KM EXTERN(14) : ทำไมช้างจึงสนใจมด


หลักการคิดเหมือนกัน แต่วิธีที่เขาถึงต่างกัน

                      

              

                เมื่อวานนี้ได้มีโอกาสไปร่วมงาน ตลาดนัดความรู้ ของมลูนิธิข้าวขวัญ   โดยตนเองมีจุดประสงค์อย่างหนึ่งที่ไป คือ ต้องการหาคำตอบว่า ทำไมช้าง ถึงลงมาหามดเล็ก   นั่นหมายถึง ช้างหมายถึง บริษัทปูนซีเมนต์ ไทย  ที่แก่งคอย   มาสนใจ กิจกรรม ของนักเรียน จากโรงเรียน ชาวนา หรือ มดตัวเล็กๆ  เพราะ ได้ฟังจาก พี่จิ๋มที่เป็น ผู้จัดการที่ มลูนิธิข้าวขวัญ มาเล่าให้ฟัง  ว่า ปูนซีเมนต์ ส่งพนักงานมาเข้าค่าย อยู่ 2 คืน 3 วัน ที่โรงเรียน ชาวนา โดยแรก พนักงานก็ไม่อยากจะมา แต่พอผ่านไป 3 วัน กลับไม่อยากจากโรงเรียน ชาวนาไป   อะไรทำให้เป้นเช่นนั้น  แล้วเบื้องหลังแนวคิดของผู้ใหญ่ของปูน คิดอย่างไร        

             พอไป  ได้พบกับ  พี่ ชำนาญ  ถนัดธนูศิลป์  พี่เล่าให้ฟังว่า โดยปกติพนักงานของปูน จะต้องเข้าค่าย 6-8 สัปดาห์ เพื่อ ฝึกฝนตนเอง ตามนโยบายของบริษัท อยู่แล้ว  แต่ยังขาดการมองตัวตนที่แท้จริง การค้นหา หรือ เอาตัวเองออกมา    จึงได้เห็นโอกาสจากโรงเรียนชาวนา  โดยให้มา ศึกษาชีวิตของนักเรียน ขาวนา   การเห็นตัวอย่างจากวิถีชีวิตของนักเรียนชาวนา  ว่าเขาศึกษาอะไร คิดอย่างไร  อยู่อย่างไร    จริงๆ ผมได้คุยกับพี่แล้วก็พอจะเข้าใจ บ้าง   แต่  มาเข้าถึง เมื่อวันรุ่งขึ้น  มลูนิธิข้าวขวัญ จัด ห้องเรียน ธรรมชาติย่อย 3 ห้อง   ผมได้เข้าร่วมที่ห้องแรก แล้ว ถึงบางอ้อ เข้าใจที่พี่ ชำนาญพูดไว้ไม่มีผิด  คือ อะไร     

                                          

                                    

                    นักเรียนชาวนาให้ ผมไป สวิง หรือเก็บเอา แมลงในจาข้าวมา   แล้ว มาทำ ด็อด คือ ทำให้ แมลงที่ไปจับมาตาย  เพื่อที่เราจตะเอาแมลงมานับ    นับทำไมครับ  ก็เพื่อที่จะวิเคราะห์ว่า นาแห่งนี้ มีระบบนิเวศน์เป็นอย่างไร   ดีหรือไม่  ถ้าไม่ดี จะได้เอาสมุนไพรมารักษาดูแล  แล้วจะรู้อย่างไร ว่า ระบบนิเวศนืดี หรือ สมดุลหรือไม่   ก็นับวัดส่วน แมลง ที่ดี เทียบกับแมลงที่ไม่ดี  ต้องอยู่ในสัดส่วน 10 ต่อ 1 หรือ 15 ต่อ 1 ก็ได้    นี่แหละครับ เมื่อการทำงานของเราในภาคเอกชน จะดูว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ในสายการผลิต ก็ตัองมีตัววัด หรือ ระบบตรวจสอบเพื่อที่จะรู้ว่าตอนนี้ สภาพสายการผลิตอยู่ภายใต้การควบคุมหรือไม่  เหมือนกันเลย   ดังนั้นปูนต้องการให้เรียนรู้ วิธีการคิดจากนักเรียน ชาวนา  ซึ่งก็มีวิธีคิดเหมือนกับโรงงานอุตสาหกรรม     

                 ที่นี่เวลาจะนับ   คุณ อำนวย ก็จะบอกว่าให้จัดกลุ่ม แมลงเหมือนกันไว้ด้วยกันก่อน   แล้วก็มานับจำนวนในแต่ละกลุ่ม แล้วค่อยมาดูว่าแต่ละกลุ่ม เป็นแมลงดี หรือไม่ดี    นี่ก็เหมือนกับเอกชนเลย ว่า ในการทำงาน หรือแก้ไขปัญหา เราต้องสำรวจสภาพปัจจุบันโดยการเก็บข้อมูล   หลังจากนั้นก็จะมาจัดกลุ่มข้อมูล  ก่อนทำการวิเคราะห์ และหาวิธีการแก้ไข     ผมจึงเข้าใจว่าทำไมปูนถึงสนใจ  วิธีการเดียวกัน  หลักการเดียวกัน แต่ทำให้ คนเข้าใจ  ซึ่ง หรือ อินกับวิธีการโดยให้มาเห็นจากนักเรียน ชาวนา  

หมายเลขบันทึก: 61937เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 23:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีมากเลยครับ ที่นำเรื่องราวดีๆ มาเล่าสู่กันฟัง

ขอบคุณครับ

ตามที่ปูนแก่งคอยได้ไปเรียนรู้ที่มูลนิธิข้าวขวัญ ตอนแรกๆ ก็คิดแต่เพียงว่าไปรับเอาแนวคิด แต่พอไปจริงๆแล้วเราได้มากกว่าที่คาดหวังครับ คือ

  • เราไม่เพียงแต่ได้รับแนวคิด แต่เราได้ ฝึกกระบวนการคิด ที่มองอย่างภาพรวม หรือภาคเอกชนชอบพูดกันว่า คิดอย่างเป็นระบบ
  • รับแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องแนวทางการดำเนินชีวิต ที่ก่อให้เกิดความสุขอย่างแท้จริง ซึ่งสอดคลอ้งกับแนวทาง เรื่องคุณภาพชีวิต ของพนักงาน โดยเรามองว่าที่นี่เป็นแนวทางการพัฒนาจิตใจของพนักงานอีกทางหนึ่ง
  • ที่สำคัญการเรียนรู้ที่ข้าวขวัญไม่ใช่เพียงแต่บอกให้รู้เท่านั้นแต่ข้าวขวัญใช้วิธีการทำให้ดู เป็นตัวอย่าง ฝึกให้เป็น นำไปใช้ให้ได้ "ตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน"
  • แนวทางการเรียนรู้ของนักเรียนชาวนา เป็นคำตอบเรื่องการสร้างนวัตกรรม ได้เป็นอย่างดี หลายๆแห่งพูดถึงเรื่องนวัตกรรม แต่ยังทำกันไม่ค่อยได้ แต่ที่โรงเรียนชาวนา ทำเสร็จแล้ว อาจถามกันว่าการทำนาเป็นนวัตกรรมตรงไหน โดยส่วนตัวแล้วผมมองว่า การที่นักเรียนชาวนา สามารถตั้งโจทย์ ตีโจทย์ตรงประเด็น ก็เป็นนวัตกรรมทางความคิดแล้ว แต่เมื่อนำเอาความคิดมาลงมือปฏิบัติ จนเห็นผลสำเร็จ สามารถตอบโจทย์ ที่เป็นปัญหาของตนเองได้ ก็เป็นนวัตกรรมอีกขั้นหนึ่ง
  • ทีมงานของข้าวขวัญ เป็นทีมงานที่ตอบโจทย์เรื่องการทำงานเพื่องาน และการทำงานเป็นทีมได้เป็นอย่างดีเยี่ยม ทั้งมุ่งมั่นทุ่มเท เอาใจใส่ต่องานที่ตนเองทำ โดยไม่ได้คำนึงถุงผลตอบแทน

นี่เป็นเพียงบางส่วนจากความเห็นของผมในฐานะที่เป็นผู้ประสานงานคนหนึ่งเท่านั้นนะครับ จริงๆแล้วที่ข้าวขวัญมีอะไรดีๆกว่านี้เยอะครับ อยากให้ไปลองเรียนรู้กันดูนะครับ

ขอบคุณและขอเป็นกำลังใจให้กับทีมงานของข้าวขวัญ ครับ

เรวัตร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท