KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 210. Benchmarking


        ขอขอบคุณบันทึก http://gotoknow.org/blog/nurqakm/58717 ที่ช่วยกระตุ้นให้ผมเขียนบันทึกนี้

       ผมมองว่า benchmarking อาจถือได้ว่าเป็นเครื่องมือ KM อย่างหนึ่ง      และเทียบเคียงได้กับ "เพื่อนช่วยเพื่อน" (Peer Assist - PA)     แต่ benchmarking มีรายละเอียดมากกว่า เป็นพิธีรีตองกว่า

       ทั้ง benchmarking และ PA ในสายตาของผม เป็นวิธีเรียนลัด     เรียนจากผู้ที่ทำเรื่องนั้นได้ดีอยู่แล้ว     เป็นหัวใจอย่างหนึ่งของ KM   

        Internal Benchmarking อย่างที่ท่านรองฯ พิชิตเล่าในบันทึกข้างต้น     จะได้ผลดี ต้องสร้างบรรยากาศเชิงบวก เพื่อการ ลปรร.     ต้องระมัดระวังอย่าให้เป็นบรรยากาศของการเปรียบเทียบว่าใครดีกว่าใคร      และเกิดปมด้อย หรือเกิดการดูถูกดูหมิ่นกัน     อันเป็นบรรยากาศเชิงลบ     นี่คือทักษะ KM ที่ "คุณอำนวย" และ "คุณเอื้อ" จะต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศเชิงบวก  บรรยากาศของการ ลปรร.     บรรยากาศของการขับเคลื่อนสู่การพัฒนางาน และพัฒนาคน

        ถ้าเมื่อไรก็ตาม ที่ benchmarking หรือ PA เกิดจากการยัดเยียดโดยผู้บริหาร  ไม่ใช่เพราะผู้ปฏิบัติอยากเรียนรู้ เพื่อให้ตนเองปฏิบัติงานได้ดีขึ้น     ความเสี่ยงต่อบรรยากาศเชิงลบจะสูงมาก

        ถ้าผู้ปฏิบัติงาน มอง benchmarking / PA เป็นเครื่องมือสู่อนาคตการปฏิบัติงานที่ได้ผลดีกว่า  สู่การเรียนรู้ของตนเองและเพื่อนร่วมงาน     โอกาสเกิดบรรยากาศเชิงบวกก็จะสูงมาก

วิจารณ์ พานิช
๑๑ พย. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 62274เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006 08:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 07:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เรียน ท่านอ.วิจารณ์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ ....ดิฉันอยู่โรงเรียนแพทย์มานาน..บรรยากาศ MM Conference ก็ยังเป็นการว่ากล่าวกันอยู่...เมื่อไหร่หนอ...ความคิดเชิงบวกจะเกิดเป็นวัฒนธรรมจริงๆในองค์กรเสียที...ไม่ใช่เป็นกิจกรรมแบบโบราณที่มีแต่อาจารย์เอาความผิดพลาดของลูกศิษย์ผบางครั้งก็อาจารย์ด้วยกัน)มาว่ากันในห้องประชุม...บางครั้งบุคลากรอื่นที่เป็นผู้ปฏิบัติ..มิใช่นักเรียน..ก็โดนด้วย ...สงสารองค์กรยิ่งนัก...ทำให้ไม่มีใครอยากแชร์ไอเดีย....
น่าเห็นใจครับ ถ้าเจอผู้บริหารที่คิดเชิงลบอย่างเดียว ก็ลำบากครับ เหมือนกับหน่วยงานราชการหลายแห่งใน จ.เชียงใหม่ ที่ผมพยายามจะให้เค้าเข้าใจหลักการที่ดี และให้ลูกน้องเห็นประโยชน์และเต็มใจที่แบ่งปันข้อมูลด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กร ที่ผ่านมาผู้บริหารต่างๆที่ได้รับฟังก็เข้าใจและปรับปรุงได้ดีขึ้นครับ แต่ก็ยังมีหลายหน่วยงานที่ไม่ได้ไปบรรยาย กับผู้บริหารบางคนที่ยังไม่ยอมรับหลักการ KM ที่ทำให้ลูกน้องหมดกำลังใจ
หลักการ Benchmarking อ่านเพิ่มเติมได้ที่ Blog ผมเองที่ http://gotoknow.org/blog/modernmanagement/45632 หรือ www.jojohosting.com
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท