ครูชบ กับ KM


“สัจจะวันละ ๑ บาท เป็นเครื่องมือพัฒนาคน”
ครูชบ กับ KM

ครูชบ ยอดแก้ว  หรือ ดร. ครูชบ ยอดแก้ว (ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มอ.) คือต้นคิดกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ที่เวลานี้มีการดำเนินการอยู่ทั่วประเทศ

ครูชบ ยอดแก้ว  หรือ ดร. ครูชบ ยอดแก้ว (ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มอ.) คือต้นคิดกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ ที่เวลานี้มีการดำเนินการอยู่ทั่วประเทศ

ตอนนี้ครูชบมีกิจกรรมสร้างสรรค์ชิ้นใหม่ คือ สวัสดิการภาคประชาชน    ใช้แนวคิด “สัจจะวันละ ๑ บาท เป็นเครื่องมือพัฒนาคน”     นี่คือจินตนาการสร้างสรรค์สุดๆ เลยนะครับ     ผมเองไม่เคยคิดว่าจะเป็นไปได้

ใครต้องการเรียนการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) ให้มาเรียนกับครูชบ

ครูชบบอกว่าสวัสดิการภาคประชาชนไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป็นเครื่องมือ     เป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุ “สังคมดี คนมีความสุข”

จินตนาการอย่างเดียวไม่เกิดผลนะครับ    ต้องมีการปฏิบัติ    และการปฏิบัติจะได้ผลต้องมีการจัดการ   ครูชบคือสุดยอดของนักจัดการ     ผมจะไม่เล่าวิธีจัดการโครงการสัจจะวันละบาทนะครับ     ท่านที่สนใจสอบถามครูชบเอาเอง (๐๑ ๑๒๘ ๒๙๓๓)

จินตนาการอย่างเดียวไม่เกิดผลนะครับ    ต้องมีการปฏิบัติ    และการปฏิบัติจะได้ผลต้องมีครูชบคือสุดยอดของนักจัดการ     ผมจะไม่เล่าวิธีจัดการโครงการสัจจะวันละบาทนะครับ     ท่านที่สนใจสอบถามครูชบเอาเอง (๐๑ ๑๒๘ ๒๙๓๓)

มีทั้งจินตนาการ และ การจัดการ ครูชบจึงมีผลงานสร้างสรรค์โด่งดังก้องสังคม    ตอนนี้มีตำแหน่ง ประธานสถาบันพัฒนาองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชนแห่งชาติ (พอ. สช.)

ครูชบมีจินตนาการต่อไปว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่ของประเทศ ควรได้รับประโยชน์จากแนวคิด (และปฏิบัติ) นี้    จึงจัดให้มี “คุณอำนวย” จัดการความรู้ สวัสดิการภาคประชาชนขึ้น เพื่อต่อยอดและขยายผล     “คุณอำนวย” เหล่านี้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำหน้าที่ของตนทุกวันที่ ๑๖ ของเดือน ณ ที่ทำการของมูลนิธิ ดร. ครูชบ ยอดแก้ว ที่ อ. เมือง สงขลา     นัดกันไว้แล้วว่าวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๘ หมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ กับผมจะไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย      เป้าหมายก็คือจะหาทางหนุนกิจกรรมนี้ด้วย KM ตามแนวทางของ สคส.

ครูชบบอกว่าท่านทำ KM อยู่แล้ว    แต่อยากให้ช่วยไปดู  ว่าจะมีแนวทางเสริมพลังด้วย KM เต็มรูปแบบได้อย่างไร

ผมจึงบอกหมอสมศักดิ์ ให้เชิญครูชบ มาสังเกตการณ์การจัดตลาดนัดความรู้เพื่อป้องกันโรคหวัดนกในสัตว์ปีก ซึ่งจะจัดโดย ศช. (ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ) ร่วมกับ มสช. (มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ) และ สคส.      ในวันที่ ๑๘ – ๑๙ กค. ๔๘  ที่โรงแรม เอส ดี อเวนิว  กรุงเทพ

ตอนนี้ สคส. มีสูตร ว่าใครจะจัดตลาดนัดความรู้ต้องไปสังเกตการณ์การจัดตลาดนัดโดยคนอื่นก่อน อย่างน้อย ๑ ครั้ง     เพราะในการจัดตลาดนัดความรู้นั้นต้องเข้าใจหลักการและขั้นตอนด้วยตนเอง  จากการเห็นของจริง  คือเป็น tacit knowledge    ถ้าไม่เห็นเอง ทาง สคส. บอกให้ทำ ก็จะทำแบบไม่ถึงแก่น ไม่เข้าใจจริง

วิจารณ์ พานิช
๒๙ มิ.ย. ๔๘
หมายเลขบันทึก: 623เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2005 22:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เรื่องครูชบกับKMซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมี?4 หน่วยร่วมเป็นสปอน์เซอร์คือ1)มสช.
2)UNDP (ให้มอ.กับม.ทักษิณ ประเมินผล)เพื่อดำเนินการสวัสดิการวันละ 1 บาท 16
อำเภอในจ.สงขลา 3)พอช.โดยงบศตจ.สมทบกองทุนสวัสดิการตำบลละ 1
แสนบาทตามเกณฑ์และ4)หน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน
มวล.โดยสกว.และศตจ.สนับสนุนเพื่อทำกระบวนการเชิงคุณภาพที่เรียกว่าการจัดการความรู้ให้แนวคิดและการปฏิบัติของครูชบบรรลุผลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ

ผมตามข่าวความเคลื่อนไหวพบว่ามสช.จะลงไปลุยเรื่องการจัดการความรู้ร่วมกับสคส.ทำให้เบาใจขึ้นมาก
ที่จริงครูชบเป็นสุดยอดของนักจัดการความรู้ การลงไปหนุนเสริมของภาคีต่าง
ๆจะช่วยให้งานของครูสำเร็จได้เร็วและขยายไปกว้างไกลขึ้น
ซึ่งมีขบวนตามหลังจำนวนมหาศาล
ครูชบบอกว่าขบวนสวัสดิการวันละ 1
บาทจังหวัดเห็นชอบตั้งเป็นยุทธศาสตร์ โดยผู้ว่าลงมาเป็นประธานเอง
ผมจึงท้าทายว่า ถ้าเห็นด้วยจริงต้องลงขันเรื่องเงินและคนด้วย
เพราะการบริหารแบบซีอีโอ น่าจะทำอะไรได้มาก เช่นเดียวกับอบจ.และอบต.
ถือเป็นงานที่ท้าทายทีมงานของครูชบ เพราะถือเป็นส่วนหัวปลา
ที่การจัดการความรู้ต้องนำไปสู่ผลลัพธ์ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมด้วย
ภีม
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท