วรรณธนากร
นางสาว วรรณธนากร วรรณ อังฉะกรรณ์

Economics


เศรษฐศาสตร์

        เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่น่าสนใจ เป็นเรื่องที่น่าศึกษาการที่เรามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้จะทำให้เรารู้ภาวะความเป็นไปของเศรษฐกิจของประเทศเราได้ และเรายังสามารถนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้ แต่ก่อนอื่นเราควรรู้ความหมายและที่มาของเศรษฐศาสตร์เสียก่อน

ความหมายของเศรษฐศาสตร์

  • เศรษฐศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดสารรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการต่าง ๆ ของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด

ที่มาของเศรษฐศาสตร์

   1. บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ คือ อาดัม สมิธ (ADAM SMITH) ชาวสก๊อตแลนด์ ผู้เขียนหนังสือ “THE WEALTH OF NATIONS” และเสนอนโยบายเสรีนิยม (LAISSEZ FAIRE) ที่เห็นว่ารัฐบาลควรเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด

2. บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค คือ จอห์น เมนาร์ต เคนส์ (JOHN MAAYNARD KEYNES) ผู้เขียนหนังสือ “THE GENERAL THEORY OF EMPLOYMENT, INTEREST AND MONEY” และเสนอแนวคิดที่ว่า รัฐบาลควรเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจมากขึ้น

แขนงวิชาเศรษฐศาสตร์

เศรษฐศาสตร์จุลภาค (MICROECONOMICS)

  • เป็นแขนงวิชาที่ศึกษาเศรษฐศาสตร์ในระดับหน่วยย่อย

  • ตัวอย่างการศึกษา พฤติกรรมของตลาด, กลไกราคา , ทฤษฏีราคา

เศรษฐศาสตร์มหภาค (MACROECONOMICS)

  • เป็นแขนงวิชาที่ศึกษาเศรษศาสตร์ในระดับส่วนรวมหรือระดับประเทศ

  • ตัวอย่างการศึกษา ทฤษฏีรายได้ประชาชาติ , ภาวะการจ้างงานของประเทศ

ทฤษฏีเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาคอาจแตกต่างกัน เนื่องจากมุ่งไปที่การศึกษาผลกระทบทีมีต่อปัจเจกบุคคลและต่อส่วนรวม จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกัน

3. แนวทางการศึกษาเศรษฐศาสตร์

3.1 เศรษฐศาสตร์ที่เป็นจริงและเศรษฐศาสตร์ที่ควรเป็น

  1. เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง (POSITIVE ECONOMICS) เป็นการศึกษาแง่ข้อเท็จจริงทางเศรษฐกิจ

  2. เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น (NORMATIVE ECONOMICS) เป็นการศึกษาแง่ความคิดเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจ

3.2 การศึกษาเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบันใช้วิชาคณิตศาสตร์และสถิติศาสตร์ เข้ามาช่วยอธิบาย

4. ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

4.1 การที่ทรัพยากรมีจำกัดเมื่อเทียบกับความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด ทำให้เกิดปัญหาพื้นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญคือ “ปัญหาการขาดแคลน” ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการจัดระบบผลิต (ปัญหาการจัดสรรหาทรัพยากร)

4.2 สาระสำคัญของการจัดระบบการผลิตหรือปัญหาการจัดสรรทรัพยากร คือจะผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร (WHAT, HOW, FOR WHOM)

  1. จะผลิตอะไร : ควรผลิตสินค้า-บริการอะไร ในปริมาณเท่าใด

  2. จะผลิตอย่างไร : โดยใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

  3. จะผลิตเพื่อใคร : จะกระจายสินค้าบริการไปให้ใคร

4.3 นอกจากนี้ ปัญหาสำคัญเกี่ยวเนื่องกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ ปัญหาประชากร

  1. ปัญหาประชากรที่สำคัญคือ ความไม่สมดุลระหว่างจำนวนประชากรและทรัพยากร

  2. บิดาวิชาประชากรศาสตร์ คือ โทมัส โรเบิรต์ มัสธัส (THOMAS ROBERT MALTHAS) ได้สรุปว่า

  • ประชากรมีการเพิ่มเป็นอัตราก้าวหน้าเรขาคณิต (1, 2, 4, 8,16, 32, …)

  • อาหารที่มนุษย์ผลิตได้เพิ่มเป็นอัตราเรขาคณิต (1, 2, 3, 4, 5, 6, …)

  • เมื่อประชากรเพิ่มมากกว่าอาหารที่ผลิตได้ มนุษย์จะเกิดการอดอาหาร

  • มนุษย์จะไม่อดอยากถ้าหาทางคุมกำเนิด หรือมีตัวยับยั้งธรรมชาติที่บั่นทอนชีวิตมนุษย์ เช่น โรคระบาด ภัยสงคราม

3) คำทำนายของมัสธัสปัจจุบันไม่เป็นจริง เนื่องจากมนุษย์มีความสามารถในการผลิตอาหารได้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อผ่านการปฏิวัตเขียว (GREEN REVOLUTION) คือ ความก้าวหน้าในการปรับปรุงการผลิตให้ได้ผลผลิตเกษตรต่อไร่มากขึ้นเช่น โดยการปรับปรุงพันธุ์พืช ใช้ปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลง

หมายเลขบันทึก: 61316เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2006 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 15:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ดิฉันคิดว่าน่าสนใจ  ดิฉันอยากที่จะให้หาเนื้อหาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย และสามารถนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้  เพื่อที่จะได้รู้ทันกลไกทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน  นะค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท