การจัดการความรู้ในชุมชน 3


หมายเหตุ เป็นข้อเสนอและวิสัยทัศน์ของผู้เขียน ผู้อ่านอาจเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้
การนำกระบวนการจัดการความรู้มาใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน

         หลักคิดในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชุมชน

         ต้องคิดว่าชุมชนนั้นก็เปรียบเสมือนเมืองหรือประเทศที่ย่อส่วนลงมานั่นคือ ในชุมชนย่อมมีความแตกต่างกันของสมาชิกในชุมชนทั้งความรู้ ความถนัด ความชอบ ดังนั้นการแก้ไขเศรษฐกิจชุมชน ต้องให้ชุมชนมีความหลากหลายในอาชีพ ไม่ใช่ให้คนในชุมชนทำแต่เกษตรกรรมอาชีพเดียว จะนำมาซึ่งความล่มจมของชุมชนในไม่ช้า ดังนั้นการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน สภาเศรษฐกิจชุมชนต้องถกประเด็นต่อไปนี้

          1.    กำหนดว่าอาชีพใดในชุมชนที่เป็นหลักในปัจจุบันซึ่งอาจไม่ใช่อาชีพที่เคยทำมาในอดีต แต่เป็นอาชีพที่เป็นกำลังหลักของชุมชนในปัจจุบัน อาชีพนี้ต้องได้รับการส่งเสริมจากสถาบันหลักของชุมชน ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้และเก็บรักษาความรู้ไว้ในคลังความรู้ประจำชุมชน เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้และเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายชุมชนอื่นๆ

         2.    อาชีพที่กำลังทำชื่อเสียงหรือมีแนวโน้มว่าจะสร้างชื่อเสียงให้กับชุมชนในอนาคต จะต้องได้รับการส่งเสริมโดยเสริมด้านทุนทางปัญญาโดยเพิ่มความรู้ ส่งเสริมการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมการดูงานนอกชุมชนและส่งเสริมด้านเงินทุน ส่งเสริมด้านความเข้มแข็งขององค์กร และส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง

         3.    ชุมชนจำต้องหาทางรับความช่วยเหลือจากภายนอกเหมือนกับประเทศที่ต้องส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การรับการลงทุนจากนักลงทุนนอกชุมชนทำให้ชุมชนได้รับประโยชน์จากเงินทุนที่ไหลมาโดยตรงแล้วยังได้รับประโยชน์จากทุนทางปัญญา เกิดการพัฒนาด้านทักษะของประชากรในชุมชนนอกจากนี้ทำให้เกิดการจ้างงานขึ้น ลดปัญหาทางสังคมในชุมชน ทำให้องค์กรปกครองได้รับเงินภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งการลงทุนนี้ต้องเป็นไปลักษณะค่อยเป็นค่อยไป

          4.    ชุมชนต้องส่งเสริมด้านท่องเที่ยวในชุมชน แสวงหาจุดเด่นในการดึงคนจากภายนอกให้มาท่องเที่ยวในชุมชนให้ได้ องค์กรส่วนท้องถิ่นต้องพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกรองรับการส่งเสริมการท่องเที่ยวเช่นความปลอดภัย ความสะดวกสบายด้านถนนหนทาง น้ำสะอาด ฯลฯ

           5.    การพัฒนาการเชื่อมต่อกับเครือข่ายด้านเศรษฐกิจกับชุมชนเครือข่ายอื่นๆ ต้องไม่อยู่โดดเดี่ยว การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายต้องทำอย่างต่อเนื่องเป็นการสร้างความเข้มแข็งและขยายความเข้มแข็งออกไป เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้มากยิ่งขึ้น

           ทั้งหมดที่กล่าวมาป็นเพียงตัวอย่างในการเริ่มต้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจชุมชน เพื่อสร้างความเจริญและความมั่นคงของเศรษฐกิจของชุมชน เป็นแนวทางที่จะสร้างความมั่นคงจากพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างลงตัว  

หมายเลขบันทึก: 61884เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
และที่สำคัญคนในชุมชนต้องทำเอง ทำทันที ไม่ต้องรอใคร
ขอขอบคุณในความคิดเห็น กรมอนามัยมีความภูมิใจในข้าราชการเช่นท่าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท