจุด ๆ เกือบทั่วผลสาเหตุหลักมาจากมังคุดได้รับปริมาณน้ำฝนในปริมาณมาก

                กลีบเลี้ยงยกขึ้น  ไม่สม่ำเสมอแสดงว่ามังคุดนั้นเป็นเนื้อแก้วเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดส่วนใหญ่จะทราบลักษณะอาการเหล่านี้  ด้วยการสังเกตด้วยสายตา                    

คำสำคัญ (Tags): #ภุมิปัญญา
หมายเลขบันทึก: 62375เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท