สมุนไพรไทย ''เต่าร้างแดง"


เต่าร้างแดง ชื่อพื้นเมือง เขืองหมู่ (ภาคเหนือ) เต่ารั้งมีหน่อ (ภาคกลาง) เต่ารั้งแดง (นครราชสีมา) มะเด็ง (ยะลา) ชื่อวิทยาศาสตร์ Caryota mitis Lour. ชื่อวงศ์ PALMAE ชื่อสกุลไม้ Caryota L. ชื่อสามัญ Burmese Fishtail Palm, Clustered Fishtail Palm, Tufted Fishtail Palm นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ ในประเทศไทย พบตามป่าดงดิบชื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,500 ม. และพบในป่าพรุทางภาคใต้ ในต่างประเทศ พบที่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฯลฯ ลักษณะทั่วไป ต้นไม้ เป็นไม้ปาล์มต้น มักแตกหน่อเป็นกอใหญ่ แต่ละต้นสูง 5 - 10 ม. เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 5 - 15 ซม. เปลือก สีเขียวเทา ใบ ใบประกอบแบบขนนอกสองชั้น ออกเวียนสลับ กว้าง 1 - 1.50 ม. ยาว 1.50 - 2.70 ม. ใบย่อยเป็นูปพัด กว้าง 8 - 15 ซม. ยาว 15 - 30 ซม. ปลายใบจักเว้าแหว่งไม่เป็นระเบียบ และมีลักษณะไม่แน่นอน โคนใบสอบเป็นรูปลิ่ม เบี้ยว ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามด้านข้างของลำต้น ดอกมีขนาดเล็ก ดอก สีขาวครีม ช่อดอกตัวผู้เกิดสลับกับช่อดอกตัวเมียในตันเดียวกัน ขนาดยาว 25 - 50 ซม. ดอกตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าดอกตัวเมียมาก กลีบรองฐานดอกเป็นรูปโล่ เรีงเกยซ้อนกัน กลีบดอกมีขนาดใหญ่กว่ากลีบรองฐานดอกมาก แต่ละกลียเป็นรูปขอบขนานและเรียงเคียงกัน เกสรผู้มี 15 - 27 อัน ดอกตัวเมียมีขนาดเล็ก กลีบรองฐานดอกและกลีบดอกมีขนาดใกล้เคียงกัน แต่ละกลีบมีลักษณะเป็นรูปไข่กลีบ ผล ผลสด ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 - 1.5 ซม. ผลแก่ เมื่อสุกสีแดงคล้ำถึงดำ จำนวนเมล็ดมาก ระยะเวลาในการออกดอกและเป็นผล ออกดอกตลอดปี การขยายพันธุ์ นิยมใช้เมล็ดเพาะ การใช้ประโยชน์ โทษ ดอกและขน ทำให้คัน ด้านเป็นพืชอาหาร ส่วนที่ใช้เป็นอาหารคือ ยอดอ่อนและผล เมื่อผลสุกรับประทานได้ แต่เนื่องจากยางของผลเมื่อถูกผิวอาจคันหรือเข้าตาอาจตาบอดได้
คำสำคัญ (Tags): #สมุนไพร
หมายเลขบันทึก: 61623เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท