อรกิตติ์
นางสาว อรกิตติ์ พานิชยานุสนธิ์

ผลที่ประเทศไทยจะได้รับจากทำ Agreement


ผลทางด้านกฎหมาย

ผลทางด้านกฎหม

 1.    ผลผูกพันประเทศไทยในทางระหว่างประเทศ

                         ข้อตกลงการค้าเสรีนี้เป็นสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลีย แต่ข้อตกลงเป็นสนธิสัญญาหรือไม่ การที่จะดูว่าเป็นสนธิสัญญาหรือไม่ต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์ของ Vienna Convention on Law of Treaties 1969 ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณา           

                              Article 2(1)(a) ได้กำหนดองค์ประกอบที่สำคัญของลักษณะที่เป็นสนธิสัญญาที่จะนำข้อบทในอนุสัญญามาใช้คือ               

                              องค์ประกอบแรกคือ เป็นความตกลงระหว่างรัฐ หรือระหว่างประเทศ (international agreement between states)          พิจารณาจากเงื่อนไขแรก ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับ ประเทศออสเตรเลีย ถือได้ว่าเป็นความตกลงระหว่างรัฐหรือประเทศ เป็นagreement ตามarticle 2(1)(a) ของ Vienna Convention on Law of Treaties 1969          

                       องค์ประกอบที่สอง คือ เป็นความตกลงที่ใช้หรืออยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ (governed by international law)         

                        จากเงื่อนไขที่สองกฎหมายที่ใช้กับข้อตกลงต้องเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ เมื่อพิจารณาในข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทย และประเทศออสเตรเลีย ใน article101 ระบุให้รัฐคู่สัญญาทำข้อตกลงการค้าเสรีภายใต้กฎเกณฑ์ของ General Agreement on Tariffs and Trade 1994 (GATT 1994) และ General Agreement on Trade in Services (GATS) จะเห็นได้ว่าความตกลงนี้อยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ          

                         ดังนั้นข้อตกลงการค้าเสรีฉบับนี้เป็นสนธิสัญญาตามความหมายของของ Vienna Convention on law of Treaties 1969                

                                    การที่จะดูว่าข้อตกลงมีผลผูกพันทางกฎหมายหรือไม่ อย่างไรจึงต้องพิจารณาโดยหลักเกณฑ์เดียวกับสนธิสัญญา                 

                                   - การทำข้อตกลงทำโดยบุคคลที่มีอำนาจหรือมีความสามารถที่จะกระทำแทนรัฐได้Article 7 Full powers ซึ่งกำหนดให้บุคคลที่จะทำสันธิสัญญาได้นั้นต้องเป็นบุคคลที่มีหนังสือที่แสดงอำนาจเต็ม หรือในทางปฎิบัติของรัฐเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้มีอำนาจทำได้ แต่มีบุคคลที่โดยตำแหน่งแล้วเป็นบุคคลที่สามารถทำสนธิสัญญาแทนรัฐได้ โดยไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจเต็มจากรัฐคือ               

                                    Article 7(2)(a) Heads of State, Heads of Government, Ministers for foreign Affairs, for the purpose of performing all acts relating to conclusion of a treaty;         

                          ประมุขของรัฐ หัวหน้ารัฐบาล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในการกระทำที่เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ซึ่งเกี่ยวข้องกับสนธิสัญญา                

                                  (b) head of diplomatic missions, for the purpose of adopting the text of the treaty between the accrediting State and the State to which they are accredited;         

                           หัวหน้าคณะทำงานพิเศษทางการทูต สำหรับวัตถุประสงค์ในการรับตัวบทของสนธิสัญญา ระหว่างรัฐที่รับรอง และรัฐที่ให้การรับรองคณะทำงานพิเศษ               

                                    (c) representatives accredited by States to an international conference or to an international organisation or one of its organs, for the purpose of adopting the text of a treaty in that conference, organisation or organ.         

                             คณะผู้แทนที่ได้รับการรับรองโดยรัฐ สำหรับการประชุมระหว่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งขององค์การนั้น เพื่อการรับตัวบทของสนธิสัญญาในการประชุม องค์การหรือหน่วยงานนั้น               

                                         การเข้าทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทย และประเทศออสเตรเลียในข้อตกลงผู้ที่ทำการลงนาม ทางฝ่ายประเทศออสเตรเลียคือMr. Mark Vaile รัฐมนตรีการค้า ส่วนประเทศไทยผู้ที่ลงนามคือ นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในส่วนของประเทศออสเตรเลียนั้นจะไม่ขอกล่าวถึง เนื่องจากเป็นเรื่องกฎหมายภายใน ส่วนทางด้านประเทศไทยนั้น นายวัฒนา เมืองสุขเป็นบุคคลที่มีความสามารถ หรือมีอำนาจในการเข้าทำสนธิสัญญาแทนประเทศ เนื่องจากเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของ กระทรวงที่เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศโดยตรง และผู้เข้าทำสนธิสัญญาเป็นผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดในหน่วยงานนั้น รวมถึงการมีนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลร่วมเป็นสักขีพยาน ดังนั้นผู้ลงนามจึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำแทนรัฐ          

                         - ระยะเวลาในการใช้ข้อตกลงในเรื่องของกำหนดเวลาในการใช้ข้อตกลงและระยะเวลานั้น ปรากฎอยู่ในอยู่ข้อ 1910 มีใจความสำคัญคือ ความตกลงนี้จะมีผลบังคับใช้ 30 วันหลังจากที่คู่ภาคีได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ว่าได้จัดการกับกระบวนการภายในประเทศก่อนการบังคับใช้ความตกลงเสร็จสิ้นแล้ว และความตกลงนี้จะคงมีผลบังคับใช้จนกว่าจะมีภาคีฝ่ายหนึ่งแสดงความจำนงบอกเลิกความตกลงนี้เป็นลายลักษณ์อักษร ในกรณีเช่นนั้นความตกลงนี้จะเลิกมีผลบังคับใช้ใน 12 เดือน หลังจากการแจ้งเรื่องดังกล่าวซึ่งต่อมาได้มีการตกลงให้ข้อตกลงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548         

                              ดังนั้นเท่ากับว่าข้อตกลงการค้าเสรีฉบับนี้มีผลผูกพันทางกฎหมายต่อประเทศไทย และถ้าไม่ปฎิบัติย่อมก่อให้เกิดความรับผิดของรัฐขึ้น (state responsibility) 

 2.    ผลผูกพันประเทศไทยตามกฎหมายภายในประเทศการพิจารณาว่าข้อตกลงการค้าเสรีนี้มีผลผูกพันทางกฎหมายภายในประเทศหรือไม่ นั้นกฎหมายที่ต้องนำมาพิจารณา คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตราที่เกี่ยวข้องคือ มาตรา 224 วรรค 2 ซึ่งกำหนดไว้ว่า               

                            หนังสือสัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตอำนาจแห่งรัฐหรือ จะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามสัญญา ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา                ในประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดปัญหา และความเห็นที่แตกต่างกัน โดย               

                                        กลุ่มแรก เป็นกลุ่มที่เห็นด้วยกับการทำข้อตกลงการค้าเสรี จึงเห็นว่าการทำข้อตกลงนั้น ไม่เข้าลักษณะของการทำสนธิสัญญาที่ ต้องผ่านความเห็นชอบของรับสภาก่อน ดังนั้นเมื่อฝ่ายบริหารทำข้อตกลงก็มีผลผูกพันภายในประเทศ ส่วน               

                                        กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการทำข้อตกลงการค้าเสรี โดยกลุ่มนี้มีความเห็นว่าการทำข้อตกลงการค้าเสรีนี้ เป็นการทำสนธิสัญญาที่ต้องออกพระราชบัญญัติให้เป็นไปตามสัญญา  ดังนั้นหลังจากที่ฝ่ายบริหารเข้าทำข้อตกลงแล้ว ข้อตกลงจะมีผลบังคับ เมื่อข้อตกลงนั้นได้ผ่าน หรือได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน               

                                          ประเด็นในเรื่องนี้จึงพิจารณาว่าข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับประเทศออสเตรเลียมีข้อตกลง หรือสนธิสัญญาที่เข้าลักษณะตาม มาตรา 224 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญปี 2540 หรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันปัญหานี้ยังไม่ได้รับคำพิพากษาตัดสินจากศาลรัฐธรรมนูญว่า การทำข้อตกลงของฝ่ายบริหารเป้นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญ และทำให้ข้อตกลงเป็นโมฆะหรือไม่ แต่ในระหว่างที่ไม่มีคำตัดสิน จึงยังถือตามฝ่ายบริหารให้ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทย กับประเทศออสเตรเลียมีผลใช้บังคับไปก่อน               

                                          ข้อสังเกตุ: ที่สำคัญคือ ถ้าหลังจากที่มีการกระทำตามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน แล้วภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาว่าเป็นการกระทำที่ขัดรัฐธรรมนูญ ทำให้ข้อตกลงเป็นโมฆะ อาจทำให้ประเทศไทยเกิดความรับผิด (state responsibility)  ตามข้อตกลงได้

หมายเลขบันทึก: 61426เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2006 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท