การแบ่งปันความรู้/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้


ใครๆก็รู้แต่ทำยาก
วันนี้อ่านวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ Knowledge Sharing ในองค์กรธุรกิจ เขาสรุปข้อเสียของการอมพะนำความรู้ไว้ไม่แบ่งให้ใครว่า - ทำให้งานที่ทำไม่มีบูรณาการ จะแหลกเป็นริ้วๆ หรือเป็นกองๆ กระจัดกระจาย - เสียเวลามานั่งคิด นั่งทำสิ่งที่ซ้ำซ้อนกัน น่าเสียดายแรงและเวลา - บุคลากรแต่ละคนจะต้องใช้เวลาเรียนนานขึ้น (longer learning curve) เส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ค่อยๆไต่ขึ้นและใช้เวลานานจึงจะรู้ได้ - เสียโอกาสความเจริญก้าวหน้าขององค์กร เขาบอกว่า ผู้นำขององค์กรจะต้องแก้ปัญหานี้โดยการวางยุทธศาสตร์ให้เกิดการแบ่งปันกัน ปัญหาก็คือ ใครรู้บ้าง หรือใครเคยประสบความสำเร็จในเรื่องนี้บ้าง ลองนำมาเล่าสู่กันฟังบ้าง แถมอีกนิดหนึ่ง ว่า ในโลกยุคปัจจุบันที่ข้อมูลสารสนเทศจะท่วมทับทั้งตัวนั้น การที่บุคคลหรือองค์กร "ได้รับสารสนเทศที่เหมาะสมกับเวลาและความต้องการ" เป็นปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ
คำสำคัญ (Tags): #edkm
หมายเลขบันทึก: 61493เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 09:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สมาชิกของ สพท.นม. 1 กำลังเปิดโอกาสให้ผู้ประสบผลสำเร็จในการทำงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

ครู สพท.สพ.2 หลายคนกำลังสนุกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ

เห็นด้วยกับบทความที่กล่าวข้างต้นอย่างยิ่งคะ แต่สิ่งที่ขอเสริมคือไม่ใช่แต่เฉพาะองค์กรธรุกิจเท่านั้น  ในเมืองไทยน่าจะใช้กระบวนการนี้ในทุกภาคส่วนของสังคม ก็คงเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ดั่งที่ทุกคนหวังจะให้เป็น Learning Organization (LO)

ครับ เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการแชร์ความรู้ คนที่แชร์ความรู้ให้คนอื่น ๆมาก ๆ ทั้งได้กุศล และมีความเชียวชาญเพิ่มขึ้น

มันสำคัญตรงเวลาครับ บางทีเราไม่มีเวลา คนอื่นจะมองว่าเราไม่ยอมช่วยเหลืออีก กรรมจริง ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท