การจัดการความรู้และการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์


เมื่อตั้งโจทย์ (Knowledge Vision) แล้ว รู้จักใช้การค้นหา สร้าง รวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ ถ่ายทอด แบ่งปัน และใช้ความรู้ จะขาดตกบกพร่องบางขั้นตอนไปบ้าง ก็จัดว่า เป็นกระบวนการจัดการความรู้ที่ต้องการแล้ว

           จากการที่สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) ได้ผลักดันให้หน่วยงานของรัฐพัฒนาตนเองให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.. 2546 ระบุในมาตรา 11

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย จึงได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้ (Knowledge Management) แก่ผู้บริหารระดับสูง ในวันที่ 4  เมษายน 2549 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ชั้น 3 โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 78 คน  คณะวิทยากรจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วยกำหนดการเป็นขั้นตอน ดังนี้

-         บรรยายพิเศษ การพัฒนาขีดความสามารถของคนและองค์กรโดยการจัดการความรู้ โดย รศ. น.สพ. ประจักษ์ พัวเพิ่มพูนศิริ

-      กำหนดหัวเรื่อง/หัวปลา (Knowledge Vision)  แนวทางการแก้ปัญหา.................ของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย  แบ่งกลุ่มบุคลากรจากทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย  ปฏิบัติการตามกระบวนการจัดการความรู้

-      กลุ่มเลือก คุณอำนวย (Knowledge Facilitator) คุณลิขิต (Note Taker)  และสมาชิกทุกคนทำหน้าที่คุณกิจ (Knowledge Practitioner) เล่าเรื่องทักษะปฏิบัติ

-         ถอดความรู้เป็นขุมความรู้ (Knowledge Assets) ในแนวทางทักษะปฏิบัติที่ดี  

-         สังเคราะห์แก่นความรู้ (Core Competence)

-         สร้างตารางแห่งอิสระภาพ

-         นำเสนอ

-         สรุปท้ายด้วย AAR (After Action Review)

จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ  ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทราบกระบวนการจัดการความรู้  เห็นความสำคัญของการพัฒนาองค์กรด้วยองค์ความรู้ ทั้งองค์ความรู้ที่อยู่ภายใน (Tacit Knowledge) ของบุคลากรที่มีอยู่ และองค์ความรู้จากภายนอกทั้งในรูปที่ถูกนำมาเผยแพร่ (Expicit Knowledge) และองค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยน (Sharing Knowledge)

             มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้มุ่งเน้นที่จะใช้กระบวนการจัดการความรู้มาพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานจึงจัดให้มีกิจกรรมอบรมพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย         ราชภัฏบุรีรัมย์ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2549 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ชั้น 2 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นบุคลากรรับผิดชองานด้านการเงิน-บัญชี  พัสดุและธุรการ จำนวน 30 คน  โดยมีกิจกรรมการอบรม ดังนี้

             -   บรรยายพิเศษ แนวทางการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเงินและบัญชี  

                   งานพัสดุและธุรการ โดย นางสาวจันทิมา งานโคกกรวด

             -    แบ่งกลุ่มบุคลากร ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มการเงินและบัญชี

                    และกลุ่มงานพัสดุและ      ธุรการ ใช้กระบวนการจัดการความรู้

                    โดยกำหนดโจทย์ (หัวปลา) การขับเคลื่อนงาน........เข้าสู่

                    มาตรฐาน

             - แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยอาศัยคู่มือปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย

                    (ฉบับร่าง) สกัดขุมความรู้ เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด

             -  สรุปงานเป็นเอกสาร คู่มือระเบียบพัสดุและงานพัสดุ คู่มือการ

                   เขียนหนังสือราชการและการปฏิบัติงานสารบรรณ เป็นมาตรฐาน

                   เพื่อนำเสนอสภามหาวิทยาลัยต่อไป 

            การนำกระบวนการจัดการความรู้ ไปใช้ในการพัฒนามาตรฐานของงานในมหาวิทยาลัย ได้คู่มือปฏิบัติการที่มีทักษะปฏิบัติที่ดี ซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมในการจัดทำ ทำให้บุคลากรรู้หน้าที่ รู้ขอบเขตความรับผิดชอบ ทำให้ระบบงานของมหาวิทยาลัยมีความถูกต้อง คล่องตัว โปร่งใส มากยิ่งขึ้น  

การจัดการความรู้แก่ภาคี

         มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มีพันธกิจให้การศึกษาแก่เยาวชนไทยให้มีความรู้ ความสามารถ  ที่จะเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรมจริยธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม โดยใช้หลักการเรียนการสอนควบคู่การวิจัย  ทั้งเป็นการเรียนรู้ภายในมหาวิทยาลัย และการเรียนรู้ภายนอกกับชุมชนท้องถิ่น และองค์กรต่างๆ  จึงได้มีการนำกระบวนการจัดการความรู้มาใช้ในการเรียนการสอน การถ่ายทอดกระบวนการจัดการความรู้สู่ประชาคม เพื่อให้องค์กรต่างๆ นำไปปฏิบัติเพิ่มศักยภาพการทำงานภายในองค์กรของตน               

             การจัดการความรู้แก่ชุมชนเพื่อการศึกษาวิจัยเศรษฐกิจชุมชนและตอบสนองยุทธศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์        มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้ โดยกำหนดโจทย์ เรื่อง ทิศทางการพัฒนาและส่งเสริมการตลาดด้านการท่องเที่ยวและทอผ้าพื้นบ้าน จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 24 เมษายน 2549 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ชั้น 3  โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผ้าทอพื้นบ้าน (ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ นักวิจัย ตัวแทนจากองค์กรที่เกี่ยวข้อง   อาจารย์  และนักศึกษาปริญญาโท จำนวน 42 คน) เพื่อ เชื่อมโยงมาสู่ด้านการตลาด โดยต่อยอดด้วยการศึกษาวิจัย นับเป็นการจัดการความรู้เพื่อพัฒนางานวิจัย นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ (UBI) ของ สกว. ซึ่งเชื่อมโยงสู่หลักสูตรท้องถิ่น  การเรียนการสอนและการประกอบการของชุมชน ซึ่งปัจจุบันได้นำองค์ความรู้ที่ได้มาพัฒนาโครงการวิจัยเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ               

            อาศัยขั้นตอนกระบวนการจัดการความรู้  โดยเริ่มจากการนำเสนอยุทธศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ ด้านการท่องเที่ยว และยุทธศาสตร์การผลิตสินค้าวิสาหกิจชุมชน โดยเฉพาะสินค้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดบุรีรัมย์ คือ ผ้าทอพื้นบ้าน จากนั้นเชิญบุคคลที่ประสบความสำเร็จเล่าเรื่อง (Story telling) ทักษะปฏิบัติที่ดี (Best practice) ที่ตนภาคภูมิใจ เกี่ยวกับการจัดการด้านตลาดที่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับการพัฒนาสินค้าวิสาหกิจชุมชน    ทำการแบ่งกลุ่มบุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรม ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่กลุ่ม ท่องเที่ยว และกลุ่ม  ผ้าทอพื้นบ้าน ทั้งสองกลุ่มต่างแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะปฏิบัติที่ดีของตนเกี่ยวกับการจัดการเชื่อมโยงสู่การตลาด จากนั้นทำการสังเคราะห์ขุมความรู้ สกัดแก่นความรู้ ของแต่ละกลุ่มได้แก่นความรู้  ดังนี้

         กลุ่มผ้าทอ  สกัดได้ 4 แก่นความรู้ คือ  ความต้องการของลูกค้า  การบริการจัดการในกลุ่ม/เครือข่าย    การพัฒนาผลิตภัณฑ์  และการส่งเสริมการขาย

        กลุ่มท่องเที่ยว สกัดได้ 7 แก่นความรู้ คือ กิจกรรมการท่องเที่ยว  การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา  การประชาสัมพันธ์  ระบบคมนาคม   หลักสูตรด้านการท่องเที่ยว  การสร้างเครือข่าย และการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกผลการจัดการความรู้ นักวิจัยภายใต้การสนับสนุนของ สกว. ได้นำเอาแก่นความรู้ และทักษะปฏิบัติที่ดี มาพิจารณาร่วมกัน ในวันที่ 23 สิงหาคม 2549 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ชั้น 2 เพื่อกำหนดโจทย์วิจัย ภายใต้การให้คำปรึกษาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจาก สกว. 3 ท่าน ประกอบด้วย   ผศ. พัชริน  ดำรงค์กิตติกุล  อาจารย์ ดร. เชิดชาย ช่วยบำรุง  และคุณพูนทรัพย์ สวนเมืองตุลาพันธ์  โจทย์วิจัยดังกล่าว ได้แก่ การศึกษากลุ่มชาติพันธ์ (เขมร ส่วย ลาว ไทยโคราช) การศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงด้านการตลาดระหว่างการท่องเที่ยวกับการผลิตสันค้าผ่าทอพื้นบ้าน การศึกษากรณีตัวอย่าง   การศึกษาถอดบทเรียนนักพัฒนาชุมชน เป็นต้น

                การจัดการความรู้แก่หน่วยงานราชการเพื่อพัฒนางานด้านวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้นำกระบวนการจัดการความรู้ ไปใช้ในการพัฒนาหน่วยงานราชการในจังหวัด (ภาคี) เช่น การจัดการความรู้เพื่อพัฒนางานด้านวัฒนธรรมขององค์กร         เครือข่ายสภาวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 17 – 18 สิงหาคม 2549 ณ อาคาร 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์  เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้มาปรับกระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารงานและดำเนินงานวัฒนธรรมร่วมกันตามศักยภาพบุคคล  องค์ความรู้ที่ได้สภาวัฒนธรรมจังหวัด และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจะนำไปสร้างแผนงานเพื่อการพัฒนาด้านวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย กรรมการบริหารสภาวัฒนธรรม   เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอ/กิ่งอำเภอ  นักวิชาการวัฒนธรรม  กรรมการจัดทำวารสารวัฒนธรรมจังหวัด  จำนวน  60 ค

            -       เริ่มจากการบรรยายพิเศษ  ทิศทางการพัฒนางานวัฒนธรรม โดย

                ผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์-         กำหนดโจทย์  

               “การพัฒนางานวัฒนธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ -         การเล่าเรื่อง

               ทักษะปฏิบัติ

            -   แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3 กลุ่ม  ใช้กระบวนการจัดการความรู้ คัด

              เลือก คุณอำนวย คุณลิขิต  และเชิญคุณกิจทุกท่าน ร่วมกันเล่าเรื่อง

              ทักษะปฏิบัติที่ดีในการพัฒนางานวัฒนธรรมของหน่วยงานตนที่ประ

             สลบความสำเร็จ

           -    สกัดขุมความรู้  สังเคราะห์เป็นแก่นความรู้ ได้ 3 แก่น คือ การส่ง

              เสริม-สนับสนุนงานด้านวัฒนธรรม   การอนุรักษ์-สืบสานงานด้าน

             วัฒนธรรม   และการสร้างสรรค์-วิจัยงานด้านวัฒนธรรม 

           -    ปิดการอบรมด้วย AAR              

        ผลที่ได้รับจากการอบรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้นำไปเขียนแผนยุทธศาสตร์ และแผนการปฏิบัติงานการพัฒนางานวัฒนธรรมตามบริบทของตนได้ ซึ่งทางสภาวัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ จะจัดกิจกรรมการเขียนแผนปฏิบัติงานงานเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ของจังหวัดต่อไป  

ก้าวต่อไปของการจัดการความรู้

                  การจัดการความรู้ จะเป็นส่วนหนึ่งในคำรับรองการปฏิบัติราชการของสำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (...) มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการนำกระบวนการจัดการความรู้มาใช้เพื่อพัฒนาองค์กร โดยเฉพาะการสร้างนักวิชาการที่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดการความรู้  จัดทำคลินิกการจัดการการความรู้  การนำเสนอผลงานการจัดการความรู้มาเป็น KPI ในการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของหัวหน้าหน่วยงาน การนำกระบวนการจัดการความรู้มาใช้ในทุกพันธกิจของมหาวิทยาลัย และการช่วยเหลือสนับสนุนด้านนักวิชาการให้ความรู้และประชาสัมพันธ์กระบวนการจัดการความรู้แก่ภาคี  

หมายเลขบันทึก: 61036เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2006 13:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 11:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท