โครงการพัฒนาเครือข่ายสังคมแบบสหสาขาวิชาชีพระยะ2


การพัฒนาเครือข่ายสังคมสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างไร
  โครงการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมแบบสหวิชาชีพ หลักการและเหตุผลการปฏิรูประบบราชการ พ..2545 ได้มีการจัดแบ่งกระทรวงใหม่จาก 14 กระทรวง เป็น 20 กระทรวงส่งผลให้เกิดกระทรวงใหม่ขึ้น 6 กระทรวง ได้แก่ 1. กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา 2. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 3. กระทรวงเทคโนโลยี่การสนเทศและสื่อสาร 4. กระทรวงพลังงาน 5.กระทรวงยุติธรรม 6.กระทรวงวัฒนธรรมซึ่งกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์โดยตรงก็คือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(กรมประชาสงเคราะห์เดิม) มีการปรับปรุงภารกิจใหม่สนับสนุนส่งเสริมแทนการการจัดบริการ  ส่งผลให้หน่วยสังคมสงเคราะห์ซึ่งเคยส่งผู้ป่วยไปรับบริการต้องหยุดชะงัก  ทางออกที่ต้องทำคือ การพัฒนากลยุทธ์การทำงานใหม่ เพื่อก้าวให้ทันกับปัญหาสังคมใหม่และคิดค้นรูปแบบการให้บริการที่หลากหลายเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการเข้าถึงบริการ โดยการทำงานแบบสหวิชาชีพ   สร้างเครือข่าย และพัฒนาเครือข่ายการทำงานขององค์กรวิชาชีพในทุกระดับ การทำงานที่ส่งเสริมให้ผู้รับบริการได้สร้างศักยภาพที่เข้มแข็งของตนขึ้นมา นักสังคมสงเคราะห์ต้องปรับบทบาทมาเป็นผู้ประสานงาน ผู้สนับสนุนเสริมสร้างและผลักดันผู้รับบริการให้เข้าถึงโอกาสและแหล่งทรัพยากรอย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และเป็นธรรม ตามแผนพัฒนางานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (..2545-2549) ได้ให้ความหมายของความมั่นคงของมนุษย์ไว้ว่า คือ การที่ประชาชนได้รับหลักฐานด้านสิทธิ ความปลอดภัย การสนองตอบต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐาน สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่ประสบปัญหาความยากจน ไม่สิ้นหวังและมีความสุข ตลอดจนได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ต้องสร้างงานใหม่มารองรับโดยเริ่มจากการทำโครงการเพื่อส่งผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี บุตรผู้ป่วยติดเชื้อและผู้ป่วยพิการ เข้ารับทุนการศึกษาจากสำนักส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อป้องกันปัญหาครอบครัวซึ่งจะกลายเป็นปัญหาสังคมและเศรษฐกิจได้  ดังนั้นการประสานสร้างเครือข่ายทางสังคมกับหน่วยงานใหม่ทั้งนอกและในเพื่อที่จะได้รับการสนับสนุนทางสังคมได้แก่ การช่วยเหลือด้วยเงิน วัตถุ สิ่งของที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยและครอบครัว อีกเหตุผลอีกประการหนึ่งคือเมื่อคนมีปัญหาภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังส่งผลกระทบต่อบุคคลและครอบครัว มีความหลากหลายแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค พยาธิสภาพที่หลงเหลืออยู่ และสิ่งแวดล้อมทางครอบครัวว่าสามารถให้การสนับสนุนได้มากน้อยเพียงใด กล่าวคือ นอกจากตัวผู้ป่วยจะต้องมีส่วนรับผิดชอบในการดูแลตนเองแล้ว ยังต้องการได้รับการช่วยเหลือดูแลจากบุคคลในเครือข่ายของสังคม ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพอื่น ตลอดจนครอบครัวของผู้ป่วย และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง Cluff (1981) กล่าวว่าเป็นวิธีการเดียวที่จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยเผชิญกับโรคและทำหน้าที่ต้าง ได้สูงสุดตามความจำกัดของโรคที่มีอยู่ นั้นคือ ต้องการได้รับการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งรายละเอียดจะได้นำมากล่าวเป็นอันดับต่อไป  ดังนั้นจึงเห็นความสำคัญในการเร่งทำโครงการนี้เมื่อมนุษย์เกิดปัญหา  มนุษย์ต้องการเครือข่ายทางสังคม (Social network) ได้แก่ ครอบครัว ญาติ เพื่อน นักวิชาชีพ  เจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานจากหน่วยต่างๆ เพื่อที่จะได้รับการสนับสนุนทางสังคม (Social support ) หรือแรงสนับสนุนทาสังคม ได้แก่ คำปรึกษาแนะนำ การช่วยเหลือด้วยเงิน วัตถุ สิ่งของ Kaplan and Antonucci (อ้างถึงใน Tilsen, 1985) ให้ความหมายแรงสนับสนุนทางสังคม ไว้ว่า  เป็นการติดต่อกันระหว่างบุคคลซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 1 อย่าง หรือมากกว่าก็ได้ คือ      1. การแสดงออกทางอารมณ์ในทางบวก ได้แก่ ความรัก ความชอบ ความนับถือ ความชื่นชม      2. การแสดงออกถึงการรับรอง ได้แก่ การเห็นด้วย การยอมรับพฤติกรรมที่เหมาะสมของผู้อื่น     3. การช่วยเหลือ ได้แก่ การให้บริการหรือการให้สิ่งของHouse (อ้างถึงใน Tilden, 1985) ให้ความหมายแรงสนับสนุนทางสังคมไว้ว่า ประกอบด้วย การให้แรงสนับสนุนทางสังคม 4 ด้าน คือ      1. แรงสนับสนุนด้านอารมณ์ (Emotion Support) หมายถึง การให้การสนับสนุนด้านความรัก การยกย่องเห็นคุณค่า ให้ความห่วงใย ให้ความไว้วางใจ และการตั้งใจฟัง      2. แรงสนับสนุนด้านการประเมิน (Appraisal Support) หมายถึง การให้ข้อมูลย้อนกลับ การให้การรับรอง การเปรียบเทียบตนเองกับผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคม      3. แรงสนับสนุนด้านด้านข้อมูลข่าวสาร หมายถึง การให้คำแนะนำ ให้ข้อเสนอแนะ ให้แนวทาง และการให้ข้อมูลข่าวสาร      4. แรงสนับสนุนด้านสิ่งของ การเงิน และแรงงาน (Instrumental Support) หมายถึง การให้การช่วยเหลือโดยตรงต่อความจำเป็นของบุคคลในเรื่องสิ่งของ การเงิน และแรงงาน      Caplan,et al (อ้างถึงใน Suls, 1987) ให้ความหมายแรงสนับสนุนทางสังคมไว้ว่า หมายถึง สิ่งที่บุคคลได้รับโดยตรงจากบุคคลได้รับโดยตรงจากบุคคลหรือกลุ่ม ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้ผู้รับไปสู่เป้าหมายที่ผู้รับต้องการบุญเยี่ยม (2528) ให้ความหมายแรงสนับสนุนทางสังคมไว้ว่า แรงสนับสนุนทางสังคม หมายถึง ผู้ที่ผู้รับแรงสนับสนุนทางสังคมได้รับการช่วยเหลือด้านข้อมูลข้าวสาร วัสดุสิ่งของหรือการสนับสนุนด้านจิตใจ จากผู้ให้การสนับสนุน ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลหรือกลุ่ม แล้วมีผู้ให้ผู้รับนำไปปฏิบัติในทิศทางที่ผู้รับต้องการความหมายแรงสนับสนุนทางสังคมที่กล่าวมา สรุปได้ว่า ความหมายแรงสนับสนุนทางสังคม หมายถึง สิ่งที่บุคคลได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนทางอารมณ์ สังคม ข้อมูลข่าวสาร วัสดุสิ่งของ จากบุคคลที่มีการติดต่อสัมพันธ์กัน ซึ่งแรงสนับสนุนทางสังคมนี้ จะมีผลช่วยให้ผู้รับแรงสนับสนุนทางสังคมไปสู่จุดหมายที่ผู้รับต้องการ หลักการของแรงสนับสนุนทางสังคมหลักการที่สำคัญของปรงสนับสนุนทางสังคม จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญดังนี้ (บุญเยี่ยม, 2528) 1.    จะต้องมีการติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้ให้ และ ผู้รับ แรงสนับสนุน2.    ลักษณะของการติดต่อนั้นประกอบไปด้วย       2.1 ข้อมูลข่าวสารที่มีลักษณะที่ ผู้รับ เชื่อว่ามีคนสนใจ เอาใจใส่ มีความรัก ความหวังดีในตนอย่างจริงใจ2.2                     ข้อมูลข่าวสารมีลักษณะที่ ผู้รับ รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและเป็นที่ยอมรับในสังคม2.3 ข้อมูลข่าวสารมีลักษณะที่ ผู้รับ เชื่อว่า เขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้3.    ปัจจัยนำเข้าของแรงสนับสนุนอาจอยู่ในรูปข้อมูลข่าวสาร วัสดุสิ่งของหรือจิตใจ4.    จะต้องช่วย ผู้รับ ได้บรรลุถึงจุดหมายที่ต้องการ ในที่นี้ คือ การมีสุขภาพอนามัยที่ดี ปริมาณการสนับสนุนทางสังคม (Amonunt of Support)ปริมาณการสนับสนุนทางสังคม อาจแปรเปลี่ยนไปตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ป่วย ตลอดจนคุณลักษณะด้านสถานการณ์ (Norbeck, 1981) เช่น เพศหญิงมีความต้องการการสนับสนุนจากเพศชาย นอกจากนี้ ความแตกต่าง ระหว่างบุคคลเกี่ยวกับการรับรู้เหตุการณ์ต่าง รวมทั้งความเชื่อภายใน ภายนอกตนเอง ทำให้เกิดความต้องการการสนับสนุนทางสังคมที่แตกต่างกัน ส่วนด้านสถานการณ์ที่ทำให้ความต้องการการสนับสนุนทางสังคมที่แตกต่างกัน ได้แก่ ภาวะวิกฤติหรือภาวะที่มีความเครียด เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า ภาวะเจ็บป่วย บุคคลจะมีความต้องการปริมาณการสนับสนุนทางสังคมในระดับสูง ส่วนสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในชีวิตและเอื้ออำนวยต่อการฟื้นฟูสภาพ บุคคลจะต้องการการสนับสนุนในระดับปานกลาง สำหรับการช่วยเหลือเกี่ยวข้องกับกิจวัตรประจำวันเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี และแสดงบทบาททางสังคมตามปกติ จะต้องการการสนับสนุนในปริมาณเพียงเล็กน้อย (Norbeck, 1987) นั่นคือ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเหตุการณ์ เช่น ผู้ป่วยที่พิการเป็นอัมพาตทั้งแขน ขา จะมีความต้องการความช่วยเหลือมากกว่าผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตครึ่งท่อนล่าง (McNett, 1987) อย่างไรก็ตาม Hendeson และคณะ (1982) อ้างถึงใน Gottlieb (1985) พบว่า คุณภาพของการสนับสนุนจะมีผลในการทำนายภาวะสุขภาพของบุคคลได้ดีกว่าปริมาณการสนับสนุน
  วัตถุประสงค์
1.
ประสิทธิภาพของการบริการของหน่วยงาน คือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยโดยสร้างเครือข่ายในการให้บริการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ครอบครัว ให้เข้าถึงบริการอย่างเสมอภาค เป็นธรรม เพื่อให้ดำรงชีวิตป่วย2.การพัฒนามนุษย์ทุกคนในสังคมให้เกิดความมั่นคงในชีวิตและสังคมโดยให้โอกาสทางการศึกษา3. คิดค้นรูปแบบการให้บริการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างเสมอภาค และสร้างความเป็นธรรมในสังคม
4.การบริหารการจัดการโดยนักสังคมสงเคราะห์ต้องทำหน้าที่ประสานความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อแสวงหาทรัพยากรและใช้ทรัพยากรทุกประเภทที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์ต่อกลุ่มเป้าหมายและหน่วยงาน
5.เพื่อการบริการที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานส่งเสริมการรักษาพยาบาลให้มีประสิทธิภาพสูงโดยการจัดหาทีมงาน6.ส่งเสริมศักยภาพและสร้างพลังความเข้มแข็งในระดับบุคคลและกลุ่ม
7. การสร้างเครือข่าย การจัดบริการสวัสดิการสังคมเป็นภารกิจร่วมของนักวิชาชีพต่างๆ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะแสวงหาแนวทางในการสร้างโอกาสและตอบสนองต่อความต้องการของบุคคลกลุ่มต่างๆในสังคม ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  .
ผลการดำเนินงาน      เครือข่ายภายใน  การทำงานแบบสหสาขาวิชาชีพทั้งแพทย์ นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาล นักกิจกรรมบำบัด1.       แพทย์  ผศ.นพ. ณัฐเศรษฐ  มนิมนากร  ดูแลรักษาการรับประทานยา  / ยาเสื่อมสภาพผลการรักษาที่ดีมีประสิทธิภาพ

 

 

 
                        

 

  
               
คำสำคัญ (Tags): #socialwork
หมายเลขบันทึก: 61789เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท