ชื่นชมสถาบันการเรียนรู้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จ.พะเยา


         ตอนสายของวันอาทิตย์ที่ 19 พ.ย.49   ผมนั่งอ่านหนังสือที่หน้าบ้านท่ามกลางเสียงขับกล่อมของดนตรีธรรมชาติ   ช่วงแรกเป็นเสียงกลุ่มนกปรอดสวน   ตามมาด้วยเสียงนกกินปลี   นกติวิด  นกอีแพรด  นกเทเล็ก   และนกกางเขน

หนังสือที่ผมอ่านได้แก่
 - รายงานผลประเมินสรุประดับจังหวัด   โครงการการจัดทำแผนที่ทุนทางสังคม 10 ตำบล  จังหวัดพะเยา
 - บันทึกการเดินทางของคนนำทาง   จากสลาตันสู่ดาวเหนือ
 - รายงานการประเมินผลสรุปเพื่อการเรียนรู้ระดับจังหวัด   โครงการวิจัยและพัฒนาชีวิตสาธารณะ - ท้องถิ่นน่าอยู่   จังหวัดพะเยา  กรกฎาคม 2549

         เอกสารทั้ง 3 ชิ้นเป็นของสถาบันการเรียนรู้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom Learning Institute - LWI) จ.พะเยา   ผู้ให้เอกสารแก่ผมคือ คุณบุญโชติ  เรือนสอน (09-999-5158,  05-449-1227) กรรมการท่านหนึ่งของสถาบัน   มอบให้ผมตอนผมไปร่วมเวทีวิชาการประชาสังคมเมื่อวาน

         ผมประมวลความรู้จากเอกสารทั้ง 3 ชิ้น   จากคำอธิบายของ นพ. พลเดช  และคำเสนอของ รศ. ดร. เนาวรัตน์  พลายน้อย  ในเวทีวิชาการประชาสังคมเมื่อวาน   ผมสรุปกับตัวเองว่าบัดนี้สภาพที่ซับซ้อนยิ่ง  ปรับตัวยิ่ง (Very Complex & Adaptive Systems) ของประชาสังคมไทยกำลังเข้าใกล้จุดวิกฤต   พร้อมจะก่อเกิดภพภูมิใหม่ (new order) แล้ว

         ผมเรียกภพภูมิใหม่นี้ว่า  สังคมอุดมปัญญา (Wisdom - based Society) และอุดมคุณธรรม (Moral - based Society)

         ถ้าเรียกตาม ศ. นพ. ประเวศ  วะสี  ก็อาจเรียกว่า สังคมคุณธรรมนำปัญญา

         ผมคงจะต้องเขียนบันทึกชุด  สังคมคุณธรรมนำปัญญา อีกชุดหนึ่ง   เพื่ออธิบายระบบที่ซับซ้อนและปรับตัวในสังคมไทยในภาคประชาสังคมไทย

         ขอขอบคุณคุณบุญโชติ  เรือนสอน และสถาบันการเรียนรู้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น  ที่ช่วยจุดประกายแสงสว่าง (ทางปัญญา) ให้แก่ผม

วิจารณ์  พานิช
 19 พ.ย.49

หมายเลขบันทึก: 61495เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมากครับอาจารย์

ช่วงที่ผ่านมา ผมกับครอบครัว และคุณแม่ได้มีโอกาสไปเชียงราย และพะเยา ที่บ้านผมกำลังปลูกบ้านดิน อยู่ที่ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ทำให้สำผัสถึงวิถีชีวิตที่นั่น สังคมเมืองหลวงยังไม่มีอิทธิพลนัก ผมว่าทางจังหวัดคงต้องรีบทำโครงการที่อาจารย์ว่าก่อนที่ทุนนิยมจะบุกเข้าไปโดยท้องถิ่นยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่เข็มแข็งพอ

นอกเรื่องนิดนะครับ ผมได้มีโอกาสสำผัส โครงการพัฒนาดอยตุงที่เชียงรายเป็นครั้งแรก ประทับใจถึงความยิ่งใหญ่ และความมุ่งมั่นของสมเด็จย่ามากๆ ผมกับภรรยานำตาซึมเมื่อเข้าไปดู - ฟังข้อมูลในหอชีวประวัติ เข้าใจลึกซึ้งขึ้นถึงคำว่า เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ว่าคืออะไร เป็นการเปลี่ยนโลกทัศน์และมุงมอง

ต่อไปผมคงยินดีที่จะจ่ายค่ากาแฟแพงกว่านี้ที่ร้านดอยตุง ขณะที่เลิกทาน Starbuck เพราะจุดเริ่มต้นช่างต่างกันสิ้นเชิง ระหว่างการเข้าไปเปลี่ยนสังคมให้ดีขึ้นโดยหาโอกาสทางธุรกิจเพื่อการคงอยู่อย่างยั่งยืน กับ การทำธุรกิจเพิ่อผลกำไรก่อนและค่อยเลือกว่าจะทำอะไรบ้างเพื่อสังคม(เล็กๆน้อยๆ)

ปรอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท