สร้างเวปไซด์ด้วย Nuke


nuke

ผู้ที่ติดตั้ง PHP-Nuke แล้ว คงจะมีคำถามเกิดขึ้นมากมายเกี่ยวกับ เรื่องวิธีการใช้งาน PHP-Nuke ผมจะขอนำเสนอเป็นขั้นตอนแบบ Step by step เลย เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และสามารถทำตามได้ทีละขั้นตอน...
1.หลังจากที่คุณติดตั้ง PHP-Nuke เสร็จเรียบร้อยแล้ว(จาก เรื่องพิเศษ-Nuke Install) สิ่งที่คุณควรทำเป็นอันดับแรกคือ สร้าง Super user หรือ Admin(ผู้ดูแลระบบ) โดยเข้าไปที่ http://yoursite.com/admin.php แล้วกรอกข้อมูลตามที่กำหนด(แนะนำให้สร้าง User พร้อมไปด้วยเลยครับ)
2.เข้าสู่ระบบ(Login) ด้วย Admin จะเข้าสู่หน้าของผู้ดูแลระบบ(Admin page) และจะปรากฏส่วนที่เรียกว่า Admin Control Panel(ACP) *ตรงบนสุด ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการบริหารจัดการ PHP-Nuke เว็บไซต์ เพราะคุณสามารถควบคุมเว็บไซต์ทั้งหมดจากที่นี่ครับ
3. คลิ๊กที่ ค่าติดตั้งเฉพาะระบบ(Preferences) ใน ACP เพื่อกำหนดรายละเอียดต่างของเว็บไซต์ ที่จะทำให้เว็บไซต์นี้เป็นของคุณ(Web Site Configuration) เช่น กำหนด ชื่อเว็บไซต์(Site name), URL,... และอื่น(จะมีตัวอย่างกรอกมาให้แล้ว คุณแค่แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้เป็นลักษณะเฉพาะของคุณเอง)
4. แก้ไขส่วนของ ประกาศ(Messages) โดยคลิ๊กที่ ประกาศ(Messages) ใน ACP เลือก แก้ไข-ลบ หรือจะเพิ่มใหม่ก็ได้(มีได้มากกว่าหนึ่ง) โดยทั่วไป Messages จะใช้ในกรณีของ ประกาศของผู้ดูแลระบบ หรือ คำแสดงยินดีต้อนรับ หรือ กล่าวเปิดการทำงานของเว็บไซต์ เป็นต้น เพราะเป็นส่วนที่อยู่ตรงกลาง(บนสุด) ของหน้าแรก
5. คราวนี้ก็เป็นส่วนที่คุณต้องคิดแล้วละครับว่า คุณจะทำเว็บไซต์นี้เพื่ออะไร และจะใช้วิธีการใดในการติดต่อกับผู้เข้าชม ตัวอย่างเช่น การนำเสนอข่าวสารหรือเรื่องราวที่คุณมีความสนใจเป็นพิเศษ ทำเป็นเว็บไดเรคทอรี จัดให้บริการดาวน์โหลด หรือเผยแพร่บทความ เอกสาร เนื้อหาต่างๆ โดยที่คุณอาจจะทำหลายๆอย่างประกอบกันไปก็ได้ครับ(แบบ ThaiNuke นี่รวมมิตรเลย)
6. เมื่อคุณตัดสินใจได้แล้ว ต่อไปก็เลือกโมดูล(Modules) ในส่วนที่ใกล้เคียงกับความต้องการของคุณมากที่สุดมาใช้งาน เพราะ PHP-Nuke ได้จัดเตรียมโมดูลต่างๆเพื่อสนับสนุนการทำงานต่างๆไว้มากพอดู(ถ้ายังไม่พอใจคุณสามารถหามาเพิ่มเติมได้ครับ) โดยคลิ๊กที่ โมดูล(Modules) ใน ACP คุณจะเห็นรายการของโมดูลทั้งหมดที่มี(โมดูลทั้งหมดถูกจัดเก็บในโฟลเดอร์ module/...) คุณสามารถกำหนดให้โมดูลที่ต้องการทำงาน(Activate) หรือไม่ทำงาน(Deactive) ในโมดูลที่คุณยังไม่ต้องการให้ทำงานในขณะนี้(อย่าลบนะครับ!!! คุณอาจจะจำเป็นต้องใช้งานในอนาคต)
7. เปลี่ยนชื่อของโมดูล โดยรายชื่อของโมดูลที่ใช้งานและไม่ได้ใช้งานจะปรากฏอยู่ใน Modules(Main Menu) เมนูแรกทางซ้ายมือของเว็บไซต์คุณ เมนู(Block)นี้สำคัญนะครับ เพราะเป็นส่วนของการกำหนดการเคลื่อนที่บนเว็บไซต์(Navigation Block) โดยคลิ๊กที่ โมดูล(Modules) ใน ACP และ แก้ไข ใส่ชื่อใหม่ใน ชื่อโมดูลที่ตั้งเอง(Custom Module Name) และ บันทึกการเปลี่ยนแปลง เช่น ลองเปลี่ยนชื่อจาก Forums เป็น กระดานข่าว เป็นต้น
8. การออกแบบรูปร่างหน้าตา(Layout) เว็บไซต์เบื้องต้น เริ่มจากเมนู(Blocks) ที่ปรากฏอยู่ทั้งทางด้านซ้าย ขวา หรือตรงกลางของเว็บไซต์ โดยคลิ๊กที่ เมนู(Blocks) ใน ACP จะแสดงเมนูทั้งหมดที่มีในระบบ(ไฟล์ Block ถูกจัดเก็บไว้ในโฟลเดอร์ blocks/...) ในเบื้องต้นผมอยากให้คุณเริ่มจากการปรับแต่งและแก้ไข จาก เมนู(Blocks) ที่ PHP-Nuke มีมาให้ก่อน สิ่งที่คุณทำได้คือ :
กำหนดให้เมนูนั้นทำงานหรือไม่(Activate or Deactivate)
กำหนดตำแหน่ง ซ้าย หรือ ขวา หรือ ตรงกลาง
สามารถปรับเลื่อนตำแหน่งของเมนู ขึ้น-ลง ได้ โดยกดลูกศรขึ้น-ลง
สามารถเปลี่ยนชื่อของเมนูได้ เช่น จาก Modules เป็น เมนูหลัก (เหตุที่เว็บไซต์ของผมไม่เปลี่ยนเพราะต้องใช้งานแบบ 2 ภาษาครับ) ส่วนของ Main Menu ผมจัดทำ phpBB2 Main Menu ให้ดาวน์โหลดไปใช้งานคุณอาจดาวน์โหลดไปลองใช้ได้ผมเขียนวิธีการใช้เป็นภาษาไทยให้ด้วย!!!
ส่วนของ การเพิ่มเมนูใหม่(Add New Block) ผมจะพูดในเรื่อง เมนู(Blocks) โดยเฉพาะครับ
9. คราวนี้ผมจะเริ่มสาธิตการใช้งานในส่วนที่เป็น โมดูลหลักของ PHP-Nuke ก่อนนั่นคือ โมดูล News (ทำงานในหน้าแรก-Home คือ set ให้เป็นโมดูลแรกที่ทำงาน เมื่อคุณเข้ามาในเว็บไซต์ คุณสามารถเปลี่ยนให้โมดูลอื่นเป็นหน้าแรก-Home ได้นะครับ) ซึ่งใช้ในการนำเสนอข่าวสาร เรื่องราวต่างๆ เหมือนที่ ThaiNuke ครับ ให้คลิ๊กที่ เพิ่มเรื่อง(Add Story) ใน ACP ผมอยากให้คุณลองเพิ่มเรื่องแรก เพื่อเป็นการทดสอบ โดยใส่รายละเอียดต่างๆใน เพิ่มเรื่อง/บทความใหม่ แล้วคุณลองให้ แสดงตัวอย่างก่อนส่ง(Preview) กดปุ่ม ตกลง จะแสดงข่าวสารหรือบทความก่อนที่คุณจะเผยแพร่ออกไปบนเว็บไซต์ ปรับแต่งตามต้องการ จนเห็นว่า OK ก็ให้ เลือก ส่งเรื่อง แล้วกดปุ่ม ตกลง(คลิ๊กเลือกตรง แสดงตัวอย่างก่อนส่ง ครับ) เรื่องของคุณก็จะไปปรากฏที่หน้าแรกของเว็บไซต์คุณทันที !!! ลองไปดูที่หน้าแรกซิครับ
หมายเหตุ คุณอาจเพิ่ม หัวข้อเรื่อง(Topics) (รูปที่ปรากฏข้างๆเรื่องของคุณ) เพื่อการจัดประเภทของเรื่องราว หรือบทความ แบบของ ThaiNuke ก็ได้ โดยคลิ๊กที่ จัดการหัวข้อเรื่อง(Topics Manager) ใน ACP แล้ว กรอกรายละเอียดใน เพิ่มหัวข้อเรื่องใหม่ (รูปภาพต่างๆต้องถูกจัดเก็บไว้ในโฟลเดอร์ images/topics นะครับจึงสามารถแสดงได้)
10. ต่อมาก็เรื่อง การออกแบบสีสรร(Design) ของเว็บไซต์ หรืออาจจะเปรียบเทียบได้กับการเลือกเสื้อผ้าให้กับเว็บไซต์ของคุณ ใช่ครับที่ผมกำลังพูดถึงเรื่อง ธีม(Theme) ที่จะกำหนดมุมมองและความรู้สึก (Look and Feel) ที่มีของผู้เข้าชมต่อเว็บไซต์ของคุณ สำหรับการเริ่มต้นผมอยากให้คุณไปดาวน์โหลดธีมมาก่อน ที่หน้า ห้องแสดงภาพ ผมพยายามนำธีมสวยๆมาให้คุณดาวน์โหลดกัน แนะนำ phpBB2 Theme :) ลองเลือกมาสักธีมแล้วดาวน์โหลดมา หลังจากที่แตกไฟล์แล้วให้คุณนำมาไว้ในโฟลเดอร์ themes/... (copy มาทั้งโฟลเดอร์เลยครับ)
คราวนี้มาถึง วิธีการเปลี่ยนธีม ง่ายมากครับ หลังจากที่คุณดาวน์โหลดธีมที่ต้องการ และแตกไฟล์มาไว้ในโฟลเดอร์เรียบร้อยแล้ว ให้คุณ คลิ๊กที่ ค่าติดตั้งเฉพาะระบบ(Preferences) ใน ACP และดูที่ ธีมที่ใช้:(Default Theme:) คุณจะเห็นธีมที่ใช้งานอยู่ในขณะนี้ และเมื่อเลือกจะเห็นธีมทั้งหมดที่คุณมี(ตามในโฟลเดอร์ themes...) ก็ให้คลิ๊กเลือกธีมที่คุณต้องการ แล้ว กดปุ่ม บันทึกการเปลี่ยนแปลง เป็นไงครับ? คุณจะเห็นว่าหน้าตาของเว็บไซต์ของคุณเปลี่ยนไปแล้ว!!!
11. หลังจากนั้นคุณลอง ทดสอบการใช้งานสมาชิก(Site Authetication) โดยคลิ๊กที่ แก้ไขสมาชิก(Add User) ใน ACP และคุณอาจจะลองตรวจสอบการทำงานโดยทั่วไปของเว็บไซต์ว่าเป็นปกติดีหรือไม่? โดยเข้าระบบ(Login)ในฐานะของสมาชิก ที่ เข้าสู่ระบบ หรือ User's Menu ก็ได้

*แหล่งอ้างอิง http://www.thainuke.org*

คำสำคัญ (Tags): #เวปไซด์
หมายเลขบันทึก: 61675เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท