บทเรียนจาก UKM-8 สู่ UKM-9


ใครมีข้อเสนอแนะอะไรดี ๆ สำหรับ UKM-9 และครั้งต่อ ๆ ไป ขอเชิญแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้เลยครับ ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

        หัวปลา UKM-9 (8-10 ก.พ. 50 มข. เป็นเจ้าภาพ) คือ “การก่อเกิดและการดำรงอยู่ของศูนย์วิจัยเฉพาะทาง”

        ผมมีประเด็นบทเรียนจาก UKM-8 (2-4 พ.ย. 49 มน. เป็นเจ้าภาพ) ที่อาจจะมีประโยชน์กับการดำเนินงาน UKM-9 คือ

        1. เรื่อง “คุณกิจตัวจริง” เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากต่อบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และต่อความต่อเนื่องของการที่จะมีการ ลปรร. กันต่อไปทาง B2B

        “คุณกิจตัวจริง” ผมหมายถึงคนที่มี tacit knowledge ที่ตรงกับหัวปลาในการ ลปรร. ในครั้งนั้น ๆ เป็นคนที่เมื่อกลับมหาวิทยาลัยของตนเองแล้วจะได้นำความรู้ที่ได้มาช่วยกันพัฒนางานและสืบสานความเป็น CoP ต่อไป

        ผมสังเกตว่าใน UKM-8 มี “คุณกิจตัวจริง” มากันน้อยมากและทางเจ้าภาพเอง (มน.) ก็ไม่ได้จัดการให้ “คุณกิจตัวจริง” ได้พบกันโดยตรง (กลุ่มเดียวกัน) แต่ได้ปล่อยให้ “คุณกิจตัวจริง” กระจัดกระจายออกไปปะปนกับคนอื่น ๆ ที่สนใจเรื่องของ “KM” มากกว่าเรื่องของ “หัวปลา - การพัฒนาทุนมนุษย์สู่องค์กรเรียนรู้” ผลตามมาก็คือ พลังของการ ลปรร. ไม่ดีเท่าที่ควร การสืบสาน CoP กันต่อไปทาง B2B ก็ไม่ดีเท่าที่ควร

        ข้อเสนอแนะ สำหรับ UKM-9 คือ เราน่าจะแยกให้ดีระหว่าง “คุณกิจตามหัวปลา” กับ “ผู้สนใจทั่วไป” (สำคัญเท่ากันทั้งคู่นะครับ) และให้ “คุณกิจตามหัวปลา” ได้ ลปรร. กันในเรื่องของหัวปลาที่กำหนด ส่วน “ผู้สนใจทั่วไป” ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น KM Staff ของแต่ละมหาวิทยาลัยนั้น ผมเสนอให้จัดกลุ่มไว้ด้วยกันแล้วให้เขาร่วมกันคิดหัวปลากันเองภายในแต่ละกลุ่มเพื่อทำการ ลปรร. กัน

        2. ถ้าเป็นไปได้หลังจาก AAR ควรมีการเลือกหัวหน้าและทีมงานสำหรับขับเคลื่อน CoP ต่อไป โดยเริ่มต้นจากการทำหางปลาที่เกิดจากกิจกรรม UKM ให้ดี (อาจประยุกต์ใช้จากวิธีการทำหางปลาของ UKM-8 ก็ได้)

        ใครมีข้อเสนอแนะอะไรดี ๆ สำหรับ UKM-9 และครั้งต่อ ๆ ไป ขอเชิญแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้เลยครับ ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

         วิบูลย์ วัฒนาธร

.

หมายเลขบันทึก: 61560เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ผมเห็นด้วยกับ ดร. วิบูลย์ อย่างยิ่งครับ     และใคร่ขอเสนอว่า    เครือข่าย UKM น่าจะทำความตกลงว่า ในการพบกันแต่ละครั้ง ขอให้แต่ละมหาวิทยาลัยส่ง "คุณกิจตัวจริง" เข้าร่วมประชุมไม่ต่ำกว่า ๕๐% ครับ

ผมกลัวว่า ต่อไปการประชุม UKM จะกลายเป็นเพียงโอกาสได้เที่ยวของผู้ใกล้ชิดผู้บริหาร    UKM ก็จะหมดคุณค่าในการเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้

วิจารณ์

มาเห็นด้วยค่ะ เราจัดมาระยะหนึ่งแล้วน่าจะเคลื่อนอะไรไปข้างหน้าได้มากกว่าการเรียนรู้กระบวนการแล้วค่ะ  คุณกิจตัวจริง....สำคัญมากๆ ที่ มอ. จะจัดสัดส่วนการไปแต่ละครั้ง  ระหว่างคุณกิจตัวจริง 70 กรรมการ KM 30 ค่ะ    หนูต๊กใจ ความเห็นท่านอาจารย์วิจารณ์ใน "พารากราฟหลัง....." หยุดตรึกตรอง....มีอะไรที่บ่งชี้ไปในทางนั้นหรือเปล่า....หนูว่าไม่..นะคะอาจารย์...ย้อนไปอ่านอีกทีอาจารย์ใช้คำว่า.....ผมกลัวว่า ต่อไป..... เป็นการทำนายอนาคต....หรือพูดดักทางเท่านั้นเอง

         พี่เมตตาคะ  ตูนอย่างก็ตกใจบวกอึ้งและทบทวนไปอีกหลายนาที  จน comment พี่เมตตาขึ้นมานี่แหละคะ  หลังจากทบทวนแล้วคิดว่า  "คำว่า .....ผมกลัวว่า ต่อไป....."   น่าจะเกิดจากความกังวลว่าอาจจะมีโอกาสเป็นอย่างนั้น  ท่านจึงเตือนไว้ก่อนเพื่ออนาคตอันสดใส  รึเปล่าคะ ...
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ ดังนั้น UKM-9 ผมคิดว่าผู้ที่เข้าร่วมควรมีแบ่งเป็น 2 กลุ่มครับ คือ 1.กลุ่มหลักทั้ง 10 คน ที่เป็นคุณกิจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ "การก่อเกิดและการดำรงอยู่ของศูนย์วิจัยเฉพาะทาง" และ 2.กลุ่มที่เป็นผู้สังเกตการผู้ที่เป็นคนขับเคลื่อนกระบวนการการจัดการความรู้ของสถาบัน หรือเจ้าภาพครั้งต่อไป
  • คิดว่าน่าจะดีครับ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน และ ได้ผู้มาเข้าร่วมที่ถูกต้องในการประชุม UKM ครั้งต่อ ๆ ไป   ควรตกลงกันว่าจะเป็น เวที ลปรร. ของ คุณกิจ หรือ KM staffs  หรือ ทั้งสอง ในสัดส่วนเท่าไหร่ ?
  • อาจจะเป็นด้วยว่า รายการแถมใน UKM8 ที่พาไปงานแสงเสียงสุโขทัย เป็นที่ประทับใจของชาว Blogger มาก เลยทำให้มีบันทึกเกี่ยวกับงานนี้มาก จนดูเหมือนเนื้อหาหลักของการประชุมด้อยไป
  • อีกอย่างที่ผมคิดว่าที่ Blogger หลายท่านบันทึกเกี่ยวกับ UKM โดยตรงน้อย เพราะทางเจ้าภาพ มีระบบการบันทึก และ ทีมจับรายละเอียด (SSM) ที่เยี่ยมมาก จนผู้ไปร่วมแทบจะไม่มีอะไรจะเพิ่มเติมอีก
  • (นี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวครับ)

เรียน อาจารย์วิบูลย์
เห็นด้วยกับอาจาย์อย่างยิ่งคะที่จะจัดให้คุณกิจตัวจริงได้พบปะกัน เนื่องจากเราอาจจะได้ tacit knowledge นำไปปรับใช้ในการทำงานจริงได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งก่อนไปร่วม UKM8 แน่นอนคะว่าเราก็หวังว่าจะได้แลกเปลี่ยนกับคุณกิจที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาทุนมนุษย์โดยตรง แต่อย่างไรถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีการรวมกลุ่มเฉพาะแต่เราก็ได้รับฟังเรื่องเล่าที่หลากหลาย ได้แนวทางอื่นๆ เพิ่มเติม
สำหรับตนเองคิดว่าสิ่งสำคัญประการหนึ่งในการจัดกระบวนการก็คือ การดำเนินกระบวนในกลุ่มขณะเล่าเรื่อง ซึ่งตนเองคิดว่าบรรยากาศในกลุ่มยังรุ้สึกอึดอัดคะ เนื่องจากต่างคนต่างมาจากหลากสถาบัน ยังไม่คุ้นเคยกัน คุณอำนวยประจำกลุ่มจึงมีความสำคัญมากที่จะคอยเอื้ออำนวย กระตุ้น สนับสนุนให้เกิดบรรยากาศที่ดีในกลุ่ม เกิดความชื่นชมยินดี โดยเฉพาะการกระตุ้นให้มีการสะท้อนถึงความสำเร็จของเรื่องเล่า ซึ่งจะทำให้ผู้เล่ารู้สึกภาคภูมิใจและมีความสุข
และเห็นด้วยอย่างยิ่งคะที่เราควรให้ความสำคัญกับ คุณกิจตัวจริงได้ร่วมแลกเปลี่ยน เพื่อให้เกิดพลังของการแลกเปลี่ยนและการนำมาประยุกต์ใช้ต่อไป
ขอบคุณคะ
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม (เม)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท