Productivity วิถีที่ควรใส่ใจในหน่วยราชการ


P = QCDSMEE ผู้บริหารและทีมงานมีหัวใจของการทำงานที่จะยังประโยชน์เกื้อกูลทั้งเพื่อลูกค้า(ผ้รับบริการ) เพื่อพนักงาน (ทีมงาน) และเพื่อสังคม องค์การหรือหน่วยงานนั้น ๆ ก็จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Productivity  วิถีที่ควรใส่ใจในหน่วยราชการ                                                                                                                                                                                                      Productivity  หรือการเพิ่มผลผลิตนั้น......สำคัญไฉน...จึงมีความหมายให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อลูกค้า ต่อเพื่อนร่วมงานและต่อสังคม การเพิ่ม ผลผลิตจึงมีแต่ได้ไม่มีเสียเป็น Win – Win  เพราะ Productivity  มีสูตรสำเร็จคือP = Q C D S M E E  ตัว P หมายถึง Productivity , Q  หมายถึง Quality , C หมายถึง Cost   คือ  ราคาสินค้าหรือบริการที่เหมาะสม  D  หมายถึง  Delivery  คือการส่งมอบสินค้าหรือบริการด้วยความรวดเร็ว , S  หมายถึง  Safety  คือความปลอดภัยของพนักงาน , M  หมายถึง  Morale  คือขวัญและกำลังใจของพนักงาน, E  หมายถึง Environment คือการคำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม อย่าให้การผลิตหรือการทำงานให้ได้ผลิตภัณฑ์เกิดสิ่งที่เป็น มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม , E อีกตัวหนึ่ง หมายถึง Ethic คือคำนึงถึงหลักจริยธรรมในการทำงาน มีการตอบแทนที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม                   หากจะจำแนกกลุ่มให้ชัดเจนก็สามารถจำแนกได้ 3 กลุ่มประโยชน์เกื้อกูลคือ “QCD” เพื่อลูกค้า “MS” เพื่อพนักงาน และ “EE” เพื่อสังคม...                   นี่แหละส่วนผสมของ Productivity ที่เรามักมองผ่านไม่มองพิศจึงเชิญชวนให้หยุดคิดทบทวน หน่วยราชการก็นำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ไม่ได้มีข้อจำกัดว่า เป็นเรื่องของธุรกิจ Productivity จึงเป็นวิถีที่ควรใส่ใจในหน่วยราชการ หากทั้ง     ผู้บริหารและทีมงานมีหัวใจของการทำงานที่จะยังซึ่งประโยชน์เกื้อกูลทั้งเพื่อลูกค้า  (ผู้รับบริการ) เพื่อพนักงาน(ทีมงาน) และเพื่อสังคม องค์การหรือหน่วยงานนั้น ๆ ก็จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยื่น.........                                                                                ดิศกุล  เกษมสวัสดิ์                                                                        อาทิตย์ ๑๙ ก.ย.๔๙

คำสำคัญ (Tags): #productivity
หมายเลขบันทึก: 61248เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2006 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบคุณนะคะ  สำหรับเนื้อหา  มีผู้บริหารอีกมาก รวมถึงหัวหน้าแผนกต่างๆ และผู้ทำงานไม่ว่าจะวงราชการ หรือเอกชนที่ไม่เข้าใจ คำว่าการทำงานที่จะยังซึ่งประโยชน์เกื้อกูลต่อผู้รับบริการและทีมงาน  การทำงานที่มุ่งเพียงประสิทธิผลมิใช่ความสำเร็จของหน่วยงานนั้นอย่างแท้จริง  จำเป็นต้องหันมามองทีมงานหรือผู้ที่สร้างผลผลิตนั้นด้วย  หากมีขวัญและกำลังใจที่ดียิ่ง  พลังใจนี้จะสร้างพลังกายและพลังสมองให้สำเร็จและนั่นคือความภาคภูมิใจ ของหน่วยงาน

ในหลักการใช่ครับ แต่ในทางปฏิบัติ จะมีวิธีการอย่างไร ในการนำเรื่อง productivity นี้ไปใช้ได้จริงในหน่วยราชการครับ เรื่องนี้คงต้องกุมขมับกันอีกหลายรอบครับ

ขอบคุณ คุณทัศนีย์ และ คุณ Mitochondria ครับ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความเห็นทุกความเห็นมีคุณค่าต่อการนำไปพัฒนา Productivity  บนความพยายามที่ซ่อนอยู่ผมคิดคำนึงและทดลองหาแนวทางการนำไปใช้สู่การทำงาน ยิ่งในปัจจุบันกระแส CSR หรือ Corporate Social Responsibility  มาแรง เป็นความรับผิดชอบขององค์การต่อสังคม ไม่ว่าหน่วยงานรัฐหรือเอกชนก็พึงใส่ใจเป็นพิเศษ

ป้าต๋อย นำทีม km กศน.ร้อยเอ็ด ไปศึกษาเรียนรู้ blog จึงได้ทดลองแวะมาทักทาย แล้วจะไปเพิ่มผลผลิตของการทำงานที่กศน.ร้อยเอ็ดต่อไปนะจ๊ะ
ผมได้ข้อมูลจากที่ อ.ดิศกุล ได้มาเพยแพร่มากเลยครับ
ข้อมูลน่าสนใจเป็นความรู้ดีครับ
เป็นความรู้ดีครับ ขอให้ อ.ดิศกุล มีผลงานดีๆแบบนี้มาให้ความรู้เรื่อยๆนะครับผมจะแวะมาอ่านบ่อยๆ
ขอบคุณคุณ Raysuke คุณ samorano และคุณ Talki ครับ ที่มาเรียนรู้ร่วมกัน
นลินทิพย์ สังข์เจริญ

                ขอขอบคุณท่าน ผอ. ศนจ.ฉะเชิงเทรามากค่ะ. ที่ได้ให้ความรู้....Productivity วิถีที่ควรใส่ใจในหน่วยงานราชการ  ถ้าใครได้อ่านแล้วและได้ทำความเข้าใจก็เหมือนเป็น "คัมภีวิทยายุทธบทหนึ่งอันมีค่า"ที่จะนำพาฟันฝ่าอุปสรรกในการปฏิบัติงานได้อย่าสงางามเลยทีเดียวค่ะ...

 

ขอบคุณผอ.วิลาวัลย์ และคุณครูนลินทิพย์ ที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

พอดีผมได้ทำรายงานเรื่องนี้ครับ

ผมเลยอย่ากถามว่า PQCDSMEE มาจากแนวความคิดใดครับ

แล้วผมก็อย่ากได้ข้อมูลเพิมเติมด้วยได้มั้ยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท