UKM-8 : IRDA กับการก้าวสู่องค์กรเคออร์ดิค


         ตามที่ดิฉันได้เคยพูดถึงสถาบันบริหารงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนเรศวร <QAU กับการเป็นองค์กรเคออร์ดิค : 1>  ซึ่งสำหรับในบันทึกนี้ดิฉันขอเรียกสั้นว่า IRDA จะว่าไปแล้วเรา 2 หน่วยงานก็เป็นหน่วยงานบ้านใกล้เรือนเคียงจนเรียกได้ว่าเป็นหน่วยงานญาติพี่น้องกันกับ QAU เพราะที่ตั้งอยู่ชั้นเดียวกันเดินผ่านไปมาเห็นหน้าทักทายกันอยู่วันละหลายๆ ครั้ง และมีผู้บริหาร (ผู้ปกครอง) คนเดียวกัน คือ ท่านอาจารย์วิบูลย์  แต่ IRDA มีท่านอาจารย์เสมอดูแลในฐานผู้อำนวยการสถาบันอีกท่านหนึ่ง  โดยเมื่อหลายอาทิตย์ก่อนหลังจากกลับมาจาก UKM 8 ดิฉันได้ทราบมาว่าที่ IRDA นำทีมโดยท่านอาจารย์เสมอ ได้มีการประชุมและพูดคุยกันถึงเรื่องการเป็นองค์กรเคออร์ดิคซึ่งบุคลากรของ IRDA ได้เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์และเข้าฟังการบรรยายของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ใน UKM 8 ด้วย  ซึ่งท่านอาจารย์เสมอได้นำกลับมาทบทวน และเทียบเคียงกับการทำงานพร้อมๆ กับบุคลากรทุกท่านของ IRDA ในที่ประชุม





         IRDA จากเดิมเป็นหน่วยงานย่อยอยู่ในกองบริการการศึกษา  สำนักงานอธิการบดี  มีบุคลากรเพียง 5 คน  ได้แก่หัวหน้างานวิจัยซึ่งเป็นข้าราชการคนเดียวในหน่วยงาน ส่วนอีก 4 คน เป็นลูกจ้างชั่วคราวของมหาวิทยาลัย  หากจะเปรียบเทียบความแตกต่างจากการปรับจากการเป็นงานวิจัย กองบริการการศึกษา  มาเป็น IRDA ที่เห็นชัดๆ 3 ข้อ คือ

         1.  จากการทำงานเป็น Messenger  มาเป็น Manager

         2.  จากการทำงานแบบ Ortrolic  มาเป็น Chaordic

         3.  และจากที่ทำงานตั้งอยู่ที่ตึกมิ่งขวัญ  ซึ่งค่อนข้างแออัดมาอยู่ที่ CITCOMS
 

         เราลองมาไล่ดูกันนะคะว่า IRDA  มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง

         1.  นโยบายและแผนยุทธศาสตร์ RBU

         2.  บริหารต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
            2.1  งบประมาณแผ่นดิน (25 ล้าน) (วช.) 
            2.2  นอกงบประมาณแผ่นดิน 
               -  เครือข่ายวิจัยภาคเหนือตอนล่าง (5-7 ล้าน)   (สกอ.) (10%)
               -  คลินิกเทคโนโลยี (2 ล้าน) (วท.)

         3.  เงินรายได้คณะ (5%) (30-40 ล้าน)

         4.  เงินวิจัยจากแหล่งทุนภายนอก (>100 ล้าน)

         5.  เงินรายได้ส่วนกลาง
               - บริหารจัดการ “งานวิจัย กองบริการการศึกษา” (2 ล้าน)
               - รางวัลสำหรับนักวิจัย (1-2 ล้าน)
               - ครุภัณฑ์การวิจัย (5+5 ล้าน) (CE)

         6.  Mobile Unit (ทุกเดือน) (2-3 ล้าน)

         7.  จริยธรรมในมนุษย์ (EC) (ทุกเดือน)

         8.  จริยธรรมในสัตว์ (AEC) (ทุก 1-2 เดือน)

         9.  ความปลอดภัยทางชีวภาพ (IBC) (ทุก 4-6 เดือน)

        10.  กรรมการวิจัย (RSC) (ทุก 1-2 เดือน)

        11.  นวัตกรรมนิสิต (ภูมิภาค/ประเทศ) (ทุกปี)

        12.  พิธีเปิดคลินิกเทคโนโลยี (2547) – Proceedings

        13.  นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 1 (2548)  – Proceedings

        14.  นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 2 (2549) – Proceedings

        15.  เป็นแกนกลางประสานงานวิจัย Research Units อื่นๆ ทั้งใน มน. และในเครือข่ายวิจัยภาคเหนือตอนล่าง (16 สถาบันอุดศึกษา) รวมทั้ง สกว. วช. สวทช. สกอ. สถาบันคลังสมอง จังหวัดต่างๆ etc.

        16.  ข้อมูลสำหรับการประเมิน กพร., สมศ., รายงานประจำปี, Ranking (ม.วิจัย)

        17.  การจัดทำฐานข้อมูลด้านงานวิจัยของมหาวิทยาลัย  (ด้านนักวิจัยและด้านทุนสนับสนุน)

        18.  ปรับปรุงระเบียบและประกาศ สำหรับบริหารงานวิจัย

        19.  วิจัยสถาบันเพื่อปรับปรุงการบริหารงานวิจัย

        20.  ด้านอื่น ๆ (แผนยุทธศาสตร์-เล่มแดง)

         ** ข้อมูลจาก Power Point File นำเสนอในที่ประชุมกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย โดยท่านอาจารย์วิบูลย์ **

         สำหรับ ยุทธศาสตร์ 6 ด้านของ IRDA ประกอบด้วย

         ยุทธศาสตร์ที่ 1  ยกระดับและปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการบริหารจัดการงานวิจัย

         ยุทธศาสตร์ที่ 2  พัฒนาความพร้อมของปัจจัยด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนงานวิจัย

         ยุทธศาสตร์ที่ 3  สนับสนุนให้อาจารย์ทุกคนทำวิจัย

         ยุทธศาสตร์ที่ 4  กำหนดให้นิสิตทุกหลักสูตรทำการศึกษา/วิจัย โดยเป็นเงื่อนไขสำหรับการสำเร็จการศึกษา

         ยุทธศาสตร์ที่ 5  ส่งเสริมให้ข้าราชการ/พนักงาน (ที่มิใช่อาจารย์)  ทำการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนางาน

         ยุทธศาสตร์ที่ 6  กำหนดให้มีกลไกความรับผิดชอบ (responsibility) และรับผิดชอบ (accountibility)

         จากข้อมูลข้างต้นเราลองมาดู องค์ประกอบทั้ง 6 องค์ประกอบของ IRDA  ในการก้าวสู่การเป็นองค์กรเคออร์ดิค  กันนะคะ

         องค์ประกอบที่ 1  Purpose
         พัฒนาคน  พัฒนาผลงาน  และระบบบริหารงานวิจัย เ พื่อการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยที่ยั่งยืน

         องค์ประกอบที่ 2  Practice 
         ตอบสนอง Purpose สอดคล้องกับยุทธศาสตร์วิจัย

         องค์ประกอบที่ 3  Constitution 
         ยุทธศาสตร์การวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร 6 ด้าน

         องค์ประกอบที่ 4  Organization Concepts
            Complex  Adaptive System (CAS)  
            -  Self organizing 
            -  Self govering 
            -  Diversity and Adaptive

         องค์ประกอบที่ 5  Participants
         ผู้บริหาร
         นักวิจัย
         นิสิต 
         ภาคประชาชน
         ภาครัฐ 
         ภาคเอกชน

         องค์ประกอบที่ 6 Core principles
           Shared vision
           Creativities
           Empowerment

         ดิฉันเชื่อว่าบันทึกนี้อาจมีรายละเอียดไม่มากพอสำหรับท่านที่รับผิดชอบงานด้านวิจัยของแต่ละหน่วยงาน  หรือกำลังสนใจศึกษาในเรื่ององค์กรเคออร์ดิคในการนำไปปรับใช้  เพราะดิฉันไม่มีรายละเอียดมาเล่ามากนัก  แต่เพียงอยากสื่อสารให้ได้ทราบว่าหลังจาก UKM 8 ที่มน. ไม่ใช่ QAUเท่านั้นที่ได้ทบทวนตัวเอง  แต่ยังมีหน่วยงานอื่นๆ อย่างน้อยก็ IRDA ที่ได้นำการบรรยายในวันนั้นของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์กลับมาทบทวน  และนำมาก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับการดำเนินงานในหน่วยงานต่อไป  ถ้าอย่างไรดิฉันจะได้ชวนท่านอาจารย์เสมอมาช่วยเพิ่มเติมรายละเอียดให้กับทุกท่านในโอกาสต่อไป 

         หากมีหน่วยงานใดที่กำลังก้าวสู่การเป็นองค์กรเคออร์ดิค  ดิฉันขอเชิญช่วยมาร่วมกันถ่ายทอด และ ลปรร. ร่วมกันนะคะ  เพราะองค์กรเคออร์ดิคเป็นองค์กรที่มีชีวิตสามารถยืดหยุ่น  และปรับตัวได้อยู่ตลอดเวลา

         ด้วยความเคารพค่ะ

หมายเลขบันทึก: 61589เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 12:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อย่างนี้ไม่ต้องมาฝึกงานแล้วพี่ ให้ผ่านเลย รู้ไปหมด

ชอบและเห็นด้วยกับยุทธศาสตร์และองค์ประกอบของIRDA ค่ะ และอยากให้องค์กรอื่นๆ ได้ลองนำไปปรับใช้เพื่อทำให้เป็นองค์กรที่มีชีวิตสามารถยืดหยุ่น  และปรับตัวได้อยู่ตลอดเวลาค่ะ

คุณตูนนี่เก่งจริงครับ

  • ขอบคุณอร และปุ๊ ที่เข้ามาติดตามและทิ้งรอยนะคะ
  • ขอบคุณคุณกัมปนาทเช่นเดียวกันค่ะ  ตูนไม่เก่งหลอกค่ะ  แค่ไปแอบเมียงๆ มองๆ แล้วหยิบมาเล่าต่อเท่านั้นค่ะ
เรื่องอะไรที่มันดูมั่ว ๆ (chaos) นี่คุณตูนเขาชอบและถนัดเป็นพิเศษครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท