รูปแบบการสอนที่เน้นจิตพิสัย


รูปแบบการสอนที่เน้นจิตพิสัย

รูปแบบการเรียนการสอนเน้นจิตพิสัย

ตามแนวคิดการพัฒนาจิตพิสัยของบลูม

 พฤติกรรมด้านจิตพิสัย (Affective Domain) หมายถึง การเรียนรู้ทางด้านจิตใจที่แสดงออกมาในรูปของ ค่านิยม เจตคติ ความสนใจ ความซาบซึ้ง พฤติกรรมด้านนี้เริ่มจากการรับรู้สิ่งแวดล้อม และหลังจากนั้น บุคคลจะมีปฏิกริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม เมื่อมีผลปรากฏออกมาจะนำไปสู่การสร้างความรู้สึกที่ดีต่อสิ่งนั้น ในที่สุดจะกลายเป็น ความคิด อุดมคติ ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรม               

บลูมได้เสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนไว้  5 ขั้นตอน คือ

1.     ขั้นการรับรู้ (Receiving or attending)  หมายถึง  การที่ผู้เรียนได้รับรู้ค่านิยมที่ต้องการจะปลูกฝังในตัวผู้เรียน

2.     ขั้นการตอบสนอง (Responding)  หมายถึง  การที่ผู้เรียนได้รับรู้และเกิดความสนใจในค่านิยมนั้น  แล้วมีโอกาสได้ตอบสนองในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง 

3.     ขั้นการเห็นคุณค่า (Valuing)  เป็นขั้นที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับค่านิยมนั้น  และเห็นคุณค่าจนทำให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อค่านิยมนั้น

4.     ขั้นการจัดระบบ (Organization)  เป็นขั้นที่ผู้เรียนรับค่านิยมที่ตนเห็นคุณค่านั้นเข้ามาอยู่ในระบบค่านิยมของตน

5.     ขั้นการสร้างลักษณะนิสัย (Characterization)  เป็นขั้นที่ผู้เรียนปฏิบัติตามค่านิยมที่ตนรับมาอย่างสม่ำเสมอและทำจนเป็นนิสัย

ซึ่งทั้ง 5 ขั้นตอนนี้สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังค่านิยมที่พึงประสงค์หรือจิตพิสัยที่ต้องการได้   5 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 การรับรู้ค่านิยม   (Receiving / attending) ผู้สอนจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับรู้ค่านิยมนั้นอย่างใส่ใจ  ให้นักเรียนมีพัฒนาการในการยอมรับ (อย่างใจกว้าง) ถึงความแตกต่างกันของสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามา เช่น คน สิ่งของ ผลงาน ปรากฏการณ์    พฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดคือ                       1. การรู้ตัว (Awareness) เป็นความรู้สึกต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อรับทราบสิ่งนั้น ๆ
          2.
ความเต็มใจรับรู้ (Willingnes) เป็นความพอใจที่จะรับรู้ แต่ไม่มีการตัดสินใจใดๆ
           3.
การควบคุมการรับรู้ (Control) เป็นการเลือกหรือบังคับตนเอง เพื่อเอาใจใส่ต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเร้าอย่างใด

ขั้นที่  2  การตอบสนองต่อค่านิยม (Responding) ผู้สอนจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนมีโอกาสตอบสนองค่านิยมนั้นในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง   เช่นให้พูดแสดงความคิดเห็นต่อค่านิยมนั้น  ลองทำตามค่านิยม  พฤติกรรมที่ต้องการให้เกิด คือ
           1.
การยินยอมตอบสนอง (Acquiescencs in Responding)
              2. 
ความเต็มใจที่จะโต้ตอบ (
Willingness to Response)
              3. 
ความพึงพอใจในการตอบสนอง (
Satisfaction in Response)
 

ขั้นที่  3  การเห็นคุณค่าของค่านิยม (Valuing) ผู้สอนจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เห็นคุณค่าของค่านิยมนั้น  เช่นให้ลองปฏิบัติตามค่านิยมแล้วได้รับการสนองตอบในทางที่ดีเห็นประโยชน์หรือโทษที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติและไม่ปฏิบัติตามค่านิยมนั้น  พฤติกรรมที่ต้องการให้เกิด คือ
       1.
การยอมรับในคุณค่านั้น (Acceptance of a Value)
           2.
การชื่นชอบในคุณค่านั้น (
Preference for a Value)
           3. 
ความผูกพันในคุณค่านั้น (Commitment)

 

ขั้นที่  4 การจัดระบบค่านิขม (Organization) เมื่อผู้เรียนเห็นคุณค่าของค่านิยมและเกิดเจตคติที่ดีต่อค่านิยมนั้นจะเกิดความโน้มเอียงที่จะรับค่านิยมนั้นมาใช้ในชีวิตของตน  ผู้สอนควรกระตุ้นให้ผู้เรียนพิจารณาค่านิยมนั้นกับค่านิยมอื่น ๆ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมต่าง ๆ ของตน  พฤติกรรมที่ผู้สอนควรกระตุ้นผู้เรียนเพื่อให้เกิดพฤติกรรมคือ
             1. 
การสร้างมโนทัศน์ในคุณค่านั้น (Conceptualiazation of a Vaiue)
             2.
การจัดระบบคุณค่านั้น (Organization of a Value System)

 ขั้นที่  5 การสร้างลักษณะนิสัย (Characterization by a Value ) ผู้สอนส่งเสริมให้ผู้เรียนปฏิบัติตนตามค่านิยมนั้นอย่างสม่ำเสมอ  โดยติดตามผลการปฏิบัติและให้ข้อมูลป้อนกลับ  และเสริมแรงเป็นระยะ  จนกระทั่งผู้เรียนปฏิบัติเป็นนิสัย  พฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดในขั้นนี้  คือ              

             1.  การมีหลักยึดในการตัดสินใจ  (Generalized Set)
             2.
  การปฏิบัติตามหลักยึดนั้นจนเป็นนิสัย  (Characterization)

วัตถุประสงค์ของจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาด้านจิตพิสัยของ

บลูม              

  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาความรู้สึก  เจตคติ  ค่านิยม  คุณธรรม  จริยธรรม  ที่พึงประสงค์  อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เป็นไปตามความต้องการ 

ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการจัดการเรียนการสอนที่เน้นจิตพิสัย                ผู้เรียนจะได้รับการปลูกฝังค่านิยมที่พึงประสงค์จนถึงระดับที่สามารถปฏิบัติได้จนเป็นนิสัย   และได้กระบวนการในการปลูกฝังค่านิยมให้เกิดขึ้นจนสามารถนำไปใช้ในการปลูกฝังค่านิยมอื่น ๆ ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นต่อไป

หมายเลขบันทึก: 61099เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2006 20:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 13:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท