รายงาน 1 ปี หน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน (ฉ. แนวทางในการพัฒนา)


พัฒนาเป็นหน่วยจัดการความรู้เพื่อความเข้มแข็งของชุมชน

ฉ. แนวทางในการพัฒนา

จากการประมวลสถานะการณ์เรื่องการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน ความรู้ที่มีอยู่และการสังเคราะห์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการทำงานของโครงการได้ข้อสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการ ขับเคลื่อนงานต่อไปคือจากการประมวลสถานะการณ์เรื่องการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน ความรู้ที่มีอยู่และการสังเคราะห์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการทำงานของโครงการได้ข้อสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการ ขับเคลื่อนงานต่อไปคือ พัฒนาเป็นหน่วยจัดการความรู้เพื่อความเข้มแข็งของชุมชน โดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้
  1. ประเด็นและขอบเขตในการขับเคลื่อน (ด้วยการวิจัยจัดการความรู้)
  1. สถาบันการเงินเพื่อสร้างชุมชนสวัสดิการ
  1. ใช้แนวทางการดำเนินงานของสัจจะลดรายจ่ายวันละ1บาท ทำสวัสดิการภาคประชาชน แก้จนอย่างยั่งยืน เป็นทั้งเป้าหมายและเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรการเงินชุมชนที่ต้องการพัฒนาเป็นสถาบันการเงินของชุมชนเพื่อเชื่อมโยงกับการเงินในระบบ เป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การทำงานพัฒนาจากการออมเพื่อกู้ หวังพึ่งพา เป็นการออมเพื่อให้โดยการพึ่ง ตนเอง และพึ่งพากัน ด้วยการแบ่งปันเกื้อกูลกัน
  2. ใช้แนวทางการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการบริหาร จัดการกลุ่มของคณะกรรมการ การบริหารครอบครัวและตนเองของสมาชิก รวมทั้งการจัดการทุนการเงินร่วมกันของเครือข่ายระดับตำบลและจังหวัด
  1. สถาบันจัดการทุนทางสังคม
  2. ใช้แนวทางการดำเนินงานของสัจจะลดรายจ่ายวันละ1บาท ทำสวัสดิการภาคประชาชน แก้จนอย่างยั่งยืน เชื่อมโยงกับความรู้ที่ได้จากโครงการวิจัยระบบ แลกเปลี่ยนชุมชน เพื่อจัดการทุนอื่นๆที่นอกเหนือจากทุนเงินตราเพื่อให้เกิดการเกื้อกูล พึ่งพากันในชุมชนมากที่สุด (อาจใช้เงินทุนสัจจะลดรายจ่ายวันละ1บาทเป็นทุนสำรองค้ำประกันเงินตราของชุมชน)

  3. ขยายจุดเชื่อมต่อ(Entry Point)เพื่อสร้างการเรียนรู้
  4. ขยายไปยังจุดเชื่อมต่อ(Entry Point)ในประเด็นอื่นๆเช่น เกษตรอินทรีย์ สุขภาพ อปท. ท่องเที่ยว แผนแม่บทชุมชน เป็นต้นโดยเชื่อมโยงเข้ากับการจัดการความรู้ใน 2 ข้อแรก เพื่อพัฒนาสู่ความเข้มแข็งของชุมชน

  5. เน้นขอบเขตการทำงานระดับตำบลและจังหวัด

2. ภาคีหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง

  1. สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวมทั้งอปท. ทำงานสนับสนุนชุมชนด้วยแนวทางการจัดการความรู้ในบทบาทของคุณอำนวยและคุณเอื้อ
  2. สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาขับเคลื่อนการทำงานในบทบาทคุณวิจัยเพื่อเชื่อมโยงการเรียนรู้หลากมิติในวงเรียนรู้ของชุมชนและหน่วยงานสนับสนุนทั้งบทบาทคุณกิจ คุณอำนวย และคุณเอื้อ โดยเรียนรู้ผ่านงานหรือภารกิจที่เชื่อมโยงกันใน บทบาทของแต่ละฝ่ายโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ตามอัธยาศัยตลอดชีวิต
  3. เน้นการทำงานเชิงบูรณาการคือ การทำงานร่วมกันอย่างมีเป้าหมาย
3.ระดับบนโยบาย

ขับเคลื่อนผ่านวงเรียนรู้คุณกิจที่ทำงานด้านนโยบาย และการจัดเวทีสาธารณะ

หมายเลขบันทึก: 6145เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2005 16:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท