เรื่องเล่า การจัดการความรู้ 3


ความภาคภูมิใจ หรือความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้และดูแลนักเรียน
            เมื่อวันที่ 25-26 สิงหาคม 2549  ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม การจัดการความรู้ให้กับคณะครูทั้งหมดของศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาสว่างอารมณ์ ในหัวข้อ  ความภาคภูมิใจ หรือความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้และดูแลนักเรียน  โดยจัดครูออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 8-10 คน ตามระดับชั้นที่สอน รวม 8 กลุ่ม คือ กลุ่มครูปฐมวัย,  ครู ป.1,  ครู ป.2,  ครู ป.3,  ครู ป.4,  ครู ป.5,  ครู ป.6,  และกลุ่มครูมัธยมศึกษาตอนต้น  ผลการจัดการความรู้ครั้งนี้สกัดเป็นขุมความรู้ได้ ดังนี้ คือกลุ่มปฐมวัยสมาชิก  11 คน ขุมความรู้ที่สกัดได้1. เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะในการดำรงชีวิต2. การเสริมแรง  ชมเชย  และให้กำลังใจ3. การฝึกพัฒนาการเด็ก โดยการใช้สื่อที่หลากหลาย4. การศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล5. การฝึกพัฒนาการ การเรียนรู้ โดยใช้ กระบวนการ เพื่อนช่วยเพื่อน6. การสร้างความคุ้นเคยและการเป็นกัลยา ณ มิตร กับผู้เรียน7. การจัดกิจกรรมกลุ่มย่อยตามฐานต่าง ๆ 8. การฝึกกิจกรรมกระบวนการกลุ่มอย่างง่ายๆกลุ่ม  ป.1 สมาชิก 8 คน ขุมความรู้ที่สกัดได้1. การให้รางวัล  ชมเชย2. การแบ่งงานให้รับผิดชอบตามความเหมาะสมและความสนใจ3. จัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น  สื่อ ICT4. การคัดกรองนักเรียน5. การศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล6. การสอนซ่อมนักเรียนอ่อน และ เสริมนักเรียนเก่งตามความสนใจ7. การฝึกปฏิบัติจริงอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดทักษะกลุ่ม  ป.2 สมาชิก 8 คน ขุมความรู้ที่สกัดได้1. สร้างความมั่นใจให้กับนักเรียนให้กล้าแสดงออก2. สร้างความคุ้นเคยและดูแลเอาใจใส่นักเรียนอย่างสม่ำเสมอ3. มอบหมายงานให้นักเรียนทำตามศักยภาพ4. ชมเชย ให้รางวัล เมื่อนักเรียนทำดี และ แนะนำอย่างกัลยา ณ มิตร เมื่อนักเรียนผิดพลาดกลุ่ม  ป.3 สมาชิก 8 คน ขุมความรู้ที่สกัดได้1. สนับสนุนส่งเสริมเด็กเก่ง  และ ให้การช่วยเหลือเด็กอ่อน อย่างจริงจัง2. ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน3. ชมเชย ให้รางวัล เมื่อนักเรียนทำดี และ แนะนำอย่างกัลยา ณ มิตร เมื่อนักเรียนกระทำผิดพลาด4.  ใช้กระบวนการวัดผล ประเมินผลตามสภาพที่แท้จริง ตรวจสอบพัฒนาการด้านต่างๆของนักเรียนเป็นระยะ  เพื่อนำผลมาพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่ม  ป.4 สมาชิก 8 คน ขุมความรู้ที่สกัดได้1. การศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล2. การมอบหมายงานให้ทำและให้รับผิดชอบงานที่ตนเองสนใจ3. การสำรวจความต้องการ และความสนใจของผู้เรียน4. การฝึกปฏิบัติบ่อย ๆ ทำซ้ำ ๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยส่งเสริมการเรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง5. การสังเกตพฤติกรรมนักเรียนทุกระยะกลุ่ม  ป.5 สมาชิก 10 คน ขุมความรู้ที่สกัดได้1. การสำรวจความต้องการและความสนใจนักเรียนทุกคน2. การฝึกปฏิบัติบ่อยๆ ซ้ำๆ เพื่อให้เกิดทักษะในตัวผู้เรียน3. การเยี่ยมบ้านนักเรียน4. การประสานงานกับผู้ปกครองด้านการเรียนการสอนและความประพฤติ5. การจัดกิจกรรมการเรียนที่หลากหลาย เร้าความสนใจ6. การใช้สื่อ นวัตกรรมมาช่วยสอน  เช่น สื่อ ICT   การศึกษานอกสถานที่7. การใช้วิทยากรท้องถิ่นช่วยสอนกลุ่ม  ป.6 สมาชิก 10 คน ขุมความรู้ที่สกัดได้1. สร้างความคุ้นเคยกับนักเรียน และให้กำลังใจนักเรียนอยู่เสมอ2. ศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างจริงจัง3. ฝึกให้นักเรียนปฏิบัติจริงบ่อยๆ สม่ำเสมอ เช่น กระบวนการกลุ่ม โครงงาน ฯลฯ4. ประเมินผลตามสภาพที่แท้จริง โดยละเอียด5. จัดกิจกรรมให้กับนักเรียนตามศักยภาพและตามความสามารถของแต่ละคน6. จัดกิจกรรมสอนซ่อมเด็กอ่อน และ เสริมเด็กเก่ง ตามความสนใจ7. สำรวจความต้องการนักเรียนและจัดกิจกรรมให้เรียนตามความสนใจกลุ่ม  ม.ต้น สมาชิก 10 คน ขุมความรู้ที่สกัดได้1. จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม 2. มีการชมเชยและให้กำลังใจนักเรียนที่ทำดีและนักเรียนที่ทำผิดพลาด3. ฝึกปฏิบัติบ่อย ๆและสม่ำเสมอ4. จัดให้มีการเสริมแรงในทางลบ เช่น การตัดคะแนน5. จัดการเรียนรู้โดยใช้วิทยากรท้องถิ่น6. ดำเนินการตรวจสอบและเมินผลงานตามสภาพที่แท้จริงอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งให้นักเรียนรับรู้ผลการประเมินทุกครั้ง7. สำรวจความต้องการและความสนใจของนักเรียนเป็นรายบุคคล8. จัดกิจกรรมจากง่าย ไป หายาก9. ใช้สื่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์10. สร้างบรรยากาศการเป็นกัลยา ณ มิตร กับนักเรียนทุกคน11. ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียน12. การสร้างความเข้าใจและจัดทำข้อตกลงเบื้องต้นร่วมกันกับผู้ปกครอง 13. กิจกรรมการคัดกรองนักเรียน             จากการจัดการความรู้ครั้งนี้ทำให้ผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 7 โรงเรียนได้รับความรู้จากคณะครูมากขึ้น และได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือต่อเพื่อค้นหาเทคนิคการสอนที่จะนำมาพัฒนาและใช้ในการจัดการเรียนการสอนของครูต่อไป  ผลการประชุมตกลงให้พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
หมายเลขบันทึก: 61959เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2006 07:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์คะ

     ขอบคุณมากค่ะที่เขียนเล่าสู่กันฟัง

     อยากจะให้อาจารย์โทรศัพท์คุยกับ ศน.ปวีณานะคะ   ใช้เรื่องนี้ละค่ะ  แต่เอาลงใหม่ แยกเป็น 2-3 ตอน เล่าถึงวิธีการ  และแทรกความคิดเห็นของอาจารย์ หรือเพื่อนอาจารย์ หรือนักเรียนเข้าไป  เขียนโดยใช้ขนาดอักษรและสี ให้แตกต่างกันไป

      ดิฉันเองประดิษฐ์บล็อกไม่เก่งหรอกค่ะ  แล้วอาจารย์ช่วยเติม ป้ายคำหลักอีกคำหนึ่งด้วยค่ะ ว่า edkm   เรื่องของอาจารย์จะได้ไปปรากฏที่บล็อกของโครงการวิจัยค่ะ

       จะคอยอ่านนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท