มาตรฐานแรงงานในกรอบการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ:คุ้มครองสิทธิมนุษยชนหรือมาตรการกีดกันทางการค้าแอบเคลือบแฝง???


ในปัจจุบันอันเนื่องมาจากนานาประเทศต่างมีความพยายามที่จะสร้างข้อได้เปรียบโดยการเปรียบเทียบ (Comparative Advantages) โดยยกเอาข้อกำหนดทางสังคม (Social Clauses) เช่น สิ่งแวดล้อม (Environment) สิทธิแรงงาน (Worker’s Rights) สิทธิมนุษยชน (Human Rights) สุขภาพ (Health) เป็นต้นความพยายามในการนำเอาประเด็นแรงงาน(Labor Issues) เชื่อมโยงกับการค้าระหว่างประเทศ เป็นเพียงหนึ่งในหลายประเด็นที่มีการเสนอให้เชื่อมโยงกับการค้าระหว่างประเทศ โดยกำหนดเป็นมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Standards) ในกรอบเวทีการเจรจาทางการค้าหรือความตกลงทางการค้าพหุภาคี เพื่อให้มาตรฐานแรงงานมีผลบังคับเป็นการทั่วไปต่อนานาประเทศ...

           ถ้ากล่าวถึงต้นทุนการผลิตทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศแล้วนอกจากเงินทุน สินทรัพย์ และวัตถุดิบอันเป็นปัจจัยในการผลิตภาคอุตสาหกรรมแล้ว ต้นทุนการผลิต(Labor[1] Cost) ที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ขาดเสียไม่ได้ก็คือ “แรงงาน[2]”ซึ่งในที่นี้หมายถึงกำลังคนที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการผลิตให้สำเร็จลุล่วงตามที่นายจ้างมอบหมายให้ปฏิบัติตาม ทั้งในทางเศรษฐศาสตร์มองว่าแรงงานเป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดราคาสินค้า ดังนั้นแรงงานจึงมีความสำคัญในฐานะต้นทุนการผลิตประการหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตามแรงงานนั้นมีความแตกต่างจากต้นทุนการผลิตอื่นๆตรงที่แรงงานนั้นเป็นบุคคลที่มีชีวิตและจิตใจการปฏิบัติต่อเขาควรที่จะต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน(Human Dignity and Human Rights) จึงมีความพยายามที่จะเชื่อมโยงประเด็นเรื่องแรงงานกับการค้าระหว่างประเทศเข้าด้วยกัน(รวมไปถึงเรื่องการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้าด้วย) ในรูปแบบของมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Standards) ซึ่งเป็นเงื่อนไขทางสังคม (Social Clause) ประการหนึ่งนอกจากเรื่องการค้ากับสิ่งแวดล้อม(Trade and Environment) ที่ประเทศผู้นำเข้าโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐ กลุ่มประเทศในเครือสหภาพยุโรป(EU: European Union)เป็นต้น ยกขึ้นอ้างในการให้สิทธิเศษทางการค้า(Generalized System of Preferences: GSP)หรือเป็นเงื่อนไขในการนำเข้าสินค้าอื่นๆหรือเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการทำความตกลงทวิภาคีในการเขตเปิดการค้าเสรี(Free Trade Agreement : FTA) จนถูกมองว่าเป็นการกีดกันการค้า(Discrimination)รูปแบบหนึ่งตามแนวคิดNeo- Protectionism

          อย่างไรก็ตามการแข่งขันทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมีค่อนข้างสูงดังนั้นนานาประเทศทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาต่างหามาตรการต่างๆ ในการที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของตน โดยความพยายามที่จะสร้างมาตรการกีดกันทางการค้าแอบแฝงหลายประการไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคทางการค้าที่เป็นภาษี(Tariff Barriers) และอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers)

          ประเด็นมาตรฐานแรงงาน(Labor Standards) ก็ยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียง(Controversial Issues)กันอยู่ในการเจรจารอบต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเจรจาทางการค้าหรือความตกลงพหุภาคี(Multilateral Agreements) ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งองค์การการค้าระหว่างประเทศหรือ ITO (International Trade Organization) จนกระทั่งองค์การการค้าโลกหรือWTO(World Trade Organization)ในฐานะผู้สืบสิทธิ์ของGATT  หรือความตกลงระดับภูมิภาค(Regional Agreement เช่น NAFTA: North American Free Trade Agreement ที่มีประเทศสหรัฐ แคนาดา และเม็กซิโกเป็นภาคี) หรือความตกลงทวิภาคี(Bilateral Trade Agreement เช่น ความตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคีชิลีและสหรัฐ)ซึ่งเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันระหว่างกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว(Developed Countries)กับกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา(Developing Countries)ว่าการนำเอามาตรฐานแรงงานมากำหนดเป็นหัวข้อในการเจรจาทางการค้าเป็นการกีดกันทางการค้าแบบแอบแฝง(Disguised Protectionism) ทั้งเป็นการปกป้องอุตสาหกรรมภายประเทศที่พัฒนาแล้วในฐานะผู้นำเข้าเพื่อที่จะสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน(Competitive Advantages)อันเกี่ยวกับการลดการนำเข้าสินค้าจากระเทศกำลังพัฒนาที่ไม่ได้ยอมรับเอามาตรฐานแรงงานมาถือเป็นทางปฏิบัติหรือไม่?  เนื่องจากประเทศกำลังพัฒนามีแรงงานราคาถูก(Low Wages Labor) ดังนั้นแรงงานซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนการผลิตประการหนึ่งทำให้สินค้าที่ส่งออกไปจากประเทศที่กำลังพัฒนามีราคาต่ำกว่าสินค้าภายในประเทศผู้นำเข้าสินค้า ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศผู้นำเข้าโดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วที่ยกระดับมาตรฐานแรงงานโดยประกันสิทธิและให้สวัสดิการต่างๆแก่ผู้ใช้แรงงาน กำหนดค่าจ้างที่เหมาะสมกับสภาพการจ้างและค่าครองชีพประจำวัน ต่างจากประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่มีแรงงานราคาถูกเป็นแรงจูงใจแก่นักลงทุน ทั้งมาตรฐานการครองชีพของสองซีกโลกซึ่งมีความแตกต่างกันดังนั้นมาตรการอันเกี่ยวกับมาตรฐานแรงงาน (Labor Standards) โดยเฉพาะการนำเอาประเด็นดังกล่าวไปกำหนดไว้ในความตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคี (Free Trade Agreement: FTA) เช่นกรณีความตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคีสหรัฐกับประเทศต่างที่ผูกพันรัฐภาคีว่าต้องให้สัตยาบันตามความตกลงเกี่ยวกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศขั้นพื้นฐาน (Core or Fundamental Labor Standards) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labor Organization: ILO) ตาม the ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work 1998 มาบัญญัติไว้ในกฎหมายภายใน(Domestic Law)ของรัฐภาคีอันประกอบด้วย:

1. การห้ามใช้แรงงานบังคับ(Prohibition of forced labor) ตามอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 29 และ105

2. ประกันสิทธิในการสมาคมและสิทธิในการร่วมเจรจา(Guarantee of right to organize and bargain collectively) ตามอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 87 และ98

3. การขจัดการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและการประกอบอาชีพ(Elimination of discrimination against different categories of workers on basis gender ethnicity, etc.) ตามอนุสัญญาฯฉบับที่ 100 และ111

4.  การห้ามใช้แรงงานเด็ก(Prohibition of child labor) ตามอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 138และ182

        และรัฐภาคียังต้องยอมรับข้อบทเพิ่มเติม[3]เกี่ยวกับค่าแรงขั้นต่ำ(Minimum Wages) เป็นมาตรฐานการจ้างงานขั้นต่ำ (Minimum Employment Standards) ประการหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อตกลงนอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ หากรัฐที่จะเข้าทำความตกลงเขตการค้าเสรีทวิภาคีกับสหรัฐไม่ยอมรับเอาข้อตกลงดังกล่าวสหรัฐอเมริกาก็จะไม่ยอมรับเป็นภาคีด้วยและตัดการให้สิทธิพิเศษทางการค้า [4](Generalized System of Preferences: GSP) ซึ่งเป็นแรงจูงใจในการเข้าสู่ตลาด (Market Access)ในการส่งออกสินค้าจำพวกวัตถุดิบ เช่น สินค้าเกษตร สิ่งทอ เป็นต้น แก่ภาคอุตสาหกรรมของประเทศที่พัฒนาแล้วที่เป็นตลาดผู้นำเข้ารายใหญ่

          ประเด็นแรงงานในฐานะหัวข้อในการทำความตกลงFTAของสหรัฐอเมริกากับประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนในกาเจรจาเท่านั้น ยังคงมีนัยที่น่าสงสัยว่า สหรัฐอมริกามีความจริงใจเพียงใดในการคุ้มสิทธิแรงงานอย่างแท้จริงในฐานะที่เป็นสิทธิมนุษยชนสาขาหนึ่งภายใต้กรอบการค้าระหว่างประเทศหรือเป็นเพียงแค่การปกป้องผู้ใช้แรงงานในอุตสาหกรรมภายในประเทศตนไม่ให้ตกงานจากการแข่งขันทางการค้าด้านต้นทุนแรงงานของประเทศกำลังพัฒนา และประเทศไทยเราเองมีความพร้อมเพียงใดในการเปิดรับต่างบ้านต่างเมืองโดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ให้เข้ามาทำการค้าและการลงทุนภายประเทศของเราอย่างเสรี...ทั้งๆที่รู้อยู่ว่าข้อบทเรื่องแรงงานดังกล่าวซึ่งเป็นกรอบหนึ่งของการเจรจานั้น เป็นมิตรหรือศตรูกับผู้ผลิตภายในประเทศของเรา...

 


[1] เขียนได้สองแบบ ได้แก่ “Labor” (American English) และ “Labour”(Great Britain)

[2] แรงงานตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2542 ให้ความหมายว่าคนงานหรือผู้ใช้แรงงานในการทำงาน...ประชากรวัยทำงานไม่รวมถึงคนพิการ คนวิกลจริต นักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน นักบวช ทหาร ผู้ต้องขังแผละผู้ประกอบธุรกิจเพื่อหากำไร...

[3]ข้อบทเกี่ยวกับแรงงานที่ประเทศที่ต้องการทำFTAกับสหรัฐต้อง “internationally recognised labour rights” นอกจาก  ILO’ s fundamental or core labor standards(4 ประการข้างต้น)และรวมถึงข้อบทเพิ่มเติมที่ว่า “acceptable conditions of work  with respect to minimum wages, hours of work and occupational safety and health” ซึ่งสหรัฐเคยนำเอาประเด็นแรงงานมาบัญญัติไว้ในความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานแห่งอเมริกาเหนือ(The North American Agreement on Labor Cooperation: NAALC)ซึ่งเป็นเพียงความตกลงแยกต่างหาก(side Agreement) ของความตกลงเขตกาค้าเสรีอเมริกาเหนือ (The North American Free Trade Agreement : NAFTA)อันเป็นความตกลงมุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตและมาตรฐานแรงงานในสถานประกอบการต่างๆของประเทศสมาชิก(สหรัฐ แคนาดา และเม็กซิโก)โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายแรงงาน(Labor Law)อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถใช้บทลงโทษทางการค้า(Trade Sanctions) และการให้ชำระค่าปรับในกรณีที่ไม่เคารพหรือปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานนั้น   โดยมิได้บัญญัติไว้โดยตรงในตัวบทของความตกลงหลัก  แตกต่างจาก FTAที่สหรัฐได้ทำกับประเทศต่างๆในเวลาต่อมา เกิดขึ้นครั้งแรกในFTAระหว่างจอร์แดนกับสหรัฐอเมริกา(2001) ได้บัญญัติข้อบทเกี่ยวกับแรงงานดังได้กล่าวมาข้างตนลงในตัวบทของFTA (conclusion in the context of the US-Jordan FTA)

[4]สหรัฐได้กำหนดให้ข้อบทด้านแรงงาน (Labor Provisions)ซึ่งอยู่ในความตกลงเขตการค้าเสรีที่ทำกับตนในฐานะที่เป็นสิทธิพิเศษทางการค้า (Generalized System of Preferences: GSP) อันเป็นการให้สิทธิพิเศษทั่วไป(General Preferences) และไม่เป็นการต่างตอบแทน(Non-reciprocity) ภายใต้ระบบนี้ประเทศพัฒนาแล้วจะลดอัตราภาษีศุลกากรให้แก่สินค้าที่นำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนา  เพื่อให้โอกาสเท่าเทียมกันแก่ประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศด้อยพัฒนาในการเพิ่มอำนาจในการแข่งขันของประเทศเหล่านั้นในตลาดโลก และการให้ GSP ก็เป็นข้อยกเว้นตาม Article XXIV วรรค 5 ประเทศสมาชิกสามารถตกลงยกเว้นพันธกรณีตามความตกลงหลักในเรื่องหนึ่งเรื่องใดภายใต้พฤติการณ์พิเศษได้ และข้อยกเว้นดังกล่าวไม่อยู่ภายใต้หลักการปฏิบัติอย่างชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง(Most-Favor Nation: MFN)ของ GATT Article 1 เป็นเวลา 10 ปีและภายใต้ข้อยกเว้นดังกล่าวนี้ประเทศสมาชิกที่เป็นประเทศพัฒนาแล้วสามารถให้สิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศกำลังพัฒนามากกว่าสินค้าชนิดเดียวกันซึ่งนำเข้าจากประเทศที่พัฒนาแล้วภายในช่วงระยะเวลารอบละ 10 ปี และการให้สิทธิพิเศษดังกล่าวขึ้นอยู่กับประเทศผู้ให้แต่เพียงฝ่ายเดียว ประเทศกำลังพัฒนาไม่มีสิทธิที่จะขอรับสิทธิพิเศษแต่ประการใด

บรรณานุกรม

หนังสือภาษาไทย

ทิวารัตน์ ลาภวิลัย และคณะ.ข้อตกลงการค้าเสรีสหรัฐอเมริกา.เอกสารเหตุการณ์ปัจจุบันหมายเลข4 (พ.ศ. 2548) โครงการWTO Watch (จับกระแสองค์การการค้าโลก) หน้า 39-72.    

ทัชชมัย ฤกษะสุต. ประเด็นใหม่องค์การการค้าโลก.พิมพ์ครั้งแรก: 2543 สำนักพิมพ์นิติธรรม หน้า 33-70.

สิทธิพล วิบูลย์ธนากุล.การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮา. เอกสารข้อมูลหมายเลข 4 (พ.ศ. 2547) โครงการWTO Watch (จับกระแสองค์การการค้าโลก).

มนตรี ชูนามชัย.การประยุกต์ใช้มาตรฐานแรงงานไทย มรท. 8001-2546  ในสถานประกอบกิจการ.    พิมพ์ครั้งที่1 : 2547 ,สำนักพิมพ์ส.ส.ท. หน้า 1-5 .

คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.โครงการศึกษาวิจัยแนวทางการคุ้มครองแรงงาน เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าประเทศไทย.เสนอต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงาน 20 กรกฎาคม 2548. 

อุกฤษฎ์ มูสิกพันธ์.หลักเกณฑ์และผลกระทบของการให้สิทธิการเพิกถอนสิทธิ GSP ของ EU    ภายใต้มาตรการจูงใจพิเศษเกี่ยวกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศพื้นฐานนของILO.วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2549 

อร ชวลิตนิธิกุล.มาตรการคุ้มครองแรงงานของประเทศสหรัฐอเมริกาในการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อไทย.วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.2548   

                     

หนังสือภาษาต่างประเทศ

John H. Jackson. The World Trading System . 2nd Edition1.  The MIT Press: 1999, pp. 154-155 and 244-245.

John H. Jackson. The Jurisprudence of GATT and the WTO Insights on treaty law and economic relations.   Cambridge University Press: 2000, pp. 449-454.

 Mitsuo Matsushita. The World Trade Organization Law, Practice, and Policy. Oxford University  Press Inc: 2003, pp. 589-594, 599,and 602-604.  

 

ฐานข้อมูลทางอินเตอร์เนต 

http://www.globalissues.org/TradeRelated/Seattle.asp#LaborRights

 

หมายเลขบันทึก: 61345เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2006 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • ข้อมูลมากเลย
  • ลองจัดตัวอักษรใหม่นะครับ
  • หายไปนานมาก คิดถึง

ขอบคุณมากค่ะคุณขจิตที่ยังจำกันแม่น

ดีใจจังที่ยังมีคนติดตามผลงานอยู่ค่ะ

  • ขอบคุณค่ะอุ๋ยที่แวะเข้ามาอ่าน

อ่านแล้วครับ ข้อมูลเยอะ ให้ความรู้เยอะด้วย

โอ้......โฮ  ได้ความรู้ไปเต็มอิ่มเลย  สมแล้วกับที่เห็นว่านั่งบริโภคข้อมูลอย่างมหาศาล
  • ขอชื่นชมในข้อมูลอันหนาแน่นคับกล่องจริง ๆ ค่ะ ^_^
พี่ส้มอ่านงานน้องดวงเด่นแล้วนะ คิดว่าเป็นการย่างก้าวที่ดีมากจ๊ะ ขยันเขียนต่อไปนะ
  • ขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะที่ให้ความสนใจ
  • มาตรฐานแรงงานในสายตาของดิฉันนั้น เรื่องการค้ามีความเกี่ยวข้องเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ตามที่สำคัญที่สุดคือมาตรฐานแรงงานเป็นสิทธิมนุษยชนที่บ่งบอกถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่มิได้มีค่าเพียงต้นทุนการผลิต แต่มีค่าเป็นมนุษย์ที่มีหน้าที่ในสังคมเป็นผู้ใช้แรงงานก่อให้เกิดสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา ดังนั้น หากสังคมขาดส่วนที่เป็นแรงงานไป ธุรกรรมต่างๆ ก็คงไม่อาจดำเนินการต่อไปได้
  • หากขาดแรงงาน ก็เปรียบเสมือนขาดพลังสร้างสังคม

ไม่ทราบว่าตอนนี้มีอนุสัญญาและข้อแนะว่าด้วย ลาศึกษาต่อ และลาบวชขององค์การแรงงานระหว่างประเทศหรือยังครับ และมีประเทศใดที่ได้ให้สัตยาบันแล้วบ้าง แล้วประเทศไทยได้ให้สัตยาบันหรือยังครับ ขอบพระคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท