เสาวณีย์
นางสาว เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์

วิจารณ์พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนพ.ศ.2520 (ครั้งที่1)


เพราะเหตุใดจึงต้องมีการส่งเสริมการลงทุน?

                               

                                                                                

                             หลักการความเป็นมาของการส่งเสริมการลงทุน   

                                              พิจารณาประเด็นที่1

                                  เพราะเหตุใดจึงต้องมีการส่งเสริมการลงทุน?       

              ประเทศไทยในฐานะประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเป็นทั้งประเทศผู้รับการลงทุนและประเทศผู้ลงทุนในเวลาเดียวกัน คำนึงเสมอว่าการลงทุนจากต่างประเทศและการแสวงประโยชน์จากการไปลงทุนในต่างประเทศเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เนื่องจากการลงทุนทำให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการ การจ้างงาน การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีที่ทันสมัย การไหลเวียนของกระแสเงินตราต่างประเทศส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมีความเจริญก้าวหน้า ตลอดจนเข้าสู่กระบวนการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมต่อไป และที่สำคัญคือการมีส่วนช่วยรักษาดุลย์การค้าและดุลย์การชำระเงินของประเทศอีกด้วย    ความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนในต่างประเทศนั้นจะมีผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องหลายฝ่ายที่สำคัญได้แก่ ผู้ลงทุน (investor), รัฐผู้ส่งออกการลงทุนหรือรัฐเจ้าของสัญชาติของผู้ลงทุน  ( Home country) , และรัฐผู้รับการลงทุน (Host country) ซึ่งแต่ละฝ่ายนั้นจะมี บทบาทและหน้าที่ที่แตกต่างกัน     

           ซึ่งเมื่อพิจารณาประเทศไทยในฐานะรัฐผู้รับการลงทุนนั้น ประเทศไทยอยู่ในสภาพที่ได้เปรียบ  อย่างมาก ในเรื่องเนื่องจาก      

           ประการแรก ของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เอื้ออำนวยต่อการลงทุนและการคมนาคมเพราะเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคและเป็นประตูไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านต่างๆรวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านที่พึ่งจะเริ่มเปิดประเทศในทางเศรษฐกิจ เช่นประเทศต่างๆในอินโดจีนและประเทศพม่า 
             ประการต่อมา  นโยบายทางการเมืองของไทยมีเสถียรภาพและความต่อเนื่องแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีบ้างตามระบอบประชาธิปไตย และแม้กระทั้งล่าสุดเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยการทำการยึดอำนาจโดยทหาร แต่ก็ไม่ทำให้นโนบายในการพัฒนาเศรษฐกิจปลี่ยนไปจนสร้างความไม่มั่นใจให้กับนักลงทุน และนอกจากนี้เมื่อพิจารณาในแง่ของสังคม ประเทศไทยไม่เคยประสบปัญหาความรุนแรงเกี่ยวกับผู้ใช้แรงงานอย่างเช่นในประเทศอื่นๆ ซึ่งจุดนี้เองก็สามารถสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างชาติเป็นอย่างดี
         

             และ   ประการสุดท้าย  ทางด้านเศรษฐกิจนั้นประเทศไทยประสบความสำเร็จในการผลักดันให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมากติดต่อกันมานานเป็นทศวรรษ  และยิ่งเมื่อมีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ก็ยิ่งทำให้ประเทศไทยอยู่ในฐานะรัฐสมาชิกหนึ่งของอาเซียนกลายเป็นประเทศที่น่าลงทุนอย่างมากอีกด้วย เพราะนักลงทุนจะได้ตลาดของผลิตภัณฑ์ซึ่งครอบคลุมดินแดนของทุกรัฐสมาชิกของอาเซียนอีกด้วย[1]           และด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนี้เองจึงควรมีการสนับสนุนและส่งเสริมในเรื่องของการลงทุนและคุ้มครองการลงทุน สำหรับการลงทุนจากต่างชาติรวมทั้งพยายามให้นักลงทุนไทยได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองเช่นเดียวกันด้วย



[1]  ส่วนหนึ่งในการสรุปบทความของงานวิจัยของ อาจารย์ จาตุรนถ์ ถิระวัฒน์ รองศาสตร์จารย์ ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยัยธรรมศาสตร์ เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย เน้นปัญหาในระดับกฎหมายระหว่างประเทศ

หมายเลขบันทึก: 61287เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2006 13:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท