ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของกรมการปกครอง


Community of Practice : CoP
ความหมายและลักษณะของชุมชนแห่งการเรียนรู้ ( CoP )

 

                                CoP  เป็นกลุ่มคนที่มารวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการ  มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ   เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิผลที่ดีขึ้นส่วนใหญ่การรวมตัวกันในลักษณะนี้มักจะมาจากคนที่อยู่ในกลุ่มงานเดียวกันหรือมีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน ซึ่งความไว้วางใจและความเชื่อมั่นใน

การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันจะเป็นสิ่งที่สำคัญ  Cop  จะมีความแตกต่างจากการที่บุคคลมารวมกลุ่มกันเป็นทีมปฏิบัติงานปกติทั่วไปตรงที่  Cop

เป็นการรวมตัวกันอย่างสมัครใจ เป็นการเชื่อมโยงสมาชิกเข้าด้วยกัน โดยกิจกรรมทางสังคม ไม่ได้มีการมอบหมายสั่งการเป็นการเฉพาะและจะเลือกทำในหัวข้อหรือเรื่องที่สนใจร่วมกันเท่านั้น

                                ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนในกลุ่ม CoP จะพัฒนาเป็นองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการทำงานของบุคคลและองค์กรต่อไป  และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการในท่ามกลางบรรยากาศแบบสบาย ๆ ประกอบกับการใช้เทคนิคที่เรียกว่าสุนทรีสนทนา (Dialogue)  ซึ่งเป็นการสนทนาที่เคารพความคิดเห็นของผู้พูด  ให้เกียรติกัน  ให้โอกาสกัน  และไม่พยายามขัดขวางความคิดใคร กับรับฟังผู้อื่นพูดอย่างตั้งอกตั้งใจ (Deep Listening)

กรมการปกครองเริ่มชุมชนแห่งการเรียนรู้  (CoP)  นำร่องที่  วิทยาลัยการปกครอง.

 

จากการที่กรมการปกครองได้รับความไว้วางใจจากกระทรวงมหาดไทยและรัฐบาลมอบหมายให้เป็นภาคส่วนหลักในการปฏิบัติภารกิจที่สำคัญระดับชาติต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น การรักษาความมั่นคงภายในการแก้ไขปัญหายาเสพติด การบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นต้น  แสดงถึงการมีบุคลากรที่เป็น   “ทุนทางสังคม    อยู่เป็นพื้นฐานในองค์กร กรมการปกครองจึงได้ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ เพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ  และเกิดประสิทธิผลในรูปของการจัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้น   โดยนำร่องที่วิทยาลัยการปกครองก่อน   เรียกว่า  โครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ ( CoP ) วิทยาลัยการปกครอง”  โดยมีวัตถุประสงค์ใหญ่ ๆ  3 ประการ คือ

(1)  นำทฤษฏีการจัดการองค์ความรู้ ( KM ) มาสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่การปฏิบัติงานจริง

(2)  เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารทั่วองค์กร ( Communication ) ด้านการจัดการองค์ความรู้

(                       (3)   เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ การใช้เครื่องมือ CoP ในกระบวนการ KM  สำหรับแนวทางดำเนินการ   กำหนดไว้ ดังนี้

            3.1  การประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร

                                     3.2  ทำหนังสือเวียน เชิญชวน ข้าราชการ ลูกจ้าง ร่วมเป็นสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้

                                     3.3    เชิญสมาชิกประชุมปรึกษาหารือ ร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ ตามหัวข้อที่อยู่ในความสนใจของสมาชิก

3                                  3.4    ประสานงานเรื่องสถานที่ประสานงานบุคคลและงานธุรการอื่น

3.                                 3.5    จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ

                                    3.6    จัดทำสรุปการเสวนาของ CoP เพื่อเผยแพร่ จัดกิจกรรม กระตุ้น ส่งเสริม เป็นระยะ ๆ

                                    3.7     ติดตามประเมินผลการดำเนินการและรายงาน

                            โครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ดังกล่าว จะต้องมีความอดทนและใช้เวลารวมถึงการกระตุ้นส่งเสริมและให้กำลังใจจากผู้บังคับบัญชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะแรก ๆ ก็คงจะต้องให้มีการดำเนินการในระยะเวลาหนึ่งแล้ว ติดตามประเมินผลเพื่อทำการศึกษาผลที่เกิดขึ้นต่อไป
ประโยชน์ของ CoP ต่อ KM

 

          จากการที่ ปค. ( วปค. ) ได้รับมอบหมายจาก สำนักงาน ก.พ.ร. ให้ดำเนินการตามแผนการจัดการความรู้ ( KM ) เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนนั้น วปค. ได้เริ่มนำเทคนิค CoP มาใช้ในกระบวนการจัดการความรู้ ( KM Process ) เพื่อให้ทฤษฎีการจัดการความรู้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างได้ผล และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร และบุคลากรของ ปค. ในการขยายผล หรือผลักดันให้การจัดการความรู้ ( KM ) เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนเกิดสัมฤทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม

 

          การอนุมัติโครงการ

 

          นายก้องเกียรติ อัครประเสริฐกุล ร.อปค.บห. ในฐานะผู้บริหารด้านการจัดการองค์ความรู้ ( Chief knowledge officer : CKO ) ของ ปค. ได้เห็นชอบและกรุณาอนุมัติโครงการ เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2549

  

          การดำเนินการตามโครงการ

 

          ในวันที่ 4 เม.ย. 2549 เวลา 09.00 น. ณ. ห้องประชุมเล็กชั้น 4 อาคาร สำนักอธิการ วปค. อธ.วปค. ได้เปิดตัวโครงการเป็นครั้งแรก ภายใต้ชื่อว่า CoP kick off’s Day วิทยาลัยการปกครอง โดยมีข้าราชการและลูกจ้าง วปค. ให้ความสนใจ เข้าร่วมกิจกรรมประมาณ 30 คน โดยในเบื้องต้นกลุ่มสมาชิกชุมชนแห่งการเรียนรู้ ( CoP ) ให้ความสนใจในประเด็นหัวข้อ “กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีใน วปค.” ซึ่งทุกคนได้มีการนำเสนอความคิดเห็นอย่างเป็นกันเองและเป็นอิสระ ภายใต้เทคนิคที่เรียกว่า สุนทรีสนทนา ( Dialogue )

 

          แผนการดำเนินการต่อไป

 

         1. ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างความสามัคคีภายใน วปค. เช่น จัดแข่งขันกีฬา การทัศนศึกษา ฯลฯ

         2. สำรวจความต้องการหัวข้อที่กลุ่มสมาชิกให้ความสนใจที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้

         3. จัดประชุมในบรรยากาศสบาย สบาย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามหัวข้อที่กลุ่มสมาชิกให้ความ สนใจ แบบสัญจร ณ สถานที่ ที่กลุ่มสมาชิกกำหนด

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #kmclass
หมายเลขบันทึก: 61249เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2006 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท