เก็บมาฝากจากตลาดนัดเครือข่ายชาวนา.....(1)


"ความภาคภูมิใจสูงสุดคือการได้ศักดิ์ศรีของความเป็นชาวนากลับคืนมา....ชาวนาคือผู้มีพระคุณ"

 

          โอกาสดีมาเยือนชาว สคส. และหนึ่งในผู้โชคดีได้ไปงาน "ตลาดนัดเครือข่ายการจัดการความรู้ มูลนิธิข้าวขวัญ" คือจ๊ะจ๋านั่นเอง  งานนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20-21 พฤศจิกายน 2549  ณ มูลนิธิข้าวขวัญ จ. สุพรรณบุรี

          กำหนดการที่น่าสนใจตั้งแต่วันแรกคือ การชมนิทรรศการที่จัดขึ้นโดยเครือข่ายชาวนาที่มาจากหลายภาค ไม่ว่าจะเป็นภาคกลาง (นครสวรรค์, พิจิตร, ชันนาท, อยุธยา, ปราจีนบุรีลพบุรี, สระบุรี) ภาคเหนือ (Institute for Sustainable Agriculture Community-ISAC) ภาคอีสาน (เครือข่ายค้ำคูณเครือข่ายเกษตรทางเลือกกลุ่มศรีษะอโศก) ภาคใต้ (ลุ่มปากพนังเครือข่ายเกษตรทางเลือก, มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน)    นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานภาครัฐ (  ส่วนกลางของกรมส่งเสริมการเกษตร,   เกษตรจ. สุพรรณบุรีกศน. สุพรรณบุรีเทศบาลท่าเสด็จ และโรงเรียน) หน่วยงานเอกชน (OXFAM, ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด) แทบพูดได้ว่ามีผู้เข้าร่วมงานหลากหลายและสมกับเป็นงานตลาดนัดเครือข่ายชาวนาอย่างแท้จริง

          โดยแต่ละภาค มีการออกร้านและนำผลงานของตนมาจัดแสดงนิทรรศการตามซุ้มต่างๆ   และช่วงสำคัญและถือว่าเป็น Highlight ของงานวันแรกคือ เวทีเสวนา การจัดการความรู้กับสังคมไทย  ซึ่งมีบุคคลสำคัญคือ คือ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช, ดร.ทิพวัลย์ สีจันทร์, คุณชำนาญ ถนัดธนูศิลป์ และ คุณเดชา  ศิริภัทร  ซึ่งสาระสำคัญน่าสนใจมีดังนี้

          1.  ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช  ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ได้กล่าว 3 ประเด็นที่น่าสนใจคือ

  1. การจัดการความรู้ (KM)…เรียนไม่รู้จบ โดยเชื่อว่าทุกคนมีความรู้  ความรู้นั้นมาจากการปฏิบัติ  การทำแล้วสังเกต จดบันทึก ทำความเข้าใจ  แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ยิ่งให้เพื่อน  เรายิ่งได้....จิตใจที่ให้กับเพื่อน จะยิ่งดูดซับความรู้  ยิ่งลองยิ่งเพิ่ม.....ยิ่งบันทึกยิ่งเพิ่ม......ยิ่งเรียนยิ่งรู้....กว้างขว้างขึ้นลึกซึ้งขึ้น 
  2. KM มีหลายชั้น  หลายระนาบ การจัดการความรู้ของนักปฏิบัติเช่นชาวนายังไม่พอ จะต้องมีระนาบอื่น (ชั้นอื่นๆ) ซึ่งชั้นที่สำคัญคือ นักวิชาการ  ซึ่งนักวิชาการควรที่ได้ทำความเข้าใจความรู้ในระนาบของชาวนา  ใช้ความต่างๆ ของชาวนามาจับ มาตรวจสอบ และเขียนออกมาเป็นรายงาน และให้ชาวนาได้อ่าน ได้สอบถามด้วย ยิ่งจะทำให้หลายๆ ส่วน ได้เข้าใจลึกซึ้งขึ้น  เช่น เรื่องจุลินทรีย์ที่ชาวบ้านนำไม้ผุจากน้ำตกไซเบอร์ จ.อุทัยธานี มาทำน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งเป็นระนาบที่กระตุ้นความเข้าใจของชาวบ้านจากนักวิชาการ   KM หลายๆ ชั้น ก็กระตุ้นและเกิดการเสริมซึ่งกันและกัน
  3. ประสบการณ์ของ นร.ชาวนา เครือข่าย 4-5 แห่ง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามโรงเรียนในลักษณะ เพื่อนช่วยเพื่อน  จากต่างพื้นที่ เช่น ภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคกลาง  ซึ่งเป็นเครือข่ายทางไกล  แลในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต้องมาพบหน้าเจอตากัน และต้องเดินทางมาไกล เสียเวลาได้     การจัดการความรู้แบบมิติใหม่ อาจมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เร็วแบบสมัยใหม่ โดยใช้โทรศัพท์มือถือคุยกันทันที หรือ การใช้อินเทอร์เนต...และเป็นข่าวดีที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีแนวความคิดในการจัดทำ “KM ทางไกลฉบับชาวบ้านเพื่อเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยจัดทำสื่อได้แก่ VDO , VCD และอื่นๆ    การมีศูนย์แลกเปลี่ยนสื่อซึ่งเป็นศูนย์ที่มี VCD  เรื่องราว Best  Practice ของกลุ่ม/ คน ที่มีมากมาย และดูแล้วเข้าใจง่าย  เมื่อดู VCD แล้วลองไปปรับใช้ในบริบทของตน  ส่งผลให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว

            2. คุณเดชา  ศิริภัทร  ผู้อำนวยมูลนิธิข้าวขวัญ ได้กล่าวสาระที่น่าสนใจคือ เดิมมูลนิธิข้าวขวัญได้จัดตั้งเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการทำนาข้าวในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนด้วยการนำเครื่องมือการจัดการความรู้มาใช้ และไม่คาดคิดว่าผลจะออกมาเป็นเช่นวันนี้

-          ปัจจุบันมีเรียน 3 หลักสูตร คือ การจัดการแมลง การจัดการดิน และการจัดการพันธุ์ข้าว  และสิ่งที่เกินความคาดหวังคือ นร. ชาวนาบันทึก  ถ่ายทอดเก่ง  วาดรูปเก่ง และที่สำคัญอย่างมากคือได้ศักดิ์ศรีของความเป็นชาวนา

-          การริ้อฟื้นประเพณีดั้งเดิมขึ้นมา เช่น ประเพณีเดือนสิบ เช่น ที่ อ. อู่ทอง อ. บางปลาม้า

-          จากการส่งโครงการส่งเสริมการจัดการความรู้เรื่องการทำนาข้าวในระบบเกษตรยั่งยืนเข้าประกวดกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และได้รับเลือกเป็นงานวิจัยดีเด่น สกว.

KM ในตัวธรรมชาติของมันเป็นนวัตกรรมอยู่แล้ว  ด้วยฐานความรู้เก่าที่ นร. ชาวนามีกันอยู่แล้ว เมื่อมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำไปปฏิบัติ กลับมาเลกเปลี่ยนกันใหม่ เกิดความรู้ใหม่ที่ต่อยอดจากของเดิม

KM ทำให้เกิด นวัตกรรม   Synergy และ กระบวนทัศน์ 

คำพูดที่กระตุกหัวใจคือ  สิ่งที่เกิดขึ้น ณ วันนี้ คือ เกิดความเอื้อเฟื้อ  เกิดการฟื้นฟูวัฒนธรรม และเรียนรู้ร่วมกัน  มีภาคภูมิใจมาก 

          3. ดร.ทิพวัลย์ สีจันทร์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่นำนักศึกษาหลายชีวิตเข้าร่วมตลาดนัดครั้งนี้ได้กล่าวอย่างน่าสนใจว่า KM คือการเรียนรู้ตลอดเวลา  เกิดความเคารพศักดิ์ศรีของชาวบ้าน และที่สำคัญ หัวใจ KM คือ ทำอย่างไรก็ได้ให้ได้  รู้เขา รู้เรา รู้เท่า รู้ทัน รู้กัน และ รู้แก้

           4. คุณชำนาญ ถนัดธนูศิลป์ จากบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย)  จำกัด ได้เล่าว่าถึงแม้จะเป็นบริษัทเอกชนแต่ก็ให้ความสำคัญในการพัฒนาพนักงานให้รู้จักตน เห็นประโยชน์ของสิ่งที่ได้เรียนรู้ จึงเกิดโครงการที่นำพนักงานปูนฯ เข้าร่วมการฝึกอบรม 7  เดือน โดยมีการฝึกการจินตนาการ การพัฒนาด้าน EQ ด้านอารมณ์  การประกอบเลโก้ Hardware/ Software    Project base learning ซึ่งในการฝึกการเรียนรู้นี้พนักงานปูนฯจะมาอยู่กินและใช้ชีวิตที่มูลนิธิข้าวขวัญ จนเกิดการร่วมมือร่วมใจในการทำงานหลังจากที่กลับจากการเข้าค่ายที่มูลนิธิข้าวขวัญคุณมีพลัง...ฉันมีพลัง...เรามีพลัง สิ่งที่ได้นอกจากได้เรียนรู้จากหลักสูตรที่ถูกจัดขึ้นแล้วยังได้เรียนรู้ชีวิตชาวนา จึงเกิดคำพูดว่า ชาวนาคือผู้มีพระคุณ

           หลังจากนั้นมีการสาธิตวิธีการดำนาด้วยเครื่องที่มูลนิธิข้าวขวัญ ภูมิใจเสนอในแปลงนา ซึ่งช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ผู้ร่วมงานที่มีตั้งแต่ชาวนา นักเรียน หน่วยงานราชการที่มาร่วมงาน มุงดูกันอย่างสนใจ เพราะด้วยรูปทรงที่กะทัดรัดมีการใช้งานที่ง่าย และการดำนาได้อย่างรวดเร็วใช้เวลาไม่นาน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชาวนาอย่างมาก 

 

หมายเลขบันทึก: 62194เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2006 19:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 16:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
     ขอบพระคุณมากครับ ไม่ได้เข้าไปร่วมในงานจริงๆ  แต่ก็ได้เรียนรู้ด้วย (เรียนทางไกลครับ)
  • ขอบคุณครับได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นอีกแล้วครับ
  • เห็นด้วยกับคุณสิ่งป่าสักครับ
  • ขอบคุณสิงห์ป่าสัก  และ คุณชาญวิทย์ที่เข้ามาเยี่ยมเยียนคะ
  • ยังมีเรื่องเล่าให้เรียนรู้ต่อภาค 2 และ 3 คะ

 

เขียนเล่าให่น่าอ่านมากค่ะ  สรุปเข้าใจง่าย
  • อ่านบันทึกแล้วชัดเจนมากคะเพราะบางประเด็นที่ฟังยังงงอยู่เพราะไม่ได้เข้าไปร่วมจริงๆ
  • ขอบคุณมากนะคะ
  • ใจเดียวกันจริง ๆ ด้วยค่ะ
  • อ่านแล้วทำให้ได้เสริมต่อประเด็นที่ตัวเองได้มีโอกาสนั่งฟังด้วยในวันนั้นมีความสมบูรณ์มากขึ้น
  • ขอบคุณคุณจ๋ามากค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท