บทบาทของวิสัญญีพยาบาลในการระงับปวดหลังผ่าตัด


บทบาทวิสัญญีพยาบาล

บทบาทของวิสัญญีพยาบาลในการระงับปวดหลังผ่าตัด <blockquote> <p align="left">จุดประสงค์ของการระงับหลังการผ่าตัดก็เพื่อลดอาการปวดที่เกิดขึ้น และเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากอาการปวดโดยที่มีอาการข้างเคียงจากวิธีการระงับปวดน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย ดังนั้นความสำเร็จในการระงับปวดหลังการผ่าตัดจึงขึ้นกับปัจจัยหลักสามประการ คือ </p> <p align="left">1. การปฏิบัติงานเป็นทีมของแพทย์ พยาบาล และตัวผู้ป่วย </p> <div align="left">2. การเลือกวิธีการระงับปวดที่มีประสิทธิภาพโดยไม่มีอาการข้างเคียงหรือมีน้อย </div> <p align="left">3. การประเมินผลการรักษาที่เป็นขั้นตอน </p> <p align="left">วิสัญญีพยาบาล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด มีส่วน </p> <p align="left">สำคัญในการช่วยระงับปวดหลังผ่าตัดโดย </p> <p align="left">1. ให้ความรู้เรื่องการระงับปวดแก่ผู้ป่วยในระหว่างการเยี่ยมก่อนการผ่าตัด ทั้งความรู้ทางด้านวิธีการระงับปวด ผลดีผลเสียของการระงับปวดแต่ละวิธี แก้ไขเจตคติที่ผิด ๆ ต่อการระงับปวด และให้ผู้ป่วยรายงานอาการปวดอย่างถูกต้องแต่เนิ่น ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจของแพทย์ในการรักษาต่อไป </p> <p align="left">2. เลือกและประเมินความต้องการการระงับปวดของผู้ป่วยเบื้องต้นก่อนการผ่าตัด </p> <p align="left">3. วางแผนการระงับปวดในระหว่างการผ่าตัดและหลังการผ่าตัดร่วมกับวิสัญญีแพทย์ และศัลยแพทย์ วิธีระงับปวดมีหลายชนิด เช่น การป้องกันก่อนที่อาการปวด จะเกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า pre – emptive analgesia การใช้ยาระงับปวดชนิดใหม่ ๆ ร่วมกับการใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ทันสมัยอื่น ๆ การผสมผสานวิธีการระงับปวดต่าง ๆ ร่วมกันซึ่งเรียกว่า multimodal pain therapies ทั้งนี้ เนื่องจากการระงับอาการปวดให้ได้ประสิทธิภาพดี หรือมีอาการข้างเคียงน้อยจำเป็นต้องใช้การผสมผสานหลายวิธีร่วมกัน </p> <p align="left">4. ให้การรักษาอาการปวดของผู้ป่วยในระหว่างและหลังการผ่าตัดอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในระยะพักฟื้นซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเริ่มหมดฤทธิ์ยาสลบ และต้องเผชิญกับอาการปวดที่รุนแรง </p> <p align="left">5. สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่าง แพทย์ พยาบาล และผู้ป่วย </p> <p align="left">6. ประสานงานกับทีมงาน หรือเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานที่ให้การระงับปวดหลังผ่าตัดแก่ผู้ป่วย เพื่อขจัดความสับสนหรือความซ้ำซ้อนในการสั่งการรักษา และเพื่อให้ผลการควบคุมอาการปวดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง </p> <p align="left"></p> </blockquote>

คำสำคัญ (Tags): #ความปวด
หมายเลขบันทึก: 61692เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 15:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
สวัสดีค่ะ คุณลูกปลาน้อย ยินดีต้อนรับสู่ Blog ค่ะ
  • ตามมายินดีด้วย จะคอยมาเยี่ยมให้กำลังใจ

กราบขอบพระคุณมากๆ ค่ะ  คุณลุงใจดี กะคุณพี่คนสวยค้า

สวัสดีค่ะ...แม่ลูกปลาน้อย..

  • พี่ติ๋วเห็นว่าลูกปลาอาจจะพิมพ์ชื่อเรื่องผิด...เข้าไปแก้ไขก็ได้ค่ะ...หรือตั้งใจ
  • ให้กำลังใจและขอบคุณที่ชมว่าสวยค่ะ(ทั้งๆที่รู้ว่าน้องหลอกเล่น...ก็ช๊อบ...ชอบ))

ขอบพระคุณค่ะ คุณพี่คนสวย แก้ไขแล้วค่ะ

  • เข้ามา blog นี้ตั้งแต่เมื่อวาน แต่บันทึกไม่ได้สักที วันนี้ขอลองอีกครั้ง
  • หวัดดีค่ะลูกปลา(บึก)น้อย  ต้องขอโทษด้วยนะจ้ะที่มีคำว่า  บึก ต่อท้ายชื่อของหนูเพราะพี่ วรนุชเขาบังคับให้พี่เขียนน่ะ   ยินดีมากที่ได้รับกำลังใจและข้อคิดที่ล้ำลึกจากหนู
  • ลูกปลาบอกว่าน่าเอาแบบอย่างการใช้ชีวิตแบบพี่ งั้นต้องหาคนรู้ใจแล้วล่ะเพราะ
  • The time and the tide wait for no man

สวัสดีจ้ะ อ่านบทบาทฯแล้วดีมากๆเลยและอยากเผยแพร่ให้เพื่อนร่วมวิชาชีพได้รับรู้ว่าเราสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้ทุเลาจาก pain ได้ เป็นกุศลอย่างยิ่งจ้ะ  สาธุๆๆๆ

 

 

ขอบคุณค้า..... คุณลุง ..คุณป้า.. คุณพี่ๆ ทั้งหลายที่เข้ามาให้กำลังใจ...แต่ถึงยังไงนะ   ก็ต้องพึ่งพาอาศัยคำแนะนำชี้แนะจากผู้หลักผู้ใหญ่ (คุณลุง ..คุณป้า..คุณพี่ๆ) ที่มากล้นด้วยประสบการณ์เพื่อให้เป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้สนใจ ใคร่รู้ ที่เข้ามาอ่านคะ

 

  

"Merry Christmas 2007 & Happy New Year 2050"

....ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์  โปรดดลบันดาล....ให้.."น้องลูกปลาและครอบครัว"...ประสบแต่ความสุขตลอดปีและตลอดไปค่ะ....

                       จากครอบครัว หมู"สำเร็จ"...ค่ะ

ดีใจที่พยาบาลวิสัญญีแสดงบทบาทที่มีคุณค่าและพัฒนาสมรรถนะของวิชาชีพค่ะ

 

คิดถึงพี่ๆทุกคนเลยรวมทั้งน้องปลาที่ใจดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท