การพัฒนาทักษะการเขียนและกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้


แหล่งเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ.

                หลังจากนักเรียนอ่านเรื่องโคลงสุภาษิตโสฬสไตรงยางค์  โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ  และโคลงสุภาษิตอิสปปกรณำ  จบและมีความเข้าใจความหมายของคำศัพท์สำคัญจากการเล่นปริศนา อักษรไขว้  แล้ว  กิจกรรมต่อจากนั้นคือกิจกรรมการเขียนนิทาน  เพื่อตรวจสอบว่านักเรียนมีความเข้าใจในโคลงสุภาษิตนั้น  และเพื่อเพิ่มพูนทักษะการเขียน  จึงให้นักเรียนเข้ากลุ่มกลุ่มละ ๔-๕ คนเขียนนิทาน โดยเริ่มใช้กับห้อง ม.๒/๒ ก่อน ซึ่งมีกระบวนการในการเขียนดังนี้

  กิจกรรม              

             ๑. นักเรียนอ่านทบทวนศึกษาแนวทางในการเขียนจากโคลงสุภาษิตอิสสปกรณำ เรื่องราชสีห์กับหนู   บิดากับบุตรทั้งหลาย  สุนัขป่ากับลูกแกะ  และกระต่ายกับเต่า               

            ๒. นักเรียนเลือกโคลงสุภาษิตจากโคลงสุภาษิตโสฬสไตรงยางค์  หรือโคลงสุภาษิตทศนฤทุมนาการ  จำนวน ๑ บท               

            ๓. ร่วมกันสร้างจินตนาการ  กำหนดเค้าโครงเรื่อง  จะให้มีตัวละครเป็นสัตว์  หรือคนชื่ออะไร   มีพฤติกรรมหรือเหตุการณ์อะไรที่จะสอดคล้องหรือไม่ปฏิบัติตามคำสอนในโคลงบทนั้น               

            ๔. นักเรียนช่วยกันเรียบเรียงเนื้อหา   จบด้วยโคลงที่เลือกมา และวาดภาพประกอบ               

           ๕. เมื่อหมดคาบที่ ๑ นักเรียนส่งผลงาน  ครูตรวจเช็คความสมบูรณ์ของชิ้นงานที่นักเรียนทำภายใน ๑ คาบก่อนนักเรียนทำได้ตามกำหนดเวลาหรือไม่               

            ๖. คาบที่ ๒ กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้   ครูนำผลงานทั้งหมดมาให้นักเรียนแต่ละกลุ่มอ่าน โดยหมุนเวียนกันไปยกเว้นของกลุ่มตัวเอง  ให้ตัวแทนกลุ่มอ่านออกเสียงให้เพื่อน ๆ ฟัง แล้วพิจารณาองค์ประกอบตามเกณฑ์ประเมินของครู  เขียนข้อคิดเห็นไว้ด้านหลัง  เมื่อพิจารณาจบ ๑ เรื่องก็ให้แลกเปลี่ยนเรื่อง  จากกลุ่มอื่น ๆ ต่อไปให้ได้มากที่สุด 

           ลักษณะของชิ้นงาน        

                                                 ภาพประกอบ

 

                             เนื้อเรื่อง.......................................................

                 .................................................................................
                 ..................................................................................
                                               โคลงสุภาษิต


เกณฑ์ประเมิน

 

รายการประเมิน คะแนนเต็ม ได้จริง ความคิดเห็นของครู ชื่อสมาชิก เลขที่
ภาพประกอบ      
เนื้อเรื่อง    
ความสัมพันธ์ของนิทานกับโคลง    
การใช้ภาษา การสะกดคำ    
รวม ๑๐    

 ระยะเวลา    ชั่วโมง   นักเรียนลงมือเขียน ๑ ชั่วโมง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๑ ชั่วโมง 

ผลของการนำไปใช้

                    ๑.       นักเรียนทุกกลุ่มทำสำเร็จตามเวลาที่กำหนด  มีนักเรียน ๒ กลุ่มวาดภาพไม่เรียบร้อย ครูให้อนุญาตให้ไปแก้ไขภาพก่อนแล้วมาส่งในตอนเช้าของวันถัดไป

                  ๒.     การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  นักเรียน  ทุกกลุ่มมีความตั้งใจในการอ่านผลงานของเพื่อน สมาชิกของกลุ่มทุกคนร่วมกันแสดงความคิดเห็นวิจารณ์ผลงานของเพื่อน  ในเวลา ๑ ชั่วโมงนักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ถึง ๖ ๗ เรื่อง   ข้อคิดเห็นเหล่านั้นต่างสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของครู  และเมื่อคะแนนออกมานักเรียนจะยอมรับคะแนนของกลุ่มอื่น ๆ ได้ เพราะต่างได้อ่านของกันและกันมาแล้ว

 ๓. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักเรียนเป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยเหลือครูในการตรวจงานการเขียนของนักเรียนกลุ่มใหญ่ได้อีกระดับหนึ่ง

                  ๔.     จากการตรวจผลงานของครู  นักเรียนทุกกลุ่มสามารถเขียนนิทานได้สอดคล้องกับโคลง  ผลงานของแต่ละกลุ่มมีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกัน บางกลุ่ม วาดภาพได้ดี แต่ใช้คำผิดพลาดบ้าง บางกลุ่มเขียนเนื้อเรื่องได้ดีสอดคล้องกับโคลงมากแต่ภาพไม่สวยหรือสื่อไม่ชัด  บางกลุ่มภาพและเนื้อเรื่องดีมากแต่บกพร่องเรื่องการใช้ภาษา การเขียนสะกดคำ   คะแนนของนักเรียนอยู่ระหว่าง ๘.๕ ๙.๕  ไม่มีกลุ่มใดได้เต็ม

                  การนำไปปรับใช้กับนักเรียนห้องที่เรียนอ่อนและผลที่ได้รับ               

                  ในการนำไปใช้กับห้อง ม.๒/๘  นอกเหนือจากให้นักเรียนห้องนี้ได้รับคำอธิบายชี้แจงก่อนลงมือทำตามที่ห้อง ม๒/๒ ได้ทำแล้วนักเรียนห้องนี้ยังได้เห็นตัวอย่างผลงานของเพื่อนห้อง ๒/๒ โดย ครูอ่านผลงานตัวอย่างให้ฟัง  ให้นักเรียนได้เห็นภาพที่วาดประกอบ  และได้ฟังข้อคิดจากครูต่อผลงานตัวอย่างนั้น ๆ   มีผลจากการนำไปใช้ดังนี้

                  ๑.       นักเรียนทุกกลุ่มสามารถทำผลงานได้เสร็จตามเวลา  มีเสียงดังซึ่งมาจากคำปรึกษาอยู่ตลอดเวลา

                ๒.     นักเรียนชายซึ่งปกติจะทำงานเสร็จหลังจากนักเรียนผู้หญิง หรือรอลอกจากนักเรียนผู้หญิง  กลับทำผลงานเรื่องนี้เสร็จก่อนถึง ๒ กลุ่ม

ข้อสังเกต  พบว่าเมื่อไรก็ตามที่กำหนดให้มีการวาดภาพหรือนำภาพมาประกอบทั้งในใบงาน และในชิ้นงานทางอินเตอร์เน็ตนักเรียนจะมุ่งมั่นในการทำภาพก่อนทุกครั้ง และทำอย่างมีความสุข

แหล่งเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ.

หมายเลขบันทึก: 61266เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2006 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 03:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ ครูภาทิพ

การจัดกิจกรรมการเรียนของครูภาทิพดีมากเลยค่ะ ขออนุญาตนำมาใช้ในภาคเรียนหน้าด้วยคนนะค่ะ

สวัสดีค่ะครูอร  ด้วยความยินดียิ่งค่ะ  ได้ผลอย่างไร  มาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

สวัสดีค่ะครูอร  ด้วยความยินดียิ่งค่ะ  ได้ผลอย่างไร  มาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท